admin

ผูกขาดความเป็นคนไทย

เคยสงสัยมั๊ยว่า ความเป็นไทย หรือ คนไทย มันดูกันที่ตรงไหน ?กิน อาหารไทย ?พูดภาษาไทย ?อยู่เมืองไทย ?หรือ ต้องร้องเพลงชาติไทยได้ ถึงจะเป็นคนไทย ?มันน่าสะอิดสะเอียนที่ต้องไปเจอคนที่ผูกขาดความเป็นคนไทยแท้ โดยที่คนเหล่านี้ชี้ว่า คนที่มีเชื้อสายผสมไม่ว่าจะจีน เวียดนาม พม่า ลาว เขมร แขก หรือ ฝรั่งที่ไหน ว่าคนเหล่านี้ มิใช่คนไทยแท้ ตั้งแต่เกิดมา ผมยังไม่เคยเจอคนไทยที่บอกได้ว่า ตัวเองมีโครตเหง้ามาจากชาวบ้านบางระจันสักคน หรือ บอกได้ว่า บรรพบุรุษของตนเองมีชีวิตอยู่ในยุคสุโขทัย หรือ อยุธยาประวัติศาสตร์ชาติไทย ถูกสอนกันมาเหมือนว่า คนไทยมีรากเหง้ามาจากชาติพันธ์เพียงแค่ไม่กี่ชาติพันธ์ ไม่รู้ว่าจะโทษหลักสูตรการศึกษาดี หรือ ความโง่เขลาของตนเองดี แต่นับวันผมยิ่งขยาดแขยงแบบเรียนที่ตอนเด็ก ๆ เล่าเรียนมา เพราะมันไม่ได้สอนความจริง เพียงแต่เป็นสื่อโฆษณาเพื่อการสร้างชาติของยุคสมัย ที่ต้องการสร้างสำนึกร่วมกันของคนในชาติ เพื่อต่อต้านลัทธิทางการเมืองบางอย่างที่ผู้นำประเทศไม่ต้องการ และ ขลาดกลัว ผมได้มีโอกาสพูดคุยกับน้องยุทธนา นักเรียน ม.6 ที่ Ent ติดคณะแพทย์ศาสตร์ แต่ถูกตัดสิทธิ์ เนื่องจากขาดคุณสมบัติความเป็นคนไทย เพราะมีเชื้อสายเวียดนาม […]

ความสำเร็จ..ที่เพิ่งนับหนึ่ง

“ค่าของคน ดูที่การกระทำ” วลีที่โชยมาเป็นคำเปรย เพื่อเชื้อเชิญให้ทุกคนทำความดี มุ่งให้เห็นว่า คนจะมี คุณค่าน้อยมากเพียงใดวัดกันที่การกระทำ ใช่อื่นใด เฉก เช่นการเร้าให้สังคมตีตราค่าของคนอย่างเท่าเทียม โดย ไร้ข้อจำกัดด้านความต่างทางเพศชาติ พันธุ์กำเนิด ศักดิ์ฐานันดร หรือแม้แต่ความเชื่อ ซึ่งสิ่งเหล่านี้มีมา ให้เห็นในรูปของกฎหมายก็ดี การรณรงค์เชิญชวนก็ดี แต่คำถามคือว่า ความเท่าเทียมมีอยู่จริงหรือในสังคม ?? ไฉนการละเมิดบุคคลอื่น ที่มีความต่างยังคงเกิดขึ้นอยู่ อย่างเนือง ๆ และมีทีท่าว่าจะเพิ่มมากขึ้นทุกที ​ 2 พฤศจิกายน 2011 วันนี้เป็นอีกวันหนึ่งที่ข้าพเจ้ามีความภาคภูมิใจ และมีกำลังใจในการต่อสู้อีกครั้ง เพราะ ข้าพเจ้าได้เห็นพลังของชาวบ้าน บ้านกระแล อำเภอพญาเม็งราย ลุกขึ้นมาเรียกร้องสิทธิของตนเอง ในการที่จะได้รับการสำรวจและจัดทำทะเบียนประวัติบุคคลผู้ไม่มีสถานะทางทะเบียน เขาเหล่านี้เป็นชาวเขาเผ่าม้ง ที่ยัง คงเป็นผู้ไร้เอกสารทางทะเบียนราษฎรใด ๆ อันจะเป็นสิ่งซึ่งค้ำยันการมีตัวตนอยู่ของเขา ที่จะไม่ตกเป็นบุคคลไร้รัฐ ไร้สัญชาติ เพราะนั่นหมายถึงความปวดร้าวที่จะเกิดแก่ชีวิตในอันที่ต้องรับผลจากการเป็นคนไร้รัฐ ไร้สัญชาติ นั่นเอง วันนี้เป็นวันที่สำคัญมากอีกวันหนึ่งสำหรับเขาเหล่านี้ เนื่องจากวันนี้เป็นวันสุดท้ายที่รัฐอนุญาตให้ผู้ใหญ่บ้าน หรือผู้อำนวยการโรงเรียนนำส่งข้อมูลบุคคลไร้ เอกสาร ที่อาศัยในชุมชนหรือเรียนอยู่ในโรงเรียนทุกแห่งในประเทศไทยแก่สำนักทะเบียนอำเภอ เพื่อกรอกข้อมูลบุคคล ที่ตกหล่นเพิ่มลงในฐานข้อมูลทะเบียนราษฎรของกระทรวงมหาดไทย […]

หนูจ๋า อย่าร้องไห้ วันหนึ่งนายกแม้วจะเข้าใจ

ส่วนที่หนึ่งบรรยากาศ งานวันเด็กภายในทำเนียบรัฐบาล เต็มไปด้วยสีสัน และ ชีวิตชีวา ซุ้มเกม กิจกรรมสนุก ๆ และของขวัญวันเด็ก ถูกขนมาจากทุกทิศทาง แน่นงานไปหมด ใช่ล่ะ วันนี้วันเด็กแห่งชาติ วันที่ผู้ใหญ่จะหยุดความคิดในเรื่องอื่น และมาให้ความสำคัญกับเรื่องของเด็ก ๆ กันบน เวทีที่มีอยู่นับสิบเวทีภายในทำเนียบฯ มีเด็ก ๆ จากโรงเรียนต่าง ๆ แต่งตัวเป็นนักร้อง แดนซ์เซอร์ ร้องเพลงค่ายเทปดัง สนุกสุดเหวี่ยง เสียงเพลงกรีดร้องถึงความรักและความโศกเศร้าตามเนื้อหาของเพลงไทยที่มากมาย ด้วยเรื่องราวเหล่านี้ ความสนุกหรรษาของงานวันเด็กที่นี่แบบนี้ ไม่ใช่เรื่องแปลกที่ไม่คุ้นตา มันเหมือนกันทุกปี และ เหมือนกันทั่วประเทศตามสถานที่จัดงานวันเด็กต่าง ๆ เราให้ความสำคัญกับเด็ก โดยการจัดกิจกรรมลักษณะนี้มาหลายปีแล้ว ณ หน้าตึกกองบัญชาการ เด็กไร้สัญชาติจำนวน 60 คน สวมชุดชาวเขา ยืนตากแดดเรียงราย ไม่มีลูกโป่ง ไม่มีของขวัญที่ได้จากซุ้มเกม มือของพวกเขาไม่ว่างที่จะหยิบถือของขวัญรัญจวนเหล่านั้น เพราะในมือมีกล่องของขวัญเป็นย่ามผ้า ที่แม่ของเด็ก ๆ เย็บขึ้นด้วยมือ มันเป็นวัฒนธรรมของพวกเขา ที่จะต้องมีถุงย่ามสำหรับคนที่จะเดินทางไปไหนมาไหนเด็กเหล่านี้ เดินทางไกลจากภูเขาที่แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย […]

ดาว ดวงน้อยรอคอยแสงจากพระจันทร์

ในค่ำคืนที่มืดมิด ฉันนั่งมองขึ้นไปบนท้องฟ้า ฉันเห็นดาวดวงน้อย ๆ ล่องลอยอยู่บนท้องฟ้าที่มืดมิด ฉันเห็นพระจันทร์ที่มีสีนวลผ่อง มันทำให้ฉันคิดถึงเด็กตัวน้อย ๆ ที่มีความบริสุทธ์สดใสในคืนนี้ มันทำให้ฉันคิดถึงหมู่บ้านสามแยกป่าคา หมู่บ้านหนึ่งที่ฉันได้ไปใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับชาวบ้าน และเด็ก ๆ กลุ่ม ๆ หนึ่ง ในคืนนั้น ฉันนั่งฟังหัวหน้าครอบครัวของหมู่บ้านสามแยกป่าคา เล่าถึงที่มาที่ไปของครอบครัวเขาและหมู่บ้าน สิ่งแรกที่ฉันเห็นและรู้สึกแปลกใจขึ้นมาทันทีในหมู่บ้านนี้ คือ ปัจจุบันหมู่บ้านนี้มีอยู่ 3 หลังคาเรือน มันทำให้ฉันเกิดความคิดและสงสัยขึ้นมาว่าทำไมหมู่บ้านนี้กลายเป็นแบบนี้ชาวบ้านทำไมถึงย้ายอพยพลงไปอยู่ข้างล่าง เหลือเพียงแค่ 3 หลังคาเรือน อาจจะเป็นเพราะเขาอยากที่จะใกล้กับการศึกษา การสาธารณสุข การติดต่อสื่อสาร มันหมายถึงการพัฒนาไปอีกขั้นของชาวเขาและการศึกษาของลูก ๆ หลาน ๆ ครอบครัวของอาโย๊ะ อาโย๊ะ เป็นหัวหน้าครอบครัวและเป็นครอบครัวเดียวที่ยังอาศัยอยู่ที่หมู่บ้านสามแยก ป่าคา ในคืนนั้น อาโย๊ะ ได้นั่งเล่าถึงประวัติความเป็นมาของครอบครัวเขา สงครามเป็นสาเหตุทำให้พวกเขาต้องอพยพย้ายถิ่นฐานข้ามน้ำเข้ามาอาศัยดินแดน แห่งขวานโบราณ พวกเขาหนี้ตายมาเพื่อหวังว่าจะมาอาศัยและหาความปลอดภัยให้กับชีวิตและครอบครัว อา โย๊ะเล่าว่า ครอบครัวของเขามีทั้งหมด 8 คน เมื่อ 9 ปีก่อน ก่อนที่ เขาจะอพยพมาอยู่เมืองไทย […]

รู้เท่าทันสิทธิ ด้วยสื่อละครภาษาเผ่า

ความเข้าใจและเข้าถึงสิทธิต่างๆถือเป็นเรื่องที่สำคัญกับคนชาติพันธุ์ ด้วยปัญหาทางด้านภาษาและการสื่อสารบวกกับชาวบ้านไม่มีความเข้าใจในประเด็นเรื่องสัญชาติ ทั้ง กฏหมาย และพ.ร.บ.ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงขั้นตอนและวิธีการในการดำเนินการต่างๆ เพื่อให้ได้ซึ่งสถานะใดสถานะหนึ่ง อย่างถูกต้องตามกฏหมาย  ทำให้เวลาชาวบ้านเข้าไปที่ว่าการอำเภอ ณ เขตที่ตนเองพำนับอยู่ เพื่อขอยื่นขอสถานะต่างๆ ล้วนทำให้ชาวบ้านเสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทางครั้งแล้วครั้งเล่ามิใช่น้อย สุดท้ายชาวบ้านที่มีสิทธิ์อยู่แล้ว กลับไม่ได้รับการดำเนินการใดๆ เพราะความไม่เข้าใจและการสื่อสารที่ไม่รู้เรื่องระหว่างเจ้าหน้าที่กับชาวบ้านเอง ทำให้ความไร้รัฐ และไร้สัญชาติ ยังคงพบเจอในสังคมของพี่น้องชนเผ่า อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จนถึงทุกวันนี้กิจกรรมแสดงละคร เพื่อสะท้อนเรื่องราวปัญหาของผู้ไร้รัฐ ไร้สัญชาติ เกิดขึ้นโดยกลุ่มเด็กเยาวชน ชาติพันธุ์อ่าข่า ที่รวมตัวกันทำกิจกรรม หลังเลิกเรียน  โดยมีการเข้าไปทำกิจกรรมในหมู่บ้านชนเผ่า ซึ่งรูปแบบละครจะมีทั้งภาษาไทย และภาษาชนเผ่า  จากกลุ่มเด็กที่อาศัยอยู่ต่างหมู่บ้าน ต่างชุมชน  แต่ด้วยสภาพสังคมที่พวกเขาอาศัยอยู่นั้น เต็มไปด้วยปัญหาต่างๆมากมาย ปัญหาหนึ่งในนั้นคือ การไร้รัฐ ไร้สัญชาติของพี่น้องชาติพันธุ์ ทำให้ไร้สิทธิและส่งผลต่อความจำเป็นขั้นพื้นฐานในฐานะมนุษยชาติคนหนึ่ง แต่พวกเขากลับไม่ได้รับ ไม่ได้เป็น เหมือนที่คนในสังคมส่วนใหญ่เป็น เพราะแค่คำว่า “ไร้สัญชาติ”หรือเรียกง่ายๆตามภาษาชาวบ้านคือ “ไม่มีบัตร”  เพราะนี่เองทำให้กลุ่มเด็กเยาวชนชนเผ่าหันมาอบรมงานละคร โดยการสนับสนุนของสำนักกฏหมายเพื่อการพิทักษ์สิทธิ มูลนิธิกระจกเงา จากนั้นก็นำไปสู่การเขียนบทละคร และซ้อม  ในขั้นตอนทั้งหมด กลุ่มเด็กจะเป็นคนคิดและทำเอง  โดยกลุ่มเด็กเหล่านี้จะเลือกหมู่บ้านชนเผ่าที่คิดว่ายังมีปัญหาเรื่องไร้สัญชาติอยู่ก็เข้าไปทำกิจกรรมในหมู่บ้านนั้นๆ  การแสดงละครสลับกับการทำกิจกรรมกับเด็กๆในพื้นที่ มีเสียงหัวเราะเมื่อยามเด็กๆปล่อยมุขออกไป  ละครที่สนุกและแฝงไปด้วยสาระเกี่ยวกับ […]

ตามทางฝันบนความหวังที่เลือนลาง

ในชีวิตของคนหนึ่งคนสามารถอดทนและแบกรับความทุกข์ความผิดหวังได้มากแค่ไหน คนทุกคนเกิดมาพร้อมความฝันและพยายามทำให้ฝันเป็นจริง แต่จะมีซักกี่คนที่ไม่กล้าแม้แต่จะฝันไม่กล้าคาดหวังอะไรทั้งสิ้น เพราะฝันได้แค่ฝันไม่มีวันทำตามฝันได้ หวังแล้วก็ผิดหวังไม่เคยพบเจอกับคำว่าสมหวังเหมือนใครเขา เพราะคนเราเลือกเกิดไม่ได้ใครๆก้อรู้ดี แต่ทำไมยากจังที่จะหาใครมาเข้าใจว่า ไม่มีใครอยากเกิดมาเป็นคนไร้สัญชาติ แค่ถูกตัดสิทธิที่เธอควรได้รับมันก็แย่มากพอแล้ว ยังจะถูกสังคมซ้ำเติมอีก ถูกจัดว่าเป็นคนไร้ค่า เป็นขยะสังคม เป็นตัวบั่นทอนความเจริญ ถ้าคิดสักนิดสังคมต่างหากที่ยัดเยียดความน่ารังเกียจให้เขา คุณเอาอะไรมาตัดสินตัวเขาว่าเขาเป็นคนต่างด้าวถ้าคุณไม่พิสูจน์ คุณรู้ได้อย่างไรว่าเขาไม่มีความสามารถในเมื่อคุณยังไม่เคยเปิดโอกาสให้เขาได้พิสูจน์ตัวตน                    “เฝยเม่ง แซ่เติ๋น” เด็กสาวชาวเมี่ยน เธอเกิดที่หมู่บ้านน้ำกิ ต.ผาทอง อ.ท่าวังผา จ.น่าน มีพี่น้องอีกเก้าคน เธอเกิดวันนที่ 12 มิถุนายน 2533 เธอเคยถามใครคนหนึ่งว่าที่แห่งนี้ยังอยู่ในแผนที่ประเทศไทยหรือเปล่าถ้าใช่แล้วทำไมมีแต่คนเรียกเขาว่า “เด็กดอย” “เด็กลาว” หรือไม่ก็ “ต่างด้าว” เธอเองก็มีความหวังความฝันเหมือนคนอื่นๆ แต่เธอไม่สามารถทำตามความฝันได้ เพราะเธอขาดใบเบิกทาง คือ “บัตรประชาชน” สิ่งที่เธอ อยากได้อยากมีมากที่สุดตั้งแต่วันแรกที่รู้ตัวว่าเป็นคนไม่มีสัญชาติจนถึงวันนี้คือ “ความยุติธรรม” เธอสงสัยมาตลอดว่าทำไมเธอและครอบครัวถึงไม่ได้สัญชาติไทย ทั้งๆที่เกิดบนผืนแผ่นดินไทย ปู่-ย่า-ตา-ยาย-ญาติพี่น้องของพ่อแม่ต่างก้อเป็นคนไทย พวกเขาพยายามติดต่อสอบถามกฎหมายเกี่ยวกับเรื่องสัญชาติจากหลายคนที่คิดว่าสามารถช่วยได้ พยายามดิ้นรนมาทุกวิถีทาง […]

เกิดมาเป็นคน ก็ต้องทน…กันไป

จากเดิมที่คนกลุ่มหนึ่ง อาศัยอยู่บนที่ราบสูง (กลุ่มชาติพันธุ์ เช่น อาข่า ลาหู่  กะเหรี่ยง ฯลฯ) ห่างไกลความเจริญ จนถูกกล่าวหาว่าเป็นคนป่า คนดอย ป่าคือชีวิตของพวกเขา พวกเขาไม่เคยโกรธที่ถูกว่าแบบนั้นพวกเขากลับภูมิใจที่ได้อยู่กับป่าด้วยซ้ำ หากแต่พวกเขาถูกกล่าวหาว่า เป็นผู้ทำลายป่าไม้ ทั้งนี้เพราะอ้างว่าพวกเขามีอาชีพทำไร่ ทำการเกษตร ต้องตัดไม้บนเขาเพื่อทำการเกษตร แต่นั้นเป็นเพียงแค่ข้อกล่าวหาจากชุมชนภายนอกและเหตุผลที่สำคัญกว่านั้นคือ การเล็งเห็นความสำคัญของการศึกษา ที่พวกเขาจะสามารถมอบให้ลูกหลานต่อไปได้ อย่างน้อยหากต้องอยู่บนนี้ตลอดไป ลูกหลานของพวกเขาอาจไม่ได้รับการศึกษาเท่าเทียมเหมือนคนไทยทั่วไป และแน่นอนว่าหากไม่ใช่เหตุผลเหล่านนั้นพวกเขา คงไม่ยอมที่จะทิ้งบ้านป่าของพวกเขาลงมาสู้พื้นที่ราบ ที่มีแต่คนดูถูกพวกเขาอย่างแน่นอน ผักหละ คือหมู่บ้านหนึ่งที่มีวิถีชีวิตที่คล้ายคลึงกับกลุ่มชาติพันธุ์ทั่วๆไป ที่ต้องลงมาเพื่อหยุดข้อครหาของรัฐาลว่าเป็นคนทำลายป่า ซึ่งมีประชากร 152 คน 22 ครัวเรือน เป็นหมู่บ้านเล็กๆ ที่ชาวบ้านได้อพยพมาจากหลายๆที่ ซึ่งประชากรส่วนใหญ่เป็นชนเผ่าอาข่าหรือเรียกว่าชาติพันธุ์อาข่า ซึ่งเป็นหนึ่งในความหลากหลายทางชาติพันธุ์ที่มีอยู่ในประเทศไทย และส่วนใหญ่จะอยู่ทางตอนเหนือของไทย พวกเขาซึ่งกำลังประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย ที่ดินทำกินที่พวกเขาอาศัยมาเป็นระยะเวลา 5 ปี ซึ่งเป็นที่ดิน ส.ป.ก นั้นคือสิ่งที่พวกเขาไม่เคยรู้มาก่อน ว่าที่ที่พวกเขาสร้างบ้านเรือนนั้นเป็นที่ดิน ส.ป.ก ซึ่งพวกเขาจะต้องใช้ประโยชน์ที่ดินดังกล่าวในการทำการเกษตรเท่านั้น ซึ่งนับว่าเป็นปัญหาที่ใหญ่มากสำหรับพวกเขา           […]

หนังตัวอย่าง ‘ไร้สัญชาติ’ ปัญหาใหญ่กว่าที่คิด !

” เด็กสามารถสอบเข้าแพทย์ได้ ผมคิดว่าน่าจะให้เด็กคนนั้นเป็น พลเมืองไทย ดีกว่า ถ้าจะให้ไล่กลับเวียดนาม ผมว่าผมเก็บไว้ดีกว่า อย่าเป็นศรีธนญชัยมาก อย่าไปรังเกียจ จุดอ่อนของเราคือระบบราชการตีความ” …เป็นคำกล่าวของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ต่อกรณี น้องกุ้ง-ยุทธนา ผ่ามวัน นักเรียนไทยเชื้อสายเวียดนาม หลังจากคณะกรรม การสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ รับเรื่องร้องเรียนของยุทธนา ที่สอบติดคณะแพทย ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แต่มีปัญหาเรื่องการเข้าเรียน เพราะ “ขาดคุณสมบัติ” “ไม่มีสัญชาติไทย” ไม่มีบัตรประจำตัวประชาชน… รายของ “ยุทธนา” อาจจะจบ…แต่รายอื่น ๆ ยัง !! “สิทธิ-เสรีภาพ” ทั่วทุกมุมโลกต่างอ้างถึงกันอึงมี่ แต่ขณะเดียวกัน… ยังมีผู้คนจำนวนมากที่ถูกละเมิดสิทธิหรือ “ไม่ได้รับสิทธิ” โดยเฉพาะสิทธิในความเป็นประชาชนพลเมืองของประเทศที่ตนพำนักอาศัย เด็กจำนวนไม่น้อยที่เกิดในประเทศไทย “ไร้สัญชาติ” ไม่มีการแจ้งเกิด ถูกปฏิเสธที่จะให้สิทธิต่าง ๆ จากเจ้าหน้าที่รัฐ จึงทำให้ไม่มีสถานะบุคคลตามกฎหมายอย่างถูกต้อง จึงตกเป็น “คนไร้รัฐ” ภาวะไร้สัญชาติทำให้เด็กและ เยาวชนจำนวนไม่น้อยไม่ได้รับการศึกษาจน จบหลักสูตร ไม่ได้รับวุฒิการศึกษา และเป็น […]

บัตรสีชมพู

ฉันอยากให้พ่อแม่ของฉันได้รับการรักษาพยาบาลฟรี อยากให้พ่อแม่มีบัตรประกันสุขภาพหรือบัตรผู้มีรายได้น้อย หรือบัตรสงเคราะห์ใดๆที่ราชการออกให้ ฉันได้แต่มองพ่อและแม่ของฉันตายต่อหน้าต่อตาด้วยความทรมาน ฉันอยากพาพ่อแม่ไปรักษาพยาบาลแต่ฉันไม่มีเงิน พ่อชื่อ นายสาม เสียชีวิตด้วยโรคตับเมื่อปีที่แล้ว แม่ชื่อ นาง เอ้ย เสียชีวิตเมื่อปีที่แล้วเช่นกันด้วยโรค ไตวาย นี่เป็นคำบอกเล่าของหญิงสาวชาวไทยใหญ่ แห่งบ้าน….ต.เวียงพาคำ อ.แม่สาย จ.เชียงราย ฉัน เคยถามพ่อแม่ก่อนตายว่า ทำไม่พ่อแม่ไม่พาครอบครัวเรากลับไปอยู่ที่บ้านเกิดของพ่อแม่ที่ เชียงตุง ประเทศพม่า พ่อแม่บอกว่า ลูกเกิดที่เมืองไทย น้องก็เกิดที่เมืองไทย ลูกไม่เคยอยู่ที่นั่น พูดกันคนละภาษาที่นั่นพูดภาษาพม่า พ่อแม่ตัดสินใจให้ครอบครัวเราอยู่ที่เมืองไทย เพราะภาษาเราคล้ายกัน พ่อแม่อยู่เมืองไทยมานาน รักนายหลวงของไทย พ่อแม่รักเมืองไทย หนึ่งปีกว่าผ่านมาแล้ว ทุกคำพูดของพ่อแม่ยังอยู่ในความรู้สึกของฉันมาตลอด ฉัน เกิดเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2521 บ้านดอยงาม ตำบลเวียงพาคำ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย พ่อและแม่เกิดที่ เชียงตุงประเทศพม่า ด้วยปัญหาเรื่องความเป็นอยู่และเรื่องสิทธิต่างๆของชนกลุ่มน้อยต่างๆในพม่า ทำให้ครอบครัวของฉันต้องอพยพหนีภัยความตายเข้ามาในประเทศไทยทางด้านอำเภอแม่ สาย จังหวัดเชียงราย เมื่อปี พ.ศ 2495 ในฐานะผู้เข้ามาในราชอณาจักรไทยโดยมิชอบด้วยกฏหมายศูนย์ พัฒนาการศึกษาเพื่อลูกหญิงและชุมชน องค์กรพัฒนาเอกชนแห่งหนึ่งตั้งอยู่อำเภอแม่สาย […]

สรุปเวทีสาธารณะจังหวัดตาก “เด็กกับความหวังการได้เป็นคนถูกกฎหมายและได้สัญชาติไทย” ตามมาตรา ๗ ทวิวรรคสอง และมาตรา ๗ ทวิวรรคสาม ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ.๒๕๕๑

เวทีสาธารณะ จังหวัดตาก “เด็กกับความหวังการได้เป็นคนถูกกฎหมายและได้สัญชาติไทย” ตามมาตรา ๗ ทวิวรรคสอง และมาตรา ๗ ทวิวรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ.๒๕๕๑  ๑. ความเป็นมา การรอคอยของเด็กและบุคคลที่เกิดในประเทศไทยภายใต้มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๗ ธันวาคม ๒๕๕๓  เห็นชอบให้กำหนดสถานะของบุคคลที่อพยพเข้ามาอยู่ในประเทศไทยและอาศัยอยู่มานาน โดยกำหนดหลักเกณฑ์การกำหนดสถานะบุคคลตามยุทธศาสตร์การจัดการปัญหาสถานะและสิทธิของบุคคล โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มเด็กหรือบุคคลที่จะได้รับสัญชาติไทยตามมาตรา ๗ ทวิวรรคสองกำหนดว่า มาตรา ๗ ทวิ ผู้เกิดในราชอาณาจักรไทย โดยบิดาและมารดาเป็นคนต่างด้าว ย่อมไม่ได้รับสัญชาติไทย ถ้าในขณะที่เกิดบิดาตามกฎหมายหรือบิดาซึ่งมิได้มีการสมรสกับมารดาหรือมารดาของผู้นั้นเป็น (๑) ผู้ที่ได้รับการผ่อนผันให้พักอาศัยอยู่ในราชอาณาจักรไทยเป็นกรณีพิเศษเฉพาะราย (๒) ผู้ที่ได้รับอนุญาตให้เข้าอยู่ในราชอาณาจักรไทยเพียงชั่วคราว (๓) ผู้ที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง ในกรณีที่เห็นสมควร รัฐมนตรีจะพิจารณาและสั่งเฉพาะรายหรือเป็นการทั่วไปให้บุคคลตามวรรค หนึ่งได้สัญชาติไทยก็ได้ ตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด ผู้เกิดในราชอาณาจักรไทยซึ่งไม่ได้สัญชาติไทยตามวรรคหนึ่งจะอยู่ในราชอาณาจักรไทยในฐานะ ใด ภายใต้เงื่อนไขใด ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรและสิทธิมนุษยชนประกอบกัน ในระหว่างที่ยังไม่มีกฎกระทรวงดังกล่าว ให้ถือว่าผู้นั้นเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การสั่งให้บุคคลซึ่งไม่มีสัญชาติไทยที่เกิดในราชอาณาจักรไทยโดยบิดาและมารดาเป็นคนต่างด้าว ได้สัญชาติไทยเป็นการทั่วไป และการให้สัญชาติไทยเป็นการเฉพาะราย ลงวันที่ ๒๖ กันยายน […]

1 55 56 57 58 59 72
Copyright © 2018. All rights reserved.