Month: May 2563

นำร่องให้บัตรประชาชนคนเฒ่าไร้สัญชาติริมโขง หลังตกหล่นทางทะเบียนมา 82 ปี

นำร่องให้บัตรประชาชนคนเฒ่าไร้สัญชาติริมโขง หลังตกหล่นทางทะเบียนมา 82 ปี เผยยังมีผู้สูงอายุอีกกว่า 800 กำลังลำบาก “รศ.พันธุ์ทิพย์”แนะกรมการปกครองทำคู่มือหนังสือสั่งการฉบับตำราให้สำนักทะเบียนราษฏร วันที่ 22 พฤษภาคม 2563 ณ ที่ว่าการอำเภอเชียงของ จ.เชียงราย นายพร ธรรมกอง หรือลุงพร วัย 82 ปี ชาวบ้านห้วยซ้อ หมู่ 12 ตำบลห้วยซ้อ อำเภอเชียงของ ได้เดินทางมาถ่ายรูปติดบัตรประจำตัวประชาชน เป็นครั้งแรก ภายหลังได้รับการอนุมัติเพิ่มชื่อและรายการบุคคลในทะเบียนบ้าน (ทร.14) โดยลุงพรเป็นคนไร้สัญชาติมาทั้งชีวิตทั้งๆ ที่เกิดในเดินแดนประเทศไทย แต่ได้เดินทางเข้าไปทำงานและดำเนินชีวิตในลาวตั้งแต่เด็กก่อนจะกลับมาอยู่บ้านเกิด ทั้งนี้คณะทำงานโครงการสุขภาวะผู้เฒ่าไร้รัฐไร้สัญชาติในพื้นที่พรมแดนไทย-พม่าและไทย-ลาว นำโดยนางเตือนใจ ดีเทศน์ ที่ปรึกษามูลนิธิพัฒนาชุมชนและเขตภูเขา (พชภ.) และสมาชิกกลุ่มรักษ์เชียงของ เข้าร่วมเป็นสักขีพยานและแสดงความยินดี นายเกรียงไกร แจ้งสว่าง เจ้าหน้าที่กลุ่มรักษ์เชียงของ กล่าวว่าลุงได้รับสัญชาติไทย โดยอยู่ในกลุ่มคนคนตกหล่นทางทะเบียน ซึ่งจากข้อเท็จจริงข้อมูลความเป็นมาและคำให้การของพยานรับรองนายพร ธรรมกอง ทั้งจากการประชาคมหมู่บ้าน และจากพยานบุคคลที่รับรองว่านายพร ธรรมกอง มีพ่อเป็นชาวบ้านห้วยซ้อ ครอบครัวรู้จักกัน โดยในช่วงที่ทางการให้ทำบัตรประชาชน นายพรได้ตกหล่นทางทะเบียน ประกอบกับพ่อแม่ได้เสียชีวิตประมาณปีพ.ศ. […]

ไร้สัญชาติยังไร้สิทธิ เข้าไม่ถึงรัฐเยียวยา

“เพราะฉันไม่มีบัตรประชาชน …ฉันจึงไม่ได้รับการช่วยเหลืออะไรเลย” คำพูดจากใบหน้าเศร้าหมอง ดวงตาฝ้าฟางของผู้เฒ่าชาวอาข่า อายุกว่า 65 ปีแล้ว อีกทั้งบางคนก็พิการ บางคนเป็นผู้ป่วยติดเตียง ใช้ชีวิตอยู่แต่ละวันอย่างยากลำบาก บ้างก็ไม่มีลูกหลานดูแล อยู่ตามลำพัง ประเด็นน่าสนใจมีว่า…ผู้เฒ่าเหล่านี้บางคนตกหล่นจากการสำรวจไม่มีชื่อในระบบทะเบียนราษฎร บางคนถือ…บัตรเลข 0 บางคนถือ…บัตรเลข 6 แม้จะเกิดในประเทศไทยหรือเข้ามามีภูมิลำเนาเดิมอยู่ในประเทศไทย 30 ถึง 60 ปีแล้ว จนกลมกลืนเข้ากับสังคมไทย มีลูกหลานเป็นคนชาติไทย อีกทั้ง…บางคนก็ถือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวและใบถิ่นที่อยู่ 15- 20 ปี แต่ยังไม่ได้เข้าสู่กระบวนการแปลงสัญชาติ หรือเข้าสู่กระบวนการแปลงสัญชาติแล้วแต่ติดเงื่อนไขและขั้นตอนที่ต้องใช้เวลามากและเกี่ยวข้องกับหน่วยงานหลายหน่วยงาน อย่าทิ้งคนไร้สัญชาติไว้เบื้องหลัง จากมาตรการเยียวยาผู้ได้รับ ผลกระทบจากโควิด-19? เจ้าหน้าที่มูลนิธิพัฒนาชุมชนและเขตภูเขา (พชภ.) เครือข่าย สสส. ได้นำตะกร้ายังชีพจาก “โครงการเทใจ”…มีข้าวสาร ไข่ไก่ ผลไม้ สบู่ ยาสีฟันและเงินสด ไปมอบให้ถึงบ้าน น้ำตาของผู้เฒ่าก็ไหลรินด้วยความดีใจ กล่าวขอบคุณจากหัวใจคนแก่ ที่ยังมีคนจิตใจดีงามที่คิดถึงผู้เฒ่าที่ไม่มีใครมองเห็น โครงการพัฒนาสุขภาวะผู้เฒ่ารัฐไร้สัญชาติในพื้นที่พรมแดนไทย-พม่า และไทย-ลาว ตั้งแต่ปี 2555 โดยมูลนิธิ พชภ.ได้เห็นความก้าวหน้าระดับนโยบายที่ให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหา “คนไร้สัญชาติ” คือ มติคณะรัฐมนตรี […]

แรงงานเพื่อนบ้านหัวหิน-อ้อมน้อย ตกงาน กลับบ้านไม่ได้ ความช่วยเหลือไปไม่ถึง

แรงงานหญิงพม่าท้อง 4 เดือนวอนขอกลับประเทศ ตกงานแถมสามีไปต่อพาสปอร์ตช่วงโควิด-ไม่ได้กลับมาแสนเดียวดาย-ยื่นหนังสือกระทรวงแรงงาน เอ็นจีโอหวั่นเชื้อประทุในกลุ่มแรงงานข้ามชาติเหตุอยู่กันแออัด-เด็กๆ ไร้หน้ากากอนามัย เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2563 เจ้าหน้าที่เทศบาลหัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์  ลงพื้นที่เยี่ยมแรงงานข้ามชาติที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 ในเขตเทศบาลเมืองหัวหิน อาทิ ซอยอ่างน้ำ ห้องแถวแพไม้ หัวหินซอย 68 จำนวน 62 ครอบครัว โดยได้นำหน้ากากอนามัยไปมอบให้ในเบื้องต้น และในวันที่ 13 พฤษภาคม จะมีภาคเอกชนนำข้าวสารอาหารมอบให้กับครอบครัวแรงงานข้ามชาติอีกครั้งหนึ่ง ทั้งนี้จากการสอบถามความต้องการ ทราบว่าแรงงานกลุ่มนี้ทำงานสัปดาห์ละ 1 วัน ทำให้ไม่มีเงินในการซื้ออาหารโดย 1 ในนี้เป็นผู้ป่วยติดเตียง ซึ่งทางเทศบาลได้แจ้งให้ศูนย์สาธารณสุขเข้าไปดูแล นายราม (นามสมมุติ) แรงงานข้ามชาติและจิตอาสาชาวพม่า กล่าวว่า เมื่อเดือนที่แล้วแรงานข้ามชาติในหัวหินที่ตกงานเริ่มไม่มีเงินซื้อข้าวกิน ตนและเพื่อนๆจึงพยายามหาทางช่วยโดยเริ่มต้นจากการลงพื้นที่ไปดูที่พักอาศัยของแรงงานที่อยู่แถวสะพานปลากันเป็นกลุ่มๆ ซึ่งพบว่าส่วนใหญ่พักอาศัยอยู่กันห้องละ 4-5 คน และกำลังจะไม่มีข้าวกินจริงๆ และเผอิญพวกตนได้รู้จักกับฝรั่งกลุ่มหนึ่งที่อาศัยอยู่ในหัวหินในนาม “Hua Hin COVID-19 Community” โดยคนกลุ่มนี้ได้ให้การช่วยเหลือด้านต่างๆกับคนต่างชาติด้วยกัน และพวกเขาได้มอบข้าวสารอาหารแห้งให้เอาไปแจกจ่าย หลังจากนั้นแรงงานข้ามชาติก็ได้บอกันปากต่อปากและประสานมาที่ตน ซึ่งใครที่เดือดร้อนมากก็จะรีบเอาข้าวสารอาหารแห้งไปให้ก่อน แรงงานบางส่วนไม่มีรถมาเอา พวกตนก็ขับมอเตอร์ไซและรถซาเล้งเอาไปให้ “ตอนนี้เรามีรายชื่อแรงงานต่างชาติที่กำลังเดือดร้อนอยู่ในหัวหินกว่า 800 คน ส่วนมากตกงาน เมื่อก่อนพวกเขาเคยทำงานอยู่ในร้านอาหาร ตั้งแผงอยู่ในตลาดโต้รุ่ง บางส่วนเป็นแม่บ้าน บางส่วนเป็นคนงานส่งน้ำ-น้ำแข็ง แต่หลังจากที่นักท่องเที่ยวหายไปหมด นายจ้างก็ไม่มีเงินจ้างเลย บางคนก็ไม่ได้ค่าจ้างเดือนสุดท้าย เพราะนายจ้างไม่มีเงินจริงๆ” นายรามกล่าว เมื่อถามว่าหน่วยงานราชการได้เข้ามาช่วยเหลือแรงงานต่างชาติบ้างหรือไม่ […]

แรงงาน แจง 10 มาตรการ สกัดโควิด-19 ในกลุ่มแรงงานต่างด้าว

เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2563 นายสุทธิ สุโกศล ปลัดกระทรวงแรงงาน เปิดเผยถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ยังพบการแพร่ในระบาดในกลุ่มแรงงานต่างด้าวว่า ในส่วนของกระทรวงแรงงาน ได้มีมาตรการเข้มงวดเพื่อมิให้มีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในกลุ่มแรงงานต่างด้าว ซึ่งได้แก่ 1) การชะลอการอนุมัตินำเข้าแรงงานต่างด้าว ตั้งแต่วันที่ 23 มีนาคมเป็นต้นไป จนกว่าสถานการณ์จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ 2) การผ่อนปรนให้แรงงานต่างด้าวสามารถอยู่ในราชอาณาจักรและทำงานได้ต่อไปจนถึง 30 พฤศจิกายน 2563 3) ป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในกลุ่มแรงงานต่างด้าว โดยร่วมมือกับสภากาชาดไทย กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการป้องกันนำร่องในพื้นที่จังหวัดสมุทรสาครและขยายความร่วมมือไปยังจังหวัดต่างๆ เพื่อให้แรงงานต่างด้าวที่ทำงานอยู่ในประเทศไทยป้องกันตนเองให้ปลอดภัยจากโควิด-19 การดำเนินการ ประกอบด้วย จัดทำเอกสารเผยแพร่เป็นภาษาของแรงงานต่างด้าว เพื่อให้สามารถสื่อสารเข้าใจง่าย รวมทั้งการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรการเยียวยาลดผลกระทบ การมอบสิ่งของเพื่อบรรเทาทุกข์ เช่น หน้ากากอนามัย เจลล้างมือ ถุงยังชีพ เป็นต้น รวมทั้งกระบวนการการเข้ารับการตรวจรักษาพยาบาลกรณีมีประวัติการเดินทางไปยังประเทศกลุ่มเสี่ยง ตลอดจนขั้นตอนการคัดกรอง การกักตัวเอง 14 วัน ตามกระบวนการที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด เสริมสร้างสร้างการรับรู้การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน 4) สำรวจตรวจสอบ (Check List) แรงงานต่างด้าวในสถานประกอบการให้สามารถทำงานได้โดยไม่ให้มีการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 […]

สแกนแรงงานต่างด้าวสกัดไวรัส กทม. ไล่เช็ก 392 แคมป์ทั่วกรุง

“หม่อมเต่า” จี้แรงงานจังหวัดปิดจุดเสี่ยงโควิด โฟกัสกลุ่มแรงงานต่างด้าว สุ่มตรวจสถานประกอบการ-โรงงาน ย้ำหากไม่ร่วมมือใช้ไม้แข็ง สั่งปิดโรงงานทันที กทม.หวั่นโควิด-19 ระบาดไซต์ก่อสร้างสั่ง 50 เขตสำรวจคัดกรองโรคเข้ม พบทั่วกรุงมีแคมป์แรงงานไทย-ต่างด้าว 392 โครงการ กว่า 6 หมื่นคน สถานการณ์ไวรัสโควิด-19 ที่คลี่คลายลง ทำให้รัฐบาลเตรียมผ่อนคลายมาตรการคุมเข้ม ขณะเดียวกันเพื่อไม่ให้โควิดย้อนกลับมาแพร่ระบาดรอบใหม่ ได้มีนโยบายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องโฟกัสไปที่การควบคุมป้องกันกลุ่มคนที่มีความเสี่ยง โดยเฉพาะอย่างยิ่งแรงงานที่ทำงานและพักอาศัยในไซต์ก่อสร้าง และโรงงานอุตสาหกรรม ดร.ดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า หม่อมราชวงศ์จัตุมงคล โสณกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้มอบหมายให้โฟกัสกลุ่มแรงงานต่างด้าวในสถานประกอบการเข้มข้นมากขึ้น โดยเฉพาะพื้นที่เสี่ยง เช่น สมุทรสาคร, นครปฐม, สงขลา ฯลฯ ให้ลงพื้นที่ตรวจสอบที่พักอาศัยของแรงงานรับจ้างทั่วไป แรงงานที่อาศัยในบ้านพักหรือที่พักชั่วคราว ต้องมีสถาพไม่แออัด และสุ่มเสี่ยงติดเชื้อโควิด หากพบว่าสถานประกอบการที่มีแรงงานต่างด้าวติดเชื้อโควิดเพิ่มขึ้น จะอาศัยอำนาจภายใต้ พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินสั่งปิด กทม.สแกน 392 ไซต์ก่อสร้าง นายชวินทร์ ศิรินาค ผู้อำนวยการสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยกับ […]

ครม.กำหนดแรงงานต่างด้าวมีสัญชาติอยู่ในไทย 100 คน ไร้สัญชาติ 50 คน

วันนี้ (15 เม.ย.) เวลา 14.00 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล นางนฤมล ภิญโญสินวัฒน์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ครม.มีมติเห็นชอบร่างประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี และ กระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดจำนวนคนต่างด้าวซึ่งจะมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร ประจำปี พ.ศ. …. ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้ และให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไป โดยเนื่องจากในปัจจุบันการเข้ามาอยู่ในประเทศไทยของชาวต่างชาติ นับได้ว่ามีความสำคัญต่อสังคมไทย โดยมีเหตุผลที่ต้องการเข้ามามีถิ่นที่อยู่ถาวรในประเทศไทยหลายประการ เช่น เข้ามาเพื่อทำงาน ดังนั้น จึงกำหนดให้คนต่างด้าวที่มีสัญชาติของแต่ละประเท ศซึ่งจะมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรประจำปี พ.ศ. 2563 มีจำนวนประเทศละไม่เกิน 100 คน และคนต่างด้าวไร้สัญชาติมีจำนวนไม่เกิน 50 คน

Copyright © 2018. All rights reserved.