Month: January 2562

คนไร้สัญชาติ ผู้ซึ่งไร้สิทธิ

หมี่จูเด็กผู้หญิงชาวอาข่า อายุ 20 ปี เล่าให้ทีมงาน The development of rights status for access to livelihoods ฟังถึงเหตุการณ์ที่ตนเองถูกตำรวจสายตรวจชุดจับกุม ของสภอ.แม่จัน จ.เชียงราย ควบคุมตัวในช่วงเช้าของ วันจันทร์ที่ 17 มิ.ย 56 เนื่องเพราะตนเองเป็นคนไร้สัญชาติ ยังไม่มีเลขประจำตัวประชาชน ไม่มีสิทธิในการเดินทางออกนอกเขตพื้นที่ควบคุม  โดยก่อนหน้านี้ 2 วันที่ผ่านมา หมี่จูได้รับโทรศัพท์ติดต่อครอบครัวที่อาศัยอยู่ที่หมู่บ้านใหม่พัฒนา ในเขตพื้นที่อ.แม่จัน ให้กลับบ้านมาเยี่ยมพ่อซึ่งกำลังป่วยอยู่ เธอไม่ชักช้ารีบบอกนายจ้างขอลาหยุดงานกลับบ้านมาเยี่ยมพ่อ โดยได้เดินทางมาจากที่ทำงานซึ่งเป็นโรงงานเล็กๆแห่งหนึ่งในอำเภอเมืองเชียงราย           โดยในช่วงเช้าของวันจันทร์ที่ 17 มิ.ย. 56 ขณะที่ตนเองจะเดินทางกลับไปทำงานที่อำเภอเมืองเชียงราย ระหว่างทางรถยนต์ที่เธอโดยสารมาต้องแวะจอดข้างทาง เพราะชุดตำรวจในเครื่องแบบ 5-6 คนยืนโบกรถยนต์ที่เธอนั่งโดยสารมา ให้หยุดรถและขอตรวจเอกสารต่างๆของคนที่โดยสารมากับรถ ตำรวจท่านหนึ่งได้สอบถามหมี่จูว่า มีบัตรประชาชนไทยไหม หมี่จูยื่นเอกสารชุดหนึ่งให้ตำรวจตรวจสอบดู ตำรวจท่านนั้นบอกว่าเอกสารนี้หมดอายุแล้วใช้ไม่ได้ ชุดตำรวจดังกล่าวจึงควบคุมตัวหมี่จูซึ่งเป็นคนเดียวในรถยนต์ไว้ เธอถูกส่งตัวไปยังสถานีตำรวจภูธรแม่จัน จังหวัดเชียงราย […]

ลงพื้นที่ให้คำปรึกษา บ้านหัวยน้ำขุน พื้นที่คนไร้สัญชาติ

สำนักกฏหมายสัญชาติเคลื่อนที่ ภายใต้โครงการ The development of rights status for access to livelihoods ร่วมกับ ADRA  เดินทางลงพื้นที่ บ.ห้วยน้ำขุ่น ม.16 ต.ห้วยน้ำขุ่น อ.แม่สรวย จ.เชียงราย เพื่อให้ความช่วยเหลือและให้คำปรึกษากับกลุ่มชนเผ่าไร้สัญชาติในพื้นที่ทั่วตำบลห้วยน้ำขุ่น ระหว่างวันที่  26-28 มิ.ย. 56 มีกลุ่มชาวบ้านไร้สัญชาติจำนวนไม่น้อย ทยอยเดินทางมาพบเจ้าหน้าที่ เพื่อขอคำปรึกษาแนะนำ เกี่ยวกับปัญหาสถานะบุคคล                 ด้วยการเดินทางมาพบกลุ่มคนไร้สัญชาติที่นี่เป็นไปด้วยความอยากลำบาก อยู่ในช่วงฤดูที่จะเข้าสู่หน้าฝนเส้นทางผ่านหุบเขาสูงชัน ตลอดระยะทางกว่า 40 กิโลเมตร จากอำเภอแม่สรวยจังหวัดเชียงราย เป็นอีกเหตุปัจจัยที่ยังคงทำให้ประชาชนที่นี่ยังคงเป็นคนไร้สัญชาติ ไม่สามารถใช้สิทธิในฐานะพลเมืองไทย ชาวบ้านหลายครอบครัวเคยเดินทางไปมาระหว่างสำนักทะเบียนอำเภอเพื่อยื่นคำขอมีสัญชาติ แต่ด้วยเพราะขั้นตอนกระบวนการดำเนินเรื่อง ต้องมีการสอบพยาน การตรวจสอบพยานหลักฐานมากมายหลายครั้ง ทำให้ชาวบ้านเกิดความท้อถอย อีกทั้งยังมีครอบครัวจำนวนมากที่ขาดความรู้และความเข้าใจในขั้นตอนการดำเนินเรื่องหลายครอบครัวขาดผู้ให้คำปรึกษาและแนะนำ หลายครอบครัวสื่อสารได้เพียงเฉพาะภาษาชนเผ่าท้องถิ่น         […]

อ.แม่ฟ้าหลวงเร่งดำเนินการตรวจสอบขั้นตอนการขอมีสัญชาติไทย

สำนักทะเบียนอำเภอแม่ฟ้าหลวงจังหวัดเชียงราย  เร่งดำเนินการตรวจสอบและพิจารณาคำร้องตามกระบวนการและขั้นตอนการขอมีสัญชาติไทยตามระเบียบสํานักทะเบียนกลางว่าด้วยการพิจารณาลงรายการสถานะบุคคลในทะเบียนราษฎร ให้แก่บุคคลบนพื้นที่สูง พ.ศ. ๒๕๔๓ ให้กับชาวบ้านที่ยื่นคำร้องขอไว้  โดยนายอำเภอแม่ฟ้าหลวงจังหวัดเชียงราย  ได้อนุมัติคำร้องขอสัญชาติไทยให้กับชาวชาวบ้านกว่า 1,800 คำร้อง และเร่งประสานผ่านกำนันผู้ใหญ่บ้านเพื่อแจ้งรายชื่อชาวบ้านที่ได้รับการอนุมัติสัญชาติไทยให้มาถ่ายบัตรประจำตัวประชาชน วันนี้ หมี่จุ่ม คาหล่า คุณยายอายุ  74 ปี ชาวอาข่าบ้านปูนะ ต.เทอดไท อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย ออกเดินทางจากหมู่บ้านแต่เช้าตรู่ มายังที่ว่าการอำเภอแม่ฟ้าหลวงเชียงราย   กว่า 8 ปีแล้วที่ครอบครัวของยายทำเรื่องขอสัญชาติไทยไว้ที่อำเภอ  โดยที่ผ่านมาได้หาพยานบุคคลที่น่าเชื่อถือมายืนยันรับรองตนเองและครอบครัวต่อนายทะเบียนอำเภอฯ ยายหมีจุ่มเป็นกลุ่มชนชาติพันธ์ดั้งเดิมที่เกิดในประเทศไทย ทำมาหากินตามวิถีคนชนเผ่ามานับชั่วคน  และเมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมาผู้ใหญ่บ้านที่หมู่บ้านมาแจ้งกับยายว่า ให้เตรียมตัวไปถ่ายบัตรประชาชน เนื่องจากครอบครัวตนเองและเพื่อนบ้านอีกจำนวนหนึ่ง   ได้รับอนุมัติสัญชาติไทยจากนายอำเภอฯแล้ว ในขณะที่ นางนวล แก้วคำ อายุ 35 ปี  ชาวไทยใหญ่หมู่บ้านเทอดไทย กล่าวทั้งน้ำตาว่า  ตัวเองเฝ้ารอโอกาสนี้มามากกว่า 25 ปี วันนี้จะเป็นวันที่ตนเองเป็นคนไทยสมบูรณ์  มีบัตรประชาชนที่จะนำไปใช้แสดงเมื่อตำรวจขอตรวจสอบ ตนเองเกิดในประเทศไทยในอำเภอแม่สาย เป็นคนไทยดั้งเดิมที่ตกสำรวจตั้งแต่รุ่นพ่อแม่   ซึ่งวันนี้นอกจากตนเองแล้วก็ยังมีเพื่อนบ้านที่ได้รับอนุมัติสัญชาติอีกกว่า 20 คนที่มารอถ่ายบัตรประชาชนในครั้งนี้ด้วย นายวรญาณ […]

สำนักงานกิจการความมั่นคงภายใน (สนมน.) จัดการประชุมให้ความรู้กับผู้ปฏิบัติงานตามมติครม. 7 ธ.ค. 2553

เมื่อวันที่ 2 ก.ค. 2556 สำนักงานกิจการความมั่นคงภายใน (สนมน.) กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ได้มีการจัดการประชุมติดตาม เร่งรัด ให้ความรู้กับผู้ปฏิบัติงานตามมติครม. 7 ธ.ค. 2553 (กลุ่ม 7 ทวิ วรรคสอง และต่างด้าว ม.17) โดยจัดเวที ขึ้น ณ. ศาลากลางจังหวัดเชียงราย โดยมีหน่วยงานภาครัฐจากสำนักทะเบียนต้องอำเภอต่างๆ ในพื้นที่ จ.เชียงราย และองค์กรพัฒนาเอกชนที่ทำงานพัฒนาชุมชนในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน โดยมีการให้ความรู้และแลกเปลี่ยนพูดคุย เกี่ยวกับเรื่องข้อกฎหมายสัญชาติ ซึ่งถือว่าเป็นข้อกฎหมายหลักในการกำหนดสถานะของบุคคลที่อยู่ในประเทศไทย ทั้งนี้ นายสันติพงษ์ มูลฟอง คณะอนุกรรมการศึกษาและแก้ไขปัญหาสถานะและสิทธิบุคคล หนึ่งในผู้เข้าร่วมเวทีในวันนี้ได้กล่าวในที่ประชุมว่า เรื่องนี้เป็นแนวของนโยบาย ที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกฯ ที่เคยแถลงต่อสภาผู้แทนราษฎรไว้อย่างชัดเจนว่าจะมีการจัดการปัญหาผู้หลบหนีเข้าเมืองและบุคคลที่มีปัญหาสถานะทางทะเบียนราษฎร เพราะการจัดการด้านประชากรถือว่าเป็นหน้าตาของประเทศ  คนที่มีปัญหาสถานะบุคคลถือว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงที่ง่ายต่อการเข้าสู่การค้ามนุษย์ เราต้องร่วมมือกันแก้ไขปัญหาเรื่องนี้อย่างจริงจัง ถ้าเรามีระบบจัดการด้านประชากรที่ดี เราก็จะสามารถเป็นผู้นำประเทศอื่นๆ ในการจัดการด้านประชากร เพราะประเทศไทยเองก็มีแรงงานข้ามชาติและคนไร้สัญชาติอยู่จำนวนมาก นอกจากนี้ในที่ประชุมยังมีการพูดถึงการดำเนินการและติดตามงาน ตามมติครม. 7 ธ.ค. 53 ซึ่งเป็นที่มาของการประกาศของกระทรวงมหาดไทย […]

จากจุดเริ่มต้น สู่การเป็นองค์กรภาคีเครือข่าย

เครือข่ายสิทธิและสถานะบุคคล เกิดจากการรวมตัวกันของกลุ่มองค์กรพัฒนาเอกชนในภาคเหนือ เป็นการร่วมตัวเพื่อทำงานร่วมกัน ในการผลักดันและแก้ไขปัญหาสถานะบุคคลให้กับครอบครัวชาวบ้านไร้รัฐและไร้สัญชาติ เพื่อให้สามารถเข้าถึงสิทธิพื้นฐานที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต และความเป็นธรรมในสังคม  ไม่ว่าจะเป็นใน การเข้าถึงสวัสดิการด้านการรักษาพยาบาล สิทธิในการทำงาน สิทธิในด้านการศึกษา สิทธิในการเดินทาง รวมถึงการปกป้องคุ้มครอบการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนในกรณีต่างๆ ปัจจุบันเครือข่ายเครือข่ายสิทธิและสถานะ เริ่มทำงานแก้ไขปัญหาตั้งแต่ต้นปี 2555 โดยมีเวทีประชุมเครือข่ายฯ เป็นประจำในทุกๆเดือน เพื่อเป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนพูดคุยถึงแนวทางการแก้ปัญหา และพัฒนาทักษะในการทำงาน นายสิทธิพงษ์ มูลฟอง คณะอนุกรรมการศึกษาและแก้ไขปัญหาสถานะและสิทธิบุคคล ที่ได้บอกเล่าเรื่องราวของจุดเริ่มต้นในการทำงานเป็นเครือข่าย เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน ที่ผ่านมานี้ว่า…    “จุดเริ่มต้นของเครือข่าย เริ่มจากการมองเห็นถึงสถานการณ์ที่เราทำงาน เราคิดทั้งประเด็นปัญหา ทั้งกระบวนการทำงาน ซึ่งการทำงานของพวกเราก็ไม่ได้มีความแตกต่างกันมาเท่าไหร่ ไม่ว่าจะเป็นในกลุ่มเป้าหมาย เช่น กลุ่ม 7 ทวิ กลุ่มต่างด้าว กลุ่มบัตรเลข 0 ก็ไม่ได้มีอะไรแตกต่างกันนะครับ แต่ปัญหาที่ผ่านมาที่พบกัน คือ เราต่างคนต่างทำ แล้วไม่ก่อให้เกิดพลัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องที่เราจะไปขับเคลื่อนเชิงนโยบาย ซึ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่เราต้องมีการรวมตัวกัน และในส่วนของกระบวนการทำงานในเชิงพื้นที่ มันเป็นในลักษณะเหมือนกับว่าต่างคนต่างทำ และไม่ได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ซึ่งตรงนี้ถ้าหากเรามีโอกาสที่ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ จากประสบการณ์ทำงานอีกที่หนึ่งไปสู่อีกที่หนึ่งนั้นก็จะเป็นการเสริมพลังการทำงานซึ่งกันและกัน เพราะที่ผ่านมาถ้าไม่ได้เรียนรู้ซึ่งกันและกัน ก็กลายเป็นว่าพวกเราลองผิดลองถูกกันในแต่ละพื้นที่ […]

1 2 3 56
Copyright © 2018. All rights reserved.