ความสำเร็จ..ที่เพิ่งนับหนึ่ง

“ค่าของคน ดูที่การกระทำ” วลีที่โชยมาเป็นคำเปรย เพื่อเชื้อเชิญให้ทุกคนทำความดี มุ่งให้เห็นว่า คนจะมี คุณค่าน้อยมากเพียงใดวัดกันที่การกระทำ ใช่อื่นใด เฉก เช่นการเร้าให้สังคมตีตราค่าของคนอย่างเท่าเทียม โดย ไร้ข้อจำกัดด้านความต่างทางเพศชาติ พันธุ์กำเนิด ศักดิ์ฐานันดร หรือแม้แต่ความเชื่อ ซึ่งสิ่งเหล่านี้มีมา ให้เห็นในรูปของกฎหมายก็ดี การรณรงค์เชิญชวนก็ดี แต่คำถามคือว่า ความเท่าเทียมมีอยู่จริงหรือในสังคม ?? ไฉนการละเมิดบุคคลอื่น ที่มีความต่างยังคงเกิดขึ้นอยู่ อย่างเนือง ๆ และมีทีท่าว่าจะเพิ่มมากขึ้นทุกที
2 พฤศจิกายน 2011 วันนี้เป็นอีกวันหนึ่งที่ข้าพเจ้ามีความภาคภูมิใจ และมีกำลังใจในการต่อสู้อีกครั้ง เพราะ ข้าพเจ้าได้เห็นพลังของชาวบ้าน บ้านกระแล อำเภอพญาเม็งราย ลุกขึ้นมาเรียกร้องสิทธิของตนเอง ในการที่จะได้รับการสำรวจและจัดทำทะเบียนประวัติบุคคลผู้ไม่มีสถานะทางทะเบียน เขาเหล่านี้เป็นชาวเขาเผ่าม้ง ที่ยัง คงเป็นผู้ไร้เอกสารทางทะเบียนราษฎรใด ๆ อันจะเป็นสิ่งซึ่งค้ำยันการมีตัวตนอยู่ของเขา ที่จะไม่ตกเป็นบุคคลไร้รัฐ ไร้สัญชาติ เพราะนั่นหมายถึงความปวดร้าวที่จะเกิดแก่ชีวิตในอันที่ต้องรับผลจากการเป็นคนไร้รัฐ ไร้สัญชาติ นั่นเอง วันนี้เป็นวันที่สำคัญมากอีกวันหนึ่งสำหรับเขาเหล่านี้ เนื่องจากวันนี้เป็นวันสุดท้ายที่รัฐอนุญาตให้ผู้ใหญ่บ้าน หรือผู้อำนวยการโรงเรียนนำส่งข้อมูลบุคคลไร้ เอกสาร ที่อาศัยในชุมชนหรือเรียนอยู่ในโรงเรียนทุกแห่งในประเทศไทยแก่สำนักทะเบียนอำเภอ เพื่อกรอกข้อมูลบุคคล ที่ตกหล่นเพิ่มลงในฐานข้อมูลทะเบียนราษฎรของกระทรวงมหาดไทย ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งที่จะทำให้ บุคคลที่ถูกเพิ่มชื่อเหล่านี้มีตัวตนทางทะเบียนราษฎร มีหลักฐานทางทะเบียนราษฎร มีบัตรประจำตัวระบุ ยืนยันตัวตนแน่ชัด นอกจากนี้ ความสำคัญอย่างยิ่งยวดของการมีเอกสารทางทะเบียนราษฎรนั้นคือ สิทธิที่จะได้มา จากการมีเอกสาร อาทิ สิทธิด้านสาธารณะสุข สิทธิด้านการเดินทาง สิทธิการทำงาน เป็นต้น โดยก่อนหน้านี้บุคคล เหล่านี้ไม่ได้รับสิทธิใด ๆ เลย เพราะมีสถานะเพียงคนไร้รัฐเท่านั้น
นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2548 รัฐบาล โดยสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช) มีนโยบายเรื่องการจั
ดการ บุคคลไร้รัฐ ไร้สัญชาติที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยให้เป็นระบบแก้ไขปัญหาความทับซ้อนของปัญหาอันเกิิดจาก ความลักลั่นของ กฎหมายหรือเหตุอื่นๆซึ่งเป็นที่มาของปัญหาการเพิ่มขึ้นของคนที่มีปัญหาสถานะ การทุจริตของเจ้าหน้าที่รัฐ การ ละเมิดสิทธิความเป็นมนุษยอย่างไร้ขอบเขต และภายใต้ยุทธศาสตร์การจัดการปัญหาสิทธิและสถานะของบุคคล ที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย มีแนวคิดเรื่องการแก้ไขปัญหาคนดั้งเดิมที่ยังตกเป็นคนไร้สัญชาติคนที่ไร้รากเหง้า คนที่ อพยพเข้ามาอยู่ในประเทศเป็นระยะเวลาที่นานมากแล้ว หรือกลุ่มคนไร้รัฐ ไร้สัญชาติอื่น ๆ ที่อาศัยอยู่ในประเทศ ทั้งนี้ นโยบายดังกล่าวยังมุ่งแก้ปัญหาคนหลบหนีเข้าเมืองซึ่งใช้แนวทางที่เรียกว่าการสกัดกั้นคนเข้าเมืองอย่าง สร้างสรรค์ การสำรวจและจัดทำทะเบียนประวัติบุคคลผู้ไม่มีสถานะทางทะเบียน เป็นอีกวิธีการหนึ่งภายใต้กรอบ ของยุทธศาสตร์ดังกล่าว โดยหากพิจารณาจากแนวคิดแล้วจะเห็นได้ว่าประเทศไทยและบุคคลทีได้รับการจัดทำ ทะเบียนประวัติจะได้รับประโยชน์อย่างมากจากนโยบายดังกล่าว และนับแต่ปี ๒๕๔๘ ถึงปี ๒๕๕๔ รัฐมีคำสั่ง ทุกๆปีให้ผู้ใหญ่บ้านและโรงเรียน มีหน้าท่ีในการสำรวจประชากรในหมู่บ้าน หรือโรงเรียนที่ตกหล่นจากทะเบียนราษฎรและส่งข้อมูลดังกล่าวไปยังสำนักทะเบียนในเขตท้องที่เพื่อเพิ่มข้อมูลบุคคลเหล่านั้นในฐานข้อมูลทะเบียน ราษฎร และสำนักทะเบียนมีหน้าที่ที่จะต้องจัดทำบัตรประจำตัวและทะเบียนบ้านให้บุคคลที่ได้รับการเพิ่มชื่อ ภายหลังจากวันนั้นผ่านมาตั้ง ๖ ปีแล้ว แต่ทำไมชาวบ้านกลุ่มนี้จึงไม่ได้รับการสำรวจและจัดทำทะเบียน ทั้งที่เมื่อดูข้อเท็จจริงคนเหล่านี้มีคุณสมบัติทุกประการตามที่กำหนดไว้ในกฎหมาย“ดังนั้น การไร้สถานะทาง ทะเบียนนี้เป็นทั้งเหตุและผลที่ทำให้พวกเขาต้องขาดโอกาสและได้รับผลกระทบเกี่ยวกับสิทธิขั้นพื้นฐานในการ ดำรงชีวิตเป็นอย่างยิ่งในทุกๆ ด้าน” จนพวกเขาต้องลุกขึ้นมาเพื่อต่อสู้ เรียกร้องสิทธิให้กับตนเอง และครอบครัว
“ แม้ความรู้เพียงน้อยนิด มิอาจยกมาเพื่อใช้เป็นอาวุธต่อกรกับเจ้าหน้าที่รัฐหรือผู้มีอำนาจที่คอยเอาเปรียบเขาได้ แต่ความกล้าหาญที่รวมกัน ของพวกเขาแรงกล้าพอที่จะปกป้องศักดิ์ศรีเกียรติภูมิของเขาที่เคยถูกย่ำยี ”
 
นายจ๋าเน้ง แซ่วื่อ ชาวบ้านวัย 43 คนหนึ่งในกลุ่ม ยืนยันว่าตนเองเป็นผู้ที่เกิดและอาศัยอยู่ในประเทศไทย มาโดยตลอด แต่เป็นบุคคลซึ่งตกหล่นจากการสำรวจทางทะเบียนของรัฐเรื่อยมา เนื่องจากไม่ได้แจ้งการเกิดตั้งแต่ แรก และพ่อแม่ได้เสียชีวิตไปตั้งแต่ตนยังเด็ก เมื่อโตขึ้นมาพอรู้เรื่อง จึงพยายามติดต่อติดตามภาครัฐเพื่อขอมี สัญชาติไทยตลอดมา แต่ก็ไม่สำเร็จ เนื่องจากไม่มีเอกสารอันใดเลย ที่จะยืนยันสถานะของตนเองได้ จ๋าเน้งยอมรับ ว่า การเป็นบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียนนี้ต้องถูกคนมอง อย่างดูถูก และอยู่อย่างด้อยโอกาสกว่าคนอื่นๆ มา โดยตลอด ทั้งในด้านการทำงานก็ไม่ได้มีทางเลือกมากนัก งานที่ทำก็เป็นงานไร่งานสวนเพราะเป็นงานที่ไม่ต้อง ใช้เอกสารอะไรมาสมัครใช้เพียงความรู้ในการดูแล พืชผลไปวันๆ อีกทั้งยังไม่ต้องออกมาเจอผู้คนมากมายภายนอก อีก ซึ่งมันก็เป็นผลดีที่จะได้ไม่ต้องถูกจับดำเนินคดี แต่สิ่งที่ตามมาคือทำให้เขาไม่ได้รับข้อมูลข่าวสารจากภาย นอก จนต้องตกสำรวจอีกในปี พ.ศ. ๒๕๔๘ – ๒๕๔๙ จนในปี พ.ศ. ๒๕๕๐ จึงได้รับการสำรวจเป็นครั้งแรก แต่ก็ไม่ผ่าน เพราะว่าไม่มีเอกสารอะไรมาเป็น หลักฐานในการแสดงตนเลย และในปี พ.ศ. ๒๕๕๑ ก็ได้รับการ สำรวจอีกครั้ง เพราะความไม่รู้จึงไม่กล้าที่จะทำอะไร ไปมากกว่านี้ สิ่งที่ทำได้คือรอ…รอุ กดิว่าเมื่อไรที่จะมี การสำรวจอีกครั้ง และในระหว่างที่รอก็ยังคงต้องใช้ชีวิตอย่าง เจียมตัวต่อไป
ในปีนี้จ๋าเน้งและชาวบ้านอีกหลายคน ต่างก็มีความหวังอีกครั้งเมื่อรู้ว่าจะมีการสำรวจเกิดขึ้น จึงดิ้นรน ที่จะประสานงานกับภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อขอเข้ารับการสำรวจในครั้งนี้ แต่จนแล้วจนรอดก็ไม่มีวี่แวว ว่าเขาเหล่านั้นจะได้รับการสำรวจและจัดทำทะเบียนประวัติตามที่มีคำสั่งให้เจ้าหน้าที่รัฐดำเนินการ และด้วยความ หวั่นใจว่าจะต้องกลายเป็นคนตกหล่นอีกคำรบ จึงทำให้คนกลุ่มนี้รวมตัวกันเพื่อหาทางออก และทางออกที่ดีที่สุด คือการหาผู้ช่วยที่เข้าใจ ในช่วงเวลาสุดท้ายก่อนที่ห้วงเวลาที่รัฐกำหนดไว้จะสิ้นสุดลง ด้วยเหตุนี้ ข้าพเจ้าจึงได้เข้า ไปช่วยเหลือชาวบ้านกลุ่มนี้ทันทีที่ได้ฟังเรื่องราวของพวกเขา เนื่องเพราะข้าพเจ้ารู้ว่า เวลาใกล้สิ้นสุดลงแล้ว อีก เพียงสองวันเท่านั้นจึงหาทางออกโดยใช้เวลาที่เหลืออยู่ให้คุ้มค่าที่สุด ซึ่งสิ่งแรกที่ข้าพเจ้าทำคือการรวมกลุ่ม ชาวบ้านที่มีปัญหาอยู่เพื่อชี้แจงให้ความรู้ถึงสิทธิของชาวบ้านที่ควรได้รับจากการสำรวจในครั้งนี้ และเมื่อได้พบ ชาวบ้านกลุ่มนี้มากกว่าร้อยชีวิต ข้าพเจ้าสัมผัสได้ถึงความทุกข์ที่ฝังอยู่ภายใต้ห้วงแห่งจิต ความเจ็บปวดจากการที่ ถูกตราเป็นคนไร้รัฐไร้สัญชาติและความมุ่งมั่นอันเกิดจากความตั้งใจที่จะแก้ไขปัญหาอันหนักหน่วงตลอดชั่วชีวิต ที่ผ่านมาของเขาเหล่านั้น ส่งผลให้ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันก็ปรากฏขึ้นอย่างชัดแจ้ง “ แม้ความรู้เพียงน้อยนิด มิอาจยกมาเพื่อใช้เป็นอาวุธต่อกรกับเจ้าหน้าที่รัฐหรือผู้มีอำนาจที่คอยเอาเปรียบเขาได้ แต่ความกล้าหาญที่รวมกัน ของพวกเขาแรงกล้าพอที่จะปกป้องศักดิ์ศรีเกียรติภูมิของเขาที่เคยถูกย่ำยี ”
ภายหลังจากที่ทุกคนมีข้อตกลงร่วมกันที่จะต่อสู้ เรียกร้องให้อำเภอพญาเม็งรายต้องจัดทำทะเบียนให้กับพวกเขา แล้ว ก็ได้เดินทางมุ่งหน้าไปยังที่ว่าการอำเภอ เพื่อยื่นแบบสำรวจบุคคลตกหล่นทางทะเบียน หรือที่เรียกว่า แบบ 89 ในวันสุดท้ายของการดำเนินการ และหากพ้นวันนี้ไปแล้ว ไม่มีใครสามารถรับรองได้ว่า อีกเมื่อไหร่ภาครัฐ จะมีนโยบายการสำรวจจัดทำทะเบียนประวัติให้
บุคคลเหล่านี้ หรืออาจจะไม่มีแล้ว ถึงเวลานั้นจะเกิดอะไรขึ้นกับ พวกเขาเหล่านี้ในเบื้องต้นทางอำเภอพญาเม็งราย โดย นางสมพร อ่อนเส็ง ปลัดอำเภอหัวหน้าฝ่ายทะเบียนและบัตร ได้ ปฏิเสธไม่ดำเนินการให้กับเขาเหล่านั้น โดยอ้างว่าเป็นกลุ่มที่มีข้อมูลขัดแย้งกับข้อมูลเดิมที่เคยให้ไว้ ซึ่งทุกคน ยืนยันว่า ข้อมูลที่ให้ไปกับเจ้าหน้าที่รัฐในครั้งนี้ มีความถูกต้องและครบถ้วนที่สุด เพราะเจ้าหน้าที่จาก มูลนิธิ กระจกเงา เป็นผู้เก็บข้อมูลจากตัวเจ้าของปัญหาเองโดยมิได้แต่งเติมข้อมูลอื่นลงไป แต่จนแล้วจนรอด ปลัดอำเภอคนดังกล่าว ก็มีพฤติกรรมบ่ายเบี่ยงไม่ยอมดำเนินการให้กับพวกเขาเช่นเดิม จนเป็นเหตุให้ทุกคนมีมติ ร่วมกันว่าจะร่วมแจ้งความดำเนินคดีกับปลัดอำเภอคนดังกล่าว ในความผิดฐาน เจ้าหน้าที่ละเว้นปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งเป็นผลให้เกิดการเจรจาทั้งสองฝ่าย โดยมี คุณเตือนใจ ดีเทศน์ เดินทางมาให้ความช่วยเหลือในการเจรจา ไกล่เกลี่ยและขอให้อำเภอดำเนินการตามกฎหมาย ซึ่งเป็นผลส่วนหนึ่งที่ทำให้ให้อำเภอยอมดำเนินการเพิ่มชื่อเขาเหล่านั้นลงในฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร และทุกคนได้ถ่ายบัตรประจำตัวบุคคลผู้ไม่มีสถานะทางทะเบียนในเวลาต่อมา อันเป็น ความสำเร็จ..แห่งการเริ่มต้น
นายจ๋าเน้งกล่าวพร้อมน้ำที่ปริ่มอยู่ในดวงตาว่า “ผมดีใจที่สุดในวันนี้ เพราะผมได้บัตรมาแล้ว แม้ไม่ใช่บัตรประชา ชน แต่บัตรนี้ทำให้ผมเป็นคน หลังจากที่ 43 ปี ที่ผ่านมา ผมไม่มีตัวตน ผมไม่ใช่คนในสายตาคนอื่น ขอบคุณ ทุกท่านที่ช่วยผมครับ” คำพูดที่กลั่นออกมาจากความรู้สึกของคนคนหนึ่งที่ถูกกดบีบมาช้านาน เป็นคำถาม ที่ย้อนแย้งไปยังผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการให้ความช่วยเหลือเขาเหล่านี้ว่า ในขณะที่เราร้องป่าวว่าเราเคารพในหลัก การแห่งความเท่าเทียมความเสมอภาค แต่ทำไมเหตุการณ์ เหล่านี้ยังเกิดกับคนที่ถูกเรียกว่าคนชายขอบ และ เมื่อไหร่มันจะจบ สิ้นซักที อย่างไรก็ตาม ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นมีให้พบเห็นไม่บ่อยมากนักในสังคมของคนที่ ถูกเรียกว่าสังคมด้อย โอกาส เพราะเขาเหล่านี้ถูกผู้กุมอำนาจจำกัดสิทธิด้านต่าง ๆ เพื่อไม่ให้ลุกขึ้นมายืนอยู่ต่อหน้าพวกเขาได้… จากวันนี้ ความเดือนร้อนที่ชาวบ้าน เหล่านี้ได้รับมาโดยตลอดไม่เพียงแต่ในเรื่องของสิทธิขั้นพื้นฐานต่างๆเท่านั้น แต่ยัง รวมไปถึงความทุกข์ร้อนทางใจ ที่ต้องถูกดูถูกด้วยคำพูดท่าทางจากเพื่อนมนุษย์ ด้วยกันที่มองเขาแบบแบ่งแยกก็คงจะลดน้อยลงไปบ้าง และโอกาสในการพัฒนา คุณภาพชีวิตของพวกเขาก็จะมีมากยิ่งขึ้น ลูกหลานก็จะได้มีอนาคตที่สดใสและ เป็นกำลังใน การพัฒนาผืนแผ่นดินที่เขารักต่อไป ในวันนี้ข้าพเจ้า มิได้ดีใจที่พวกเขาได้บัตร มีชื่อในทะเบียนบ้าน แต่ข้าพเจ้าดีใจที่ได้เห็นพวกเขาลุกขึ้นมาเพื่อ ปกป้องสิทธิของเขา ด้วยตัวเอง…
สมชาติ พิพัฒน์ธราดล
สำนักกฎหมายเพื่อการพิทักษ์สิทธิ มูลนิธิกระจกเงา
Wed, 11/02/2011
Copyright © 2018. All rights reserved.