Month: June 2564

“ชาวประมงสมุทรสาคร”วอน“พ่อเมืองมหาชัย”ช่วยตามเรื่อง“ซีบุ๊คแรงงานต่างด้าว”หวั่นผิดกฎหมาย

“ชาวประมงสมุทรสาคร”วอน“พ่อเมืองมหาชัย”ช่วยตามเรื่อง“ซีบุ๊คแรงงานต่างด้าว”หวั่นผิดกฎหมาย “ชาวประมงสมุทรสาคร” บุกศาลากลางวอน “พ่อเมืองมหาชัย” ช่วยทวงถาม “กรมประมง” เอาไง เรื่องต่อ “ซีบุ๊คแรงงานต่างด้าว” ด้าน “วุฒิพงษ์” เผยรอ ครม.อนุมัติ          เมื่อเวลา 13.00 นวันที่ 14 มิ.ย.64 นายมงคล มงคลตรีลักษณ์ นายกสมาคมการประมงสมุทรสาคร พร้อมด้วยตัวแทนชาวประมงในจังหวัด ได้เดินทางมาที่ศาลากลางจังหวัดสมุทรสาคร เพื่อเข้าพบกับนายวีระศักดิ์ วิจิตร์แสงศรี ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร โดยต้องการฝากเรื่องผ่านผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร ไปทวงถามกรมประมงและผู้มีอำนาจในการอนุมัติการต่อหนังสือคนประจำเรือ Seabook (ซีบุ๊คเล่มเหลือง) ให้กับแรงงานต่างด้าวในเรือประมง ตามมาตรา 83 (กรณีพิเศษ) ที่ได้เคยให้ยื่นขออนุญาตทำงานในเรือประมงตั้งแต่เมื่อเดือนมิถุนายน-กันยายน 2563 และมีอายุการทำงานได้ 1 ปี ซึ่งในขณะนี้มีแรงงานเริ่มทยอยหมดอายุการทำงานแล้วนับตั้งแต่เมื่อวันที่ 7 มิถุนายนเป็นต้นมา แต่กรมประมงก็ยังนิ่งเฉยกับทิศทางการอนุญาตให้ต่อหนังสือคนประจำเรือที่ทั้งประเทศมีอยู่กว่า 3,000 คน ส่วนที่สมุทรสาครมีอยู่ 158 คน ซึ่งหากปล่อยผ่านไปจนถึงวันที่ 28 กันยายน 2564 แรงงานจำนวนนี้จะกลายเป็นแรงงานเถื่อนทั้งหมด และขณะนี้บางคนก็กลายเป็นแรงงานเถื่อนไปแล้ว เนื่องจากหนังสือคนประจำเรือหมดอายุลงตามวันที่ยื่นขออนุญาตเมื่อปีที่แล้วนั่นเอง […]

คนเท่ากัน-ลดอคติ “ต่างด้าว” ผู้สร้าง “จีดีพี” ก่อน-หลังโควิด!

ทีมข่าว “1/4 Special Report” เกาะติดสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 อย่างต่อเนื่อง ในสภาพปัจจุบันที่แคมป์พักคนงานต่างชาติหลายแห่งพบผู้ติดเชื้อเป็นจำนวนมาก สถานการณ์แรงงานข้ามชาติ หรือที่สื่อมวลชนและคนจำนวนมากชอบเรียกกันว่า “แรงงานต่างด้าว” ยังคงมีการลักลอบเข้าประเทศอย่างผิดกฎหมาย ท่ามกลางความเสี่ยงติดโรคระบาดแพร่กระจายกลายเป็นคลัสเตอร์ใหญ่ ๆ ตามที่ปรากฏในแคมป์พักคนงานหลายแห่งทั่วกรุงเทพฯและปริมณฑล ยิ่งตอกย้ำ “อคติ” ความไม่พอใจของคนไทยต่อแรงงานเหล่านี้ปรากฏให้เห็นมากขึ้น เกี่ยวกับปัญหาใหญ่ของแรงงานข้ามชาติ และแนวทางแก้ไขปัญหาช่วงโควิด-19 นั้น รศ.ดร.กิริยา กุลกลการ อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปิดเผยว่า ที่ผ่านมามีความพยายามจะเรียกแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านโดยชื่อใหม่ว่า แรงงานข้ามชาติ แรงงานต่างชาติ แทนคำว่าแรงงานต่างด้าว ซึ่งมีอคติการดูถูกแฝงอยู่ ก่อนโควิดจะระบาด สังคมไทยมีมุมมองต่อแรงงานเหล่านี้ดีขึ้นกว่าสมัยก่อนมาก แต่เมื่อเจอการแพร่ระบาดดูเหมือนอคติและความไม่พอใจแรงงานเพื่อนบ้านในสังคมไทยจะเพิ่มขึ้นมากกว่าเดิม ปัญหาหมักหมม “แรงงานข้ามชาติ” สร้างเศรษฐกิจไทย สำหรับปัญหาแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านนั้น เป็นปัญหาที่มีมาอย่างยาวนาน โดยเฉพาะการนำเข้าแรงงานโดยผิดกฎหมาย ทำให้พวกเขากลัวถูกเจ้าหน้าที่จับกุม จนต้องไปอยู่รวมกันอย่างแออัด เข้าไม่ถึงระบบสาธารณสุข ซึ่งปัญหาแรงงานผิดกฎหมายมันแก้ได้ยาก เพราะมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเยอะ หากต้องการนำแรงงานเข้ามาทำงานโดยถูกต้องตามกฎหมายไทย จะมีขั้นตอนและค่าใช้จ่ายเยอะมาก หลังจากเราเริ่มต้นเอาแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านมาลงทะเบียนใน พ.ศ. 2535 จนถึงปัจจุบันเกือบ 30 ปีแล้ว แต่การแก้ปัญหายังสำเร็จยาก แม้ภาครัฐจะมีมาตรการผ่อนปรนและนิรโทษกรรมความผิดของแรงงานที่เข้ามาทำงานผิดกฎหมาย แต่เรายังแก้ไขปัญหาดังกล่าวไม่สำเร็จ จุดหนึ่งคือไทยมีพรมแดนติดกับประเทศเพื่อนบ้านยาวมาก […]

Copyright © 2018. All rights reserved.