Month: August 2562

นิติม.ราชภัฏสุราษฎร์ลงพื้นที่ช่วยประชา พบคนยากจนไม่มีบัตรปชช.ไร้สิทธิอื้อ

วันที่ 21 ส.ค.2562  คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) และศูนย์ประสานภาคีเครือข่ายการพัฒนา จังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้จัดทำโครงการพลเมืองอาสาเพื่อช่วยเหลือผู้ยากลำบากในแต่ละจังหวัดทั่วประเทศ ซึ่งในเขตจังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้มีการสำรวจผู้ยากลำบากแล้วพบว่ามีประชาชนจำนวนหนึ่งต้องอยู่ในภาวะยากลำบากเพราะไม่มีสถานะทางทะเบียนราษฎร ไม่มีบัตรประจำตัวประชาชน ดังนั้น เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2562 คณะนิติศาสตร์จึงมอบหมายให้ อาจารย์และเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่เก็บข้อมูลพื้นฐานเบื้องต้น เพื่อให้บุคคลเหล่านี้ได้มีบัตรประจำตัวประชาชน เพื่อให้เข้าถึงสิทธิของรัฐอย่างเท่าเทียมกันต่อไป ในการนี้ผู้ช่วยศาสตราจารย์ภูภณัช รัตนชัย บรรณาธิการวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ เปิดเผยว่า การลงพื้นที่เพื่อสำรวจคนไทยผู้ไร้สัญชาติในเขตจังหวัดสุราษฎร์ธานีจะเป็นการช่วยเหลือแก่ผู้ประสบปัญหาดังกล่าว ให้ได้มีโอกาสเข้าถึงการบริการและสวัสดิการจากรัฐอย่างเท่าเทียมกันเช่นเดียวกับประชาชนคนไทยอื่น ๆ ทำให้ความสิ้นหวัง ความโดดเดี่ยวที่เคยเกิดขึ้นในจิตใจ เป็นเสมือนคนที่ไร้ที่พึ่งพิง ได้กลับมามีความหวังอีกครั้ง ถ้าหากหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายต่างให้ความสำคัญ มีความจริงใจ จริงจังที่จะให้ความช่วยเหลือตามอำนาจของกฎหมายที่มีอยู่ และหวังว่าการช่วยเหลือในครั้งนี้จะประสบผลสำเร็จไปได้ด้วยดี ฝ่ายผู้ช่วยศาสตราจารย์สมชาย บุญคงมาก ผู้ช่วยอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี กล่าวว่า การที่ตนได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ในครั้งนี้ นับว่าเป็นภาระหน้าที่ของมหาวิทยาลัยเช่นกันที่จะต้องมีส่วนช่วยเหลือดูแล  พี่น้องประชาชนในเขตพื้นที่ เพื่อนำมาซึ่งความเจริญก้าวหน้าแก่ท้องถิ่น เป็นการลดความเหลื่อมล้ำในสังคม และทำให้ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ได้รับการยอมรับอย่างเท่าเทียมกัน ด้านอาจารย์ทศพร จินดาวรรณ รองคณบดีคณะนิติศาสตร์ หนึ่งในทีมร่วมงาน มองว่า การลงพื้นที่ในครั้งนี้ […]

งานวันชนเผ่าพื้นเมืองปี 2562 ชี้ยังมีปัญหาที่ดิน-สถานะบุคคล ขวางการเข้าถึงสิทธิของกลุ่มชาติพันธุ์

คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ร่วมกับสมัชชาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย จัดงานวันชนเผ่าพื้นเมืองประจำปี 2562 เลขาธิการฯ ชี้ปัญหาที่ดิน-สถานะบุคคล ขวางการเข้าถึงสิทธิของกลุ่มชาติพันธุ์ แนะยอมรับความแตกต่างทางเชื้อชาติในสังคมพหุวัฒนธรรม เมื่อวันที่ 9 ส.ค. 2562 ซึ่งเป็นวันชนเผ่าพื้นเมืองโลก สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ร่วมกับสมัชชาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย และองค์กรภาคีเครือข่าย จัดงาน “วันชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย ประจำปี 2562” โดยมีกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ กว่า 36 กลุ่มเข้าร่วมแลกเปลี่ยนสถานการณ์สิทธิชนเผ่าพื้นเมืองในประเทศไทย ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ นายโสพล จริงจิตร เลขาธิการคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กล่าวในเวทีการเสวนาเรื่อง “ตัวตนชนเผ่าพื้นเมืองและการยกระดับมติ ครม. แนวนโยบายฟื้นฟูวิถีชีวิตกะเหรี่ยงและชาวเล” เนื่องในงานวันชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย ประจำปี 2562  สรุปว่า แม้ปัจจุบันสังคมไทยจะยอมรับความแตกต่างทางเชื้อชาติมากขึ้น แต่ประเด็นปัญหาที่ยังดำรงอยู่เมื่อพิจารณาจากเรื่องร้องเรียนที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ได้รับ คือ ปัญหาที่ดินทำกิน โดยชนเผ่าพื้นเมืองที่อาศัยบนพื้นที่สูงหรืออาศัยอยู่ในป่า ตลอดจนชนเผ่าพื้นเมืองชาวเลที่อาศัยตามเกาะแก่งในทะเลหรือพื้นที่ชายฝั่งมายาวนานหลายร้อยปี มักเกิดข้อพิพาทระหว่างชนเผ่าเหล่านั้นกับรัฐหรือเอกชนในประเด็นความเป็นเจ้าของที่ดินที่แท้จริง ปัญหาดังกล่าวยึดโยงกับการจัดการที่ดินและระบบกรรมสิทธิ์ที่ดิน และหากไม่มีการแก้ไขเชิงโครงสร้างปัญหาการแย่งชิงทรัพยากรก็จะยังดำรงอยู่ โดยคนส่วนน้อยหรือนายทุนก็ยังคงเป็นผู้ถือครองที่ดินจำนวนมากตามการขยายตัวของเศรษฐกิจแบบทุนนิยมเนื่องจากที่ดินเป็นทั้งปัจจัยการผลิตและทุน นายโสพล กล่าวต่อไปว่า […]

“ณัฐวุฒิ – จุติ” อภิปรายนโยบายสิทธิคนชายขอบ

“ณัฐวุฒิ บัวประทุม” ส.ส.พรรคอนาคตใหม่ กระตุกรัฐบาล ต้องเข้าใจคนชายขอบ ด้าน “จุติ ไกรฤกษ์” รมว.พม. ย้ำ นายกฯ กำชับให้ดูแลเป็นพิเศษ พร้อมเชิญ ส.ส.อนาคตใหม่ ร่วมแก้ปัญหา วันนี้ (26 ก.ค.2562) นายณัฐวุฒิ บัวประทุม ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคอนาคตใหม่ ลุกขึ้นอภิปรายนโยบายด้านสิทธิของผู้ด้อยโอกาส ที่ปรากฏในคำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีต่อรัฐสภา โดยระบุว่าหากดูจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 และคำแถลงนโยบายของรัฐบาล มีการใช้คำที่ไม่สอดคล้องกัน เช่น ผู้ด้อยโอกาส ผู้ยากไร้ ผู้ประสบปัญหาทางสังคม จึงตั้งคำถามว่าการให้ความหมายของคำว่าผู้ด้อยโอกาสของนายกรัฐมนตรีเป็นอย่างไร พวกเขาไม่ใช่คนด้อยสิทธิ ด้อยโอกาสในความหมายที่ต้องให้การสงเคราะห์ แต่เขาเป็นเจ้าของสิทธิของตนเอง เป็นประธานแห่งสิทธิ มีศักดิ์และศรี มีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เท่าเทียมกัน หลักคิดเหล่านี้หากปรับให้เข้าใจตรงกัน จะทำให้นโยบายที่เกี่ยวข้องมีความชัดเจนมากขึ้น นายณัฐวุฒิ ระบุถึงนโยบายด้านแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ โดยเฉพาะโอกาสของคนกลุ่มต่างๆ ในสังคม เช่น ปัญหาเด็กและเยาวชนถูกละเมิดสิทธิในด้านต่างๆ ที่พบว่าปีที่แล้ว กระทรวงสาธารณสุขยอมรับอย่างเป็นทางการ ว่ามีอัตราการรังแกกันในโรงเรียนสูงเป็นอันดับสองของโลก Bullying หรือ การรังแกกัน ทั้ง ครูละเมิดเด็ก […]

อบรมให้ความรู้ด้านสิทธิในสถานะบุคคล แก่นักเรียนนักศึกษา ณ วิทยาลัยวิรุณบริหารธุรกิจ (VBAC) เชียงราย

  อบรมให้ความรู้ด้านสิทธิในสถานะบุคคล แก่นักเรียนนักศึกษา ณ วิทยาลัยวิรุณบริหารธุรกิจ (VBAC) เชียงราย พร้อมทำความเข้าใจในประเด็น ๆ ต่าง ๆ ที่น้องสนใจใคร่รู้ – สถานที่เกิด การทำหนังสือรับรองการเกิด เพราะตามเอกสารส่วนใหญ่ระบุว่าเกิดไทย แต่ไม่รู้ขั้นตอนการดำเนินการ – มาตรา 38 วรรค 2 – การต่ออายุบัตร – การครอบครองทรัพย์สิน – การก่อตั้งครอบครัว – การกลับไปพิสูจน์สัญชาติประเทศพม่า เป็นต้น

Copyright © 2018. All rights reserved.