เกิดมาเป็นคน ก็ต้องทน…กันไป

จากเดิมที่คนกลุ่มหนึ่ง อาศัยอยู่บนที่ราบสูง (กลุ่มชาติพันธุ์ เช่น อาข่า ลาหู่  กะเหรี่ยง ฯลฯ) ห่างไกลความเจริญ จนถูกกล่าวหาว่าเป็นคนป่า คนดอย ป่าคือชีวิตของพวกเขา พวกเขาไม่เคยโกรธที่ถูกว่าแบบนั้นพวกเขากลับภูมิใจที่ได้อยู่กับป่าด้วยซ้ำ หากแต่พวกเขาถูกกล่าวหาว่า เป็นผู้ทำลายป่าไม้ ทั้งนี้เพราะอ้างว่าพวกเขามีอาชีพทำไร่ ทำการเกษตร ต้องตัดไม้บนเขาเพื่อทำการเกษตร แต่นั้นเป็นเพียงแค่ข้อกล่าวหาจากชุมชนภายนอกและเหตุผลที่สำคัญกว่านั้นคือ การเล็งเห็นความสำคัญของการศึกษา ที่พวกเขาจะสามารถมอบให้ลูกหลานต่อไปได้ อย่างน้อยหากต้องอยู่บนนี้ตลอดไป ลูกหลานของพวกเขาอาจไม่ได้รับการศึกษาเท่าเทียมเหมือนคนไทยทั่วไป และแน่นอนว่าหากไม่ใช่เหตุผลเหล่านนั้นพวกเขา คงไม่ยอมที่จะทิ้งบ้านป่าของพวกเขาลงมาสู้พื้นที่ราบ ที่มีแต่คนดูถูกพวกเขาอย่างแน่นอน
ผักหละ คือหมู่บ้านหนึ่งที่มีวิถีชีวิตที่คล้ายคลึงกับกลุ่มชาติพันธุ์ทั่วๆไป ที่ต้องลงมาเพื่อหยุดข้อครหาของรัฐาลว่าเป็นคนทำลายป่า ซึ่งมีประชากร 152 คน 22 ครัวเรือน เป็นหมู่บ้านเล็กๆ ที่ชาวบ้านได้อพยพมาจากหลายๆที่ ซึ่งประชากรส่วนใหญ่เป็นชนเผ่าอาข่าหรือเรียกว่าชาติพันธุ์อาข่า ซึ่งเป็นหนึ่งในความหลากหลายทางชาติพันธุ์ที่มีอยู่ในประเทศไทย และส่วนใหญ่จะอยู่ทางตอนเหนือของไทย พวกเขาซึ่งกำลังประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย ที่ดินทำกินที่พวกเขาอาศัยมาเป็นระยะเวลา 5 ปี ซึ่งเป็นที่ดิน ส.ป.ก นั้นคือสิ่งที่พวกเขาไม่เคยรู้มาก่อน ว่าที่ที่พวกเขาสร้างบ้านเรือนนั้นเป็นที่ดิน ส.ป.ก ซึ่งพวกเขาจะต้องใช้ประโยชน์ที่ดินดังกล่าวในการทำการเกษตรเท่านั้น ซึ่งนับว่าเป็นปัญหาที่ใหญ่มากสำหรับพวกเขา
                 ไม่นานก็มีหนังสือจาก สำนักงานปฏิรูปที่ดินจังหวัด แจ้งว่าพวกเขาไม่สามารถอาศัยอยู่ในพื้นที่ดังกล่าวได้ เพราะพวกคุณทำผิดกฎหมายตามระเบียบที่ดิน ส.ป.ก และต้องดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งภายใน 45 วัน นั้นคือ หนังสือฉบับแรกที่ทำให้พวกเขาแถบล้มทั้งยืน ในสมองเต็มไปด้วยคำถามมากมายที่อยากจะถามใครสักคน และท้ายที่สุดคำตอบเดียวที่พวกเขาตัดสินใจ คืนการเดินหน้า ตั้งสติ และปรึกษากับองค์กรที่ให้ความช่วยเหลือทางด้านนี้ เพื่อคลายความสงสัย และหนักอกให้แก่พวกเขา จนในที่สุดพวกเขาก็เข้าใจปัญหาที่ตัวเองจะต้องเผชิญ ว่าที่ผ่านมาเขาทำผิดกฎหมายมาโดยตลอดที่อาศัยอยู่ในที่ดินดังกล่าว สาเหตุเพราะความไม่รู้ กฎหมาย ไม่รู้ว่าที่ดินดังกล่าวจะต้องใช้ประโยชน์เพื่อทำการเกษตรเพียงอย่างเดียว ห้ามสร้างเป็นที่อยู่อาศัย แต่ก่อนหน้านี้ ชาวบ้านจากหลากหลายที่ หลากหลายอำเภอ ได้อพยพย้ายเข้ามาสร้างที่อยู่อาศัย จนกลายเป็นชุมชนขนาดเล็ก มีบ้านเรือน มีโบสถ์เป็นที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา และมีลูกหลานเพื่อสืบทอดต่อๆไป นั้นเป็นเรื่องที่น่าเศร้ามากหากวันหนึ่งพวกเขาจะต้องรื้อถอนบ้านเรือน และโบสถ์ของพวกเขาเอง
 ความผิดพลาดตั้งแต่ต้น ที่พวกเขาซื้อที่ดินดังกล่าวในราคาที่ไม่แพงมากนัก สิ่งที่ทำให้พวกเขามั่นใจและตัดสินใจซื้อที่ดินดังกล่าวนั้นก็คือ คำพูดของเจ้าของที่ดินเดิม บอกแก่พวกเขาว่า “ สามารถเข้ามาสร้างบ้านและใช้ประโยชน์ที่ดินได้” ง่ายมากต่อการตัดสินใจ ด้วยความที่ไม่สามารถ อ่าน เขียนภาษาไทยได้ เหมือนคนไทยทั่วไป พวกเขาตัดสินใจเซ็นต์สัญญาซื้อขาย โดยไม่มีการพิจารณาแต่อย่างใด ทำให้ตลอดเวลา5 ปีที่ผ่านมา นั้นคือความเลวร้ายที่พวกเขาได้สัมผัสมันมาเต็มๆ และนั้นคือสิ่งเดียวที่เขาพยายามบอกลูกหลานว่า การศึกษาคือสิ่งที่มีค่าที่สุดในชีวิต พวกเขาจะไม่ยอมให้ลูกหลานจะต้องเจอเหมือนอย่างพวกเขา
ต่อมาเมื่อที่ดินดังกล่าวถูกตรวจสอบ ปรากฏว่าที่ดินดังกล่าวเป็นที่ดิน ส.ป.ก จริง เป็นที่กระจ่างชัดแล้วว่าชาวบ้านได้ละเมิดกฎระเบียบต่อการใช้ประโยชน์ที่ดิน ส.ป.ก จริง ตามที่มีผู้ไม่ทราบนามได้แจ้งมา แน่นอนถึงเวลาที่พวกเขาต้องรื้อถอนบ้านของตัวเอง หรือไม่ก็ให้ผู้ถือครองที่ดินเดิมเข้ามาใช้ประโยชน์ตามระเบียบการใช้ที่ดิน ส.ป.ก หากไม่เช่นนั้น จะต้องดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งของทางสำนักงานปฏิรูปที่ดินจังหวัด
                 หลายครั้งที่ชีวิตของมนุษย์ ต้องเผชิญกับปัญหา และความไม่เท่าเทียมกัน ความต่างกันทางชนชั้น วรรณะ ทั้งนี้ทุกคนก็ ต้องดิ้นรนกันไป ต่างความคิดต่างวัตถุประสงค์ แต่มีเป้าหมายเดียวกันคือ ความอยู่รอดเป็นคนในสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา
                  และเมื่อไม่นานมานี้เอง ชาวบ้านได้ร่างหนังสือขึ้นมา 1 ฉบับ พร้อมทั้งเขียนข้อความสิ่งที่พวกเขาได้เจอะเจอ และมายื่นให้กับทางจังหวัดเชียงราย  เพื่อให้ทางรัฐ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาเยียวยา หรือหาทางออกที่ดีที่สุดให้กับพวกเขา ซึ่งทางจังหวัดก็ได้รับเรื่องของชาวบ้านไป พร้อมบอกว่าจะตั้งคณะกรรมการขึ้นมาเพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริง และหาทางออกที่ดีที่สุดให้  ชาวบ้านก็ได้แต่หวังว่า พวกเขาจะได้อยู่ในที่เดิม เพราะด้วยสิ่งปลูกสร้าง ไม่ว่าบ้าน หรือโบสถ์ที่ได้ถูกสร้างลงไปในที่ดินดังกล่าว อย่างถาวรแล้ว พวกเขาจึงไม่อยากไปเริ่มต้นใหม่ที่ไหนอีก
                    เหตุการณ์ที่หมู่บ้านผักหละเผชิญอยู่ ณ เวลานี้  อาจไม่ใช่หมู่บ้านแรกและหมู่บ้านสุดท้ายที่มีปัญหาเรื่องการเข้าไปอาศัยอยู่ในที่ สปก. อาจมีอีกหลายหมู่บ้านที่เจอปัญหาแบบนี้อยู่ อาจด้วยเพราะความไม่เข้าใจ หรือ อะไรก็แล้วแต่  สุดท้ายหน่วยงานหรือองค์กรที่ทำงานกับชาวบ้าน ต้องมีส่วนในการอธิบายเรื่องราวเหล่านี้ให้กับชาวบ้านได้เข้าใจ ก่อนที่จะเกิดปัญหาขึ้นมาในลักษณะนี้ และแก้ไขกันยาก อีกทั้งจะต้องมีมาตรการที่เข้ามาจัดการปัญหาเหล่านี้อย่างจริงจัง
น้องเจี๊ยบ  นักศึกษาฝึกงาน
สำนักกฏหมายเพื่อพิทักษ์สิทธิมูลนิธิกระจกเงา
Tue, 04/23/2013
Copyright © 2018. All rights reserved.