News

ลงพื้นที่ให้คำปรึกษา บ้านหัวยน้ำขุน พื้นที่คนไร้สัญชาติ

สำนักกฏหมายสัญชาติเคลื่อนที่ ภายใต้โครงการ The development of rights status for access to livelihoods ร่วมกับ ADRA  เดินทางลงพื้นที่ บ.ห้วยน้ำขุ่น ม.16 ต.ห้วยน้ำขุ่น อ.แม่สรวย จ.เชียงราย เพื่อให้ความช่วยเหลือและให้คำปรึกษากับกลุ่มชนเผ่าไร้สัญชาติในพื้นที่ทั่วตำบลห้วยน้ำขุ่น ระหว่างวันที่  26-28 มิ.ย. 56 มีกลุ่มชาวบ้านไร้สัญชาติจำนวนไม่น้อย ทยอยเดินทางมาพบเจ้าหน้าที่ เพื่อขอคำปรึกษาแนะนำ เกี่ยวกับปัญหาสถานะบุคคล                 ด้วยการเดินทางมาพบกลุ่มคนไร้สัญชาติที่นี่เป็นไปด้วยความอยากลำบาก อยู่ในช่วงฤดูที่จะเข้าสู่หน้าฝนเส้นทางผ่านหุบเขาสูงชัน ตลอดระยะทางกว่า 40 กิโลเมตร จากอำเภอแม่สรวยจังหวัดเชียงราย เป็นอีกเหตุปัจจัยที่ยังคงทำให้ประชาชนที่นี่ยังคงเป็นคนไร้สัญชาติ ไม่สามารถใช้สิทธิในฐานะพลเมืองไทย ชาวบ้านหลายครอบครัวเคยเดินทางไปมาระหว่างสำนักทะเบียนอำเภอเพื่อยื่นคำขอมีสัญชาติ แต่ด้วยเพราะขั้นตอนกระบวนการดำเนินเรื่อง ต้องมีการสอบพยาน การตรวจสอบพยานหลักฐานมากมายหลายครั้ง ทำให้ชาวบ้านเกิดความท้อถอย อีกทั้งยังมีครอบครัวจำนวนมากที่ขาดความรู้และความเข้าใจในขั้นตอนการดำเนินเรื่องหลายครอบครัวขาดผู้ให้คำปรึกษาและแนะนำ หลายครอบครัวสื่อสารได้เพียงเฉพาะภาษาชนเผ่าท้องถิ่น         […]

อ.แม่ฟ้าหลวงเร่งดำเนินการตรวจสอบขั้นตอนการขอมีสัญชาติไทย

สำนักทะเบียนอำเภอแม่ฟ้าหลวงจังหวัดเชียงราย  เร่งดำเนินการตรวจสอบและพิจารณาคำร้องตามกระบวนการและขั้นตอนการขอมีสัญชาติไทยตามระเบียบสํานักทะเบียนกลางว่าด้วยการพิจารณาลงรายการสถานะบุคคลในทะเบียนราษฎร ให้แก่บุคคลบนพื้นที่สูง พ.ศ. ๒๕๔๓ ให้กับชาวบ้านที่ยื่นคำร้องขอไว้  โดยนายอำเภอแม่ฟ้าหลวงจังหวัดเชียงราย  ได้อนุมัติคำร้องขอสัญชาติไทยให้กับชาวชาวบ้านกว่า 1,800 คำร้อง และเร่งประสานผ่านกำนันผู้ใหญ่บ้านเพื่อแจ้งรายชื่อชาวบ้านที่ได้รับการอนุมัติสัญชาติไทยให้มาถ่ายบัตรประจำตัวประชาชน วันนี้ หมี่จุ่ม คาหล่า คุณยายอายุ  74 ปี ชาวอาข่าบ้านปูนะ ต.เทอดไท อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย ออกเดินทางจากหมู่บ้านแต่เช้าตรู่ มายังที่ว่าการอำเภอแม่ฟ้าหลวงเชียงราย   กว่า 8 ปีแล้วที่ครอบครัวของยายทำเรื่องขอสัญชาติไทยไว้ที่อำเภอ  โดยที่ผ่านมาได้หาพยานบุคคลที่น่าเชื่อถือมายืนยันรับรองตนเองและครอบครัวต่อนายทะเบียนอำเภอฯ ยายหมีจุ่มเป็นกลุ่มชนชาติพันธ์ดั้งเดิมที่เกิดในประเทศไทย ทำมาหากินตามวิถีคนชนเผ่ามานับชั่วคน  และเมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมาผู้ใหญ่บ้านที่หมู่บ้านมาแจ้งกับยายว่า ให้เตรียมตัวไปถ่ายบัตรประชาชน เนื่องจากครอบครัวตนเองและเพื่อนบ้านอีกจำนวนหนึ่ง   ได้รับอนุมัติสัญชาติไทยจากนายอำเภอฯแล้ว ในขณะที่ นางนวล แก้วคำ อายุ 35 ปี  ชาวไทยใหญ่หมู่บ้านเทอดไทย กล่าวทั้งน้ำตาว่า  ตัวเองเฝ้ารอโอกาสนี้มามากกว่า 25 ปี วันนี้จะเป็นวันที่ตนเองเป็นคนไทยสมบูรณ์  มีบัตรประชาชนที่จะนำไปใช้แสดงเมื่อตำรวจขอตรวจสอบ ตนเองเกิดในประเทศไทยในอำเภอแม่สาย เป็นคนไทยดั้งเดิมที่ตกสำรวจตั้งแต่รุ่นพ่อแม่   ซึ่งวันนี้นอกจากตนเองแล้วก็ยังมีเพื่อนบ้านที่ได้รับอนุมัติสัญชาติอีกกว่า 20 คนที่มารอถ่ายบัตรประชาชนในครั้งนี้ด้วย นายวรญาณ […]

สำนักงานกิจการความมั่นคงภายใน (สนมน.) จัดการประชุมให้ความรู้กับผู้ปฏิบัติงานตามมติครม. 7 ธ.ค. 2553

เมื่อวันที่ 2 ก.ค. 2556 สำนักงานกิจการความมั่นคงภายใน (สนมน.) กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ได้มีการจัดการประชุมติดตาม เร่งรัด ให้ความรู้กับผู้ปฏิบัติงานตามมติครม. 7 ธ.ค. 2553 (กลุ่ม 7 ทวิ วรรคสอง และต่างด้าว ม.17) โดยจัดเวที ขึ้น ณ. ศาลากลางจังหวัดเชียงราย โดยมีหน่วยงานภาครัฐจากสำนักทะเบียนต้องอำเภอต่างๆ ในพื้นที่ จ.เชียงราย และองค์กรพัฒนาเอกชนที่ทำงานพัฒนาชุมชนในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน โดยมีการให้ความรู้และแลกเปลี่ยนพูดคุย เกี่ยวกับเรื่องข้อกฎหมายสัญชาติ ซึ่งถือว่าเป็นข้อกฎหมายหลักในการกำหนดสถานะของบุคคลที่อยู่ในประเทศไทย ทั้งนี้ นายสันติพงษ์ มูลฟอง คณะอนุกรรมการศึกษาและแก้ไขปัญหาสถานะและสิทธิบุคคล หนึ่งในผู้เข้าร่วมเวทีในวันนี้ได้กล่าวในที่ประชุมว่า เรื่องนี้เป็นแนวของนโยบาย ที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกฯ ที่เคยแถลงต่อสภาผู้แทนราษฎรไว้อย่างชัดเจนว่าจะมีการจัดการปัญหาผู้หลบหนีเข้าเมืองและบุคคลที่มีปัญหาสถานะทางทะเบียนราษฎร เพราะการจัดการด้านประชากรถือว่าเป็นหน้าตาของประเทศ  คนที่มีปัญหาสถานะบุคคลถือว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงที่ง่ายต่อการเข้าสู่การค้ามนุษย์ เราต้องร่วมมือกันแก้ไขปัญหาเรื่องนี้อย่างจริงจัง ถ้าเรามีระบบจัดการด้านประชากรที่ดี เราก็จะสามารถเป็นผู้นำประเทศอื่นๆ ในการจัดการด้านประชากร เพราะประเทศไทยเองก็มีแรงงานข้ามชาติและคนไร้สัญชาติอยู่จำนวนมาก นอกจากนี้ในที่ประชุมยังมีการพูดถึงการดำเนินการและติดตามงาน ตามมติครม. 7 ธ.ค. 53 ซึ่งเป็นที่มาของการประกาศของกระทรวงมหาดไทย […]

จากจุดเริ่มต้น สู่การเป็นองค์กรภาคีเครือข่าย

เครือข่ายสิทธิและสถานะบุคคล เกิดจากการรวมตัวกันของกลุ่มองค์กรพัฒนาเอกชนในภาคเหนือ เป็นการร่วมตัวเพื่อทำงานร่วมกัน ในการผลักดันและแก้ไขปัญหาสถานะบุคคลให้กับครอบครัวชาวบ้านไร้รัฐและไร้สัญชาติ เพื่อให้สามารถเข้าถึงสิทธิพื้นฐานที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต และความเป็นธรรมในสังคม  ไม่ว่าจะเป็นใน การเข้าถึงสวัสดิการด้านการรักษาพยาบาล สิทธิในการทำงาน สิทธิในด้านการศึกษา สิทธิในการเดินทาง รวมถึงการปกป้องคุ้มครอบการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนในกรณีต่างๆ ปัจจุบันเครือข่ายเครือข่ายสิทธิและสถานะ เริ่มทำงานแก้ไขปัญหาตั้งแต่ต้นปี 2555 โดยมีเวทีประชุมเครือข่ายฯ เป็นประจำในทุกๆเดือน เพื่อเป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนพูดคุยถึงแนวทางการแก้ปัญหา และพัฒนาทักษะในการทำงาน นายสิทธิพงษ์ มูลฟอง คณะอนุกรรมการศึกษาและแก้ไขปัญหาสถานะและสิทธิบุคคล ที่ได้บอกเล่าเรื่องราวของจุดเริ่มต้นในการทำงานเป็นเครือข่าย เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน ที่ผ่านมานี้ว่า…    “จุดเริ่มต้นของเครือข่าย เริ่มจากการมองเห็นถึงสถานการณ์ที่เราทำงาน เราคิดทั้งประเด็นปัญหา ทั้งกระบวนการทำงาน ซึ่งการทำงานของพวกเราก็ไม่ได้มีความแตกต่างกันมาเท่าไหร่ ไม่ว่าจะเป็นในกลุ่มเป้าหมาย เช่น กลุ่ม 7 ทวิ กลุ่มต่างด้าว กลุ่มบัตรเลข 0 ก็ไม่ได้มีอะไรแตกต่างกันนะครับ แต่ปัญหาที่ผ่านมาที่พบกัน คือ เราต่างคนต่างทำ แล้วไม่ก่อให้เกิดพลัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องที่เราจะไปขับเคลื่อนเชิงนโยบาย ซึ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่เราต้องมีการรวมตัวกัน และในส่วนของกระบวนการทำงานในเชิงพื้นที่ มันเป็นในลักษณะเหมือนกับว่าต่างคนต่างทำ และไม่ได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ซึ่งตรงนี้ถ้าหากเรามีโอกาสที่ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ จากประสบการณ์ทำงานอีกที่หนึ่งไปสู่อีกที่หนึ่งนั้นก็จะเป็นการเสริมพลังการทำงานซึ่งกันและกัน เพราะที่ผ่านมาถ้าไม่ได้เรียนรู้ซึ่งกันและกัน ก็กลายเป็นว่าพวกเราลองผิดลองถูกกันในแต่ละพื้นที่ […]

เอกสารหนังสือคำสั่งแต่งตั้งอนุกรรมการ พิสูจน์สารพันธุกรรม (DNA)

ส่วนที่หนึ่ง ส่งหนังสือคำสั่งของจังหวัดแม่ฮ่องสอนและจังหวัดเชียงใหม่ 1. คำสั่งจังหวัดแม่ฮ่องสอน แต่งตั้งคณะอนุกรรมการโครงการเฉลิมพระเกียรติ ปกป้องสิทธิผู้ด้อยโอกาส ผู้ยากจน และคนไร้ยากไร้ สู่พลเมืองอาเซียน 2. คำสั่งจังหวัดเชียงใหม่ แต่งตั้งคณะอนุกรรมการโครงการเฉลิมพระเกียรติ ปกป้องสิทธิผู้ด้อยโอกาส ผู้ยากจน และคนไร้ยากไร้ สู่พลเมืองอาเซียน 3. คำสั่งของกระทรวงมหาดไทย โครงการเฉลิมพระเกียรติปกป้องสิทธิผู้ด้อยโอกาส ผู้ยากจน และคนไร้ยากไร้ สู่พลเมืองอาเซียนให้ผู้ว่าราชการทุกจังหวัด 4. คำสั่งของจังหวัดเชียงใหม่แต่งตั้งคณะอนุกรรมการโครงการเฉลิมพระเกียรติ ปกป้องสิทธิผู้ด้อยโอกาส ผู้ยากจน และคนไร้ยากไร้ สู่พลเมืองอาเซียน (เอกสารข้อ 2-4 อยู่ในไฟล์เดียวกัน)  ส่วนที่ 2 สรุปการเข้าร่วมประชุมชี้แจงและติดตามเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานการกำหนดสถานะบุคคลตามมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 7 ธันวาคม 2553  สำนักงานกิจการความมั่นคงภายใน (สนมน.) จังหวัดเชียงราย 2 กรกฎาคม 2556 และ จังหวัดเชียงใหม่ 4 กรกฎาคม 2556 สำหรับในจังหวัดแม่ฮ่องสอน จะมีการประชุม ชี้แจงและติดตามเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานการกำหนดสถานะบุคคลตามมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 7 ธันวาคม 2553  ในวันที่ […]

เหตุผลของแต่ละฝ่าย

แต่ชาวบ้านเจ้าของปัญหาเอง จากที่สังเกตและสอบถามส่วนมากมาจากต่างอำเภอ ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่มีปัญหาและกำลังได้รับการให้ความช่วยเหลือจาก องค์พัฒนาเอกชน(NGO) เป็นส่วนมาก ซึ่งผมเองก็แปลกใจว่า ทำไมชาวบ้านในพื้นที่ใกล้ทำไมไม่มาร่วมงาน คิดเองได้สองสามประเด็น ประเด็นแรก คือฝนตกชาวบ้านไม่อยากมาร่วมงาน สอง คือไม่ได้มีการแจ้งทางอำเภอไปถึงผู้นำในพื้นที่ให้ชาวบ้านในอำเภอแม่ฟ้าหลวง จากที่ได้รับฟังการเสวนาในเวทีนี้ทำให้ผมได้คิดและแตกประเด็นได้หลักๆเป็นดังนี้คือ 1 ทางฝ่ายรัฐ(นายอำเภอและผอ.ทะเบียนกลาง)เองมองในมุมภาพรวมของประเทศ และ มีลักษณะการปกป้องรัฐและยศตำแหน่ง เป็นหลัก 2 ทางฝ่ายองค์กรพัฒนาเอกชน(NGO)มองปัญหาในพื้นที่ ปัญหาของชาวบ้านเป็นหลัก และ พยายามห ตัวอย่างกรณีปัญหาที่มีคางค้างมานานให้เกิดการหาทางออกเพื่อกลุ่มคนเหล่านี้ จากสองประเด็นที่กล่าวถึงเหตุผลที่ขัดแย้งกันหรือส่วนทางกัน แล้วก็ไม่มีใคร กลุ่มใหนจะตัดสินให้เกิดแนวทางร่วมกับปัญหาที่เกิด ผลสรุปของการเสวนานี้ในเวทีนี้ ผม ยังไม่เห็นการจัดการกับปัญหาที่เป็นรูปประธรรม ของความร่วมมือทั้งสองฝ่าย แต่สิ่งที่มองเห็นอีกมุมหนึ่ง คือความพยายามของกลุ่มคนกลุ่มหนึ่งที่อยากจะให้คนที่ยังไม่ได้รับสิทธิสถานะ คือพี่น้องชาวบ้านกลุ่มหนึ่งยังไม่ได้รับความเป็นธรรมตามหลัก สิทธิมนุยชน ให้ได้รับความช่วยเหลือ ซึ่งถูกลบล้างจากฝ่ายรัฐซึ่งมองภาพร่วมเรื่องงบประมาณ สำคัญมากกว่า ศักดิ์ศรีความเป็นคน เป็นสำคัญมากกว่า เรียกว่า “เหตุผลของแต่ฝ่าย” http://www.stateless4child.net/content/%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%95%E0%B8… Fri, 07/26/2013

วอนช่วยเหลือเพื่อซื้อเครื่องช่วยฟังและแว่นสายตา ให้คุณตาอาซอง วัย 89 ปี ให้กลับมาได้ยินและมองเห็นในบั้นปลายชีวิต

“คนบางคนมีเสื้อผ้าสวมใส่จนเหลือเฟือ แต่สำหรับคนบางคนไม่มีแม้เสื้อผ้าดีๆ สวมใส่ยามไกลเรือน”    “คนบางคนมีรองเท้าดี ๆ สวมใส่จนยากจะตัดสินใจว่าใส่คู่ไหนดี แต่สำหรับคนบางคนขอแค่มีรองเท้าสวมใส่ไม่ให้หนามตำเท้าก็เพียงพอแล้ว”      ด้วยวัย 89 ปี ของคุณตาอาซอง ทำให้หลายคนที่พบเห็นแทบไม่เชื่อเลยว่าท่านอายุเยอะขนาดนี้ การเดินเหินไม่เหมือนคนวัยเดียวกัน แต่สิ่งที่พอจะบ่งบอกได้  ว่าท่านอายุมากแล้วคือสายตาที่ฝ้าฟาง และหูที่ไม่สามารถรับรู้การได้ยินที่ชัดเจนมากนัก      ทุกครั้งที่เข้าหมู่บ้านและได้พูดคุยผ่านลูกหลานของท่าน (ท่านสื่อสารภาษาไทยไม่ได้) ถามสารทุกข์สารสุข จะมีคำบอกเล่าตลอด “ตาอยากได้ยิน อยากเห็น  ชัด ๆ จะได้ช่วยยายหาหน่อ ช่วยยายหาเงิน”      วันนี้มีโอกาสได้มารับท่านไปโรงพยาบาลเพื่อไปรับการตรวจวัดระดับการได้ยิน ระหว่างการเดินทางจากหมู่บ้านถึงตัวเมือง ด้วยความกลัวของตัวเองหรืออะไร  ไม่รู้ รู้แค่ว่ากังวลใจเพราะคนแก่กับการเดินทางไกล ๆ มันจะเหนื่อยมากทีเดียว แถมเราคนขับรถด้วย เกิดอาการเกร็งเลยทีเดียว เพราะตั้งแต่เกิดมาไม่เคยเลยที่  จะขับรถให้ผู้อวุโสขนาดนี้ และอีกอย่างตาเองก็ไม่เคยเลยที่จะนั่งรถไปไหนไกล ๆ ทั้งกลัวว่าท่านจะเมารถ กลัวโน้นนี่สารพัด สุดท้ายกลายเป็นว่าตาไปได้ฉลุย    ลุยเดินหน้า มาถึงโรงพยาบาล  ตาบอกว่า ” ตั้งแต่เกิดมา […]

พิธีมอบบัตรประจำตัวประชาชน และปฏิญาณตนเป็นคนดี อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย

เมิ่อ วันที่ 22 สิงหาคม ที่ผ่านมา  ทางทีมงานสำนักกฎหมายเพื่อการพิทักษ์สิทธิ  ได้เข้าร่วมเพื่อเป็นสักขีพยานใน พิธีมอบบัตรประจำตัวประชาชน และปฏิญาณตนเป็นคนดี  ณ อำเภอแม่ฟ้าหลวง  จังหวัดเชียงราย ในครั้งนี้มี ผู้ได้รับลงรายการสัญชาติไทย ตามระเบียบสำนักทะเบียนกลาง  พ.ศ.2543   จำนวน  221  คน ตามมาตรา 23 แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551      จำนวน  158  คน ตามมาตรา 7 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2)พ.ศ. 2535 และ(ฉบับที่ 4) พ.ศ.2551   จำนวน  5 คน รวมผู้ได้รับลงรายการสัญชาติไทยทั้งสิ้น 384 คน โดยมีผู้อายุครบกำหนดได้รับการจัดทำบัตรประชาชนและร่วมในพิธีในวันนี้  จำนวน  364 คน […]

กรมการปกครอง จัดพิธีมอบหนังสือรับรองความเป็นคนไทยพลัดถิ่นและบัตรประชาชนให้กับ 140 คนไทยไร้สัญชาติ นำร่อง ที่อำเภอคลองใหญ่ จ.ตราด

(26 ส.ค. 56) นายชวน ศิรินันท์พร อธิบดีกรมการปกครอง เป็นประธานในพิธีมอบหนังสือรับรองความเป็นคนไทยพลัดถิ่นและบัตรประจำตัว ประชาชนให้กับผู้ได้รับการรับรองให้ได้สัญชาติไทยโดยการเกิด จำนวน 140 คน ที่ผ่านการดำเนินการพิสูจน์สัญชาติและรับรองความเป็นคนไทยพลัดถิ่น ตามพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2555 มีนางสาวเบญจวรรณ อ่านเปรื่อง ผู้ว่าราชการจังหวัดตราด รวมทั้งคณะกรรมการรับรองความเป็นคนไทย จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และกลุ่มคนไทยพลัดถิ่นจำนวนมากเข้าร่วมพิธี ที่ศาลาเฉลิมพระเกียรติ หมู่ที่ 1 ตำบลหาดเล็ก อำเภอคลองใหญ่อธิบดีกรมการปกครอง กล่าวว่า การจัดพิธีมอบหนังสือรับรองความเป็นคนไทยพลัดถิ่นและบัตรประจำตัวประชาชนให้ กับผู้ได้รับการรับรองให้ได้สัญชาติไทยโดยการเกิดในครั้งนี้กรมการปกครองได้ เลือกพื้นที่จังหวัดตราดเป็นพื้นที่นำร่องแห่งแรกของประเทศ โดยคนไทยพลัดถิ่นทั้ง 140 คนนี้ได้ผ่านการตรวจสอบ ทั้งจากหลักฐานเอกสาร การตรวจพิสูจน์สารพันธุกรรมหรือการตรวจดีเอ็นเอ ตลอดจนตรวจสอบพยานและหลักฐานต่าง ๆ ที่มีอยู่ จนได้รับการรับรองจากคณะกรรมการที่มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมเป็นคณะ กรรมการจึงจัดให้มีพิธีมอบหนังสือรับรองความเป็นคนไทยพลัดถิ่นและบัตรประจำ ตัวประชาชน เพื่อให้บุคคลเหล่านี้มีสิทธิขั้นพื้นฐานของความเป็นคนไทยโดยสมบูรณ์ต่อไป อธิบดีกรมการปกครอง กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัจจุบันปัญหาคนไทยพลัดถิ่นนอกเหนือจากคนไทยเชื้อสายเกาะกงที่มีปัญหาจาก เรื่องดินแดนในยุคล่าอาณานิคมของชาติตะวันตกในสมัยรัชกาลที่ 5 ด้านจังหวัดตราด แล้ว ในจังหวัดอื่นอีก 4 จังหวัด คือ […]

เครือข่ายโครงการคุ้มครองเด็กไร้รัฐไร้สัญชาติ ร่วมกับ องค์กร plan international ร่วมกันจัดเวทีสาธารณะจังหวัดเชียงราย

เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2556 ที่ผ่านมา  เครือข่ายโครงการคุ้มครองเด็กไร้รัฐไร้สัญชาติ ร่วมกับ องค์กร plan international ร่วมกันจัดเวทีสาธารณะจังหวัดเชียงราย  ประเด็น “ เด็กกับความหวังการได้เป็นคนถูกกฏหมายและได้สัญชาติไทย ตามมาตรา 7 ทวิ วรรคสอง และ 7 ทวิวรรคสาม แห่ง พรบ. สัญชาติ ฉบับที่ 4 ปี 2551”  ที่ห้องประชุม องค์การบริหารส่วนตำบลเทอดไทย อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย โดยมี  นายวรญาณ  บุญณราช  นายอำเภอแม่ฟ้าหลวง ได้ให้เกียรติ เป็นประธานเปิดงาน  และร่วมเวทีพูดคุยประเด็นปัญหากับผู้เข้ารับการอบรมในครั้งนี้ ผู้เข้าร่วมการอบรมประกอบด้วย  นายอำเภอแม่ฟ้าหลวง  นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเทิดไทย   กลุ่มแกนนำชาวบ้านที่ยังไม่ได้รับสัญชาติไทย  กลุ่มแกนนำชาวบ้านที่ยื่นคำร้องขออนุมัติสัญชาติไทย และอยู่ระหว่างการรออนุมัติคำร้อง  กลุ่มผู้นำชุมชนหมู่บ้านในตำบลเทอดไทย  อำเภอแม่ฟ้าหลวง  จังหวัดเชียงราย  เจ้าหน้าที่ อาสาสมัครองค์กรพัฒนาเอกชน  รวม  80  คน วัตถุประสงค์การจัดอบรม […]

1 8 9 10 11 12 46
Copyright © 2018. All rights reserved.