admin

เกาะพยายาม ชุมชนมอแกนอีกแห่งในประเทศไทย

การเดินทางเริ่มต้นแล้ว ผมในนามตัวแทนเจ้าหน้าที่ของมูลนิธิกระจกเงา ได้เดินทางร่วมกับเจ้าหน้าที่ของอำเภอเมืองจังหวัดระนอง และเจ้าหน้าที่ของมูลนิธิเด็ก เพื่อเข้าไปสำรวจชุมชนมอแกน ที่มีที่ตั้งของชุมชนอยู่บนเกาะพยาม ต.เกาะพยาม อ.เมือง จ.ระนอง ทีมงานของเรา เริ่มเดินทางกันตั้งแต่เช้าของวันที่ 10 กันยายน 2548 โดย เริ่มต้นการเดินทางกันที่ท่าเรือด่านศุลกากรจังหวัดระนอง โดยมีเรือทางของอำเภอเมืองระนองเป็นยานพาหนะใช้ในการเดินทางล่องทะเลไปเกาะ พยามในครั้งนี้ ระยะทาง 21 ไมล์ทะเลกับเวลาการเดินทางประมาณ 1 ชัวโมง คณะสำรวจทั้งหมด ถึงท่าเทียบเรือเกาะพยาม ครั้งแรกที่เหยียบเท้าขึ้นบนท่าเทียบเรือเกาะพยาม ทำให้ผมหยุดคิดไปว่าที่นี่เหรอที่มีชุมชนมอแกนอยู่ มันต่างจากชุมชนมอแกนที่ผมไปเยือนมาหลายๆที่ เพราะว่าที่นี่เป็นเสมือนเกาะท่องเที่ยว มีร้านค้า Super Market , Internet Cafe , Resort ,ร้านอาหาร …. ดินแดนเกาะแห่งนี้ มันช่างเจริญหู เจริญตา สะดวกสะบายดีเหลือเกิน แล้วชุมชนมอแกนที่เราจะเข้าไปเยือน เขาอยู่กันที่ไหนละนี่…..เป็นคำถามที่อยู่ในใจ อีก 7 กิโลเมตรถึงชุมชนมอแกน ตามคำบอก เล่าของเจ้าหน้าที่อำเภอที่มาด้วยกัน พี่ๆจากทางอำเภอบอกว่า หากต้องการล่วงหน้าเดินทางไปชุมชนมอแกนก่อน ต้องออกเดินทางไปจากท่าเทียบเรือนี้อีก 7 กิโลเมตรไปทางทิศ […]

ไร้สัญชาติ และติดเชื้อเอชไอวี:สิทธิแห่งความเป็นมนุษย์ที่กำลังจะสูญสิ้น

จากการลงพื้นที่อำเภอเชียง ของ จังหวัดเชียงราย ของเราทีมงานโครงการพัฒนาสถานภาพและคุ้มครองสิทธิเด็กไร้รัฐและไร้สัญชาติใน ประเทศไทย มูลนิธิกระจกเงา โดยวัตถุประสงค์ในการลงพื้นที่ครั้งนี้คือการพบปะพูดคุยเพื่อทำความเข้าใจ ถึงปัญหาและเก็บรวบรวมข้อมูลของพี่น้องสมาชิกกลุ่มอุ่นไอรักซึ่งเป็นกลุ่ม ผู้ติดเชื้อเอชไอวี ในอำเภอเชียงของ คำถามคืองานรณรงค์เพื่อพิทักษ์สิทธิในสัญชาติของบุคคลมีความเกี่ยวข้องในแง่ ใดต่อกลุ่มผู้ติดเชื้อเอชไอวี คำตอบที่ได้ก็คือสมาชิกหลายคนในกลุ่มอุ่นไอรักนี้เป็นผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่ ไร้สัญชาตินั่นเอง สิ่งที่ทำให้ทีมงานเราต้องแปลกใจและสลดใจอย่างที่สุดคือ สิทธิสัญชาติไทยไม่ใช่สิ่งคนกลุ่มนี้ต้องการที่สุด แต่สิ่งที่พวกเขาต้องการที่สุดคือสิทธิที่จะมีชีวิตอยู่ นโยบายพรากชีวิต : จากคำบอกกล่าวที่พวกเราได้รับจากสมาชิกกลุ่มอุ่น ไอรักคือ รัฐบาลโดยกระทรวงสาธารณสุขมีแนวโน้มที่จะมีนโยบายโอนยาต้านเชื้อเอชไอวีเข้า สู่โครงการสามสิบบาทรักษาทุกโรคซึ่งผู้ที่จะมีสิทธิรับยาในโครงการสามสิบบาท รักษาทุกโรคคือผู้มีบัตรประชาชนดังนั้นจึงต้องเป็นผู้มีสัญชาติไทยเท่านั้น ด้วยเหตุนี้ผลที่จะตามมาหากรัฐบาลผ่านนโยบายนี้ออกมาบังคับใช้คือ กลุ่มผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่ไม่มีสัญชาติไทยก็จะไม่มีสิทธิรับยาต้านเชื้อเอ ชไววีจากรัฐอีกต่อไปหรือมิเช่นนั้นก็ต้องเสียค่ายาซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่า ยาต้านเชื้อเอชไอวีนี้มีราคาสูงมาก เพราะแต่ละครั้งในการรับยานั้นต้องเสียค่าใช้จ่ายไม่ต่ำกว่า 1200 บาท และผู้ติดเชื้อก็ไม่มีทางเลือกอื่นใดในการที่จะมีชีวิตอยู่นอกเสียจากต้อง รับประทานยาต้านเชื้อเอชไอวีนี้ไปตลอดชีวิต เงินจำนวนนี้เมื่อเปรียบเทียบกับรายได้ของกลุ่มผู้ติดเชื้อเอชไอวีซึ่งไร้ สัญชาติกลุ่มนี้ซึ่งมีรายได้เฉลี่ยวันละไม่ถึง 100 บาทแล้วนั้นนับเป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่อาจจะแบกรับภาระไหว ประกอบกับอุปสรรคต่าง ๆ ที่เป็นเหตุมาจากสถานะไร้สัญชาติเช่นการที่บุคคลไร้สัญชาติผู้ถือบัตรสีต่าง ๆ ไม่สามารถออกนอกพื้นที่ได้ หรือการมีสถานะเป็นคนต่างด้าวที่อาจถูกทางการจับกุมดำเนินคดีได้ทุกเมื่อ อีกทั้งสภาพร่างกายที่ที่อ่อนแอจากโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่รุมเร้าแล้วนั้นทำให้แทบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่กลุ่มผู้ติดเชื้อซึ่งไร้ สัญชาติเหล่านี้จะสามารถหาเงินมาจ่ายค่ายาจำนวนนี้ได้ จากที่ก่อนหน้านี้ผู้ติดเชื้อเอชไอวีทุกคนไม่ว่าจะมี สัญชาติไทยหรือไม่มีสิทธิได้รับยาต้านเชื้อเอชไอวีนี้จากโครงการNAPHAซึ่ง เป็นโครงการของโรงพยาบาลประจำอำเภอเชียงของที่จ่ายยาต้านเชื้อให้กับผู้ติด เชื้อทุกคนโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเนื่องจากเป็นงบประมานในการดูแลผู้ติด เชื้อเอชไอวีที่ได้รับจากรัฐ แต่ ณ ปัจจุบันนี้ด้วยความไม่แน่นอนของทางนโยบายของรัฐในการที่จะโอนยาต้านเชื้อเอ […]

20 กำพร้า…ชะตากรรมของความไร้สัญชาติ

เช้ามืด ของวันที่ 6 มกราคม 2548 เวลา 5.00 น. ห้วงยามที่หลายคนอาจจะยังซุกร่าง หลับใหลในที่นอนอันแสนจะอบอุ่น แต่คงไม่ ใช่ที่หมู่บ้านป่าเมี่ยง หมู่ 9 ตำบลป่าพึง อ.แม่จัน จังหวัดเชียงรายแน่ เพราะสำหรับที่นี่แล้ว เช้าวันนั้นมันหมายถึง ความสูญเสีย การพลัดพราก เป็นฝันร้ายของคนไร้สัญชาติอย่างแท้จริง! เมื่อ เจ้าหน้าที่ตำรวจนำกำลังกว่าสิบนายเข้าจับกุมชาวบ้านที่ไร้สัญชาติรวมทั้ง สิ้น 16คน จาก 11ครอบครัว เป็นหญิง 7 คน และผู้ชาย 9 ส่วนใหญ่เป็นกำลังหลัก หรือหัวหน้าครอบครัว เหลือเพียงเด็ก ๆ ที่ไม่สามารถดูแลตัวเองได้ให้กับพระธุดงค์นิรนาม และชาวบ้านในบริเวณใกล้เคียงดูแลถึง 20 คน นานกว่า 10 วันแล้ว สถานการณ์ในพื้นที่ดูเหมือนเข้าขั้นวิกฤตเข้าไปทุกที ล่าสุดใน วันที่ 18 มกราคม 2548 ที่ผ่านมา ศาลได้ตัดสินชาวบ้านกลุ่มดังกล่าว โดยศาลตัดสินให้เสียค่าปรับ 4,000 บาท […]

ไร้ สัญชาติไทย แต่(ไม่)ไร้สิทธิทางการศึกษา

จากหัวข้อของเนื้อความ การไร้สัญชาติสำหรับบุคคลหนึ่งนั้น ถือเป็นเรื่องใหญ่สำหรับเขา เพราะนอกจากเขาจะขาดสิทธิทั้งทางด้านการรักษาสุขภาพ ด้านการเมืองแล้ว เขายังจะเป็นบุคคลไร้ตัวตนไปอย่างสิ้นเชิง แม้เขาจะยังยืนอยู่บนผืนแผ่นดินนั้นก็ตาม การยื่นคำร้องขอสัญชาติ ที่สามารถทำตามสิทธิอย่างที่ตนมีและสมควรได้ แม้มีหลายระเบียบการที่ทำได้ แต่ก็เป็นเรื่องลำบากสำหรับพวกเขาเหล่านั้น เพราะ การขาดซึ่งความรู้ มันกลายเป็นข้อสงสัยอีกประเด็นหนึ่ง ในหลายๆประเด็น เกี่ยวกับเรื่องการไร้สัญชาติ ของบุคคลบนพื้นที่สูง ภายในสังคมเมืองที่มีแต่ผู้อยู่ในฐานะมีอันจะกิน ที่ไม่เดือดเนื้อร้อนใจกับสภาพความเป็นไปของสังคมและปัญหาของคนกลุ่มอื่น หากมองกวาดไปในมุมเล็กๆของสังคมที่ใหญ่โต ก็จะพบกับ “ตัวปัญหา หรือ “ขยะสังคม” ที่ผู้คนมักเรียกกัน คุณเคยลองมองเข้าไปในตัวปัญหาเหล่านั้นบ้างไหม คุณเคยคิดที่จะพูดคุยสอบถามกับเขาบ้างหรือไม่ แล้วคุณเคยใส่ใจกับปัญหาเหล่านั้นบ้างรึเปล่า ตอนนี้ปัญหาที่ใครๆมองผ่าน และคิดว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย มันกลายเป็นเรื่องใหญ่ กลายเป็นปัญหาใหญ่ของสังคมไปซะแล้ว ตัวเหตุผลหลักที่นำไปสู่ปัญหาเหล่านี้ คือ การศึกษา ตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยหลักฐานในการรับนักเรียนนักศึกษาเข้าเรียนในสถานศึกษา พ.ศ.2548 ที่ว่า ทุกคนที่อาศัยอยู่ในประเทศสามารถเข้าเรียนได้ตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาภาค บังคับ จนถึงระดับอุดมศึกษา แม้แต่บุคคลที่ไม่มีหลักฐานทางทะเบียนราษฎรและเด็กที่ไม่มีสัญชาติไทย หากนั่นเป็นเพียงนโยบายที่สวยหรู แต่อันที่จริงแล้วพวกเขาเหล่านั้นไม่ได้รับการศึกษาตามที่เขาสมควรได้ ถึงแม้ ได้รับแต่กลับเกิดปัญหาในภายหลัง นางสาวจันทร์ผัด สีใส เด็กสาวที่อยากมีอนาคตที่สดใสเหมือนเด็กสาวทั่วไป อยากเรียนสูงๆ อยากมีหน้าที่การงานที่ดี ครอบครัวของเธออพยพจากแคว้นสิบสองปันนา เข้ามายังประเทศไทยเพราะความลำบากในการทำมาหากิน จึงต้องบากหน้าเข้าสู่ประเทศที่ตนคิดว่าน่าจะพอมีทางที่สามารถทำมาหากิน […]

ไร้สัญชาติ: ศักดิ์ศรีที่ สูญสิ้น สู่ความไร้สิทธิ์ด้านสุขภาพ

ไร้สัญชาติ: ศักดิ์ศรีที่ สูญสิ้น สู่ความไร้สิทธิ์ด้านสุขภาพ “มาตรา ๕๒ บุคคลย่อมมี สิทธิเสมอกันในการรับบริการทางสาธารณสุขที่ได้มาตรฐาน และผู้ยากไร้มีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาลจากสถานบริการสาธารณสุขของรัฐโดย ไม่เสียค่าใช้จ่าย…” –รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔0 ภายใต้ ฟ้าเดียวกันมนุษย์ทุกคนควรมีคุณค่าและศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์โดยเท่า เทียมกัน ดังนั้นรัฐธรรมนูญจึงมีขึ้นเพื่อเป็นอีกหนึ่งกลไกในการประกันความความเสมอ ภาคและเท่าเทียมกันดังกล่าว เพื่อสร้างสังคมที่ดีซึ่งเป็นสังคมแห่งการอยู่ร่วมกันของคนทุกคนใน สังคมอย่างเคารพในความเป็นมนุษย์ของกันและกัน หนึ่งใน หลักประกันความเสมอภาคของปวงชนชาวไทยภายใต้รัฐธรรมนูญคือ สิทธิ์ในการมีสุขภาพดี ดังนั้นรัฐธรรมนูญจึงมีบทบัญญัติว่าด้วยการให้ความคุ้มครองสิทธิของประชาชน ในการเข้าถึงบริการทางสาธาณสุข แต่ในความเป็นจริงยังมีคนอีกเป็นจำนวนมากที่ไม่ได้รับความคุ้มครองดังกล่าว เหตุเป็นเพียงเพราะเขาเหล่านั้นไม่มีสัญชาติไทย ความ ไร้สัญชาติดังกล่าวเกิดเพราะเขาถูกทำให้ไร้สัญชาติ โดยหน่วยงานรัฐผู้มีส่วนเกี่ยวข้องละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งผลการถูกทำให้ไร้สัญชาติได้ทำลายศักดิ์ศรีและลดทอนคุณค่าของ ความเป็นมนุษย์ของผู้คนจำนวนมากมาย ทำให้คนที่อยู่ ใต้ฟ้าเดียวกันแต่ไม่ได้รับสิทธิอย่างเท่าเทียมกัน ดังเช่นในกรณีของคุณลุงอา ส่า อาชี คุณลุงอา ส่า อาชี เล่าทั้งน้ำตาถึงเหตุการณ์ในอดีตเมื่อ4 ปีที่แล้ว เหตุการณ์ที่ถือได้ว่าเป็นโศกนาฏกรรมของชีวิตที่ยากจะลืมได้ และผลจากเหตุการณ์ครั้งนั้นได้เปลี่ยนแปลงชีวิตของคุณลุงและของครอบครัวจน ไม่อาจกลับมาเป็นเหมือนเดิมได้อีก คุณลุง เล่าว่า ได้ประสบอุบัติเหตุ เมื่อปี 2535 ในขณะกำลังขี่รถจักรยานยนต์กลับบ้าน มีรถบรรทุกสวนมา คุณลุงจึงหยุดรถเพื่อให้รถบรรทุกไปก่อน แต่เนื่องจากถนนที่แคบมากคุณลุงจึงถูกรถเบียดตกลงไปในลำห้วย จากนั้นคุณลุงก็มีอาการปวดและอักเสบบริเวณแขนและหัวไหล่ข้างขวา […]

งานวันเด็ก ของเด็กไร้สัญชาติ

เด็กหลาย ๆคน คงตั้งหน้าตั้งตารอที่ จะได้รับของขวัญแห่งปี เนื่องในโอกาสงานวันเด็กแห่งชาติ ซึ่งในหลายพื้นที่ หรือในหลายหน่วยงานได้ร่วมกันจัดขึ้น ในวันที่ 14 มกราคม 49 ที่จะมาถึง ถ้าจะพูดถึงในหลายปีที่ผ่านมา ของขวัญหรือสิ่งของที่แจกให้กับเด็กก็คงจะสร้างความประทับใจ และความรู้สึกที่ดีให้กับเหล่าเด็กๆไปตามภาษาหรือช่วงวัยที่ต้องการความสุข ได้เป็นอย่างดี หรือในบางครอบครัวก็พาลูก ๆหลานของตนไปเที่ยวในสถานที่ต่าง ๆที่จัดงานขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นวาระแห่งการสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัว เข้าทางนโยบายรัฐบาลอย่างพอเหมาะพอเจาะในเรื่องของการส่งเสริมสถาบันครอบ ครัวที่รัฐเริ่มเร่งเครื่องให้ความสำคัญ จนถึงการเร่งคลอดโครงการหรือกิจกรรมที่จะเข้ามาส่งเสริมอย่างต่อเนื่อง เมื่อใน ระหว่างวันที่ 6-8 มกราคมที่ผ่านมา ได้มีการจัดงาน “วันเด็ก ไร้สัญชาติ” ขึ้น ณ ศูนย์พัฒนาเครือข่ายเด็กและชุมชน ต. สบเมย อ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน ซึ่งถือเป็นการจัดงานขึ้นเป็นครั้งที่ 4 เพื่อ เปิดโอกาสให้เด็ก เยาวชน กลุ่มคนตามแนวชายแดน และชุมชนไร้สัญชาติ ได้ร่วมสัมผัสงานวันเด็ก โดยได้รับเกียรติจากรองผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอนมากล่าวเปิดงาน รวมถึงมีทั้งองค์กรภาครัฐ และองค์กรพัฒนาเอกชนเข้าร่วม ภายในงาน ได้มีการหยิบยกประเด็น คนไร้สัญชาติ เป็นเนื้อหามาเป็นการกล่าวถึง โดยมีกิจกรรมการลงพื้นที่ เยี่ยมชุมชน ที่ประสบปัญหากับการเป็นบุคคลไร้สัญชาติ […]

รณรงค์ เยาวชนคนรักสิทธิ์พร้อมก้าวสู่ประชาคมอาเซียน

เข้าสู่เดือนตุลาคม เป็นสัญญาณว่าได้เข้าสู่ฤดูการรณรงค์ของเราแล้ว กิจกรรมต่อยอดจากค่าย “เยาวชนคนรักสิทธิ์พร้อมก้าวสู่ประชาคมอาเซียน” ที่จัดขึ้นเมื่อ เดือนกันยายนที่ผ่านมา ที่เราจัดขึ้นเพื่อสร้างอาสาสมัครชุมชน ให้ได้มีส่วนร่วมในการเผยแพร่ความรู้ สร้างความสามัคคีในชุมชน               เราเริ่มออกพื้นที่รณรงค์ตั้งแต่วันที่ 14 ตุลาคม 2555 ใช้เวลาในการทำกิจกรรม 2-3 ชัวโมง เริ่มเวลา  18.00-21.00 น. ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ชาวบ้านกลับจากการทำงานมาแล้ว พื้นที่เป้าหมายของเราคือ ชุมชนที่ยังห่างไกลความเจริญ และคาดว่ายังขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องของประชาคมอาเซียนที่กำลังจะเริ่มขึ้นในอีกไม่กี่ปีข้างหน้านี้ เราเริ่มออกรณรงค์ตามพื้นที่เป้าหมายต่างๆ ทำให้ทราบถึงปัญหาว่า  เยาวชนในชุมชนมองข้ามความสำคัญของอาเซียนไปอาจเพราะ ส่วนใหญ่จะคิดว่าเป็นเรื่องไกลตัว  ด้วยความที่ยังมีโลกทัศน์ที่แคบ ยังรักวิถีชีวิตแบบเดิมๆ เพราะยังไม่เกิดขึ้นจริงเลยมองไม่เห็นผลกระทบที่จะตามมา ในแต่ละชุมชนก็มีความคิดเห็น เกี่ยวกับเรื่องอาเซียนแตกต่างกันไป กิจกรรมการรณรงค์ของเราจะเริ่มด้วยการสันทนาการเรียกความสนใจจากเด็กๆและชาวบ้านละแวกใกล้เคียง จากนั้นก็เข้าสู่กระบวนการให้ความรู้เราจะมีสื่อวิดีโอ และคู่มือ ให้ความรู้แก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรม บางหมู่บ้านจะมีความรู้พื้นฐานมาบ้างแล้ว แต่สำหรับหลายๆหมู่บ้าน เรื่องอาเซียนยังเป็นเรื่องแปลกใหม่สำหรับชาวบ้านอยู่ บางพื้นที่เราจะมีล่ามแปลภาษาให้กับชาวบ้านกลุ่มชาติพันธุ์ด้วยทำให้เข้าใจง่ายขึ้น ในทุกๆพื้นที่ชาวบ้านให้ความสนใจกันดี ให้ความร่วมมือในการจัดสถานที่ ตอบคำถามชิงรางวัลบ้าง ในจุดที่ไม่เข้าใจก็ถามขึ้นให้ได้อธิบายเพิ่มเติม และเมื่อทำความเข้าใจเรื่องอาเซียนกันแล้ว เราก็จะมีละครณรงค์จากอาสาสมัครในแต่ละชุมชน เนื้อหาในละครก็จะสอดแทรกข้อคิดดีๆ สะท้อนปัญหาสังคมในปัจจุบัน […]

กับชีวิตและเรื่องราวของผู้ที่สู้เพื่อสิทธิ์การได้รับมาซึ่งสัญชาติไทยในวันที่คณะกรรมกรมสิทธิมนุษย์ชนแห่งชาติมาลงพื้นที่ที่อำเภอแม่ฟ้าหลวง

“ถ้ามันเป็นสิทธิ์ของเขา เขาก็ควรจะได้รับ” คำพูดของคณะกรรมกรมสิทธิมนุษย์ชนแห่งชาติ ท่านหนึ่งได้พูด ในวันที่คณะกรรมกรมสิทธิมนุษย์ชนแห่งชาติได้มาลงพื้นที่ที่อำเภอแม่ฟ้าหลวง เพื่อรับฟังคำร้องของชาวบ้าน ซึ่งชาวบ้านได้มาร้องทุกข์ถึงการได้สิทธิ์ของตนเอง คือการได้ซึ่งการเป็นคนไทย วันนี้ชาวบ้านเหล่านี้ยังคงต่อสู้และพยายามต่อไป แม้บางครั้งพวกเขาจะท้อกับระยะเวลาดำเนินการที่เนินนาน แต่พวกเขาเหล่านี้ก็ไม่เคยถอยยังคงเดินหน้าต่อไป เพื่อจะได้รับมาซึ่งสิทธิในสัญชาติไทย หล่อแบ คาหล่า เด็กหนุ่มผู้ประสบปัญหาในเรื่องของสัญชาติเหมือนชาวบ้านอีกหลายๆคน เขามีความใฝ่ฝันอยากจะเรียนที่มหาวิทยาลัย แต่ด้วยความที่เขามีเงินไม่เพียงพอเพื่อจะศึกษาในระดับนี้ และเขาก็ไม่มีสิทธิ์ที่จะกู้เงินจากกองทุนเพื่อการศึกษา หล่อแบ จึงต้องละทิ้งความฝันของเขาที่จะไม่ได้เรียนต่อในมหาวิทยาลัย ครั้งหนึ่งหล่อแบ นั้นเคยได้ทุนไปดูงานที่ประเทศญี่ปุ่นในสาขาวิชาเกษตร แต่ด้วยความที่เขาเป็นบุคคลที่ไม่มีสัญชาติเขาจึงต้องสละสิทธิ์ของเขา ทำให้หล่อแบต้องพลาดโอกาสที่จะไปศึกษาในสิ่งที่เขารัก เขามีความสงสัยในใจตลอดมา ว่าทำไมเขาถึงไม่ได้รับสิทธิ์การเป็นคนไทย ทั้งๆที่เขาควรได้รับสิทธินั้นมานานแล้ว  วันนี้เรื่องราวความร้องของอาแบะได้มาถึงต่อคณะกรรมกรมสิทธิมนุษย์ชนแห่งชาติแล้ว และคณะกรรมกรมสิทธิมนุษย์ชนแห่งชาติก็เป็นคนกลางเพื่อสอบถามเรื่องของอาแบะต่อเจ้าหน้าที่ในอำเภอ และปัญหาของอาแบะก็กำลังได้รับการแก้ไขในอีกไม่ช้านี้ เราหวังว่าอาแบะจะได้รับมาซึ่งสิทธิการเป็นคนไทย เพราะสัญชาติไทยนั้นเป็นของเขาตั้งแต่ต้นมาแล้ว Wed, 04/18/2012

มอแกนเกาะเหลา

วันนี้เมื่อโลกใบใหม่กำลังเข้ามาแทนที่โลกใบเก่า กลุ่มชาติพันธุ์มอแกนเกาะเหลาก็เหมือนกับอีกหลาย ๆ พื้นที่เช่นเดียวกัน มอ แกน (Moken) หรือ พรานทะเล สิงห์ทะเลหรือเรียกอีกอย่างว่า มาซิง เมื่อครั้งหนึ่งเคยใช้ชีวิตและเวลาส่วนใหญ่ในเรือ ที่เป็นเหมือนบ้านและยานพาหนะ ที่จะนำพาชีวิตพวกเขาไปสู่เกาะแก่งใหญ่น้อย ในท้องทะเลมหาสมุทรอันกว้างใหญ่ เป็นที่ที่พวกเขายกให้เป็นทั้งพ่อและแม่ที่ต้องเคารพและรักษาไว้ วิถีชีวิตที่สอดคล้องกับฤดูกาล ในเรื่องปรัชญาในการ เรียนรู้ความสัมพันธ์ทางธรรมชาติ เมื่อท้องทะเลนิ่งสงบอากาศดี มอแกนจะใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในเรือเพื่อออกเดินทางหาปลา งมหอย หาปู เพื่อการดำเนินชีวิต และเมื่อถึงเวลาที่มีคลื่นลมมรสุมมอแกนก็จะรู้จักการหาฝั่งเพื่อเข้าหลบลม มรสุม โดยจะหาที่จอดเรือ มอแกนจะเรียก เรือว่า (ก่าบาง) ซึ่งหมายถึง พาหนะหรือบ้านที่ลอยในน้ำได้ มอแกนมีชีวิตที่ผูกพันกับเรือ (ดังคำกล่าว ที่ว่าถ้าไม่มีเรือก็ไม่มีมอแกน) ซึ่งพวกเขาจะสร้างเรือจากการขุดไม้ใหญ่บางชนิดที่อยู่ในป่า นำมาสร้างเรือ ประเทศไทยจะได้รับลมมรสุม 2 ฤดู คือฤดูฝน ช่วงเดือน (พฤษภาคม-ตุลาคม) และช่วงฤดูแล้ง (พฤศจิกายน-เมษายน) มอแกนมีความผูกพันกับทะเลมาก เมื่อวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป ซึ่งเกิดจากการไม่สามารถที่จะล่องทะเลไปในที่ไหน ๆ ได้เช่นเคย ประกอบกับการปักหลักเขตแดนในพื้นที่น่านน้ำของแต่ละประเทศ มอแกนจึงต้องตั้งถิ่นฐานอยู่ตามบริเวณชายฝั่งหรือบนเกาะ แต่ก็ยังยึดอาชีพที่เกี่ยวข้องกับทะเลอยู่ การสร้างบ้านเรือนของมอแกนก็เป็นแบบเรียบง่าย โดยการใช้ไม้ไผ่มาทำฝา […]

ความฝันที่มีความหวังของสมหมาย ( นิพันธ์ สุทธิมา)

สมหมาย หรือ นิพันธ์ สุทธิมา เกิดที่ จ.ลำพูน เราถามถึงวันเดือนปีเกิดเขา เขากลับ   ไม่ทราบวันเกิดเขาจริง มีเพียงวันสมมุติขึ้นมาเท่านั้น แม่เขาทิ้งเขาไปหลังคลอดและพ่อก็เสียชีวิตตามมา ตอนที่เขาอายุเพิ่งแค่ 2 ขวบ สมหมายต้องกลายเป็นเด็กกำพร้า ได้รับการเลี้ยงดูจากหลวงพ่อพล ซึ่งเขาเคารพนับถือเหมือนพ่อ เมื่อหลวงพ่อย้ายมาวัดแม่บง จ.เชียงราย เขาก็ได้ติดตามมาด้วย มาเรียนที่เชียงรายจนถึงตอนนี้เขาเรียนจบ ม.6 แล้ว  “สม หมาย” เขามีความฝันว่าอยากจะเป็นนักเตะทีมชาติไทย อยากจะพาบอลไทยไปสู่ระดับบอลโลก “สมหมาย” เริ่มเล่นฟุตบอลตั้งแต่เด็ก และเริ่มรู้สึกว่าชอบฟุตบอลมากๆตอนอยู่ ป.2 สมหมายเป็นเด็กที่มีทักษะดีมาก แต่เส้นทางฝันของเขาก็ต้องพบกับปัญหาใหญ่ “ ตอนอยู่ป.5 มี ทีมจากทางอำเภอจะมาดึงตัวผมกับเพื่อนสองคนให้เป็นตัวแทนของอำเภอ อาจารย์ขอสำเนาทะเบียนบ้านกับใบเกิด ตอนนั้นผมดีใจมากรีบวิ่งกลับไปที่วัด ไปถามหลวงพ่อว่า มีใบเกิดกับสำเนาทะเบียนบ้านไหม หลวงพ่อบอกว่าไม่มี จากนั้นมาผมก็ได้รู้ว่า ผมเป็นคนไม่มีสัญชาติ” การ ไม่มีสัญชาติทำให้ขาดโอกาสในหลายๆด้าน ทั้งด้านการศึกษาที่ตอนนี้เขาเรียนจบแล้วแต่ไม่สามารถเรียนต่อได้ ไปสมัครงานที่ไหนเขาก็ไม่รับ เวลาเจ็บป่วยไปโรงพยาบาลก็ยุ่งยากและต้องเสียค่าใช้จ่ายเยอะ “ทุกวันนี้เวลาไม่สบายก็ไม่อยากไปโรงพยาบาลเลย” เวลาเดินทางไปไหนมาไหนก็ไม่สะดวก จะต้องไปทำใบขออนุญาตออกนอกพื้นที่ แต่ละครั้งก็ออกได้แค่ 7 […]

1 54 55 56 57 58 72
Copyright © 2018. All rights reserved.