admin

ไม่มีสัญชาติ…ช่องทางถูกเอาเปรียบ

ดูภายนอก เหมย ก็เหมือนเด็กสาวธรรมดาๆคนหนึ่ง แต่เมื่อพิจารณาใกล้ๆ จะเห็นร่องรอยของการตรากตรำจนเกินวัย สาเหตุเนื่องมาจากการที่เธอต้องทำงานอย่างหนักเพื่อแลกกับค่าตอบแทนเพียง น้อยนิด มิหนำซ้ำ ยังถูกจำกัดอิสรภาพตั้งแต่อายุเพียง 14 ปี เธออดทนเหนื่อยยากมาตลอด แต่สุดท้ายก็พบว่าผลประโยชน์จากสิ่งที่เธอลงแรงลงไปนั้น ไม่เคยกลับมาสู่ตัวของเธอเองเลย ชะตากรรมของเหมยอาจจะไม่เลวร้ายขนาดนี้ถ้าเธอมีเพียงสิ่งเดียว… “บัตรที่แสดงถึงสิทธิ์ของความเป็นคนไทย” เหมย เป็นเด็กสาวชาวลาหู่อายุ 19 ปี เธอเกิดในประเทศไทย และเป็นหนึ่งในเด็กชาวเขาจำนวนมากที่เกิดมาพร้อมกับความ “ไร้สัญชาติ” เหมยเริ่มทำงานเมื่ออายุ 14 ปี เด็กวัยนี้ควรจะมีชีวิตอยู่ในรั้วโรงเรียน และได้ทำตามความหวัง ความฝันของตัวเอง แต่เนื่องจากพ่อกับแม่ของเธอมีฐานะยากจน ต้องเลี้ยงดูลูกถึง 8 คน ลูกสาวคนที่สามอย่างเหมยจึงต้องแบ่งเบาภาระของครอบครัวด้วยการออกจากบ้านมา ทำงานในเมืองโดยการชักชวนจากเพื่อนบ้านชาวอาข่าที่รู้จักกับนายจ้างของเธอ เพื่อนบ้านคนนั้นบอกว่า เหมยจะได้เงินเดือน 2,000 บาท กินอยู่กับนายจ้าง และ จะพาไป “ทำบัตร” สถานที่ทำงานของเหมยคือร้านก๋วยเตี๋ยวแห่งหนึ่งในตัวอำเภอเมืองจังหวัด เชียงราย วันทำงานของเหมยคือทุกวันที่ร้านก๋วยเตี๋ยวเปิด หรือ 7 วันต่อสัปดาห์นั่นเอง สิ่งที่เหมยต้องทำคือ ตื่นแต่เช้าเพื่อไปจ่ายตลาดกับนายจ้าง จากนั้นก็มาที่ร้านก๋วยเตี๋ยวเพื่อช่วยนายจ้างทำน้ำก๋วยเตี๋ยว เตรียมเครื่องปรุง จากนั้นเมื่อเปิดร้านก็ทำหน้าที่ลวกเส้นก๋วยเตี๋ยว ปรุง […]

หนูไม่เคยคิดว่าชีวิตนี้..จะได้สัญชาติไทย

“หนูไม่เคยคิดว่าชีวิตนี้ จะได้สัญชาติไทย” อารยา อามอ หรือน้องเกตุ เด็กสาวที่เติบโตมากับความด้อยสิทธิเนื่องจากการไร้สัญชาติกล่าวด้วยใบ หน้าที่ยิ้มแย้ม น้องเกตุเป็นบุตรคนที่สามของครอบครัวโดยมีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน 3 คน และมีน้องชาย ต่างบิดาอีก 1 คน บ้านเดิมของน้องเกตุอยู่ที่ตำบลแม่ยาว อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย เพราะความยากจนทำให้ครอบครัวของน้องเกตุต้องอพยพมา อยู่ที่อำเภอแม่ลาว จังหวัดเชียงราย ครอบครัวของน้องเกตุได้ยื่นคำร้องขอลงรายการสัญชาติไว้ต่อ อำเภอเมืองเชียงราย ตั้งแต่ปี พ.ศ.2543 โดยได้รับความช่วยเหลือจากมูลนิธิกระจกเงา เชียงราย แต่เนื่องจากในขณะนั้นน้องเกตุยังเป็นเด็กอายุเพียง 8 ขวบ จึงไม่ได้ยื่นคำร้องร่วมกับคนในครอบครัวต้องกลายเป็นตกหล่น ประกอบกับการที่น้องเกตุไม่มีสูติบัตรหรือหลักฐานอื่นใด ทำให้ในขณะนั้นน้องเกตุจึงต้องกลายเป็นบุคคลที่ไร้ตัวตนในทางกฎหมาย ทั้งๆที่ยังมีชีวิตอยู่ การไร้สัญชาติอาจไม่มีความสำคัญมากมายนักหากคนๆนั้นเป็นเพียงคนจริตวิกลที่ ใช้ชีวิตไปวันๆโดยไร้จุดหมาย แต่สำหรับเด็กผู้หญิงคนหนึ่งที่มีความฝันจะเป็นนักกฎหมายแล้ว สัญชาติไทยคือใบเบิกทางที่สำคัญที่สุด ที่จะช่วยให้เธอเดินบนเส้นทางนี้ได้อย่างราบเรียบ น้องเกตุเป็นคนนิสัยร่าเริง แต่พอถามว่าตอนไม่มีสัญชาติไทย รู้สึกยังไงบ้างด้วยความเป็นเด็กเธอตอบด้วยน้ำเสียงที่ไม่ร่าเริงอย่างที่ เคย “ น้อยใจที่ตนเองไม่เหมือนคน อื่น ไม่มีสัญชาติทั้งๆที่เพื่อนคนอื่นมีสัญชาติไทยกันทุกคนแต่เราไม่มี เคยร้องไห้โดยไม่รู้สาเหตุเมื่อนึกถึงเรื่องตัวเอง รู้สึกว่าตัวเองไม่เหมือนคนอื่น รู้สึกว่ามีปมด้อย ” มีอยู่ครั้งหนึ่งทางโรงเรียนจัดกิจกรรมทัศนศึกษาแต่เธอไม่ได้ไป เพราะไม่สามารถเดินทางออกนอกพื้นที่ได้ เธอเสียใจมาก ตอนนี้เด็กหญิงอาริยา อามอ […]

สิทธิของผมแท้ๆแต่กลับอยู่ในมือคนอื่นที่ไม่รู้จัก

การรอคอยที่ยาวนาน พร้อมกับความหวังว่าจะได้สัญชาติไทยสักวันหนึ่ง แต่คอยแล้วคอยเล่าก็ไม่มีวี่แววจากวันเป็นเดือนจากเดือนเป็นปี ผ่านมาแล้ว 20 ปีก็ยังไม่ได้สัญชาติความหวังของผมช่างดูเลือนลอย ไร้จุดหมาย ชีวิตของผมช่างไร้ค่า ไร้ราคา เมื่อเทียบกับคนที่มีสัญชาติไทยแล้ว หลายครั้งรู้สึกท้อแท้ และ หลายครั้งรู้สึกเหนื่อยล้า กับ ความหวังที่ไร้คำตอบ นาย อาทิตย์ เชอหมื่อ หรือ แบงค์ ในปัจจุบัน เขาโตเป็นหนุ่มใหญ่โต รูปร่างหน้าตาก็เปลี่ยนไป เพราะ แบงค์โตแล้วในวันนี้ แบงค์ บอกว่า “หลาย สิ่งหลายอย่างในชีวิตก็ได้เปลี่ยนไป แต่สิ่งหนึ่ง ที่ไม่เคยเปลี่ยน ก็คือ ตอนเป็นเด็กผมไร้สัญชาติอย่างไร ปัจจุบันก็ยังไร้สัญชาติอย่างนั้นอยู่ โดยบางครั้ง ผมเคยถามตนเองว่า ทำไมถึงเป็นอย่างนี้ คำถามนี้เป็นคำถามที่ไม่มีใครตอบ เพราะตลอดเวลา 20 ปีที่ผ่านมา ผมถามอย่างนี้มาเรื่อยๆ จนถึงตอนนี้ ถ้าจะให้นับคงจำไม่ได้แล้วว่ากี่ครั้ง” แบงค์ เล่าให้ฟังว่า ตอนบิดามารดา ยื่นคำร้องขอสัญชาติ แม่ ผมยังไม่ได้ตั้งครรภ์ผมเลย แต่ระหว่างที่พ่อกับแม่รออนุมัติสัญชาตินั้น ผมก็อยู่ในท้องแม่แล้ว ปัจจุบันพ่อแม่และน้องๆได้สัญชาติกันทุกคนแล้ว ตอนเป็นเด็กผมไม่มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องสัญชาติและไม่ได้คิดมากเพราะไม่ เจอปัญหาเท่าไหร่ […]

สู้ชีวิต…ที่ผิดกฎหมาย “คำร้องทุกข์” ของ “คนไร้รัฐ”

น่าแปลก…คนที่ไม่ได้จี้ ปล้น ฆ่า ข่มขืน ประกอบสัมมาอาชีพสุจริต แต่ต้องมีชีวิตอยู่อย่างผิดกฎหมาย ไร้ผืนแผ่นดินให้เหยียบย่างอย่างอิสระเสรีตั้งแต่เกิด พวกเขาผิดที่เกิดมา หรือผิดที่เลือกเกิดไม่ได้…ณ ดอยสูง ชายแดน ชายขอบของความเป็น “มนุษย์” อยู่แห่งหนไหน…อุทิศ ยอดคำมั่น” หรือ สอน (ผู้ผลัดถิ่นชาวพม่า) จากแม่ฮ่องสอน นักกีฬาปีนผาที่ต้องพลาดโอกาสเพราะไร้สัญชาติการต้องดิ้นรนต่อสู้ ดูจะเป็นแบบแผนวิถีชีวิตที่น่าหดหู่ของคนเหล่านี้ไปแล้ว รศ.ดร.พันธุ์ ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร หรือ “อาจารย์แหวว” อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หัวหน้าโครงการเด็กไร้รัฐ เคยกล่าวไว้ว่า “พวกเราต้องรู้จักที่จะช่วยเหลือตัว เอง พยายามให้ถึงที่สุด อย่ารอให้ใครมาช่วย ครูคนเดียวก็ช่วยไม่ได้หมดทุกคน”การทำงานและความ พยายามผลักดันนับสิบๆ ปีของ “อาจารย์แหวว” และเครือข่ายส่งผลเมื่อคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่าง “ยุทธศาสตร์การจัดการปัญหาสถานะและสิทธิบุคคล” ตั้งแต่วันที่ 18 มกราคมที่ผ่านมา ภารกิจวันนี้จึงเป็นการเชื่อมโยงยุทธศาสตร์เพื่อนำมาใช้ในการแก้ปัญหาคนไร้ รัฐอย่างจริงจัง นี่เป็นที่มาของ “ห้องเรียนสอนกฎหมาย” ที่ทีมสื่อสารสาธารณะร่วมกับโครงการเด็กไร้รัฐ ภายใต้โครงการเด็ก เยาวชนและครอบครัว องค์การพัฒนาเอกชน รวมทั้งนักวิชาการ เปิดหลักสูตรเป็นครั้งแรกที่มหาวิทยาลัยพายัพ จ.เชียงใหม่ […]

กรงขังที่ไม่มีทางออก

เมื่อดอกไม้สะพรั่ง และสวยสดงดงาม ทำให้มีราคา มีผู้คนแห่ซื้อกันอย่างล้นหลาม มีผึ้งน้อยๆ มาดอมดมเพื่อเป็นอาหารในการดำรงชีวิตให้อยู่รอด ดอกไม้แม้ไม่มีชีวิตไม่มีลมหายใจ แต่ยังมีราคา แต่คนไร้สัญชาติเช่นเขาแม้มีชีวิตมีลมหายใจมีตัวตน แต่ไม่มีราคาเท่าดอกไม้ดอกหนึ่ง นี่คือเสียงสะท้อนที่ออกมาจากส่วนลึกของหัวใจ ของคนไร้สัญชาติ ที่อดกลั้นเอาไว้ไม่ไหวแล้ว ขอให้ผมได้ระบายสิ่งที่อยู่ในใจมานาน เพื่อให้โลกรู้ว่าอย่างน้อยๆ ผมก็ยังมีชีวิตอยู่ “แม้ผมไม่ มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านก็ตามและอยากตะโกนให้โลกรู้ว่าผมก็เป็นมนุษย์เหมือน คนอื่นๆ ทั่วไป เหมือนคนที่มีสัญชาติไทย แต่ผมได้รับการปฏิบัติเยี่ยงทาสในกฎหมายไทย เหมือน ไม่ใช่คน แม้ประเทศไทยได้ยกเลิกแล้วก็ตาม เมื่อ เปรียบเทียบระหว่างสัตว์ที่อยู่ในสวนสัตว์ มันยังมี ผู้คนเข้าไปเที่ยวชมมากมาย และยังได้รับการดูแลเอาใจใส่มากกว่าผมด้วยซ้ำ ผมเป็นคนแท้ๆ ที่เกิดจากบิดาและมารดาที่เป็นคนเช่นกัน ผมยังไม่ได้รับการดูแลแม้สิทธิที่มนุษย์คนหนึ่งควรจะมีก็ไม่ได้อยู่ในมือ ผมอยากบอกสังคมว่าโปรดเหลียวมามองผมบ้าง” นาย อาซือ จุเปาะ วัย 25 ปี อยู่บ้านห้วยกระ อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย เป็นชนเผ่าอาข่า ชื่อเล่นของเขาคือบอย และในปัจจุบันทั้งครอบครัวของบอยยังไม่ได้สัญชาติเลย ทั้งๆที่ปู่ย่าตายายบิดาหรือมารดาก็เกิดที่ไทยเกิดบ้านห้วยกระ เอกสารที่ทางกระทรวงมหาดไทยออก ให้ก็ระบุไว้ว่าเกิดที่บ้านห้วยกระ บอยกล่าวว่า ตนได้ยื่นคำร้องขอสัญชาติมาหลายครั้งแล้ว ตั้งแต่ พ.ศ 2545 จนถึง […]

ไม่มีความรู้ แปลว่าไม่มีสิทธิทางกฎหมาย ?

บ่าย วันที่ 8 ตุลาคม 2550 งานศพของอาแผ่ อามอ จัดขึ้นอย่างเรียบง่ายที่เนินเขาเล็กๆ ในหมู่บ้านหนองผักหนาม จ.เชียงราย เสียงชาวบ้านร่วมกันกล่าวบทสวดจากคัมภีร์ไบเบิลดังไปทั่วบริเวณ อาโป นัยนา และสมชาย ถือช่อดอกไม้ กำลังมองก้อนดินที่ค่อยๆทับถมบนโลงศพนางอาแผ่… แม่ของพวกเขา… อาแผ่ อามอ วัย 42 ปี เป็นชาวบ้านธรรมดาคนหนึ่ง อาศัยอยู่ในหมู่บ้านเล็กๆที่ชื่อว่า หนองผักหนาม เขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย มีอาชีพรับจ้างทำสวนเพื่อนำรายได้มาเลี้ยงดูลูกๆทั้ง 3 คน เธอเป็นชาวบ้านตัวเล็กๆคนหนึ่งที่เรียกได้ว่าแทบไม่มีอำนาจใดๆในสังคม แต่ นั่นไม่ได้หมายความว่า เธอจะไม่มีสิทธิตามกฎหมายไทย ซึ่งเป็นแผ่นดินที่เธอถือกำเนิดและอาศัยอยู่ เย็นวันที่ 4 ตุลาคม 2550 อาแผ่ทำงานในสวนเสร็จเรียบร้อย และกำลังนั่งรถกลับบ้านพร้อมกับเพื่อนอีก 15 คน แต่สิ่งที่ไม่มีใครคาดคิดก็เกิดขึ้น เมื่อรถรับจ้างของบริษัทบุญรอดพยายามเร่งเครื่องเพื่อขึ้นทางชัน แต่กำลังเครื่องไปไม่ไหวและไถลลงมา ด้วยความตกใจและสัญชาตญาณการรักษาชีวิต อาแผ่ตัดสินใจกระโดดออกมาจากตัวรถ แต่รถยังไม่หยุด มันไหลทับร่างของอาแผ่ เธอเสียชีวิตทันที ตามกฎ กระทรวงฉบับที่ 6 พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ […]

7 วัน ของการสำรวจข้อมูลชุมชนมอแกนหมู่เกาะสุรินทร์

ทีมสำรวจข้อมูล โจ้ ชาติ เลาะห์ นุช จากมูลนิธิกระจกเงาภายใต้การสนับสนุนงบประมาณจากองค์การแตร์เดซอมประเทศไทย และ เน็ต นิ่นจากสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ทีมเรารวม 6 คนได้เดินทางเข้าไปสำรวจชุมชนชาวมอแกนที่ อ่าวบอนใหญ่ หมู่เกาะสุรินทร์ ซึ่งเป็นชุมชนที่ตั้งขึ้นใหม่หลังเกิดภัยพิบัติ คลื่นยักษ์สีนามิ ชุมชนนี้ถือว่าเป็นชุมชนใหม่ที่ใหญ่กว่าเดิม เพราะชาวบ้านได้มารวมกันจากสองชุมชน ซึ่งในอดีตชาวมอแกนที่นี่แยกเป็นสองชุมชน คือ ชุมชนแรกจะอยู่ที่อ่านไทรเอน และอีกชุมชนจะอยู่ที่อ่านบอนเล็ก ผมในฐานนะผู้นำการสำรวจข้อมูลชุมชนในครั้งนี้ซึ่งพอมีความรู้ความเข้าใจใน เรื่องการสำรวจข้อมูลชุมชน และเน็ตในฐานนะที่เป็นคนที่เข้าใจวิถีชีวิตชุมชนและรู้จักตัวบุคคลชาวมอแกน ที่นี่เป็นอย่างดี จึงร่วมกันเริ่มการสำรวจข้อมูลชาวมอแกนที่นี่ ณ.วันที่ 9 มีนาคม 2547 อุปกรณ์การทำงาน แบบฟอร์มสำรวจรายบุคคล แบบฟอร์มรายครอบครัว ตารางความสัมพันธ์เชิงครอบครัว ที่วัดความสูง เครื่องชั่งน้ำหนัก ป้ายเลขที่บ้าน คอมพิวเตอร์โน๊คบุคค์ เครื่องปริ้นเตอร์สี กล้องดิจิตอล และแบตเตอรี่ เป็นอุปกรณ์ที่ทีมเราเตรียมกันไปสำหรับการไปสำรวจข้อมูลในครั้งนี้ การเริ่มต้นสำรวจข้อมูล เราเริ่มการสำรวจข้อมูลรายบุคคลชาวมอแกน โดยใช้วิธีการแบบเข้าไปนั่งพูดคุยกับชาวบ้านและคนเฒ่าคนแก่ในชุมชนที่รู้ เรื่องราวของแต่ละคนในชุมชนข้อมูลเบื้องต้นของแต่ละคนโดยเฉพาะชื่อบุคคลรวม ถึงตัวสะกดต่างๆชื่อต่างๆ ทีมสำรวจใช้ข้อมูลจาก สถาบันวิจัยสังคมจุฬาลงกรณ์ ซึ่งสำรวจข้อมูลพื้นฐานของบุคคลมานานแล้วใน ช่วงที่ ด.ร […]

ความเป็นไทยที่ต้องแลก ด้วยเงิน

บนถนนสายเชียงราย-เชียงใหม่ ชาวบ้านจากอำเภอแม่ฟ้าหลวง 22 คน บนรถตู้ 2 คัน กำลังเดินทางสู่โรงพยาบาลสวนดอก ดวงตาของแม่ลูกแต่ละคู่ เปี่ยมไปด้วยความหวังว่าจะได้เป็นคนไทยอย่างถูกกฎหมาย แต่ก็เจือความเศร้าที่พวกเขาต้องขายทรัพย์สินหรือไปกู้ยืมเงินคนอื่นมาใช้…ใช้ ซื้อความเป็นไทยให้ตัวเอง การเดิน ทางของพวกเขาในครั้งนี้ เพื่อที่จะตรวจดีเอ็นเอพิสูจน์ว่ามีความสัมพันธ์ทางสายเลือดกันจริง เพราะพ่อและ แม่ได้รับสัญชาติไทยแล้ว แต่ลูกๆของพวกเขายังไม่ได้เป็นคนไทย เนื่องจากบางครอบครัวไม่มีเงินพอจะเดินทางไปแจ้งเกิดที่อำเภอ ขั้นตอนการตรวจดีเอ็นเอนั้น เมื่อไปถึงโรงพยาบาล จะต้องไปติดต่อที่ส่วนนิติเวชเพื่อทำบัตรตรวจ เจาะเลือด และรอผล อีก 2 สัปดาห์ มีค่าใช้จ่ายต่อคน 2,050 บาท ยังไม่รวมถึงค่าใช้จ่ายที่ พวกเขาต้องนำผลตรวจนี้ไปยื่นต่ออำเภอเพื่อพิสูจน์ว่าเขาเป็นคนในครอบครัว จริงและมีสิทธิความเป็นคนไทย เป็น จำนวนเงินที่อาจจะไม่มากสำหรับคนเมือง แต่มันอาจหมายถึงรายได้หลายเดือนของชาวบ้านกลุ่มนี้หากมอง กันถึงสาเหตุแล้ว ปฏิเสธไม่ได้ว่าการที่พวกเขาไม่ได้รับสัญชาติไทยเพราะไม่ได้เดินทางไปแจ้ง เกิดกับอำเภอ แต่หากมองในมุมของชาวบ้านที่รายได้ทั้งปีไม่ถึงเงินเดือน 1 เดือนของคนในเมือง พวกเขาต้องเสียทั้งเวลาและเงินจำนวนมากเพื่อไปติดต่อหน่วยงานราชการ จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่พวกเขาเลือกจะไม่ไปติดต่อกับสถานที่ที่ตั้งอยู่ห่าง ไกลจากบ้าน การทำนาทำไร่เพื่อให้มีข้าวกินเป็นสิ่งที่สำคัญ กว่าสำหรับชาวบ้าน ปัญหา เหล่านี้คงไม่มีข้อยุติว่าใครผิดใครถูก แต่ความจริงที่เกิดขึ้นแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า คำว่า “ความเท่า เทียม”กับ “สังคมไทย” ยังคงห่างไกลกันนัก […]

ที่ตรงนี้…ยัง มีคนไร้สัญชาติ

กราบ เรียน รัฐมนตรีที่เคารพ   ข้าพเจ้า เด็กชาวอาข่าทุกคนซึ่งยังไม่ได้สัญชาติไทย แต่พวกหนูเกิดในประเทศไทย พ่อแม่พวกหนูก็เกิดในประเทศไทย แต่พวกหนูยังไม่ได้สัญชาติไทย พวกหนูมีสิทธิได้สัญชาติไทย 100 % พวกหนูก็กำลังศึกษาอยู่ บางคนเรียนหนังสือจนจบม.6 แต่อาจเรียนต่อไม่ได้เพราะไม่มีบัตรประชาชน ความฝันของหลายคนต้องพังลงไป เพียงแค่ท่านไม่ให้สัญชาติไทยกับพวกหนู เวลาทางโรงเรียนให้ทุนการศึกษา ไม่ได้ เพราะไม่มีบัตร แถมพวกหนูเป็นชาวอาข่า พ่อแม่ก็แค่ทำนา ทำไร่ ทำสวน รายได้ก็ไม่พอต่อการใช้จ่ายภายในครอบครัว ไปโรงเรียนก็ต้องเดินไปเพราะไม่มีเงินจ่ายค่ารถ ถ้าหากพวกหนูมีบัตร พ่อแม่พวกหนูอาจได้ไปทำงานที่มีรายได้ดี ทำให้พวกหนูมีชีวิตที่ดีขึ้น ขอ ความกรุณาความเห็นใจจากท่าน โปรดอย่ามองข้ามพวกหนูด้วย พวกหนูก็เป็นเด็กไทยคนหนึ่ง ไม่เคยสร้างความเดือดร้อนให้ใคร พวกหนูอาจจะรักประเทศไทยมากกว่าคนมีสัญชาติไทยก็ได้ พวกหนูขอสัญญาว่าจะเป็นคนดีของสังคม ไม่แน่พวกหนูอาจเป็นเด็กไทยคนหนึ่งที่สร้างชื่อเสียงให้ประเทศไทยก็ได้ พวกหนูก็เป็นคนไทย คนซึ่งเป็นอนาคตของชาติไทย ท้าย นี้ ขอให้ท่านนายกมีความสุข มีสุขภาพแข็งแรง เด็ก ไร้สัญชาติ : 08/01/2008 เด็กไทยไร้สัญชาติ ปัญหาคนไร้รัฐ ไร้สัญชาติ ไม่ใช่ปัญหาใหม่ในสังคมไทย แต่คนไทยเลือกที่จะปิดหูปิดตา ที่กล้าพูดแบบนี้เพราะเชื่อว่ายังมีคนไทยอีกจำนวนมากที่ยังไม่รู้ว่า “คนไร้รัฐ” หรือ “คนไร้สัญชาติ” […]

การต่อสู้ที่ยังไม่สิ้นสุด

พ่อเป็นกำลังสำคัญของครอบครัวหนู พ่อเป็นคนที่ไม่เคยย่อท้อต่อปัญหาใด พ่อพยายามทำทุกอย่างเพื่อครอบครัว และเพื่ออนาคตของหนูและน้องๆ ถึง จะยากจนแต่พ่อก็ทำให้ลูกทุกคนได้เรียนหนังสือ แต่มีอยู่สิ่งหนึ่งที่พ่อทำไม่สำเร็จ ถึงแม้ว่าพ่อจะจะพยายามเต็มที่ ดิ้นรนเต็มที่เท่าที่พ่อจะทำได้ก็คือ การต่อสู้เรื่องขอสัญชาติไทย ที่ไม่สำเร็จอาจเป็นเพราะพวกเราไม่มีวาสนาก็ได้ หรือเป็นเพราะอำเภอไม่สงสารครอบครัวเรา หรืออยากให้อยู่กันอย่างนี้ แต่เรื่องนี้เป็นเรื่องที่สำคัญมากเรื่องหนึ่งของชีวิต เพราะถ้าไม่มีสัญชาติก็อยู่ในประเทศไทยนี้ไม่ได้ ไม่มีความมั่นคงในชีวิตครอบครัวหนูเลย เพราะฉะนั้น พ่อจึงหาทุกวิถีทางที่จะพิสูจน์ว่าพ่อเป็นคนไทยจริงๆเพื่อที่จะได้อยู่อย่าง ถูกกฎหมายและมีสิทธิเท่าเทียมกับผู้อื่น พูดถึงเรื่อง สัญชาติ เมื่อก่อนตอนที่หนูเป็นเด็กเล็กๆ พ่อเคยเล่าให้ฟังว่า แต่ก่อนนั้นบ้านเกิด ของพ่ออยู่ที่ ตำบลห้วยชมภู อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย แต่อยู่ไกลจากตัวเมืองมาก ข้อมูล ข่าวสารต่างๆเข้าไม่ถึง ในช่วงนั้นพ่อจึงไม่ได้ทำบัตรประชาชน ที่หมู่บ้านตอนนั้นถนนรถยนต์ก็ไม่มี เมื่อต้องคลอดลูกๆ ก็ไม่ได้ไปคลอดที่โรงพยาบาล ต้องทำคลอดกันเอง เวลามีคนเจ็บคนป่วยก็ไม่สามารถไปโรงพยาบาลได้ ต้องรักษาด้วยสมุนไพรตามธรรมชาติ หายบ้างตายบ้าง เป็นเรื่องธรรมดาของสมัยนั้น ถ้าจะไปในเมืองเชียงรายก็ต้อง เดินเท้าออกไป ใช้เวลาประมาณครึ่งวัน ต่อมาเมื่อพ่อมี ครอบครัวก็ย้ายบ้านลงมาอยู่ข้างล่างโดยอาศัยอยู่ในสวนของเขาแล้วค่อยๆ ซื้อที่ดินแล้วมาสร้างบ้านของตนเอง จนปัจจุบันครอบครัวหนูย้ายมาอยู่ที่ หมู่บ้านสันเจริญ ต.แม่ยาว อ.เมือง จ.เชียงราย และที่นี่เองที่พ่อได้ทำบัตรสำรวจชุมชนบนพื้นที่ สูง (บัตรเขียวขอบแดง) มีบัตรนี้มาอยู่หลายปี […]

1 52 53 54 55 56 72
Copyright © 2018. All rights reserved.