สู้ชีวิต…ที่ผิดกฎหมาย “คำร้องทุกข์” ของ “คนไร้รัฐ”

น่าแปลก…คนที่ไม่ได้จี้ ปล้น ฆ่า ข่มขืน ประกอบสัมมาอาชีพสุจริต แต่ต้องมีชีวิตอยู่อย่างผิดกฎหมาย ไร้ผืนแผ่นดินให้เหยียบย่างอย่างอิสระเสรีตั้งแต่เกิด พวกเขาผิดที่เกิดมา หรือผิดที่เลือกเกิดไม่ได้…ณ ดอยสูง ชายแดน ชายขอบของความเป็น “มนุษย์” อยู่แห่งหนไหน…อุทิศ ยอดคำมั่น” หรือ สอน (ผู้ผลัดถิ่นชาวพม่า) จากแม่ฮ่องสอน นักกีฬาปีนผาที่ต้องพลาดโอกาสเพราะไร้สัญชาติการต้องดิ้นรนต่อสู้ ดูจะเป็นแบบแผนวิถีชีวิตที่น่าหดหู่ของคนเหล่านี้ไปแล้ว รศ.ดร.พันธุ์ ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร หรือ “อาจารย์แหวว” อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หัวหน้าโครงการเด็กไร้รัฐ เคยกล่าวไว้ว่า “พวกเราต้องรู้จักที่จะช่วยเหลือตัว เอง พยายามให้ถึงที่สุด อย่ารอให้ใครมาช่วย ครูคนเดียวก็ช่วยไม่ได้หมดทุกคน”การทำงานและความ พยายามผลักดันนับสิบๆ ปีของ “อาจารย์แหวว” และเครือข่ายส่งผลเมื่อคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่าง “ยุทธศาสตร์การจัดการปัญหาสถานะและสิทธิบุคคล” ตั้งแต่วันที่ 18 มกราคมที่ผ่านมา ภารกิจวันนี้จึงเป็นการเชื่อมโยงยุทธศาสตร์เพื่อนำมาใช้ในการแก้ปัญหาคนไร้ รัฐอย่างจริงจัง
นี่เป็นที่มาของ “ห้องเรียนสอนกฎหมาย” ที่ทีมสื่อสารสาธารณะร่วมกับโครงการเด็กไร้รัฐ ภายใต้โครงการเด็ก เยาวชนและครอบครัว องค์การพัฒนาเอกชน รวมทั้งนักวิชาการ เปิดหลักสูตรเป็นครั้งแรกที่มหาวิทยาลัยพายัพ จ.เชียงใหม่ โดยเป็นการอบรมชี้แจงรายละเอียดของ “ยุทธศาสตร์การจัดการปัญหาสถานะ และสิทธิบุคคล” ให้เด็กและครอบครัวคนไร้รัฐ ซึ่งเป็นเจ้าของปัญหาโดยตรง
“คำร้องทุกข์” ของ “คนไร้รัฐ”
บรรยากาศ ในห้องเรียนเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์เพื่อฟังปัญหาและจัดการแก้ไขปัญหา และนี่เป็นอีกคำร้องทุกข์ของน้องเพ่และมารดานางเรว นายมหาวรรณ ชาวแม่อาย บุคคลไร้สัญชาติที่ขาดโอกาสและสูญเสียโอกาสไปพร้อมๆ กัน
น้อง เพ่เป็นเด็กชายวัย 16 ปีผู้ซึ่งพิการทางสายตาทั้ง 2 ข้าง แต่ด้วยความมานะพยายาม เขาจึงได้เป็นนักกีฬาเยาวชนซึ่งได้รับคัดเลือกไปแข่งขันกีฬา “เยาวชน คนพิการทางตาชิงแชมป์โลก” ณ เมืองโคโลราโด ประเทศสหรัฐอเมริกา และก็พลาดโอกาสอย่างน่าเสียดาย เพียงเพราะเขาเป็น “บุคคลไร้สัญชาติ” ซึ่งถูกถอดถอนสัญชาติพร้อมกับชาวแม่อายนับพัน ชีวิต
น้องเพ่เล่าว่า เริ่มหันมาสนใจเล่นกีฬาเมื่อปี พ.ศ.2546 ซึ่งทางโรงเรียนได้ประกาศรับสมัครนักเรียนเข้าแข่งขันกีฬาแห่งชาติคนพิการ ซึ่งมีกีฬาหลายประเภท ทั้งวิ่ง กระโดดไกล ทุ่มน้ำหนัก ว่ายน้ำ ขว้างจักร แต่ตนเองสนใจว่ายน้ำกับวิ่ง จึงไปสมัครแล้วก็ฝึกซ้อมอย่างหนักตั้งแต่นั้น
จน ปีนี้ทางสำนักงานพัฒนาการกีฬาและนันทนาการ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ได้เปิดรับสมัครคัดเลือกเยาวชนคนพิการเพื่อไปแข่งขันกีฬา “เยาวชนคนพิการทางตา ชิงแชมป์โลก ระหว่างวันที่ 2-12 สิงหาคม 2548 ณ เมืองโคโลราโด ประเทศสหรัฐอเมริกา” ซึ่งทางโรงเรียนเป็นตัวแทนเป็น 1 ในนักกีฬาประเภทว่ายน้ำและประเภทวิ่ง 4 คน ทำให้ทางโรงเรียนจะต้องส่งเอกสารหลักฐานเพื่อดำเนินการทำหนังสือเดินทาง แต่ก็ทำไม่ได้เพราะทั้งครอบครัวถูกถอนชื่อออกจากทะเบียนราษฎร (ทร.14) จึงอาจถูกตัดสิทธิ
น้องเพ่ วัย 16 ปี ชาวแม่อาย ผู้ซึ่งพิการทางสายตาทั้ง 2 ข้าง แต่ได้รับคัดเลือกไปแข่งขันกีฬา “เยาวชนคนพิการทางตาชิงแชมป์โลก” ที่สหรัฐฯ และก็พลาดโอกาสอย่างน่าเสียดาย เพียงเพราะเขาเป็น “บุคคลไร้สัญชาติ”
“ผม เสียใจมากเมื่อทราบว่าจะไม่มีโอกาสไปแข่งกีฬา แต่ก็ไม่อยากถ่วงไว้ จะเป็นการตัดสิทธิ์คนอื่นเปล่า ยังไงๆ ครั้งนี้คงไม่ทันแล้ว ปีหน้าค่อยสมัครใหม่ก็ได้” น้องเพ่กล่าวอย่างสิ้นหวัง แต่ก็บอกความฝันของตัวเองไว้ว่าอยากเป็นครู เพื่อสอนน้องๆ ที่ตาบอด ตอนนี้เรียนอยู่ชั้น ป.6 โรงเรียนสอนคนตาบอดภาคเหนือ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ จังหวัดเชียงใหม่ เป็นนักเรียนประจำ จะได้กลับบ้านตอนปิดภาคเรียนหรือวันหยุดเทศกาลต่างๆ พอเรียนจบก็อยากจะไปศึกษาต่อที่โรงเรียนยุพราช จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อทำความฝันให้เป็นจริง
นัก ปีนผา “อุทิศ ยอดคำมั่น”
เชื่อว่ายัง คงมี “บุคคลไร้สัญชาติ” อีกหลายๆ คนที่มีความสามารถแต่ต้องเสียโอกาสทำชื่อเสียงให้กับประเทศชาต และครอบครัววงศ์ตระกูลไป อย่างกรณีของ “นาย อุทิศ ยอดคำมั่น” หรือ สอน ก็เป็นอีกคนหนึ่งที่สูญเสียโอกาสนั้นไป
สอนเล่าว่าเขาถือบัตรสี ชมพู (ผู้ผลัดถิ่นชาวพม่า) ชาวจังหวัดแม่ฮ่องสอนเมื่อก่อนไม่ค่อยให้ความสนใจขอสัญชาติ ก็ไปขึ้นทะเบียนไว้เท่านั้น แต่พอเขาเริ่มปีนผาและเข้าแข่งขันในปี พ.ศ.2546 ซึ่งได้ที่ 2 ตั้งแต่นั้นมาจึงมีชาวต่างชาติสนใจติดต่อให้ไปแข่งขันในต่างประเทศ โดยออกค่าใช้จ่ายให้ทุกอย่าง ตลอด 3 ปีที่ผ่านมาเพื่อนชาวต่างชาติชวนเขาเข้าแข่งขันทุกครั้ง แต่ในที่สุดแล้วเขาก็ไม่มีโอกาสได้แสดงความสามารถเลย
“ผม ตัดสินใจดำเนินการเป็นเรื่องเป็นราวแถมยังเคยเอาบัตรเชิญจากต่างประเทศไป แสดงให้ดูเขาก็ไม่สนใจ คงไม่ให้ความสำคัญ พอจะขอไปกรุงเทพฯ เพื่อขอไปแข่งขันในนามประเทศไทย เขาก็ไม่ให้ไป ก็ขู่จะจับ เพราะเราไปเพื่อขอออกนอกประเทศ ถ้าทำผิดมาแล้วก็จะไม่ได้อยู่ประเทศไทยอีก นั่นเป็นครั้งแรก เสียใจมากไม่รู้จะทำอย่างไร”
รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร หรือ “อาจารย์แหวว” อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หัวหน้าโครงการเด็กไร้รัฐ
“เพื่อนชาวต่างชาติเคยถามว่าทำไมถึงไปแข่งไม่ได้ พอบอกเขาเข้าถามว่ามีคนแบบนี้ในโลกด้วยหรอ ผมตอบเขาว่ามีเยอะเลยมาดูที่เมืองไทยสิ จากนั้นผมก็ทำเรื่องขอสัญชาติอีกหลายครั้ง แต่ละครั้งก็มักจะซักถาม พิมพ์ลายนิ้วมือเท่านั้นแล้วจบ จึงเข้าร้องเรียนสภาทนายความ และเขียนจดหมายถึงท่านนายกรัฐมนตรีฯ เรื่องจึงค่อยๆ คืบหน้า”
สอน เล่าต่อว่าปีนี้ก็คงไม่ได้แข่ง เพราะเข้าคัดเลือกตัวไม่ทัน ถึงแม้ว่าล่าสุดเรื่องจะไปถึงกรมการปกครองแล้วก็ตาม ทั้งรายการปีนหน้าผา ESPN Asian X Games ที่ประเทศเกาหลี ในวันที่ 26-29 พฤษภาคม 2548 และในเดือนสิงหาคม 2548 จะมีการแข่งขันปีนหน้าผาในรายการชิงแชมป์ประเทศไทยเพื่อคัดเลือกไปทีม ชาติรอบที่ 2 จังหวัดสุพรรณบุรี เพื่อไปแข่งขันเอเชี่ยนอินดอร์เกมส์ ในเดือนพฤศจิกายน2548 โดยมีประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ
สุด ท้าย สอนบอกว่า เขาคงต้องพลาดโอกาสเป็นตัวแทนทีมชาติไทย รวมทั้งการแข่งขันที่จะมีในอนาคต และคงไม่มีโอกาสได้แสดงความสามารถ ถ้าไม่มีสถานภาพเป็น “คน สัญชาติไทย”
บทเรียนในห้องสอนกฎหมาย
สอง ชีวิตที่ยกตัวอย่างเป็นบุคคลที่มีโอกาสสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศ แต่ก็ยังพบอุปสรรคต่างๆ นานา ทั้งๆ ที่ตาม “ยุทธศาสตร์การจัดการ ปัญหาสถานะและสิทธิบุคคล” เขามีสิทธิ์ในการร้องขอการเป็นคนไทย โดย รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ อธิบายว่า กลไกการทำงานเพื่อขจัดปัญหาคนไร้สัญชาติในประเทศไทยควรเริ่มจากผู้ที่เป็น เจ้าของปัญหา รวมทั้งผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องจะต้องแสวงหาความรู้และพัฒนาองค์ความรู้ ตลอดจนสร้างพลังในการผลักดันใช้องค์ความรู้มาใช้แก้ปัญหา
ทั้งนี้ ด่านแรกที่ทุกคนต้องพบคือการพิสูจน์ตัวบุคคล เราต้องพิสูจน์ให้ได้ตามกฎหมายที่เปิดช่องไว้แล้ว ปรับทัศนคติในเรื่องการไร้สัญชาติ รู้จักช่วยเหลือตัวเอง รู้จักเก็บข้อมูล โดยหาจุดเกาะเกี่ยว คือ เกิดเมื่อไร เกิดที่ไหน พ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย มีความเป็นมอย่างไร ซึ่งวันนี้เป็นการเรียนครั้งแรกก็จะอธิบายวิธีการช่วยเหลือตัวเองในเบื้อง ต้น เช่น วิธีการยื่นคำร้อง แน่นอนว่า มันไม่ง่าย ดังนั้นจึงควรต้องอาศัยความอดทนในการเรียนรู้
จากนั้น อาจารย์วรรณทนี รุ่งเรืองสภากุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยพายัพ เล่าถึงบทเรียนแรกในห้องสี่เหลี่ยมว่า สิ่งที่จะต้องเรียนรู้ในชั้นเรียนสอนกฎหมายคือจะต้องรู้จักกรอกแบบสอบถาม ซึ่งจะระบุข้อมูลพื้นฐานความเป็นตัวตน และเล่าเรื่องราวของตัวเองที่เดือนร้อนให้ได้ใจความ ซึ่งหลังจากนี้จะนำมาเปลี่ยนเป็นฐานข้อมูลที่สามารถเชื่อมโยงสามารถนำไปใช้ อย่างสะดวก
จากนั้นจะมีการสอนการเขียนจดหมายร้องเรียน ให้เป็น เช่น เขียนถึงสภาความมั่นคงแห่งชาติ หรือแม้แต่นายกรัฐมนตรี และต้องคอยติดตามเรื่องกระตือรือร้น โดยการโทรศัพท์เพื่อสอบถาม
“อย่าฝากความหวังกับหน่วยงานต่างๆ เราจะต้องช่วยเหลือตัวเองให้ถึงที่สุด ทั้งนี้ความมุ่งหวังวันนี้ก็เพื่อการนำความรู้ไปสู่การปฏิบัติ จากนั้นจึงนำความรู้ไปถ่ายทอดต่อ เป็นเครือข่ายเพื่อนช่วยเพื่อน น้องช่วยน้อง ขยายเป็นวงกว้างต่อๆ ไป”
ที่ สำคัญ รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ ได้ทิ้งท้ายสิ่งที่สร้างความหวังและเสริมพลังใจถึงความคืบหน้าล่าสุดเรื่อง การขอสัญชาติว่า ตอนนี้ทุกอย่างคืบหน้าไปมาก เพราะเราใช้วิธีการเขียนจดหมายถึงท่านนายกฯ ไปยังบ้านพิษณุโลก ซึ่งท่านนายกฯ สนใจมาก ซึ่งเราได้รับการประสานจากเลขานุการคณะอนุกรรมการติดตามและประสานตามคำสั่ง นายกรัฐมนตรี บ้านพิษณุโลกจึงมีการนัดพบเพื่อฟังปัญหา โดยทางคณะอนุกรรมการฯ ชุดนี้ขอให้มีการประชุมบุคคลและครอบครัวที่ประสบปัญหาทั้งหมด เพื่อรวบรวมและสรุปว่ามีปัญหาอุปสรรคอะไรที่ยังติดขัด จะได้นำไปสู่การแก้ปัญหาให้สำเร็จลุล่วง จุดนี้เองที่ทำให้รู้สึกสบายใจขึ้นมากว่าปัญหาของบุคคลเหล่านี้ จะไม่ถูกละเลย.
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 15 มิถุนายน 2548
Copyright © 2018. All rights reserved.