7 วัน ของการสำรวจข้อมูลชุมชนมอแกนหมู่เกาะสุรินทร์

ทีมสำรวจข้อมูล โจ้ ชาติ เลาะห์ นุช จากมูลนิธิกระจกเงาภายใต้การสนับสนุนงบประมาณจากองค์การแตร์เดซอมประเทศไทย และ เน็ต นิ่นจากสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ทีมเรารวม 6 คนได้เดินทางเข้าไปสำรวจชุมชนชาวมอแกนที่ อ่าวบอนใหญ่ หมู่เกาะสุรินทร์ ซึ่งเป็นชุมชนที่ตั้งขึ้นใหม่หลังเกิดภัยพิบัติ คลื่นยักษ์สีนามิ ชุมชนนี้ถือว่าเป็นชุมชนใหม่ที่ใหญ่กว่าเดิม เพราะชาวบ้านได้มารวมกันจากสองชุมชน ซึ่งในอดีตชาวมอแกนที่นี่แยกเป็นสองชุมชน คือ ชุมชนแรกจะอยู่ที่อ่านไทรเอน และอีกชุมชนจะอยู่ที่อ่านบอนเล็ก ผมในฐานนะผู้นำการสำรวจข้อมูลชุมชนในครั้งนี้ซึ่งพอมีความรู้ความเข้าใจใน เรื่องการสำรวจข้อมูลชุมชน และเน็ตในฐานนะที่เป็นคนที่เข้าใจวิถีชีวิตชุมชนและรู้จักตัวบุคคลชาวมอแกน ที่นี่เป็นอย่างดี จึงร่วมกันเริ่มการสำรวจข้อมูลชาวมอแกนที่นี่ ณ.วันที่ 9 มีนาคม 2547
อุปกรณ์การทำงาน แบบฟอร์มสำรวจรายบุคคล แบบฟอร์มรายครอบครัว ตารางความสัมพันธ์เชิงครอบครัว ที่วัดความสูง เครื่องชั่งน้ำหนัก ป้ายเลขที่บ้าน คอมพิวเตอร์โน๊คบุคค์ เครื่องปริ้นเตอร์สี กล้องดิจิตอล และแบตเตอรี่ เป็นอุปกรณ์ที่ทีมเราเตรียมกันไปสำหรับการไปสำรวจข้อมูลในครั้งนี้
การเริ่มต้นสำรวจข้อมูล เราเริ่มการสำรวจข้อมูลรายบุคคลชาวมอแกน โดยใช้วิธีการแบบเข้าไปนั่งพูดคุยกับชาวบ้านและคนเฒ่าคนแก่ในชุมชนที่รู้ เรื่องราวของแต่ละคนในชุมชนข้อมูลเบื้องต้นของแต่ละคนโดยเฉพาะชื่อบุคคลรวม ถึงตัวสะกดต่างๆชื่อต่างๆ ทีมสำรวจใช้ข้อมูลจาก สถาบันวิจัยสังคมจุฬาลงกรณ์ ซึ่งสำรวจข้อมูลพื้นฐานของบุคคลมานานแล้วใน ช่วงที่ ด.ร นฤมล อรุโรทัยมาทำวิจัยกับชาวมอแกนที่หมู่เกาะสุรินทร์เมื่อปี พ.ศ. 2534 การพูดคุยกับชาวมอแกนในครั้งนี้
พ่อซาลามะ ซึ่งตอนนี้เป็นผู้นำชุมชนที่นี่จะคอยเล่าเรื่องราวและที่มาของแต่ละคน รวมถึงสถานที่เกิดและห่วงเวลาการเกิดที่จำได้ให้ทีมสำรวจได้บันทึกลงแบบ ฟอร์ม สังเกตได้จากเน็ตหนึ่งในทีมสำรวจที่สามารถพูดภาษามอแกนได้ ทำให้ปัญหาเรื่องความต่างๆทางภาษาของชุมชนและทีมสำรวจเป็นไปอย่างเรียบง่าย เราใช้เวลาของการสำรวจข้อมูลรายบุคคลค่อนข้างมาก เนื่องจากที่มาของแต่ละคนมีข้อเท็จจริงที่แตกต่างๆกัน
ผลงานของการสำรวจข้อมูล ผมและทีมงานใช้เวลาในการสำรวจ ข้อมูลชุมชนรวมทั้งหมด 7 วันโดยเราจะเริ่มการทำงานกันตั้งแต่ 8.30 น. ถึง 16.00-17.00 น. โดยเริ่มกันจากสำรวจรายบุคคล เขียนผังรายครอบครัว เขียนตารางเชื่อมความสำพันธ์ทางครอบครัว พิมพ์ลายนิ้วมือ ถ่ายรูปบุคคล ถ่ายรูปรวมครอบครัว ชั่งน้ำหนัก และพิมพ์รูปถ่ายจากกล้องดิจิตอล เป็นอันเสร็จ 1 ครอบครัว เราสำรวจบุคคลชาวมอแกนที่อาศัยอยู่ที่หมู่เกาะสุรินทร์มานานแล้วได้ 54 ครอบครัว ถือเป็นความสำเร็จร่วมกันของทีมสำรวจที่ได้งานออกมาใกล้เคียงความจริงของตัว บุคคลมากที่สุด
ลูกเลี้ยงแม่เลี้ยงเป็นเรื่องปกติ จากภาพจะเห็นหญิงชราคนหนึ่งชื่อ นางมาตัน กล้าทะเลย ถ่ายภาพคู่กับเด็กผู้ชายคนหนึ่งชื่อเด็กชาย ปุ๊ก หล้าทะเล ซึ่งการบันทึกภาพครั้งนี้ทีมสำรวจบันทึกไว้เพื่อ การยืนยันว่าครอบครัวนี้มีด้วยกัน 2 คน แต่ในข้อเท็จจริงทางข้อมูลนี้ เด็กผู้ชาย เป็นหลานชายของหญิงชราคนนี้ ซึ่งพ่อแม่ของเด็กก็ยังมีชีวิตอยู่แต่อยู่อีกครอบครัวหนึ่ง ซึ่ง คุณเน็ท ทีมสำรวจ อธิบายให้เราฟังว่า ลักษณะครอบครัวของชาวมอแกนจะเป็นอย่างนี้หลายครอบครัว คือการเอาลูกหรือหลานของคนอื่นมาเลี้ยงเป็นลูกของตนเอง ซึ่งเน็ทได้ชี้ตัวอย่างให้ผมดูชีวิตจริงๆว่า ถ้าชาวมอแกนถ้าได้เอาเด็กมาเลี้ยงแล้วจะเลี้ยงเสมือนลูกของตนเอง
แบบไปไหนไปด้วยกัน นอนด้วยกัน กินด้วยกัน อยู่บ้านหลังเดียวกัน ซึ้งนางมาตันก็เลี้ยงด.ช ปุ๊กเสมือนลูก ซึ่งปุ๊กก็จะรู้ว่านี่คือแม่ของเขา เขาก็รักมาตันเหมื่อนแม่เขา ฉนั้นในการทำงานสำรวจข้อมูลในลักษณะนี้จึงเป็นเรื่องที่สำคัญมากที่ ทีมสำรรวจข้อมูลจักต้องเข้าใจที่มาที่แท้จริงของเด็ก ว่าพ่อแม่ที่แท้จริงคือใคร ชื่ออะไร อยู่ครอบครัวไหน และชื่อสะกดได้ถูกต้องเหมือนกันไหม เพื่อการสำรวจข้อมูลที่สมบูรณ์และถูกต้อง นี่เป็นเพียงคัวอย่างข้อมูลที่มีลักษณะพิเศษ ตัวอย่างซึ่งมีลักษณะเดียวกับแบบนี้อีกหลายครอบครัว
การโยกย้ายคือวิถีชีวิต ผมได้เข้าใจวิถีชีวิตของชาวมอแกนหมู่เกาะสุรินทร์ จากการสำรวจข้อมูลในครั้งนี้เพราะว่า ในแบบฟอร์มสำรวจของเรา จะมีฟอร์มที่ต้องบันทึกห้วงเวลาอยู่อาศัยของแต่ละบุคคลว่าเคยอยู่ที่ไหนมา บ้าง เมื่อปี พ.ศ.ไหน ทำให้เราได้รู้ว่าวงจรชีวิตของชาวมอแกนที่นี่บางคนจะอพยพไปมาเพื่อการดำรง อยู่ เพราะตั้งแต่หมู่เกาะสุรินทร์ประกาศเป็นเขตอุทยานและพื้นที่อนุรักษ์ทางทะเล บริเวณรอบๆ ทำให้การวิถีการดำรงอยู่ในอดีตกับปัจจุบันแตกต่างกันและสร้างความยากลำบากใน การใช้ชีวิต ทำให้บางครอบครัวต้องไปดำรุงชีวิตในหมู่เกาะต่างๆในประเทศพม่าในปัจจุบัน ซึ่งมีหมู่เกาะในทะเลอยู่จำนวนมาก
มอแกนจากพม่าเข้ามาหลังภัยสึนามึ เรา ได้พบกับกลุ่มชาวมอแกนที่อพยพมาจาก หมู่เกาะทางเหนือของเกาะสุรินทร์ ซึ่งเป็นประเทศพม่า ซึ่งปรากฏข้อเท็จว่าส่วนหนึ่งที่อพยพมาจะมีญาติพี่น้องที่อาศัยอยู่ที่หมู่ เกาะสุรินทร์ โดยกลุ่มมอแกนที่มาใหม่นี้จะอพยพกันมาเป็นกลุ่มโดยใช้พาหนะที่เรียกว่า เรือกระบางมีรูปทรงเป็นเรือมีหลังคาเหมือนบ้าน ท่องทะเเลอันดามันลงมาเรื่อยๆ ใช้เวลาเดินทางประมาณ 7-8 ชั่วโมงก็จะถึงหมู่เกาะสุรินทร์ ซึ่งทีมงานสำรวจได้ปรึกษากันและเน็ตได้ให้ความเห็นว่าควรสำรวจข้อมูลไว้ก่อน เป็นข้อมูลพื้นฐานว่าใครเข้ามาบ้าง ทีมสำรวจได้บันทึกข้อมูลกลุ่มที่อพยพมาใหม่นี้ได้ 29 ครอบครัว โดยใช้วิธีการบันทึกข้อมูลเหมื่อนกลุ่มที่อาศัยอยู่ที่นี่มานานแล้ว
การสำรวจข้อมูลทำให้การตัดสินใจเปลี่ยนไป จากกรณีที่ ทีมสำรวจๆข้อมูลชาวมอแกนที่อพยพมาใหม่นี้ไว้ ทำให้มีครอบครัวชาวมอแกนหลายครอบครัว ที่ก่อนวันที่เราจะสำรวจข้อมูล ชาวบ้านกลุ่มเข้ามาใหม่บางครอบครัวตัดสินใจกันว่าจะกลับไปใช้ชีวิตหากินที่ ที่หมู่เกาะ ย่านเชือกในประเทศพม่า แต่หลังจากเขารู้ว่าทีมงานเราจะสำรวจข้อมูลไว้ จึงตัดสินใจที่จะไม่กลับไปหากินที่เกาะย่านเชือกแล้ว เนื่องเพราะเข้าใจผิดว่าการสำรวจข้อมูลในครั้งนี้จะนำไปสุ่ความมั่นคงใน ชีวิต ที่จะมีชีวิตในประเทศไทย
ผมหนึ่งในทีมสำรวจต้องขอขอบคุณทีมงานทุกคนที่ทุ่มเทการทำงานจนได้ผลงาน ที่ดีออกมา อีกทั้งยังหวังว่าข้อมูลที่เราได้สำรวจไว้ จักเป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชน องค์กรภาครัฐ กรมการปกครอง อำเภอคุระบุรี สภาความมั่นคงแห่งชาติ อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ และองค์กรเอกชนต่างๆที่ทำงานกับชาวมอแกน ณ.หมู่เกาะสุรินทร์แห่งนี้
Copyright © 2018. All rights reserved.