admin

ความ หวัง…

“เมื่อ ดาวหนึ่งดวง ร่วงลงจากฟ้า จะมีดวงตาเกิดขึ้นมาบนโลกนี้แทน เป็นเด็กผู้หญิง เป็นเด็กผู้ชาย ส่องแววประกาย เด็กมีความหมายเช่นดาว พวกเราจะโต ไม่นานหรอกหนา เราจะอาสา เติบโตมาดูแลโลกแทน ปก ป้องป่าไม้ ภูเขาแม่น้ำ ไม่มีสงคราม หากทำตามความฝันของเด็ก (พวกเรา) ยังมีพรุ่งนี้ ย่อมมีความหวัง เด็กคือพลัง เป็นความหวังแห่งวัน อย่าทำลายฝัน อย่าปิดกั้นไฟ เด็กมีหัวใจ ผู้ใหญ่ช่วยระวัง ” นี่เป็นเสียงเพลงที่เด็กชนเผ่าอาข่า ชาวลาหู่ ชาวมอแกน และเด็กไทยพลัดถิ่นได้ประสานเสียงร้องออกมาจากความรู้สึกที่แท้จริงเพื่อ เป็นการบอกความรู้สึกและความฝันของพวกเขาให้ทุกคนได้รับรู้ ผ่านบทเพลง ก่อนที่พวกเขาจะ ขอเข้าพบนายกและขอบคุณสื่อมวลชนต่างที่ช่วยเป็นกระบอกเสียงให้ทุกคนได้รับ รู้ถึงปัญหาของเด็กไร้สัญชาติ พวก เขาได้มีโอกาสไปร่วมไหว้พระศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยานิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราช เพื่อเป็นการแสดงความจงรักภักดี ต่อพระองค์แม้พวกเขาไม่มีสัญชาติไทยแต่จิตใต้สำนึกของพวกเขาแล้วเขาคือคนไทย คนไทยที่อยู่ใต้พระบารมีของในหลวงและพระราชวงศ์ทุกพระองค์ ตลอดระยะทางที่เราเดินทางกลับไปยังสนามหลวงเป็นที่ตื่นตาของคนแถวนั้นเพราะ เด็กบางคนแต่งชุดประจำเผ่า พวกเราต่างได้ยินเสียงของคนเหล่านั้น ว่า “ ดูๆกะเหรี่ยงลงมาจากบนดอย” “พวกแม้ว” “ หนูๆพูดไทยได้หรือเปล่า” ฉันอยากรู้ว่า พวกที่ได้ชื่อว่าอยู่ในสังคมศิวิไลซ์ สังคมที่มีความเจริญทางด้านวัตถุ และเจริญทางด้านเทคโนโลยี […]

การเดินทางของเด็กไร้รัฐ “หนูก็เป็นคน ไทย แต่ทำไมไม่มีสิทธิ์”

ระหว่างวันที่ 12-15 กุมภาพันธ์ 2551 ที่ผ่านมา ตัวแทนเยาวชนไร้สัญชาติ ประกอบด้วย กลุ่มชาติพันธุ์ มอแกน จากเกาะเหลาและเกาะช้าง จังหวัดระนอง กลุ่มคนไทยพลัดถิ่นจากระนอง ประจวบคีรีขันธ์ กลุ่มชาติพันธุ์ ชาวเขา จากเชียงรายและกลุ่มบุคคลไม่มีสถานะทางทะเบียนที่ถูกต้องตามกฎหมายในภาค อีสาน จากอุบลราชธานี รวม 90 คน เดินทางมุ่งสู่กรุงเทพ เพื่อบอกเล่าเรื่องราว สะท้อนปัญหาของตัวเองกับคนในสังคม หน่วยงาน องค์กรต่างๆ ที่มีหน้าที่โดยตรงต่อการแก้ปัญหาความไร้รัฐและสื่อมวลชน ในฐานะเป็นกระจกสะท้อนปัญหา ผ่านมุมมองของเด็กๆ เยาวชนเหล่านี้แม้จะมาจากต่างพื้นที่ ต่างวัฒนธรรม แต่มีสิ่งหนึ่งที่ร้อยเยาวชนเหล่านี้ไว้คือ ความเป็นคนไร้สัญชาติ ไร้พื้นที่ทางสังคม เขาไม่สิทธิขั้นพื้นฐานใดๆ เลย แววตาเด็กเหล่านี้จึงเต็มไปด้วยการตั้งคำถามต่อชะตาชีวิตตัวเองและต่อสังคม เมื่อเปรียบเทียบกับเด็กทั่วๆ ไป ในฐานะเพื่อนร่วมชาติเดียวกันที่ยังไม่มีสิทธิใดๆ เลย ในช่วงตลอดระยะเวลาเกือบหนึ่งสัปดาห์ที่ผ่านมา เยาวชนเหล่านี้ได้เรียนรู้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ ในแต่ล่ะพื้นที่และวัฒนธรรม พร้อมกับอภิปรายปัญหาสัญชาติ ผ่านกิจกรรมต่างๆ ระยะเวลาดังกล่าวจึงถือว่าเป็นมิติใหม่ที่จะช่วยให้เยาวชนยกระดับการเรียน รู้และสะท้อนปัญหาของตัวเอง ยกระดับปัญหาผ่านสังคมสาธารณะผ่านองค์กรรัฐ ผ่านสื่อมวลชน ก่อนจะถูกส่งต่อไปยังรัฐบาลชุดใหม่ ภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรีที่ชื่อ นายสมัคร สุนทรเวช ว่าจะมีความจริงใจแค่ไหนกับปัญหาความไร้รัฐ […]

สัญชาติ ไทยคืออะไร

นี่คือ ความคิดเห็นของเด็กที่อายุยังไม่ถึง 15 ปี เด็ก…ยังไม่คิดหรอกว่ามัน สำคัญมากน้อยขนาดไหน…….เห็นพ่อ-แม่ วุ่นวายกับ พี่สาวที่อายุจะขึ้น 15 ปี กับการทำเพียงแค่บัตรเขียว บัตร ฟ้าเท่านั้น ไม่ใช่บัตรที่แสดงความเป็นสัญชาติไทย แต่ว่าอย่างน้อยบัตรฟ้าก็ยังใช้เดินทางในเขตอำเภอได้ ยังไงก็ถือว่ากฎหมายยังพอเปิดทางให้ แต่…ไหนล่ะ คนมันชอบอยู่กับที่ อยู่กับเมือง…เมืองหนึ่งซะที่ไหนล่ะ ใครๆ ก็ต้องการเดินทาง แสวงหาอนาคตกับปัจจุบัน สังคมที่เป็นอยู่ ใครสร้าง ใครทำให้สังคมเจริญล่ะ ถ้าพวก เขาไม่โดนกดขี่ข่มแหง ใครล่ะอยากจะดิ้นรน เข้าในเมือง ปัญหาเมืองกับจิตใจของคนในเมืองมัน ก็มากพออยู่แล้วกับคน ชนเผาที่ต้องปรับตัว..แล้วมาปัญหาเรื่องสิทธิอีกคนชนเผ่าแทบไม่มีสิทธิ โดย เฉพาะเรื่องของสัญชาติ คนในเมืองถือว่าเราเป็น “คนต่างด้าว” งั้น หรือ แต่…คนในเมืองไม่รู้หรอกว่า คนพวกนี้ เขาอยู่กันมาแต่ไหนแต่ไรแล้ว เกิดที่ไทยอยู่มาเป็นสิบๆปี เขา กลับไม่ได้สัญชาติ…เขาไม่มีความรู้ ไม่มีเงินงั้น หรือ…ขอพูดถึงบางคนที่เป็นต่างด้าวจริงๆเกิดที่อื่นแล้วมาอยู่ที่ไทย เขากลับได้สัญชาติอย่างง่ายดาย…เพียงแค่เขามีเงิน เงินสามารถซื้อทุกๆสิ่งได้จริงๆเหรอ นี่ คือความรู้สึกที่เริ่มคิดเมื่อรู้สึกว่าตัวเองโตแล้ว และ ที่สำคัญอายุจะขึ้น 15 ปี แล้ว […]

อาโก๊ะ..เด็กน้อยชนเผ่าอาข่าที่ไร้สัญชาติ

อาโก๊ะ เป็นชื่อของเด็กชาวเขาคนหนึ่ง ในชุมชนบ้านอาผ่าพัฒนา หมู่ที่ 11 ต.แม่ยาว อ.เมือง จ.เชียงราย อาโก๊ะเป็นชนเผ่าอาข่า นับถือศาสนาพุทธ ครอบครัวอาโก๊ะอาศัยอยู่ด้วยกัน รวม 5 คน ประกอบด้วยพ่อแม่และน้องอีกสองคน จากภาพจะเห็นสิ่งปลูกสร้างจากไม้ไผ่ที่ใช้ เป็นที่ อยู่อาศัยของครอบครัว สร้างขึ้นแบบง่ายๆสไตล์พื้นเมืองชนเผ่าอาข่า ชีวิตและการดำรง อยู่นั้น มีความเรียบง่าย พ่อและแม่มีอาชีพรับจ้างทั่วไป ทั้งสองคนเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงหลักใน การเลี้ยง ครอบครัว ต้องหาเช้ากินค่ำอย่างนี้เรื่อยๆไป อาศัยสิ่งที่เรียกว่า เพียงพอ เป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจในการต่อสู้ชีวิต ครอบครัว ของอาโก๊ะ อาจจะไม่เหมือนครอบครัวทั่วไปในชุมชนอาผ่าพัฒนา เพราะว่าตั้งแต่แม่ ผู้เป็นบุพการีคลอดอาโก๊ะออกมาแต่ครั้งก่อนจนตอนนี้อาโก๊ะมีอายุ 12 ปีแล้ว ต้องพบกับ ปรากฏการของลูกซึ่งจะมีพฤติกรรมตามอารมณ์และความรู้สึกไม่แน่นอน(มีปัญหาทาง สมอง) รวมถึงน้องอีกคนหนึ่งของอาโก๊ะก็มีอาการลักษณะเดียวกัน ซึ่ง ปัจจุบันยังคงต้องเฝ้าดูพฤติกรรมของน้องคนเล็กของอาโก๊ะอีกคนที่กลัวว่าจะมี พฤติกรรมผิดปกติจากเด็กทั่วไป อาโก๊ะได้เข้าเรียนที่โรงเรียนห้วย แม่ซ้าย ด้วยความกรุณาของทางโรงเรียนที่เห็นว่า อาโก๊ะเป็นเด็กในชุมชน ถึงจะเข้าเรียนแบบอยากมาก็มาอยากไปก็ไป คุณครูก็เข้าใจถึงสิ่งที่เป็นอยู่และเข้าใจอาโก๊ะตลอดมา ทำให้อาโก๊ะพอได้เข้าห้องเรียนบ้างซึ่งปัจจุบันเรียนอยู่ชั้นประถมศึกษาปี ที่ 2 ผมรู้จัก ครอบครัวอาโก๊ะมาเมื่อประมาณ […]

ผ้าขาวที่เปื้อนฝุ่น

ชีวิตเล็ก ๆของเด็กน้อยผู้ไร้เดียงสา เมื่อลืมตาดูโลกสิ่งแรกที่ได้เห็นเหมือนกันก็คือ ความสว่างจ้าของโลกกลมๆใบนี้ แต่นับจากนั้นแต่ละ ชีวิตที่เปรียบเสมือนผ้าขาวบริสุทธ์ก็จะได้รับการแต่งแต้มสีสัน แตกต่างกันไป บางผืนอาจจะมีสีสันที่สวยสดใส บางผืนอาจจะดูไม่ได้เลอะสีดำเต็มไปหมด โอกาสและสถานะของคนเราแตกต่างกันเด็กบางคนถูกวางรากฐานการเรียนรู้อย่างมี มาตราฐานส่งผลให้เติบโตเป็นบุคคลที่มีศักยภาพในขณะที่บางคนแม้แต่ผู้ให้กำเนิดเองยังไม่ทราบว่าจะวางรากฐานของชีวิตอย่างไรดี ปล่อยชีวิตให้โอนเอนไปไปตามสายลม แสงแดด ผ่านไปวันๆแล้วชีวิตของผู้ถูกกระทำให้เกิดก็คงจะไม่พ้นที่จะ ริบหรี่ไปตามแสงส่งทางที่มีเพียงน้อยนิดอาจ่อ เด็กน้อยชาวเขาเผ่าอาข่า ผู้ซึ่งมีเส้นทางชีวิตไปตามถนนที่ปนเปื้อนด้วยฝุ่น ขรุขระ ทุรกันดาร 14 ปีที่ผ่านมาของชีวิตไม่มีโอกาสสักครั้งที่จะได้เดินบนเส้นทางที่ โรยด้วยกลีบกุหลาบเหมือนกับที่คนอื่นๆเคยพานพบกัน พอลืมตาดูโลกก็พานพบกับความไม่สมประกอบของร่างกาย ไม่สามารถร้องอุแว้ ๆ ได้เหมือนกับเด็กคนอื่น ยิ่งร้ายไปกว่านั้นยังเป็นบุคคลที่ไร้สัญชาติทั้ง ๆที่ตนเองเกิดบนผืนแผ่นดินไทยแท้ ๆ พ่อซึ่งเป็นหัวหน้าครอบครัวก็เป็นคนที่สำมะเลเทเมา ไม่รับผิดชอบดูแลครอบครัวจึงมีแม่เพียงผู้เดียวที่หาเลี้ยงครอบครัว ไม่นานครอบครัวก็แตกร้าว อาหมี่แม่อาจ่อได้แต่งงานใหม่กับ อาโย๊ะและมีบุตรสาวกับสามีใหม่อีก 3 คนคือ มาลี มาทะ และจริยา ฐานะของอาจ่อจึงเป็นเพียงลูกเลี้ยงที่ติดแม่มาเท่านั้น ต้องอยู่ในความปกครองของของพ่อแม่ใหม่ สายสัมพันธ์ของพ่อเลี้ยงกับลูกเลี้ยงมันคงจะไม่แน่นแฟ้นเท่ากับลูกของตัวเอง จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ความลำเอียงทุกด้านจะตกอยู่ที่อาจ่อ เคราะห์ซ้ำกรรมซัดมากระทบชีวิตเด็กน้อยมากขึ้นกว่าเดิมเมื่อหลายปีก่อนทาง หมู่บ้านได้มีคณะจัดทำเรื่องการทำสัญชาติเข้ามาในหมู่บ้านโดยมีการเก็บเงิน จากชาวบ้าน ด้วยฐานะทางครอบครัวนี้ยากจนไม่มีเงินทองมากที่จะใช้จ่ายในการทำสัญชาติได้ ทั้งหมดทุกคน พ่อเลี้ยงจึงไม่ยื่นคำร้องในการทำสัญชาติให้กับอาจ่อ ในยามเช้าของทุกวันจันทร์-ศุกร์ หากใครได้มาที่บ้านป่าแล2จะพบเด็ก ผู้ชายผิวคล้ำ สูงประมาณ 140 เมตร […]

เด็กไร้รัฐและเด็กไร้สัญชาติในประเทศไทย

เด็กไร้รัฐและเด็กไร้สัญชาติในประเทศไทย คือใครบ้าง ? จำแนกอย่างไร ? แก้ไขอย่างไร ?[1] โดย รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร งานเพื่อคณะอนุกรรมาธิการศึกษาหามาตรการในการแก้ไขปัญหาเด็กไร้ สัญชาติตามคำสั่งคณะกรรมาธิการกิจการสตรี เยาวชน และผู้สูงอายุ วุฒิสภา[2] วันอาทิตย์ที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙ ———————————————————- บทคิดคำนึงเริ่มต้น : ใครคือเด็กและเยาวชนไร้สัญชาติในประเทศ ไทย ? ———————————————————- คำถามดังกล่าวนี้ย่อมต้องเป็นประเด็นแรกที่จะ ต้องทำความเข้าใจหากจะหามาตรการในการแก้ไขปัญหาเด็กและเยาวชนไร้สัญชาติ ไม่มีความจำเป็นที่ จะต้องอ้างอิงตำราวิชาการใดๆ เลยเพื่อนิยามคำๆ นี้ โดย ธรรมชาติของเรื่อง เด็กไร้สัญชาติ (Nationaslityless Child) ก็ คือ เด็กที่ไม่มีสัญชาติของรัฐใดเลยในโลก ประจักษ์พยานที่ฟังได้ว่า เด็กไร้สัญชาติแน่แล้ว ก็คือ การพบข้อเท็จจริงเป็นยุติว่า เด็กไม่ได้รับการยอมรับจากทะเบียนราษฎรของรัฐใดเลยบนโลกว่า เป็นคนสัญชาติของตน ข้อยุติดังกล่าวก็ย่อมสรุปได้โดยไม่ต้อง ใช้ทฤษฎีใดๆ ว่า เด็กที่ถูกปฏิเสธจากทะเบียนราษฎรของทุกรัฐบนโลกในสถานะของ “คนชาติ (National)” ย่อมตกเป็น […]

มากกว่าคำว่า “สัญชาติไทย …………”

ด้วยความเข้าใจว่าหากเกิดในประเทศไทย ย่อมมีสัญชาติไทย ความหมายนี้คงมีประชาชนไม่น้อยเลยเข้าใจว่าเป็นอย่างนั้น แต่จะมีสักกี่คนที่รู้ว่า คนที่เกิดในไทยนั้นหากไม่มีบิดาหรือมารดาเป็นไทยแล้วเขาผู้นั้นจะไม่มี สัญชาติไทย พระราชบัญญัติสัญชาติของไทยที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน เขียนไว้ชัดเจนในเรื่องนี้ คำว่าคนไทยคงเป็นคำที่ดูแล้วยิ่งใหญ่มากสำหรับคนที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย มันคงหมายถึงความเป็นไทยโดยจิตใต้สำนักรวมไปถึงวิถีชิวิตการดำรงชีวิตอยู่ การมีสัญชาติไทยในปัจจุบันยังเป็นสิ่งที่นำไปสู่สิทธิพื้นฐานที่มั่นคงของ การดำรงชีวิต เช่น การรักษาพยาบาล การศึกษา คนไม่ น้อยที่ไม่ใช่คนไทย แต่แสวงหาทุกวิถีทางเพื่อที่จะได้มาซึ่ง สัญชาติไทย .. ปัจจุบันมีชาวเขาไม่น้อยที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยเป็นทั้ง กลุ่มดั้งเดิมมาแต่ปู่ย่าตายายและกลุ่มที่อพยพเข้ามาอยู่ในไทย ทั้งสองกลุ่มนี้ยังเผชิญปัญหาการไม่มีชาติหรือสัญชาติไทยอยู่จำนวนมาก หากเป็นคนดั้งเดิมที่อาศัยอยู่ในไทยนานมาแล้วปัญหาคงมี ไม่มาก เพราะสักวันหากลงรายการสัญชาติไทยแล้วคงเป็นไทยโดยสมบูรณ์แบบได้แน่ๆ แต่กลุ่มที่เพิ่งอพยพเข้ามาใหม่นั่นน่าเป็นห่วงยิ่ง เพราะว่ากฎหมายไทยนอกจากไม่ให้สัญชาติกับบุคคลต่างด้าวที่หลบหนีเข้ามาในไทย แล้ว ยังไม่ให้สัญชาติไทยกับบุตรของพวกเขาด้วย “วันนี้ยังอยู่ที่นี่ได้ แต่วันข้างหน้าไม่แน่นอน หากรัฐบาลเขาไม่ให้อยู่คงอยู่ในไทยไม่ได้แน่ ได้ยินข่าวว่าปีนี้เขาจะไม่ให้อยู่แล้ว แม่เลยไม่ได้ทำนาปลูกข้าวดอยไว้กินทุกวันนี้เลยต้องซื้อข้าวเขากินไปก่อน หากรัฐบาลเขามาไล่พวกเราไป เสียดายข้าวที่ปลูกไว้” นี่เป็นคำพูดของชาวบ้านแห่งหนึ่งที่พวกเราไปเจอมา คนกลุ่ม 3 คำนิยามของรัฐที่นิยามขึ้นไว้ใช้ในเวทีวิชาการและกลุ่มคนทำงานด้านสถานะ บุคคลกลุ่มคนกลุ่มนี้คือใคร ทำไมเขาไม่มีสิทธิที่จะอยู่อาศัยในประเทศไทย เป็นคำถามอยู่ในใจของพวกเขาเสมอว่าเมื่อไม่ได้อยู่ในประเทศไทยแล้วจะไปอยู่ ที่ไหนลูกจะเป็นเช่นไร ข้าวของที่หามาได้ด้วยน้ำพักน้ำแรงจะเอาไป อย่างไร ฝั่ง โน้นเขาจะให้เราข้ามไปไหม ลูกจะเรียนที่ไหนและอีกร้อยแปดคำถามที่ยังไม่สามารถหาคำตอบได้ในตอนนี้เพราะ ทุกอย่างไม่แน่นอนว่ากันว่าครั้งอดีตดินแดนไทย-พม่า ตามตะเข็บแนวชายแดนไม่มีเขตแดนที่ชัดเจน ชาวบ้านทั้งสองฝั่งทั้งไทย-พม่า เดินทางไปมาหาสู่กันและกัน บ้างไม่รู้เลยว่าเขตดินแดนไหน […]

แนว คิดเรื่องความเสมอภาคทางการศึกษา

ใน ยุคปัจจุบันที่สังคมโลกต่างให้ความสำคัญกับกระแสสิทธิมนุษยชนและกระแส ประชาธิปไตย คนทุกคนมีสิทธิได้รับความเป็นธรรมในสิทธิที่ตนเองควรจะได้รับ ตั้งแต่แรกเกิดคือสิทธิที่จะต้องอยู่รอด สิทธิในการได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย และสิทธิที่จะได้รับการศึกษาและฝึกอบรมที่สอดคล้องกับสภาพวิวัฒนาการของ สังคมเศรษฐกิจใหม่ที่เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ ที่ความรู้คืออำนาจ การเรียนรู้จึงกลายเป็นเรื่องที่มีความสำคัญและมีความจำเป็นต่อคนทุกคนอย่าง ทวีคูณ ผู้ที่เข้าถึงความรู้ได้มากกว่าจึงได้เปรียบคนที่เข้าถึงความรู้ได้น้อยกว่า ผู้คนทั่วโลกมีความต้องการการศึกษามากยิ่งขึ้น ดังจะเห็นได้จากการประชุมการศึกษาโลกที่เมืองดาการ์ ประเทศเซเนกัล เมื่อ พ.ศ. 2543 ที่ผ่านมา ได้มีการกำหนดแนวทางการปฏิรูปการศึกษา โดยมีการเสนอจุดหมายหรือหลักชัย (Goals) 6 ข้อ ซึ่งจุดหมายทั้งสามข้อใน 6 ข้อ นั้น ได้ชี้ให้เห็นว่าประเด็นในเรื่องความเสมอภาคทางการศึกษาเป็นประเด็นที่มี ความสำคัญเป็นอย่างมาก ก่อนที่เราจะ ทำให้บรรลุเป้าหมายเรื่องการเสมอภาคทางการศึกษานั้น การมีความเข้าใจแนวคิดเรื่องความเสมอภาคทางการศึกษาที่ตรงกันเป็นเรื่องที่ มีความสำคัญ ในบทความนี้ผมขอเสนอแนวคิดเกี่ยวกับความเสมอภาคทางการศึกษา เพื่อเป็นฐานในการสร้างความเข้าใจในการบริหารจัดการศึกษาทั้งในภาพรวมระดับ ประเทศและระดับสถานศึกษา ความเสมอภาคทางการศึกษาไม่ใช่อะไร ? ………. ประการแรก ไม่ใช่การใช้วิธีปฏิบัติที่เหมือนกัน โดยธรรมชาติแล้วคนแต่ละคนมี ความแตกต่างกันในเรื่องถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ สภาพร่างกาย สถานะบุคคล ฯลฯ การปฏิบัติเหมือน ๆ กัน การปฏิบัติแบบเดียวกันกับคนทุก […]

คนไทยไร้สัญชาติ

การไม่ได้รับการรับรอง จากรัฐบาล ในฐานะบุคคลสัญชาติไทย ทั้งที่เกิดบนแผ่นดินไทย พูดภาษาไทย เรียนหนังสือไทย ไม่ได้ส่งผล แค่ความรู้สึกน้อยเนื้อต่ำใจ แต่ยังเป็นที่มา ของการถูกริดรอนสิทธิ อันพึงมีพึงได้หลายประการ เหตุการณ์ทำนองนี้ เป็นความทุกข์ร่วมกัน ของคนจำนวนไม่น้อย และรอวันที่จะได้รับการแก้ไข กิ่งอ้อ เล่าฮง หยิบยกเรื่องราว ของชาวบ้านแม่ปะ อ.แม่สอด จ.ตาก มานำเสนอ เป็นกรณีตัวอย่าง ?คิงบ่ใจ้ คนไทย อย่ามารังแกเฮาเน้อ ปะเดี๋ยวจะฟ้องพ่อ ให้ตำรวจมาจับ?น้ำเสียงใสๆ ของน้องอิง หรือ เบญจรัตน์ ศรีวัง เด็กหญิงวัย 4 ขวบร้องปรามแกมขู่ วัง ศรีวัง พี่ชายวัย 14 ปี แทบทุกครั้งเมื่อทั้งสองเล่นด้วยกันแล้วถูกขัดใจ คำพูดดังกล่าวนี้ หากใครผ่านมาได้ยินอาจจะคิดว่าเป็นแค่การขู่ว่าตามประสาเด็กเท่านั้น หากทว่าสำหรับอีกหลายๆ คนในหมู่บ้านแม่ปะ เขต อ.แม่สอด จ.ตากแล้ว สิ่งที่ได้ยินมันสะท้อนให้เห็นถึงปมปัญหาที่กลายเป็นปมด้อยและไม่เคยมีใคร เข้าไปแก้ปัญหาให้เลย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับคนรุ่นหลังๆ ที่ถือกำเนิดเติบโตมาบนแผ่นดินไทยมากว่าค่อนชีวิต แต่กลับไม่ได้ถูกรับรองสถานะจากรัฐบาลว่า ‘พวกเขา’ คือ […]

คำประกาศ…..เกียรติประวัติของการต่อสู้เพื่อความเป็นไทยของชาวบ้าน….แม่อาย

คำประกาศ…..เกียรติประวัติของการต่อสู้เพื่อความเป็นไ ทยของชาว บ้าน….แม่อาย * บทความนี้ ข้าพเจ้าขออุทิศความดีให้แก่ความเหนื่อยยากของชาวบ้านแม่อาย และ กัลยาณมิตรผู้ไม่นิ่งเฉยกับทุกข์ของมวลมนุษยชาติ ทุกคน * ถ้อยคำใน บทความนี้เทียบแทนไม่ได้กับความปิติใจของผู้เขียน เพราะ มันช่างมากมายเกินกว่าจะทดแทนด้วยคำพูดใด ๆ นี่คือวันแห่งประวัติศาสตร์ชาติที่ควรค่ากับการจารึก นี่คือการต่อสู้ที่พิสดารและยิ่งใหญ่ที่สุดในทศวรรษ “วันที่คน ไทยต้องต่อสู้เพื่อบอกกับคนทั้งชาติว่า…ฉัน….เป็นคนไทย “ “วันที่ ความยุติธรรมต้องพิสูจน์ตัว….ว่า….สังคมนี้ยังมิไร้สิ้น…ความยุติธรรม” หน้าสถานที่อันศักดิ์สิทธิแห่งกระบวนการยุติธรรม ด้วยแววตาและสีหน้าที่บ่งชัดถึงความทุกข์ที่กดทับและขังตัวอยู่ภายในหัวใจ ทุกดวง ณ เบื้องหน้า ฉุดพาหัวใจของผู้เฝ้าดูอยู่หน้าจออย่างข้าพเจ้าดำดิ่งลึกสู่ก้น บึ้ง…..มันช่างวังเวงเหลือเกิน แล้วเวลาของน้ำตาแห่งอิสระภาพก็พร่างพรู…..เพราะทุกคนรู้…เขาคือไทย บทชีวิตการต่อสู้ของภาคประชาชนอย่างชาวบ้านแม่อายในวันนี้… ข้าพเจ้าและทีมงานกระจกเงาทุกคน…..ได้รับพลังมากมายเหลือเกิน.. และ ข้าพเจ้าก็เชื่อเหลือเกินว่าเพื่อนผู้ร่วมทางหลาย ๆ คนคงเช่นกัน ………………… ขอ ขอบคุณสำหรับพลังอันยิ่งใหญ่ที่ส่งผ่านถึงทุกขั้วหัวใจ ขอขอบคุณบทเรียนอันล้ำค่า…ที่ขีดเขียนด้วยมือประชาชน ขอ ขอบคุณครูแดงและอ.แหว๋ว ครูที่เป็นมากกว่าครู ขอขอบคุณกัลณมิตรผู้อยู่เคียงข้างประชาชน ………….. แป้น-กระจก เงา…ผู้ประกาศ Mon, 05/07/2012

1 53 54 55 56 57 72
Copyright © 2018. All rights reserved.