แนว คิดเรื่องความเสมอภาคทางการศึกษา

ใน ยุคปัจจุบันที่สังคมโลกต่างให้ความสำคัญกับกระแสสิทธิมนุษยชนและกระแส ประชาธิปไตย คนทุกคนมีสิทธิได้รับความเป็นธรรมในสิทธิที่ตนเองควรจะได้รับ ตั้งแต่แรกเกิดคือสิทธิที่จะต้องอยู่รอด สิทธิในการได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย และสิทธิที่จะได้รับการศึกษาและฝึกอบรมที่สอดคล้องกับสภาพวิวัฒนาการของ สังคมเศรษฐกิจใหม่ที่เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ ที่ความรู้คืออำนาจ การเรียนรู้จึงกลายเป็นเรื่องที่มีความสำคัญและมีความจำเป็นต่อคนทุกคนอย่าง ทวีคูณ ผู้ที่เข้าถึงความรู้ได้มากกว่าจึงได้เปรียบคนที่เข้าถึงความรู้ได้น้อยกว่า ผู้คนทั่วโลกมีความต้องการการศึกษามากยิ่งขึ้น ดังจะเห็นได้จากการประชุมการศึกษาโลกที่เมืองดาการ์ ประเทศเซเนกัล เมื่อ พ.ศ. 2543 ที่ผ่านมา ได้มีการกำหนดแนวทางการปฏิรูปการศึกษา โดยมีการเสนอจุดหมายหรือหลักชัย (Goals) 6 ข้อ ซึ่งจุดหมายทั้งสามข้อใน 6 ข้อ นั้น ได้ชี้ให้เห็นว่าประเด็นในเรื่องความเสมอภาคทางการศึกษาเป็นประเด็นที่มี ความสำคัญเป็นอย่างมาก
ก่อนที่เราจะ ทำให้บรรลุเป้าหมายเรื่องการเสมอภาคทางการศึกษานั้น การมีความเข้าใจแนวคิดเรื่องความเสมอภาคทางการศึกษาที่ตรงกันเป็นเรื่องที่ มีความสำคัญ ในบทความนี้ผมขอเสนอแนวคิดเกี่ยวกับความเสมอภาคทางการศึกษา เพื่อเป็นฐานในการสร้างความเข้าใจในการบริหารจัดการศึกษาทั้งในภาพรวมระดับ ประเทศและระดับสถานศึกษา
ความเสมอภาคทางการศึกษาไม่ใช่อะไร ?
………. ประการแรก ไม่ใช่การใช้วิธีปฏิบัติที่เหมือนกัน
โดยธรรมชาติแล้วคนแต่ละคนมี ความแตกต่างกันในเรื่องถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ สภาพร่างกาย สถานะบุคคล ฯลฯ การปฏิบัติเหมือน ๆ กัน การปฏิบัติแบบเดียวกันกับคนทุก ๆ คน อาจยิ่งทำให้เกิดความแตกต่าง เกิดช่องว่าง หรือความไม่เท่าเทียมกันมากขึ้น เช่น ในทางการศึกษา การให้การศึกษาอบรมระหว่างเด็กปกติ กับเด็กที่มีร่างกายพิการย่อมต้องแตกต่างกัน ดังที่ปรากฏในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ในมาตรา 10 วรรค 2 และ 3 ที่กำหนดว่า “การจัดการศึกษาสำหรับบุคคลซึ่งมีความบกพร่องทางร่างกาย
จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ สังคม การสื่อสารและการเรียนรู้ หรือมีร่างกายพิการ หรือทุพพลภาพหรือบุคคลซึ่งไม่สามารถพึ่งตนเองได้ หรือไม่มีผู้ดูแลหรือด้อยโอกาส ต้องจัดให้บุคคลดังกล่าวมีสิทธิ และโอกาสได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นพิเศษ
การศึกษาสำหรับคนพิการในวรรคสองให้จัดตั้งแต่ แรกเกิดหรือพบความพิการโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และให้บุคคลดังกล่าวมีสิทธิได้รับสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการ และความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎกระทรวง…”
เด็กที่มีความ บกพร่องทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ สังคม การสื่อสารและการเรียนรู้ หรือมีร่างกายพิการ หรือทุพพลภาพ สมควรได้รับการส่งเสริมให้ได้รับการศึกษาเป็นพิเศษ โดยที่รัฐหรือสถานศึกษาควรบริหารจัดการด้านต่าง ๆ ด้วยความเอาใจใส่เด็กกลุ่มนี้มากเป็นพิเศษ เช่น จัดหาครูหรือบุคลากรทางการศึกษาที่เหมาะสม คือมีความรู้ความเข้าใจในการให้การศึกษาอบรม หรือพัฒนาเด็กกลุ่มนี้อย่างแท้จริง จัดหลักสูตร กระบวนการเรียนการสอน และการประเมินผล ที่มีความเฉพาะเจาะจง เป็นต้น เพราะหากรัฐหรือสถานศึกษาจัดการศึกษาให้กับเด็กกลุ่มนี้เหมือน ๆ กับเด็กปกติทั่วไปทุกประการแล้ว คงไม่ก่อให้เกิดประโยชน์อันใดทั้งต่อเด็กกลุ่มนี้ และสังคมส่วนรวม
สำหรับ เด็กกลุ่มที่มีความสามารถพิเศษก็เช่นกันรัฐควรจะให้การศึกษาอบรมอย่างเหมาะ สมกับความสามารถในด้านต่าง ๆ ของเขา ดังที่ปรากฏในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ในมาตรา 10 วรรค 4 ที่กำหนดว่า “การจัดการศึกษาสำหรับบุคคลซึ่งมีความสามารถพิเศษ ต้องจัดด้วยรูปแบบที่เหมาะสมโดยคำนึงถึงความสามารถของบุคคลนั้น” ทั้งนี้เพราะเด็กกลุ่มนี้ต้องการความช่วยเหลือ โดยเฉพาะการได้รับการศึกษาที่ส่งเสริมความสามารถพิเศษของเขาให้โดดเด่นยิ่ง ขึ้น มีความต้องการที่แตกต่างจากเพื่อน ๆ ในวัยเดียวกัน เช่น เขาต้องการการเรียนการสอนที่ท้าทายต่อศักยภาพและความสามารถของเขา
เขาสามารถเรียนรู้โดยไม่ต้องใช้เวลานานเท่ากับเด็กปกติ โดยเฉพาะเรื่องที่เขามีความสามารถเป็นพิเศษ เพราะหากได้รับการปฏิบัติเช่นเดียวกันกับเด็กปกติแล้ว อาจทำให้เด็กกลุ่มนี้มีพัฒนาการที่น้อยกว่าศักยภาพที่ตนเองมี นอกจากนี้ยังเป็นการสูญเสียโอกาสในการพัฒนาเด็กกลุ่มนี้ให้กลายเป็นกำลัง สำคัญที่จะช่วยพัฒนาประเทศต่อไปอีกด้วย
ดังนั้นความเสมอภาคทางการศึกษาที่แท้จริงจึงไม่ใช่การปฏิบัติ หรือการจัดการศึกษาที่เหมือนกันให้กับคนทุกคน
……….ประการที่สอง ไม่ใช่การให้ทุกคนไปสู่จุดหมายเดียวกัน
ความเสมอภาคไม่ใช่การให้แก่ทุกคนจน กระทั่ง ในที่สุดแล้วคนทุกคนไปสู่จุด ๆ เดียวกัน เช่น มีคนอยู่ 2 คน คนแรกมีเงิน 200 บาท คนที่สองมีเงิน 500 บาท ความเสมอภาคไม่ใช่การที่เราต้องเอาเงินให้คนแรก 800 บาท และเอาเงินให้กับคนที่สอง 500 บาท เพื่อทำให้ทั้งสองคนนั้นมีเงินคนละ 1,000 บาท เท่ากัน เพราะการทำเช่นนั้นอาจไม่เป็นการยุติธรรมสำหรับคนที่สอง
อาจเปรียบเทียบได้กับหลายเหตุการณ์ในสังคมที่ไม่ได้แสดงความไม่ เสมอภาค ตัวอย่างเช่น การที่เราเห็นคนจน กับคนรวยในสังคมแล้วสรุปว่า ไม่มีความเสมอภาคกันในสังคมนั้นอาจเป็นข้อสรุปที่ไม่ถูกต้องนัก เพราะในความเป็นจริงแล้วการที่คนหนึ่งรวยกว่าอีกคนหนึ่งนั้นอาจมาจากความ ขยันหมั่นเพียรศึกษาหาความรู้ เพียรพยายามในการสร้างฐานะ ในขณะที่คนที่จนนั้นอาจมาจากความไม่สนใจใฝ่หาความรู้ตั้งแต่วัยเยาว์ เกียจคร้านในการทำมาหาเลี้ยงชีพ ก็เป็นได้ หรือการที่เราเห็นครอบครัวหนึ่งมีลูก 2 คน ลูกคนแรกเป็นแพทย์ แต่อีกคนหนึ่งเป็นเพียงคนส่งหนังสือพิมพ์ เราไม่สามารถสรุปได้ว่าเกิดขึ้นเนื่องจากเพราะพ่อแม่ไม่ได้ให้ความเสมอภาค กับลูกของตน เพราะในความเป็นจริงแล้วพ่อแม่มีความตั้งใจอยากเห็นลูกทั้งสองมีหน้าที่การ งานที่ดี ส่งเสียให้เรียนอย่างเต็มที่ แต่เนื่องจากลูกคนที่สองไม่เอาใจใส่การศึกษาเล่าเรียน ผลที่เกิดขึ้นจึงไม่สามารถสอบเข้ามหาวิทยาลัยได้ เป็นต้น
ในทางการศึกษาก็เช่นเดียวกันเราไม่สามารถจัดการศึกษา หรือบังคับให้คนทุกคนสอบได้ที่ 1 หรือจบปริญญาเอก เหมือนกันหมดทุกคนได้ เพราะสิ่งนี้ขึ้นอยู่กับศักยภาพและความสามารถ ตลอดจนพฤติกรรมหรือการกระทำของแต่ละคน แท้ที่จริงแล้ว ความแตกต่างระหว่างบุคคลเป็นสิ่งที่ช่วยส่งเสริมในการพัฒนาระบบต่าง ๆ ทุกระบบ หากเรารู้จักนำความแตกต่างมาใช้ในทางที่ถูกต้อง ความเสมอภาคทางการศึกษาจึงไม่ใช่การที่รัฐ หรือสถานศึกษาจัดการศึกษาให้กับทุกคน ทุกกลุ่ม จนในที่สุดแล้วทุกคนไปถึงจุดเดียวกัน และในสภาพความเป็นจริงนั้นย่อมไม่สามารถทำได้ และอาจเกิดผลเสียมากกว่าผลดีหากพยายามจะทำเช่นนั้น เช่น ทำให้ไม่เกิดการแข่งขัน ไม่เกิดความเพียรพยายามเพราะคิดว่าในที่สุดแล้วรัฐก็จะเพิ่มเติมให้เพื่อให้ เกิดความเท่าเทียมกันในที่สุด ส่วนผู้ที่เพียรพยายามอยู่แล้วก็เกิดความรู้สึกว่าไม่จำเป็นจะต้องเพียร พยายามต่อไปอีก ส่งผลให้สังคมจะมีความอ่อนแอในที่สุดความเสมอภาคทางการศึกษาคือการให้โอกาสที่เท่าเทียมกัน
ความเสมอภาคทางการศึกษาคือการให้สิทธิและโอกาสในการรับการ ศึกษาแก่ทุกกลุ่มคนในสังคม โดยไม่ขึ้นกับความแตกต่างกันในเรื่องถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ สภาพทางกายสถานะบุคคลทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา ฯลฯ ดังที่ปรากฏใพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ในมาตรา10 ได้กำหนดว่า “การจัดการศึกษา ต้องจัดให้บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่ รัฐต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย”
ในปี 2542 สำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้ทำการสำรวจเรื่อง “ความต้องการการเรียนต่อของ เด็กและเยาวชน การสำรวจข้อมูลทางสังคม พ.ศ. 2542 โดย สำรวจจากเด็กและเยาวชนอายุ 13-24 ปี จำนวน 13.7 ล้านคน พบว่าผู้กำลังเล่าเรียน 6.6 ล้านคน ส่วนอีก 7.1 ล้านคนหรือประมาณร้อย ละ 52 ออกจากระบบการศึกษาไปแล้ว สาเหตุหลักพบว่า ร้อยละ 74 ไม่มีทุน ทรัพย์เรียน ต้องการเลี้ยงตนเอง/ครอบครัว ส่วนอีก ร้อยละ 10 ไม่สนใจและเห็นว่าไม่มีประโยชน์ที่จะ เรียน อย่างไรก็ตามเด็กที่พลาดโอกาสทางการศึกษา ประมาณ ร้อยละ 28 ยังมีความต้องการเรียนต่อ และร้อยละ 37 ต้องการฝึกอบรมวิชาชีพ ดังนั้นการ จัดการศึกษาต้องเปิดโอกาสให้คนทุกกลุ่มในสังคม เข้าถึงการศึกษาอบรมได้อย่างทั่วถึง จะรู้ได้อย่าง ไรว่าเสมอภาคทางการศึกษา
จากที่กล่าว ข้างต้น ความเสมอภาคไม่ได้หมายถึง การใช้วิธี ปฏิบัติที่เหมือนกันกับทุก ๆ คน หรือการที่ทำให้คนทุกคนไปสู่จุดหมายเดียวกัน ดัง นั้นจึงเกิดคำถามขึ้นว่า แล้วเราจะทราบได้อย่างไรว่าสภาพหรือเหตุการณ์หนึ่งๆ นั้นเป็นการปฏิบัติที่เสมอภาคหรือไม่
การที่เราจะตัดสินว่าเกิดความเสมอภาคทางการศึกษาหรือไม่นั้น หลักการหนึ่งที่สามารถใช้ประกอบการพิจารณาได้ คือ การพิจารณาว่า “การปฏิบัตินั้น ๆ ได้เปิดโอกาสให้ผลลัพธ์ที่แต่ละคนได้รับกับสิ่งที่แต่ละคนทำเป็นเหตุเป็นผล กันหรือไม่” หมายความว่า หากมีการเปิดโอกาสในด้านต่าง ๆ ทางการศึกษาอย่างทั่วถึงแก่บุคคลทุกคนตั้งแต่เริ่มต้นแล้ว การที่ทุกคนจะไปถึงจุดมุ่งหมาย หรือถึงซึ่งความสำเร็จทางการศึกษานั้นย่อมขึ้นอยู่กับผลการกระทำของเขาเอง ด้วย เช่น รัฐได้เปิดโอกาสทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 12 ปีให้กับคนทุกคนโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย แต่คนจะเรียนจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐานได้นั้น ย่อม ขึ้นอยู่กับความเพียรพยายาม ความตั้งใจของผู้เรียนแต่ละคนด้วย เช่น การเอาใจใส่การเรียน ความประพฤติในโรงเรียน และคุณสมบัติอีกหลายประการ ซึ่งเป็นสิ่งที่ส่งผลต่อ การเรียน ดังนั้นในกรณีที่รัฐเปิดโอกาสให้เช่นนี้แล้ว หากผลการเรียนไม่ดี หรือสอบไม่ผ่าน จึงไม่อาจกล่าวว่าเกิดจากความไม่เสมอภาค เพราะขึ้น อยู่ที่การกระทำของคนนั้น ๆ เอง ไม่ได้เป็นเพราะถูกปิดกั้นการศึกษา เป็นต้น
จากตัวอย่างที่ยก มานี้ถือว่ามีการจัดการศึกษาอย่างเสมอภาคเพราะทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกัน ตั้งแต่ต้นแต่การจะไปถึงจุดหมายคือเรียนจบใน ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน 12 ปี หรือสอบเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยได้หรือไม่นั้นส่วนหนึ่งอยู่ที่พฤติกรรมของ บุคคลนั้น ๆ เอง ความเสมอภาคทางการศึกษาจึงต้องไปควบคู่กับความยุติธรรมด้วย คือ ยุติธรรมกับทุกคนทั้งคนที่ทำดี และคนที่ทำไม่ดี ผู้ที่ตั้งใจทำสิ่งที่ดี ย่อมมีโอกาสประสบความ สำเร็จ ส่วนผู้ที่ทำไม่ดีแม้มีโอกาสเอื้อให้เขาสำเร็จ แต่เขาสามารถประสบกับความล้มเหลวได้เช่นกัน
ความเข้าใจในเรื่องความเสมอภาคทางการศึกษาที่แท้จริงนั้น เป็นเรื่องที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อนักการศึกษาทุกคน ตลอดจนผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียโดยตรงกับการศึกษา คือผู้เรียนทุกคน ทั้งนี้เพื่อทั้งสองฝ่ายคือรัฐที่ เป็นฝ่ายจัดการศึกษากับสถานศึกษาจะสามารถบริหารจัดการศึกษาได้อย่างเสมอภาค ตามศักยภาพและความต้องการของผู้เรียน และฝ่ายที่ เป็นผู้เรียนซึ่งเป็นผู้รับการศึกษา จะมีความเข้าใจในสิทธิและโอกาสของตนเองในการรับสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการ และความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา ได้อย่างเต็มที่ ทั้งนี้เพื่อจะสามารถบรรลุเป้าหมายของการปฏิรูปการศึกษา ที่ประชาชนทุกคนจะได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึง และต่อเนื่องตลอดชีวิต
ศาสตราจารย์ ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์
ผู้อำนวยการสถาบันอนาคตศึกษาเพื่อการพัฒนา
สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
Mon, 04/23/2012
Copyright © 2018. All rights reserved.