การเดินทางของเด็กไร้รัฐ “หนูก็เป็นคน ไทย แต่ทำไมไม่มีสิทธิ์”

ระหว่างวันที่ 12-15 กุมภาพันธ์ 2551 ที่ผ่านมา ตัวแทนเยาวชนไร้สัญชาติ ประกอบด้วย กลุ่มชาติพันธุ์ มอแกน จากเกาะเหลาและเกาะช้าง จังหวัดระนอง กลุ่มคนไทยพลัดถิ่นจากระนอง ประจวบคีรีขันธ์ กลุ่มชาติพันธุ์ ชาวเขา จากเชียงรายและกลุ่มบุคคลไม่มีสถานะทางทะเบียนที่ถูกต้องตามกฎหมายในภาค อีสาน จากอุบลราชธานี รวม 90 คน เดินทางมุ่งสู่กรุงเทพ เพื่อบอกเล่าเรื่องราว สะท้อนปัญหาของตัวเองกับคนในสังคม หน่วยงาน องค์กรต่างๆ ที่มีหน้าที่โดยตรงต่อการแก้ปัญหาความไร้รัฐและสื่อมวลชน ในฐานะเป็นกระจกสะท้อนปัญหา ผ่านมุมมองของเด็กๆ เยาวชนเหล่านี้แม้จะมาจากต่างพื้นที่ ต่างวัฒนธรรม แต่มีสิ่งหนึ่งที่ร้อยเยาวชนเหล่านี้ไว้คือ ความเป็นคนไร้สัญชาติ ไร้พื้นที่ทางสังคม เขาไม่สิทธิขั้นพื้นฐานใดๆ เลย แววตาเด็กเหล่านี้จึงเต็มไปด้วยการตั้งคำถามต่อชะตาชีวิตตัวเองและต่อสังคม เมื่อเปรียบเทียบกับเด็กทั่วๆ ไป ในฐานะเพื่อนร่วมชาติเดียวกันที่ยังไม่มีสิทธิใดๆ เลย
ในช่วงตลอดระยะเวลาเกือบหนึ่งสัปดาห์ที่ผ่านมา เยาวชนเหล่านี้ได้เรียนรู้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ ในแต่ล่ะพื้นที่และวัฒนธรรม พร้อมกับอภิปรายปัญหาสัญชาติ ผ่านกิจกรรมต่างๆ ระยะเวลาดังกล่าวจึงถือว่าเป็นมิติใหม่ที่จะช่วยให้เยาวชนยกระดับการเรียน รู้และสะท้อนปัญหาของตัวเอง ยกระดับปัญหาผ่านสังคมสาธารณะผ่านองค์กรรัฐ ผ่านสื่อมวลชน ก่อนจะถูกส่งต่อไปยังรัฐบาลชุดใหม่ ภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรีที่ชื่อ นายสมัคร สุนทรเวช ว่าจะมีความจริงใจแค่ไหนกับปัญหาความไร้รัฐ ที่ยังคาราซังผ่านถ่ายมาทุกรัฐบาล
นาวสาวสุภาพร ศรีสง่า อายุ 18 ปี จากชุมชนราชกรูด อำเภอเมืองระนอง เป็นแกนนำเยาวชน คนไทยพลัดถิ่น จาก ระนอง “หนูอยากเรียน สูงๆ เหมือนกับเด็กทั่วๆ ไป แต่ความเป็นคนไม่มีหลักฐานใดๆเลย ทำให้โอกาสที่จะเข้าถึงกองทุนการศึกษานั้นปิดไป ก็คงเหมือนเด็กพลัดถิ่นทั่วไป ที่ต้องออกมาขายแรงงานราคาถูกแม้ตอนนี้กฎหมายจะบอกว่าโรงเรียนต้อง รับเด็กทุกคนอย่างเท่าเทียมก็ตามแต่ความเป็นจริงนั้นขัดแย้งกันมาก ครอบครัวเราอยู่ปกเปี้ยน ซึ่งเมื่อก่อนเคยเป็นส่วนหนึ่งของแผ่นดินไทย เลือด เนื้อ และวิญญาณ เราคือไทยร้อยเปอร์เซ็น เพราะ ภาษาและวัฒนธรรมก็เหมือนกับที่นี่ทุกอย่าง เราอยู่ไม่ ได้
โดนพม่ากดขี่ทุกรูปแบบและไม่อยากถูกกลืนด้วย อยู่นั่นเราต้องแอบเรียนหนังสือไทยกับพระให้พม่ารู้ ไม่ได้ ก็เลยคิดว่ากลับมาแผ่นดินพ่อเที่ยงแท้ดีกว่า พอกลับมาเขาก็ไม่รับเราหาว่าเป็นพม่า อยู่ พม่าเขาก็หาว่าเป็นไทย”
ปรากฏการณ์อย่างหนึ่งซึ้งชี้วัดความจริงใจของรัฐบาลชุดใหม่กับปัญหาเรื่อง เรื่องสัญชาติได้เป็นอย่างดี คือ การที่เยาวชนไร้สัญชาติร่วมร้อยคน เดินทางไปพบนายกรัฐมนตรีคนใหม่ เพื่อมอบดอกไม้ เพื่อนำเสนอปัญหา กับผู้นำประเทศ แต่ทั้งหมดก็ต้องผิดหวัง ได้เพียงยืนเกาะประตูกับดอกไม้ที่มาพร้อมความหวังเต็มเปี่ยม โดยมีเพียงตัวแทนรับเรื่องร้องทุกข์เท่านั้น ตัวแทนที่ไม่ใช่รัฐมนตรีด้วยซ้ำ แต่กระนั้นเสียงเพลง “ เด็กดั่งดวงดาว” ก็กึกก้องหน้าทำเนียบไปหมด
นางสาว สุพร หวุ่ยซือกู เยาวชนตัวแทนจากกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเขา จังหวัดเชียงราย “ พวกหนูแม้จะมาต่างพื้นที่กันแต่สิ่งเดียวที่เหมือนกันคือ พวกหนูเป็นเด็กไร้สัญชาติ พวกหนูเป็น มอแกน คนไทยพลัดถิ่น ชาวเขาและบุคคลไร้สัญชาติภาคอีสาน(บุตรผู้ถือบัตรลาวอพยพ) จากอุบลฯ เรามาเพื่อขอความช่วยเหลือจากผู้ใหญ่ใจดี วันนี้เป็นวันแห่งความรัก อยากจะมามอบดอกไม้ให้นายกฯ อยากจะบอกเรื่องราวความลำบากของพ่อแม่เราให้นายกฯฟังแต่ไม่ได้พบรู้สึก เสียใจมากเหมือนกับเด็กๆ ทุกคน พวกหนูลาโรงเรียนมา ทิ้งสอบ เดินทางเป็นร้อยๆ กิโล เพื่อวันนี้ อยากจะบอกว่าพวกหนูก็เป็นคนไทยเหมือนๆ กับเด็กอื่นๆ แต่ทำไมเราไม่มีสิทธิ์อะไรเลย” นี่เป็นเพียงปากคำจากเด็กที่ผิดหวังเมื่อถูกปฏิเสธจากผู้นำประเทศ
รศ. ดร. พันธ์ทิพย์ กาญจนจิตตรา สายสุนทร นักวิชาการ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหา ลัยธรรมศาสตร์
“ ปัญหาเรื่องคนไร้สัญชาติเป็นปัญหาที่เรื้อรังมานาน เป็นเรื่องที่ไม่สนุก เพราะชีวิตคนเหล่านี้ลำบากจริง รัฐเองต้องเข้าใจสภาพปัญหาในแต่ล่ะกลุ่มและจัดการแก้ไขกฏหมายเพื่อที่จะสนอง ต่อความต้องการของคนจริงๆ และทัศนคติของรัฐก็ต้องปรับเปลี่ยนด้วย แม่นกต้องออกลูกนก ไม่ใช่แม่นกออกลูกเป็นหมา คงไม่ใช่ เหล่านี้ล้วนสะท้อนเรื่องความเข้าใจในกฏหมายทั้งสิ้น” เป็นอีกเสียงสะท้อนหนึ่งจากซีกนักวิชาการที่คร่ำควอดงานด้านสัญชาติมานาน เข้าใจสภาพปัญหาเป็นอย่างดี กระทั่งมีส่วนร่วมในการผลักดันกฏหมายสำคัญที่เกี่ยวข้องกับประเด็นสัญชาติมากมาย
ด.ญ. เมย์ ประมง กิจ อายุ 12 ปี เยาวชนมอแกนจากเกาะช้าง “ ตอนนี้หนูเรียนอยู่ ม. 1 โรงเรียนสินไห ตำบลปากน้ำ อำเภอเมือง จังหวัดระนอง อยากเรียนให้สูงที่สุด เพราะโตขึ้นหนูอยากเป็นครู อยากให้ผู้ใหญ่ใจดีช่วยเหลือพวกเรามอแกนด้วย” ด.ญ. เมย์ ประมงกิจ เป็นเยาวชนมอแกนที่ถือว่าได้เรียนสูงสุดแล้ว แต่ความไม่มีหลักฐานใดๆทำให้ไม่สามารถยืนยันได้ว่าจะมีอนาคตอย่างไร การเดินทางมาครั้งนี้ถือว่าเป็นครั้งแรกและมีหลายสิ่งที่ต้องเรียนรู้เก็บ เกี่ยว “ตอนเราอยู่เกาะเราคิดว่ามีเพียงมอแกนเพียงกลุ่มเดียว ที่ไม่มีบัตรแต่มาวันนี้เราได้เจอเพื่อนมากมาย เพื่อนๆ ที่มาต่างก็มีปัญหาเหมือนกันคือ ไม่มีสัญชาติ หนูจะกลับบอกที่บ้านกับประสบการณ์ที่ได้มาเจอครั้งนี้”
นอกจากนั้นยังมีองค์กรพัฒนาเอกชนต่างๆ ที่เป็นองค์กรพี่เลี้ยงคอยผลักดันช่วยเหลือ ให้คำปรึกษา ถือเป็นพันธมิตรกับเยาวชนไร้สัญชาติ จนเกิดกิจกรรมในช่วงที่ผ่านมา การเดินทางเพียงระยะเวลาสั้นๆ แห่งการเรียกร้องทวงสิทธิ์ แต่ภาพทั้งหมดทั้งปวงได้ฝังลึกในห้วงคำนึงของเยาวชน เหล่านั้น เป็นภาพที่ตั้งคำถามไปยังสังคมไทย “หนูก็เป็นคนไทย แต่ทำไมยังไม่มีสิทธิ์”
ข้อ สนอของเครือข่ายเยาวชนไร้สัญชาติ 4 กลุ่ม
1. เร่งรัดขั้นตอนการออกบัตรประชาชนให้มอแกน
2. กำหนดนโยบายพิสูจน์สถานะบุคคของกลุ่มบุคคล ไร้สัญชาติภาคอีสาน(ผู้ถือบัตร ลาวอพยพ) ให้ชัดเจน
3. คืนสัญชาติตามเงื่อนไขทางประวัติศาสตร์กับ กลุ่มคนไทยพลัดถิ่น
4. ดรับคำร้องขอสถานะให้กับกลุ่มบุคคลบนพื้นที่ สูงที่เข้ามาหลัง พ.ศ.2528
Mon, 04/01/2013
Copyright © 2018. All rights reserved.