Month: January 2562

สปสช.ยัน ทำหนังสือแจ้งสธ.ปรับฐานข้อมูลคนไร้สถานะกว่า 9 หมื่นคน

เมื่อวันที่ 10 มี.ค. ที่โรงแรมรามาการ์เด้นส์ ถ.วิภาวดีรังสิต นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) เปิดเผยถึงกรณีการดูแลกลุ่มคนไร้สถานะและสิทธิ ว่า สปสช. ได้ทำหนังสือแจ้งให้กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ทราบแล้ว ตั้งแต่วันที่ 27 ธ.ค. 56 โดยส่งรายละเอียดให้ทั้งหมด ทั้งรายชื่อและรายละเอียดต่าง ๆ แต่ยังไม่เคยได้รับหนังสือยืนยันจากทางสธ.ว่า จะดำเนินการอย่างไร ทั้งนี้ตั้งแต่ที่ครม.มีมติ 23 มี.ค. 53 ให้มีการตั้งกองทุนคืนสิทธิการรักษาพยาบาลกลุ่มคนไร้สถานะ จำนวน 4.5 แสนคน และมอบให้สธ.เป็นผู้ดูแล เนื่องจากมีการตีความจากคณะกรรมการกฤษฎีกา ว่า สปสช.ดูแลได้เฉพาะกลุ่มที่เป็นสัญชาติไทยเท่านั้น กลุ่มคนที่ยังรอการพิสูจน์สถานะและสิทธิ์จึงต้องให้สธ.ดูแลสิทธิด้านการรักษาพยาบาลไปก่อนจนกว่าจะได้รับการพิสูจน์สิทธิ์เป็นคนไทย   นพ.วินัย กล่าวต่อว่า ในช่วงแรกปี 53-54 สปสช.และสธ.มีการประสานเพื่อจัดทำฐานข้อมูลระหว่างกันตลอด เพื่ออำนวยความสะดวกให้สถานพยาบาลและผู้เกี่ยวข้องได้ตรวจสอบสิทธิให้ตรงกันทั้งหน้าเว็บไซด์ของสปสช.และสธ. และเพื่อใช้ในการเบิกใช้ยาที่สปสช.จัดระบบไว้ โดยดำเนินการผ่านระบบของสปสช.เพื่ออำนวยความสะดวกให้สถานพยาบาล โดยสปสช.จะนำส่งข้อมูลให้สธ.เอง แต่หลังจากนั้นในปี 55-56 การประสานจัดส่งข้อมูลระหว่างหน่วยงานไม่ต่อเนื่อง ส่งผลให้ฐานข้อมูลผู้มีสิทธิของกลุ่มบุคคลที่รอการพิสูจน์สถานะและสิทธิระหว่างสปสช.และสธ.ไม่ตรงกัน และเกิดปัญหาการให้บริการต่อประชาชน นพ.วินัย กล่าวอีกว่า ด้วยเหตุนี้ สปสช. […]

แก๊งปลอมใบอนุญาตทำงานต่างด้าวระบาดหนัก จัดหางานเชียงใหม่

วันที่ 9 มีนาคม แหล่งข่าวจากสำนักงานจัดหางาน จ.เชียงใหม่ เปิดเผยว่า เดือน ก.พ.มีผู้ยื่นเอกสารใบอนุญาตทำงานของคนต่างด้าวปลอมมาที่ สำนักจัดหางาน จ.เชียงใหม่ โดยทำการตรวจสอบในระบบจัดเก็บข้อมูลการขอใบอนุญาตทำงานของคนต่างด้าวแล้วไม่ปรากฏการทำนิติกรรมตามที่มีผู้มายื่นโดยมีการยื่นเพื่อขอเพิ่มท้องที่ทำงานในแบบคำขอ เอกสาร ตท.2ให้กับ แรงงานชาวพม่ารายหนึ่ง ข้อเท็จจริงปรากฏว่าได้นำเอกสารใบรับคำขอและใบเสร็จรับเงินในการยื่นเพิ่มท้องที่มถานทีทำงาน เลขรับที่ DDI 56012170ลงวันที่ 31 ม.ค.2557 เพิ่มสถานที่ทำงานไปที่โครงการศุภาลัย การ์เด้นวิลล์ วงแหวน-สันกำแพง ถ.วงแหวน รอบสาม ต.ต้นเปา อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ และ ใบเสร็จรับเงินเล่มที่ 39168 เลขที่ 081 ที่ทำการสำนักงานจัดหางาน จ.เชียงใหม่ ลงวันที่ 31 ม.ค. เช่นกัน จากการตรวจสอบของเจ้าหน้าที่พบว่าเอกกสารดังกล่าวเป็นเอกสารที่ถูกทำปลอมขึ้นมา เนื่องจากเอกสารดังกล่าวนั้นไม่ได้ออกจากสำนักงานจัดหางาน จ.เชียงใหม่ เป็นหน่วยงานผู้มีอำนาจหน้าที่ในการออกใบเสร็จแล้วใบรับคำขอดังกล่าว การกระทำแบบนี้ เป็นการปลอมเอกสารราชการขึ้นทั้งฉบับ ทั้งใบรับคำขอและใบเสร็จรับเงิน ทำให้สำนักงานจัดหางาน จ.เชียงใหม่เสียหาย ทางสำนักงานจึงจะดำเนินคดีกับผู้ที่เกี่ยวข้องในการกระทำความผิดทุกคนและทุกฐานความผิดที่ปรากฏตามข้อเท็จจริง นางสมพิศ คำแก้ว ผู้ดูแลร้านบริการต่อพาสปอร์ต วีซ่าและต่อใบอนุญาตทำงาน ที่กาดรวมโชค อ.เมือง […]

สธ.ของบเพิ่มดูแลผู้ป่วยไร้สถานะ

เมื่อวันที่ 8 มีนาคม นพ.ทรงยศ ชัยชนะ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้สัมภาษณ์กรณีนักวิชาการเสนอให้ สธ.ประสานกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ในการตรวจสอบรายชื่อผู้ป่วยกลุ่มรอพิสูจน์สถานะ เนื่องจากตัวเลขคนกลุ่มนี้ไม่ชัดเจน และอาจส่งผลต่อการให้บริการว่า เป็นเรื่องปกติที่ต้องดำเนินการอยู่แล้ว โดยได้มอบให้ฝ่ายปฏิบัติงานดำเนินการจัดทำระบบดังกล่าวอยู่ หากพบว่าตัวเลขคนกลุ่มนี้มีจำนวนมากขึ้น เหมือนดังที่นักวิชาการเสนอว่าทั้งหมดมีจำนวน 600,000 คน ซึ่งอยู่ในกองทุนคืนสิทธิที่ สธ.ดูแลประมาณ 450,000 คน และยังเหลืออีกกว่า 150,000 คน หากพิสูจน์ว่าเป็นกลุ่มรอพิสูจน์สถานะทั้งหมด ทาง สธ.จะเสนอเรื่องไปยังรัฐบาลในการเพิ่มงบประมาณดูแลคนกลุ่มนี้ นพ.ทรงยศกล่าวว่า เดิมกองทุนคืนสิทธิใช้งบประมาณปีละ 900 ล้านบาท ดูแลคนรอพิสูจน์สถานะจำนวน 450,000 คน แต่หากเพิ่มขึ้นก็ต้องของบประมาณเพิ่ม แต่ขณะนี้รัฐบาลเป็นรัฐบาลรักษาการจึงต้องพิจารณาว่าจะดำเนินการได้หรือไม่ หากไม่ได้ต้องรอรัฐบาลใหม่ แต่ปัญหาคือ ในกลุ่มรอพิสูจน์สถานะ อาจเป็นกลุ่มแรงงานต่างด้าวที่อาจเข้ามาโดยการซื้อบัตรประกันสุขภาพของแรงงานต่างด้าวปีละ 2,800 บาท หากเป็นเช่นนั้นก็จะไม่เข้าระบบกองทุนคืนสิทธิ แต่หาก ไม่ใช่จะไปบังคับให้พวกเขาซื้อบัตรสุขภาพแรงงานต่างด้าวไม่ได้ ต้องให้มาอยู่ในกองทุนคืนสิทธิ ที่มา : นสพ.มติชน ฉบับวันที่ 9 มี.ค. 2557 […]

แผนการดำเนินการจัดประชุมรับฟังปัญหา อุปสรรค ให้คำปรึกษา และแก้ไขปัญหาให้แก่ประชาชน รวมถึงเจ้าหน้าที่ผุ้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับปัญหาด้านสถานะและสิทธิของบุคคล กลุ่มงานทะเบียนบุคคลผู้ไม่มีสัญชาติไทย ส่วนการทะเบียนราษฎร สำนักบริหารการทะเบียน จังหวัดเชียงราย

เช้าวันนี้  11 มีนาคม 2557 เวลา 09.00 น. ณ ที่ว่าการอำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย จะมีการประชุมติดตามการปฏิบัติงานโดย คณะทำงานศึกษาและแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับสถานะและสิทธิของบุคคล (คณะที่ 2 ) อันเนื่องมาจากผลของมติที่ประชุม เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2556 ให้คณะทำงานและผู้รับผิดชอบของสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง สำนักทะเบียนจังหวัด สำนักทะเบียนอำเภอ/สำนักทะเบียนท้องถิ่น และภาคประชาสังคม ที่ประกอบไปด้วยองค์กรพัฒนาภาคเอกชนที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการกำหนดสถานะและสิทธิของบุคคลในจังหวัดเชียงราย รวมถึงภาคประชาชนที่เป็นเจ้าของกรณีศึกษาจากกลุ่มม้งที่มาจากถ้ำกระบอก กลุ่มที่พบข้อขัดข้องในการปฏิบัติงาน และกลุ่มที่มีภูมิลำเนาอาศัยอยู่จริงในหมู่บ้าน ในชุมชน แต่ยังไม่มีเลขประจำตัวประชาชน หรือมีแต่เคยถูกจำหน่าย โดยมิได้แจ้งให้ทราบก่อนการจำหน่าย จะร่วมกันหารือในประเด็นต่างๆ ดังนี้ 1. ปัญหาและแนวทางการแก้ไข กรณีการดำเนินการต่อกลุ่มอดีตม้งถ้ำกระบอก ในพื้นที่อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย และพื้นที่อื่นๆ 1.1. กลุ่มอดีตม้งถ้ำกระบอก รวมถึงรุ่นบุตร หลาน ที่มีเลขประจำตัวประชาชน 6-1996-68XXX-XX-X หรือที่มีพยานหลักฐานอื่นๆ ที่สืบค้นได้ว่า เป็นเครือญาติกัน ขณะนี้เตรียมการยื่นคำร้องขอลงรายการสัญชาติไทยในทะเบียนบ้านตามมาตรา 23 แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติ(ฉบับที่ 4) พ.ศ.2551 […]

รวบ 220 ชาวอุยกูร์โยงนายหน้า’โรฮิงญา’

ปฏิบัติการคุมตัวต่างด้าวจำนวน 220 คน  ซึ่งเป็นชาย 78 คน หญิง 60 คน และเด็ก 82 คน เมื่อวันที่ 12 มีนาคม ที่ผ่านมา ภายในบริเวณสวนยางพารา หมู่ 10 บ้านคลองต่อ ต.รัตภูมิ อ.รัตภูมิ อ.รัตภูมิ จ.สงขลา พร้อมชาวโรฮิงญาอีกกว่า 10 คน กลายเป็นปมร้อนที่หลายฝ่ายให้ความสนใจขึ้นมาพลัน                ที่สำคัญกลุ่มคนเหล่านี้ยังไม่สามารถระบุสัญชาติให้ประจักษ์ เนื่องจากไร้เอกสารใดๆ ติดตัวยืนยันสัญชาติ เรื่องนี้ “สุนัย ผาสุข” ผู้ประสานงานที่ปรึกษาองค์กรฮิวแมนไรท์วอทช์ ประจำประเทศไทย ให้ข้อมูลว่า จากการตรวจสอบทราบว่า คนต่างด้าวกลุ่มนี้ไม่ใช่ชาวตุรกีที่จะลี้ภัยไปประเทศที่สาม แต่เป็นชาว “อุยกูร์” หรือกลุ่มชนพื้นเมืองของ มณฑลซินเจียง จากจีนแผ่นดินใหญ่ที่ประสงค์จะลี้ภัย เพื่อเดินทางไปยังประเทศที่สาม สาเหตุเนื่องจากชาวอุยกูร์ มีปัญหากับทางการจีนมาเป็นเวลานาน จากอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์กลายเป็นปัญหาที่น่าสนใจ สุนัย ชี้ว่า ทางการจีนมองว่าชาวอุยกูร์ เป็นกลุ่มคนมุสลิมที่มีชาติพันธุ์ ภาษา และวัฒนธรรมเป็นพวกเติร์ก […]

พม.ช่วยอุยกูร์-สหรัฐจี้ไทยดูแล

เมื่อเวลา 09.30 น. วันที่ 15 มี.ค. ที่กองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง 6 อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา นางปวีณา หงสกุล รักษาการรมว.พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) และคณะ พร้อมด้วย พล.ต.ท.พิสิฏฐ์ พิสุทธิ์ศักดิ์ ผบช.ภ.9 พล.ต.ต.เอกภพ ประสิทธิ์วัฒนชัย ผบก.ภ.จว.สงขลา และ พล.ต.ต.ดร.ธัชชัย ปิตะนีละบุตร ผบก.ตม.6 เดินทางเข้าเยี่ยมกลุ่มชาวต่างชาติที่หลบหนีเข้าเมืองกว่า 220 คนซึ่งอ้างว่าเป็นชาวตุรกีแต่ต่อมาพบว่ามีแนวโน้มเป็นชาวอุยกูร์ ชนกลุ่มน้อยในมณฑลซินเกียง ประเทศจีน นางปวีณาพูดคุยและสอบถามถึงที่มาที่ไปด้วยความเป็นห่วงและมอบเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม รวมทั้งอาหาร และนมผงให้คนกลุ่มนี้ พร้อมกล่าวว่า กลุ่มผู้ลักลอบเข้าเมืองมีทั้งหมด 220 คน เป็นชาย 78 คน หญิง 60 คน ในจำนวนนี้ตั้งครรภ์ประมาณ 10 คน และเด็กอีก 82 คน ทางพม.จะให้ความดูแลด้านสวัสดิภาพโดยหน่วยงานในสังกัด ทั้งสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด (พมจ.) สถานคุ้มครองสวัสดิภาพ และบ้านพักเด็กและครอบครัว […]

ผู้ว่าฯสงขลาสั่งขยายผลจับตัวการค้ามนุษย์

นายกฤษฎา บุญราช ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา เปิดเผย เกี่ยวกับการดูแลคนต่างด้าวที่อ้างตัวเป็นชาวตุรกี ที่หลบหนีเข้าเมืองเมื่อวันที่ 12 มี.ค.ที่ผ่านมา ระหว่างที่ของทางสถานฑูตตุรกีประจำประเทศไทย ตรวจสอบสัญชาติว่าเป็นชาวตุรกี ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 2 เดือน โดยมีการนำตัวไปดูแล สำหรับผู้ชายจำนวน 69 คน จะอยู่ในความดูแลของตรวจคนเข้าเมืองปาดังเบซาร์ ส่วนสตรีจำนวน 54 คน และเด็กจำนวน 95 คน อยู่ในความดูแลของพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ซึ่งมีสถานที่พักคือบ้านพักเด็กและเยาวชนจังหวัดสงขลา นายกฤษฎา กล่าวอีกว่า บทบาทของจังหวัด คือ การดูแลในเรื่องมนุษยธรรม นั่นคือ การทำตามกฎหมายคุ้มครองเด็กและสตรีแล้ว และได้สั่งการให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลาส่งทีมแพทย์และพยาบาลไปตรวจสุขภาพและโรคทั้งหมด ซึ่งส่วนใหญ่เป็นไข้หวัด ซึ่งอาจจะติดเชื้อโรคอื่นๆ เรื่องที่สองสั่งการให้กองบังคับการตำรวจภูธรจังหวัดสงขลาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสืบสวนถึงกลุ่มบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการนำพาผู้หลบหนีเข้าเมืองเหล่านี้เข้ามาในราชการอาณาจักร และมีความเกี่ยวข้องกับขบวนการค้ามนุษย์หรือไม่ “ตอนนี้เรามีฐานข้อมูลเก่าอยู่แล้ว ด้วยการออกหมายจับในคดีค้าโรฮิงญา จำนวน 2 ราย เมื่อเร็วๆนี้ ซึ่งอยู่ระหว่างการดำเนินคดีอยู่ในขณะนี้ โดยอยู่ระหว่างการไต่สวนของศาล ซึ่งคดีนี้เกิดขึ้นเมื่อเดือนที่แล้ว เพื่อดูว่าบุคคลที่ถูกดำเนินคดีเก่ามาเกี่ยวข้องกับกลุ่มนี้หรือไม่ ซึ่งต้องร่วมมือกันหลายฝ่ายทั้งฝ่ายตำรวจ ฝ่ายปกครอง ตรวจคนเข้าเมืองด้วย”นายกฤษฎา กล่าว นายกฤษฎา กล่าวด้วยว่า เพราะฉะนั้นถ้าภาคประชาคมหรือกลุ่มเอ็นจี ที่มีข้อมูลขบวนการค้ามนุษย์ในพื้นที่ […]

ข่าวดี !!! ยาเอดส์หมดสิทธิบัตรเพิ่มโอกาสผู้ป่วยข้ามชาติรับยา

เอ็นจีโอเผยยาต้านไวรัสเอชไอวี’เอฟฟาไวเรนซ์’หมดสิทธิบัตรแล้ว เพิ่มโอกาส ผู้ป่วยข้ามชาติรับยาราคาถูก เตรียม เข้าพบ ผอ.อภ.สัปดาห์หน้าหวังผลิตเองในประเทศ นายนิมิตร์ เทียนอุดม ผู้อำนวยการมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ เปิดเผยว่า ปัญหาการได้รับสิทธิรักษาพยาบาลในกลุ่มแรงงานข้ามชาติมีมาตลอด แม้กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) จะมีนโยบายดูแลสุขภาพคนกลุ่มนี้ด้วยการขายบัตรประกันสุขภาพในราคา 2,800 บาทต่อคน เพื่อครอบคลุมการรักษาพยาบาลต่างๆ แต่ปรากฏว่าในความเป็นจริงคนกลุ่มนี้ยังไม่ได้รับการรักษาเท่าที่ควร โดยเฉพาะในกลุ่มแรงงานข้ามชาติที่ป่วยโรคเอชไอวี/เอดส์ ซึ่งปัจจุบันมีประมาณ 10,000 คน และต้องใช้ยาต้านไวรัสเอชไอวีในกลุ่ม “เอฟฟาไวเรนซ์” แต่ปัญหาคือ โรงพยาบาลส่วนใหญ่ไม่อยากรวมการรักษาด้วยยาต้านไวรัสชนิดนี้ในบัตรสุขภาพของ สธ. เนื่องจาก มีราคาแพง เพราะไม่สามารถซื้อได้ในราคาเหมือนผู้ป่วย คนไทยที่ได้รับสิทธิการใช้ยาจากกรณีการประกาศใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตรโดยรัฐ หรือซีแอล ซึ่งเป็นความร่วมมือในการลดราคายาต้านไวรัสที่มีราคาแพงลง นายนิมิตร์กล่าวว่า ปัญหาดังกล่าวทำให้แรงงานข้ามชาติต้องซื้อยาเองบ้าง บ้างก็ต้องใช้วิธีการรับบริจาคยาจากกลุ่มที่มีอาการดีขึ้น รวมทั้งบุคคลรอพิสูจน์สถานะในกองทุนคืนสิทธิของ สธ. ก็ไม่สามารถใช้ยาตัวนี้ได้ ต้องซื้อในราคาแพง ตกค่าใช้จ่ายคนละ 600-700 บาทต่อเดือน ขณะที่ผู้ป่วยไทยจะสามารถซื้อได้ตามสิทธิซีแอล ทำให้มีราคาถูกลงเพียง 450-500 บาทต่อเดือน อย่างไรก็ตาม ล่าสุดเป็นข่าวดีเนื่องจาก ยาเอฟฟาไวเรนซ์ หมดอายุสิทธิบัตรลงไปเมื่อเดือนมิถุนายน 2556 นั่นหมายความว่าไม่ว่ากรณีใดๆ ก็จะสามารถซื้อยาชนิดนี้ได้ในราคาถูกลง โดยเฉพาะองค์การเภสัชกรรม […]

ต่างด้าวหัวใสซื้อประกันรักษาโรคเอดส์อื้อ 70%

กก.บอร์ด สปสช.ภาคประชาชน เตรียมข้อมูลเสนอคืนการบริหารกลุ่มคนรอพิสูจน์สถานะให้ สปสช.ดูแล เผย “บัตรประกันแรงงานต่างด้าว” ของ สธ.ขายไม่ตรงกลุ่มเป้าหมายแรงงานพม่า เขมร ลาว แต่กลับขายได้มากในกลุ่มผู้ป่วยเอดส์ต่างด้าวถึง 70% ของยอดที่ซื้อประกัน นายนิมิตร์ เทียนอุดม กรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ภาคประชาชน ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ถอดสิทธิกลุ่มรอพิสูจน์สถานะบุคคลออกจากระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เข้าสู่กองทุนคืนสิทธิขั้นพื้นฐานด้านสาธารณสุขสำหรับคนมีปัญหาสถานะและสิทธิของกระทรวงสาธารณ สุข (สธ.) ทำให้คนกลุ่มนี้ไม่สามารถรับการรักษาพยาบาลได้ ว่า โครงการดูแลสุขภาพของผู้รอพิสูจน์สถานะนั้นเป็นโครงการที่มีประโยชน์มีความสำคัญ แต่ในเรื่องของตัวเลขยังมีความสับสนอยู่ ดังนั้นจะเป็นไปได้หรือไม่ที่จะโอนการดูแลกลุ่มคนดังกล่าวกลับมาให้ สปสช.ดูแลแทน สธ. ซึ่งก่อนหน้านี้ตนได้เสนอเรื่องเข้าที่ประชุมบอร์ด สปสช.แล้ว และประธานบอร์ด นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ ได้ให้กลับไปหาข้อมูลโครงการพร้อมทั้งกฎหมายที่เกี่ยวข้องมาเสนอเพิ่มเติมในการประชุมวันที่ 9 เม.ย.นี้ ทั้งนี้ การที่กฎหมายกำหนดให้ สปสช.ดูแลเฉพาะสิทธิของคนไทยเท่านั้น ในขณะที่กลุ่มเอ็นจีโอมองว่า สปสช.น่าจะดูและสิทธิการรักษาพยาบาลของผู้ที่อยู่ในราชอาณาจักรไทยด้วย นอกจากนี้ ในกรณีการดูแลแรงงานต่างด้าวในประเทศไทยที่ สธ.ให้ซื้อบัตรประกันสุขภาพแรงงานต่างด้าวนั้น ขณะนี้ยังมีปัญหากลุ่มที่ผู้ซื้อไม่ตรงกลุ่มเป้าหมายที่ตั้งไว้ว่าควรเป็นแรงงานจากประเทศ พม่า กัมพูชา และลาว เนื่องจากการออกประกาศในตอนแรกระบุว่าต้องเป็นแรงงานที่ไม่สามารถเข้าสู่ระบบประกันสังคมได้ แต่ไม่ได้ระบุอย่างชัดเจนว่าเฉพาะแรงงานต่างด้าวจาก 3 ประเทศนี้เท่านั้น อย่างไรก็ตาม […]

กระทรวงแรงงาน ร่วมกับ 9 ประเทศอาเซียน ยกร่างแนวทางดูแลแรงงานอาเซียน โดยระยะแรกเน้นดูแลแรงงานถูกกฎหมาย

แหล่งที่มา : Radio-สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย กระทรวงแรงงาน ร่วมกับ 9 ประเทศอาเซียน ยกร่างแนวทางดูแลแรงงานอาเซียน โดยระยะแรกเน้นดูแลแรงงานถูกกฎหมาย  ม.ล.ปุณฑริก สมิติ รองปลัดกระทรวงแรงงาน ในฐานะประธานคณะทำงานยกร่างตราสารอาเซียน ว่าด้วยการคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของแรงงานต่างด้าว กล่าวว่า ได้ประชุมคณะทำงานยกร่างตราสารอาเซียน ว่าด้วยการคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของแรงงานต่างด้าว ครั้งที่ 11 มีตัวแทน 9 ประเทศเข้าร่วม ที่กรุงจาการ์ตา สาธารณรัฐอินโดนีเซีย โดยที่ประชุมได้หารือถึงกรอบร่างตราสารหรือแนวทางการปฏิบัติตามปฏิญญาอาเซียนฯ ซึ่งมีข้อตกลงร่วมกันว่า ระยะแรกของการดำเนินการตามปฏิญญาอาเซียนฯ จะเน้นดูแลแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งประเทศที่เป็นผู้ส่งแรงงาน ต้องควบคุมค่าใช้จ่ายการเดินทางและการจัดทำเอกสาร เพื่อไม่ให้มีการเก็บค่าใช้จ่ายสูงเกินจริง และดูแลสัญญาจ้าง รวมทั้งป้องกันการหลอกลวงจากนายหน้าเถื่อน ขณะที่ ผู้รับแรงงานต้องดูแลไม่ให้มีการหลอกลวงแรงงานต่างด้าว ดูแลให้มีการทำสัญญาจ้างให้มีการจ้างงานถูกต้องตามกฎหมาย มีการออกใบอนุญาตทำงาน รวมไปถึงการจ่ายค่าจ้าง การคุ้มครองแรงงานและสิทธิประโยชน์ให้เป็นไปตามที่กฎหมายคุ้มครองแรงงานของประเทศผู้รับกำหนด ส่วนเรื่องสิทธิประโยชน์ด้านประกันสังคม แต่ละประเทศมีข้อกำหนดที่แตกต่างกัน และสิทธิการรวมตัวและเจรจาต่อรอง ยังไม่สามารถทำข้อตกลงร่วมกันได้ ทั้งนี้ จะรายงานข้อสรุปเบื้องต้น ในการยกร่างตราสารอาเซียนฯ ในที่ประชุมปลัดกระทรวงแรงงานของอาเซียน ซึ่งจะประชุมกันช่วงเดือนเมษายนนี้ ที่กรุงเนปิดอว์ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ เพื่อนำรายงานต่อไปยังที่ประชุมรัฐมนตรีแรงงานอาเซียน ซึ่งประชุมที่เมียนมาร์เช่นกัน หลังจากนั้นคณะทำงานฯจะประชุมอีกครั้งในเดือนพฤษภาคมนี้เพื่อพิจารณาในรายละเอียดต่อไปโดยตั้งเป้าหมายจะยกร่างตราสารอาเซียนให้แล้วเสร็จภายในปีนี้ Share to:Facebook Twitter Google […]

1 4 5 6 7 8 56
Copyright © 2018. All rights reserved.