admin

โครงการสำนักกฎหมายเพื่อการพิทักษ์สิทธิ์ ลงพื้นที่ เพื่อไปอบรมให้ความรู้แก่ สามเณร ที่กำลังศึกษาในโรงเรียนพระธาตุเวียงฮ่อปริยัติศึกษา

เมื่อวันที่ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๕๖ ที่ผ่านมา โครงการสำนักกฎหมายเพื่อการพิทักษ์สิทธิ์ ลงพื้นที่ เพื่อไปอบรมให้ความรู้แก่ สามเณร ที่กำลังศึกษาในโรงเรียนพระธาตุเวียงฮ่อปริยัติศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงราย เขต ๒ อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย ในโรงเรียนแห่งนี้มีสามเฌรที่กำลังศึกษาในระดับมัธยมศึกษาปีที่ ๑ ถึงมัธยมศึกษาปีที่ ๓ ทั้งสิ้น ๘๕ รูป สามเณรที่มาศึกษาเล่าเรียนในโรงเรียนพระธาตุเวียงฮ่อปริยัติศึกษา ส่วนใหญ่เป็นนักเรียนกลุ่มชาติพันธ์อาข่า ลาหู่ ลีซู และม้ง สามเณรส่วนใหญ่มาจากหลายพื้นที่ใน อำเภอเทิดไทย อำเภอเวียงป่าเป้า อำแภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย และ พื้นที่ อำเภอแม่อาย อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ เนื้อหาการอบรมเน้นทำความเข้าใจกับสามเณรที่ไร้สัญชาติ ในช่องการการจัดการความรู้เรื่อง มาตรา ๗ มาตรา ๗ ทวิ มาตรา ๒๓ เพื่อให้สามเณรที่เข้ารับการอบรมได้รับความรู้และเข้าใจปัญหาและช่องทางกี่ขอสถานะบุคคลของตนเอง รัชนีวรรณ สุขรัตน์ : เรียบเรียง

อบจ.เชียงใหม่ชงเปิดด่านถาวรหลักแต่ง-เวียงแหง เชื่อมเนปิดอว์ ชี้ศักยภาพเป็น ‘แม่สาย2′

วันที่ 24 พฤษภาคม 2558 นายบุญเลิศ บูรณุปกรณ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) เชียงใหม่ กล่าวว่า การเปิดประชาคมอาเซียน AEC ที่จะถึงในปลายปี 2558 นี้ จะมีผลบวกทางด้านการค้าและเศรษฐกิจจากการผลักดันเปิดจุดผ่านแดนถาวรบ้านหลักแต่ง อำเภอเวียงแหง เพราะมีสภาพสมบูรณ์แบบไม่ต่างจากแม่สายแห่งที่ 2 เนื่องจากสามารถเดินทางไปสู่เนปิดอว์ เมืองหลวงใหม่ ประเทศเมียนมา ระยะทางแค่ 200 กิโลเมตร โดยที่ผ่านมาได้ร่วมเดินทางไปสำรวจเส้นทางและจุดผ่านแดนหลักแต่งพร้อม พล.ท.สุทัศน์ จารุมณี ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองทัพบก “ซึ่งหากเปิด AEC เชื่อว่าจีนสนใจลงทุนทำถนนเชื่อมแน่นอน เพราะเส้นทางนี้ผ่านชนกลุ่มน้อยไทยใหญ่ ซึ่งสามารถเจรจาตกลงกันได้ลงตัว และในแง่ความมั่นคงทางทหารก็เห็นด้วย เชื่อว่าต่อไปจะเป็นดิวตี้ฟรี DUTY FREE ที่สร้างความเจริญเพราะในแง่ของพื้นที่ดีกว่าแม่สายด้วยซ้ำ โดยเส้นทางจากเชียงใหม่ไปเวียงแหงประมาณ 2 ชั่วโมง หรือจะปรับเส้นทางลัดเลียบแม่น้ำแตงผ่านบ้านกึ้ดช้างไปย่นระยะทางให้ใกล้เข้ามาได้อีก แม้จะชันไปหน่อยแต่ อบจ.พร้อมปรับถนนให้สามารถเดินทางเชื่อมต่อไปได้ง่ายขึ้น ที่มา : http://www.hedlomnews.com/?p=8042

กว่าหนูจะได้ถือสัญชาติไทย !!!

บันทึกขั้นตอนการปฏิบัติงานของทีมงานมูลนิธิกระจกเงาในการให้ความช่วยเหลือกรณีคำร้องเด็กหญิงเอมอร แสงคำ “น้องการ์ตูน” โดย นางสาวรัชนีวรรณ สุขรัตน์ เจ้าหน้าที่มูลนิธิกระจกเงา ซึ่งทำงานภายใต้โครงการคุ้มครองสิทธิเด็กไร้รัฐไร้สัญชาติ (Stateless Children Project :SCPP) เมื่อวันที่ ๒ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๖ ——————————————————————————— กว่าหนูจะได้ถือสัญชาติไทย !!! น้องเอมอร เด็กน้อยชนเผ่าไทยใหญ่ ที่เพิ่งได้รับสัญชาติไทย ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา เมื่อมองย้อนกลับไปคำถามผุดขึ้นมามากมาย น้องไปอยู่ไหน? พ่อแม่ทำอะไร? ทำไม ทำไม ?? น้องเพิ่งได้สัญชาติไทย การได้มาซึ่งสัญชาติไทยสำหรับคนอย่างเรามันไม่ใช่เรื่องยุ่งยากใดใดเลย เรารู้แค่เพียงว่าสมัยเรา ๆ ท่าน ๆ อายุครบ๑๕ ปีบริบูรณ์ พ่อแม่ก็จูงมือไปอำเภอเพื่อไปทำบัตรประชาชนใบแรก ความรู้สึกกับการได้มาซึ่งบัตรประชาชนในแรกต้องบอกว่าตื่นเต้นน่าดูเลยทีเดียว สมัยนี้บัตรประชาชนเริ่มกันทำเมื่ออายุครบ ๗ ปีบริบูรณ์ คุณครูจะนัดนักเรียนไปทำบัตรประชาชนเพื่อความสะดวกรวดเร็วและความสะดวกในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ประจำอำเภอ ส่วนใครไม่สวะดวกในช่วงเวลาดังกล่าวก็ให้พ่อมาพาไปทำบัตรประชาชนใบแรก แต่ใครรู้ไหมว่ามีเด็กอีกหลายต่อหลายคนในแถบพื้นที่นี้ที่พวกเขาไม่สามารถมีบัตรประชาชนใบแรกได้เหมือนเพื่อน ๆ น้องเอมอรเป็นหนึ่งในเด็ก ๆ กลุ่มนี้ที่ต้องเผชิญปัญหาด้านสถานะบุคคล เพียงเพราะขณะที่เธอลืมตาดูโลก แม่ของเธอยังไร้ซึ่งสัญชาติไทย เธอเกิดมามีแม่พ่อเป็นต่างด้าวเข้าเมื่องถูกกฎหมาย วันที่น้องเอมอรคลอดพ่อได้ไปแจ้งเกิดที่อำเภอเมืองเชียงราย […]

รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ สายสุนทร : ภารกิจสปช.ปฏิรูปแก้ปัญหาคนไร้สัญชาติ

คนไร้สัญชาติ เป็นปัญหายาวนานในสังคมไทย ซึ่งหลายภาคส่วนพยายามแก้ไขกันมาตลอด เกี่ยวกับเรื่องนี้ ทีมข่าวเออีซีนิวส์ (AEC NEWS) ได้สัมภาษณ์ รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ สายสุนทร อาจารย์คณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ถึงบทบาทของสปช.ในการเข้าไปปฏิรูป เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ กล่าวว่า การปฏิรูปเพื่อแก้ไขปัญหาคนไร้สัญชาติ มี 3 เรื่องดังนี้ 1.คณะกรรมาธิการปฏิรูปการศึกษาให้มีคณะอนุกรรมการเข้ามาดูแลเด็กชาติพันธุ์ให้มีการเข้ามาดูเรื่องการจัดการลักษณะทางการศึกษาที่เหมาะสมกับกลุ่มคนเหล่านั้น และจะครอบคลุมไปถึงบุตรของคนไทยที่ตกไปเป็นคนไร้สัญชาติในต่างประเทศ 2.ในเรื่อง สวัสดิการทางสังคมนั้นซึ่งจะอยู่ในคณะกรรมาธิการปฏิรูปสังคม สวัสดิการทางสังคมเป็นสิ่งที่มนุษย์ต้องมีทุกคนเพราะเอื้อต่อคุณภาพชีวิตซึ่งไม่จำเป็นว่าจะต้องมีบัตรประชาชนไทยหรือไม่ เพราะรวมอยู่ในสิทธิขั้นพื้นฐาน สิ่งนี้จะเท่ากันในด้านคุณภาพแต่จะไม่เท่ากันสืบเนื่องจากผู้ที่ได้รับผลประโยชน์ในกรณีของเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุต้องเป็น คนชราถือสัญชาติไทย 3.เสนอให้ยกเลิก 12 ประเด็นซึ่งอยู่ในคณะกรรมาธิการปฏิรูปกฎหมายและการยุติธรรม ประเด็นของการเข้าถึงกฎหมายของคนไร้สัญชาตินั้น รศ. ดร.พันธุ์ทิพย์ ได้อธิบายว่า คนไร้สัญชาติสามารถเข้าถึงในทางกฏหมายได้เพราะประเทศไทย มีกฎหมายที่เปิดกว้างแต่จะไม่ดีตรงที่ถ้าหากประชาชนยังไม่รู้กฎหมาย ซึ่งจะเกิดขึ้นในกลุ่มบุคคลไร้สัญชาติที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกล รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ ได้กล่าวว่าในเรื่องของการเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานของคนไร้สัญชาตินั้นสามารถเข้าถึงได้เพราะอยู่ในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนที่มีทั้งหมด 30 ข้อ สำหรับการแก้ไขพระราชบัญญัติสัญชาติ รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์เห็นว่าไม่มีในส่วนที่แก้ไข ซึ่งในการแก้ไขในเรื่องกลุ่มบุคคลไม่ได้อยู่ที่การแก้ไขพระราชบัญญัติแต่อยู่ที่ว่าจะมีความเชื่อมโยงกับกฏหมายฉบับอื่น เช่นเดียวกับกรณีกฏหมายในสหภาพยุโรปซึ่งทำให้ปัญหาและกลุ่มบุคคลที่ไร้รัฐไร้สัญชาติลดลง สิ่งนี้เป็นสิ่งที่จะต้องติดตามต่อไปว่าการปฏิรูปเรื่องคนไร้สัญชาติ ที่ปฏิรูปโดยสภาปฏิรูปแห่งชาติจะออกมาในทิศทางใดแล้วคนไร้สัญชาติจะได้รับประโยชน์อย่างแท้จริงหรือไม่ Sun, 07/19/2015

จากดินสู่ดาว.. “แข้งกะเหรี่ยงในแดนผู้ดี”

ปฏิเสธไม่ได้นะครับว่าสโมสร “ดาบคู่” เชฟฟิลด์ ยูไนเต็ด ทีมจาก ลีก วัน ของอังกฤษ ได้กลายเป็นที่สนใจของโลกฟุตบอลขึ้นมาทันทีที่พวกเขาเซ็นสัญญากับนักฟุตบอลวัย 18 ปีคนหนึ่งเมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมาโดยนักฟุตบอลดาวรุ่งคนดังกล่าวมีนามว่า “เกลอ เฮห์” หลายคนคงเลิ่กคิ้วด้วยความฉงนสงสัยว่า ไอ้หนูวัย 18 ปีที่ชื่อแปลกๆคนนี้มีความสำคัญอย่างไร ขนาดทำให้การเซ็นสัญญาเป็นนักฟุตบอลอาชีพกับ เชฟฟิลด์ ยูไนเต็ด ของเจ้าตัวกลายเป็นที่สนใจและถูกจับตาในโลกฟุตบอล แต่ถ้าผมบอกว่า เกลอ เฮห์ ดาวเตะวัย 18 ปีที่ได้สัญญานักฟุตบอลอาชีพจาก เชฟฟิลด์ ยูไนเต็ด เป็นชาวกะเหรี่ยง ซึ่งเกิดและเติบโตในค่ายผู้อพยพลี้ภัยชาวกะเหรี่ยงอุ้มเปี่ยมของไทย เชื่อเหลือเกินว่าความฉงนสงสัยของหลายๆคนคงจะจืดจางหายไป แล้วแปรเปลี่ยนเป็นความสนใจถึงที่มาที่ไปของเจ้าหนูชาวกะเหรี่ยงวัย 18 ปีคนนี้แทนครับ ครอบครัวของ เกลอ เฮห์ นั้น เป็นชาวกะเหรี่ยงที่ถูกรัฐบาลเมียนมากดดันอย่างหนักในประเทศ จนทำให้ต้องอพยพลี้ภัยมายังประเทศไทย กระทั่งได้มาอยู่ที่ค่ายผู้อพยพลี้ภัยชาวกะเหรี่ยงอุ้มเปี่ยม บริเวณชายแดนไทย-เมียนมา ที่จังหวัดตาก ซึ่งที่นี่เองที่เป็นถิ่นกำเนิดของ เกลอ เฮห์ แน่นอนว่าสภาพความเป็นอยู่ของ เกลอ เฮห์ และครอบครัว ไม่ได้สุขสบายมากนัก ถึงขั้นลำบากด้วยซ้ำ รวมทั้งพวกเขาไม่มีแม้กระทั่งสัญชาติที่ถูกต้องตามกฏหมายไม่ว่าจะเป็น เมียนมา […]

ยูเอ็นเตือนยอดเหยื่อน้ำท่วม ‘พม่า’พุ่ง หลายปท.เอเชียสำลักฝน-โคลนถล่ม

เอเอฟพี – ยูเอ็นเตือนน้ำท่วมฉับพลันและดินถล่มในพม่ามีแนวโน้มสร้างความเสียหายรุนแรงขึ้น โดยขณะนี้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 27 คน และส่งผลต่อประชาชนกว่า 150,000 คน ขณะที่ฤดูมรสุมยังสร้างความเดือดร้อนในอีกหลายประเทศของภูมิภาคแถบนี้ รัฐบาลพม่าประกาศให้ 4 พื้นที่ภาคกลางและภาคตะวันตกเป็นเขตภัยพิบัติแห่งชาติ โดยบริเวณที่ประสบภัยพิบัติรุนแรงที่สุดคือรัฐชินและยะไข่ทางตะวันตก เมื่อถึงวันอาทิตย์ (2 ส.ค.) พบผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 27 ราย และมีประชาชนได้รับผลกระทบ 156,000 คน ความพยายามในการกู้ภัยต้องเผชิญอุปสรรคจากฝนที่ยังตกลงมาอย่างหนักต่อเนื่อง ทำให้ไม่สามารถเข้าถึงพื้นที่ห่างไกลหลายแห่ง สำนักงานเพื่อการประสานงานด้านมนุษยธรรม (โอซีเอชเอ) แห่งสหประชาชาติ แถลงในวันอาทิตย์ (2) ว่า ได้รับแจ้งจากกระทรวงบรรเทาทุกข์และย้ายถิ่นฐานของพม่าว่า มีผู้ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมในขณะนี้ 156,000 คน แต่มีแนวโน้มที่ตัวเลขจะเพิ่มขึ้นสูงมาก เนื่องจากยังมีอีกหลายพื้นที่ที่ทีมประเมินสถานการณ์ยังเข้าไม่ถึง โอซีเอชเอสำทับว่า ยอดผู้เสียชีวิตของทางการที่ 27 ราย อาจเป็นตัวเลขประเมินที่ต่ำเกินไปเช่นเดียวกัน ทางด้านสภากาชาดพม่าระบุว่า บ้านเรือน 300 หลังในยะไข่ถูกทำลายราบหรือได้รับความเสียหาย และประชาชนราว 1,500 คนต้องอพยพไปยังศูนย์หลบภัย ปัจจุบัน ยะไข่รองรับผู้พลัดถิ่นอยู่แล้ว 140,000 คน ส่วนใหญ่เป็นมุสลิมโรฮิงญาที่อยู่ในค่ายชั่วคราวริมชายฝั่ง หลังเหตุการณ์ปะทะรุนแรงระหว่างชนกลุ่มน้อยกลุ่มนี้กับชาวพุทธเมื่อปี […]

เมียนมาร์เตรียมสำรวจแรงงานในไทยเพื่อขึ้นทะเบียนคนมีสิทธิทำหนังสือเดินทาง

หนังสือพิมพ์เมียนมาร์ไทมส์รายงานว่ารัฐบาลพม่าโดยกระทรวงแรงงาน จะเริ่มสำรวจแรงงานสัญชาติเมียนมาร์หรือพม่าที่อยู่ในประเทศไทยเพื่อจะออกหนังสือเดินทางให้ โดยจะเริ่มในวันที่ 15 ส.ค.นี้ จะมีเจ้าหน้าที่เดินทางมายังประเทศไทยและเก็บข้อมูลจากเอกสารของบรรดาแรงงานพม่าเพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจ นสพ.รายงานว่า การสำรวจหนนี้จะใช้เวลาราว 3 เดือน คาดว่าจะออกหนังสือเดินทางได้ในราวเดือนธ.ค. ปลัดกระทรวงแรงงาน อู เมียว อ่องบอกว่า คนที่มีเอกสารหรือบัตรลงทะเบียน บวกกับบัตรที่ฝ่ายเจ้าบ้านในไทยขอออกให้เพื่อให้อาศัยอยู่ในไทยได้ชั่วคราวที่เรียกว่าบัตรสีชมพู คนกลุ่มนี้จะสามารถขอหนังสือเดินทางได้ทันที ส่วนคนที่มีแค่บัตรสีชมพูแต่ไม่มีเอกสารอย่างอื่นสนับสนุน ทางการจะออกเอกสารประจำตัวให้ซึ่งจะมีอายุใช้งาน 2 ปี คนกลุ่มนี้ข่าวระบุว่าเป็นกลุ่มคนที่หน่วยงานองค์กรพัฒนาเอกชนคาดว่าเป็นคนกลุ่มใหญ่ในบรรดาแรงงานพม่าที่ทำงานในไทย นสพ.เมียนมาร์ไทมส์รายงานด้วยว่า ทางการเมียนมาร์จะจัดทำคลังข้อมูลเก็บไว้กับสถานทูตเมียนมาร์ในไทย อย่างไรก็ตามโครงการจดทะเบียนแรงงานพม่านี้จะครอบคลุมเฉพาะคนที่นายจ้างรับรอง แต่ไม่รวมไปถึงคนที่ทำงานอิสระหรือทำงานในประเภทกิจการที่รัฐบาลไม่รับรองเช่นงานบ้านหรืองานด้านประมง นสพ.บอกว่า กลุ่มที่ทำงานช่วยเหลือแรงงานพม่าบางกลุ่มบอกว่า การสำรวจที่ว่านี้คงจะได้ผลแค่เป็นการเปิดโอกาสให้คนที่ต้องการเรียกเงินจากแรงงาน ขณะที่แรงงานพม่าบางรายบอกว่า โครงการใหม่ยิ่งทำให้สับสนเนื่องจากก่อนหน้านี้ก็ได้จ่ายเงินเพื่อจะต่ออายุบัตรสีชมพูไปแล้วเมื่อเดือนมิ.ย.ที่ผ่านมา ส่วนโก เซน เตย์แห่งเครือข่ายสิทธิแรงงานอพยพบอกว่า สิ่งที่ควรคำนึงถึงเวลานี้ด้วยก็คือ รัฐบาลไทยยังไม่เคยเอ่ยปากว่าจะให้วีซ่าแรงงานพม่า ที่มา : https://www.facebook.com/BBCThai/photos/a.1527194487501586.1073741828.15… Fri, 08/07/2015

กว่าจะถึงวันที่ฝันเป็นจริง

ชีวิตทุกชีวิตหากต้องพบเจอกับความมืดมิดก็ย่อมต้องดิ้นรนหาแสงสว่างนำทาง ชีวิตฉันเกิดมาเหมือนหลงเข้าไปในอุโมงค์ลึกที่มืดมิด เส้นทางชีวิตไร้แสงสว่างส่องนำทาง พ่อ แม่ พี่ น้อง ทุกคนต่างเหนื่อยล้าและบอกว่าขอยอมแพ้ แต่ฉันยังมีฝันถึงจะมีกำแพงกั้นขวางทางเดิน “ ฉันจะทลายกำแพงนั้นลงมาเอง ” เพื่อจะได้มองเห็นเส้นทางสู่ฝัน ในความมืดมิดหากมองอย่างตั้งใจ เราจะเห็นแสงสว่างส่องเข้ามาจากปลายอุโมงค์ ถึงแม้แสงมันจะริบหรี่แต่ที่นั่นก็ยังมีแสงส่องมาให้เห็น แสงแห่งฝันจากแดนไกลทำให้ฉันมีแรงฮึดสู้ ฉันตัดสินใจที่จะก้าวเดินออกไปหาแสงสว่าง จะไม่นั่งจมกับความหวังลมๆแล้งๆ ฉันจะหาหนทางทุกวิถีทางเพื่อให้ได้ออกไปจากอุโมงค์นี้ แต่แล้วฉันกลับพบว่ามันไม่ง่ายเลย ยิ่งฉันพยายามวิ่งตาม แสงสว่างนั้นเหมือนจะยิ่งไกลออกไปทุกที ด้วยสองเท้าก้าวเดินบนเส้นทางที่มืดมิด หลายต่อหลายครั้งที่ฉันต้องล้มลุกคลุกคลาน หลายต่อหลายครั้งที่ถูกขวากหนามทิ่มแทงทำให้ฉันแสนเจ็บปวด หลายต่อหลายครั้งที่ต้องพบกับผิดหวังเมื่อปลายทางอยู่ไกลเกินกว่าที่ฉันคิด มันไม่ง่ายเลยจริง ๆ กับเส้นทางเดินนี้ที่ฉันเลือกเผชิญ หลายครั้งที่อุปสรรคถาโถมเข้ามาจนแทบรับไม่ไหว หลายครั้งที่ท้อจนคิดอยากจะถอย แต่เมื่อมองย้อนกลับไประยะทางที่ที่ฉันก้าวเดินมามันไกลเกินกว่าที่ฉันจะย้อนกลับไปได้เสียแล้ว ก่อนการก้าวเดินก้าวแรก ฉันได้แบกรับความหวังของใครหลายๆคนมาด้วย วันนี้ถ้าหยุดเดินและหันหลังกลับ ทิ้งความหวังไว้กลางเส้นทางเท่ากับว่าฉันได้เอาความหวังของทุกคนมาทิ้งไว้กลางเส้นทาง ฉันทำเช่นนั้นไม่ได้ ฉันจะยอมแพ้ไม่ได้เด็ดขาด ฉันไม่มีสิทธิ์ทำลายความหวังของใคร ฉันต้องทำให้ทุกคนที่รอคอยสมหวัง เพราะ “ ฉันไม่ได้เกิดมาเพื่อยอมแพ้ ” “ ต่างด้าว ” คำๆนี้ยังดังก้องในหูฉันจนถึงทุกวันนี้ คำเดียวที่ทำให้ฉันหดหู่ใจทุกครั้งเมื่อได้ยินคำนี้ ฉันเชื่อว่าไม่มีใครภูมิใจกับคำนี้แน่นอน คำที่ฉันถูกเรียกขาน ฉันรู้ซึ้งถึงความขมขื่นนั้นดีในฐานะผู้ถูกเรียกขาน มันแสนเจ็บปวด อับอายแค่ไหน […]

วัฒนธรรม คือต้นแบบการเรียนรู้ที่เหมาะสมของเด็ก

ในสภาพสังคมที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม ผู้คนได้เรียนรู้และรับวัฒนธรรมแปลกใหม่อย่างไม่เคยหยุดนิ่ง การจัดการเรียนการสอนตามระบบและหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานที่เข้าไปสู่ชุมชน ส่งผลให้เด็กและเยาวชนละเลยภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมของตนเอง โดยไม่คำนึงถึงการสืบทอดรักษาและฟื้นฟูวัฒนธรรมดั้งเดิม มุ่งแต่จะออกจากชุมชน และนำความทันสมัยทางเทคโนโลยีเข้าไปถ่ายทอดให้กับคนในชุมชนแทน ดังนั้น โครงการการพัฒนาระบบและกลไกการทำงานระดับพื้นที่ในรูปแบบของเครือข่ายเพื่อการพัฒนาเด็กและเยาวชน ภายใต้การสนับสนุนของสำนักสนับสนุนสุขภาวะเด็ก เยาวชนและครอบครัว สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จึงมุ่งพัฒนาคุณภาพของเด็กและเยาวชนผ่านกระบวนการเรียนรู้ และการทำงานแบบมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ให้ขับเคลื่อนชุมชนและโรงเรียนที่มีศักยภาพเป็นต้นแบบ ด้านการจัดการเรียนรู้ในชุมชนท้องถิ่น โดยเปิดเป็นพื้นที่สร้างสรรค์สำหรับเด็กและเยาวชนในการค้นหาวิธีการดำเนินชีวิตและการงานอาชีพที่หลากหลายด้วยกระบวนการระดมความร่วมมือจากทุกภาคส่วนตามบริบทของแต่ละพื้นที่ ด้วยการสร้างความเข้าใจร่วมกัน นางสาวลำยอง เตียสกุล ผู้ประสานงานโครงการการพัฒนาระบบและกลไกฯ กล่าวว่า โครงการดังกล่าว มีเป้าหมายการพัฒนาระบบและกลไกการจัดการเรียนรู้เพื่อเด็กและเยาวชน ด้วยการให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมอย่างแท้จริง โดยดำเนินงานใน 7 ชุมชน 7 จังหวัด ประกอบด้วย ภาคใต้ เครือข่ายโรงเรียนตักวาชุมชนศรัทธา จังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา และ จังหวัดนราธิวาส ภาคกลาง เครือข่ายโรงเรียนขนาดเล็ก อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ภาคอีสานสภาองค์กรชุมชนเทศบาลเมืองเสนานิคมและเครือข่ายเด็กเยาวชน อำเภอเสนานิคม จังหวัดอำนาจเจริญ กลุ่มเด็กเยาวชนลูกอีสานหลานทรายมูล จังหวัดยโสธร ภาคเหนือ เครือข่ายกลุ่มชาติพันธุ์บนที่สูง จังหวัดเชียงใหม่และเครือข่ายเด็กเยาวชนชนเผ่าพื้นเมือง โดยการจัดกิจกรรมของภาคเหนือดังกล่าว โครงการได้ร่วมกับสมาคมศูนย์รวมการศึกษาและวัฒนธรรมของชาวไทยภูเขาในประเทศไทย (ศ.ว.ท.) หรือ IMPECT […]

ฝันของน.ร.ชายแดน สิทธิ-สัญชาติไทย

เด็กน้อยเดินเรียงแถวมาลงชื่อ เพื่อให้ข้อมูลเรื่องปัญหาสิทธิสถานะบุคคล และฟังแนวทางการแก้ไขปัญหาของพวกเขา เมื่อแล้วเสร็จต่างพากันไปรวมตัวในห้องประชุมนั่งฟังการบรรยายปัญหาเด็กไร้สัญชาติของนักเรียนชายแดน เด็กโตที่ฟังรู้เรื่องต่างฟังอย่างตั้งใจ ขณะที่เด็กเล็กที่ไม่เข้าใจเนื้อหาการบรรยาย ก็พากันเล่นสนุกหยอกล้อเย้าแหย่กับเพื่อนไม่สนใจฟัง เด็กๆ เหล่านี้ คือคนที่มีชีวิต มีเลือดเนื้อ และมีจิตวิญญาณเหมือนกับคนทั่วไป แต่ด้วยวิถีชีวิตที่พวกเขายังชีพอยู่ในป่าเขาตามแนวชายแดน ซึ่งข้ามไปมาระหว่างประเทศพม่าและไทย ขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ ทำให้ภายหลังการเกิดขึ้นของรัฐชาติสมัยใหม่ ที่ขีดเส้นกำหนดเขตแดนประเทศอย่างชัดเจน ส่งผลให้พวกเขากลายเป็น “คนไร้รัฐ ไร้สัญชาติ” ทั้งที่ก็เป็นคนเหมือนกับเรา แต่แตกต่างเพียงแค่สังกัดในนาม “รัฐชาติ”เท่านั้น ด้วยปัญหาของเด็กไร้รัฐ ไร้สัญชาติ ที่ยังมีจำนวนมากในประเทศ ไทย คณะกรรมการศึกษาแนวทางแก้ไขการไร้สถานะและสิทธิของนักเรียนโรงเรียน ตชด. สภาการพยาบาล ลงพื้นที่โรงเรียน ตชด.บ้านถ้ำหิน และโรงเรียน ตชด.ตะโกปิดทอง อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี ที่อยู่ติดกับประเทศพม่า เพื่อรับทราบข้อมูลและสภาพปัญหาของนักเรียน จะได้หาหนทางช่วยเหลือด้านสถานะทางทะเบียนตามข้อเท็จจริงให้ถูกต้องตามกฎหมาย โดยร่วมกับสำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย และสำนักทะเบียน อ.สวนผึ้ง มาจัดทำทะเบียนประวัติให้เด็กนักเรียน ขณะที่ฝ่ายนิติเวชศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ร่วมส่งเจ้าหน้าที่มาตรวจเลือดเด็กนักเรียนบางรายที่มีพ่อหรือแม่เป็นคนไทย แต่ไม่ได้แจ้งเกิด ในโครงการตรวจพิสูจน์พันธุกรรมให้กับบุคคลไร้สัญชาติ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ โรงเรียน […]

1 57 58 59 60 61 72
Copyright © 2018. All rights reserved.