กว่าหนูจะได้ถือสัญชาติไทย !!!

บันทึกขั้นตอนการปฏิบัติงานของทีมงานมูลนิธิกระจกเงาในการให้ความช่วยเหลือกรณีคำร้องเด็กหญิงเอมอร แสงคำ “น้องการ์ตูน”
โดย นางสาวรัชนีวรรณ สุขรัตน์
เจ้าหน้าที่มูลนิธิกระจกเงา ซึ่งทำงานภายใต้โครงการคุ้มครองสิทธิเด็กไร้รัฐไร้สัญชาติ (Stateless Children Project :SCPP)
เมื่อวันที่ ๒ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๖
———————————————————————————
กว่าหนูจะได้ถือสัญชาติไทย !!!

น้องเอมอร เด็กน้อยชนเผ่าไทยใหญ่ ที่เพิ่งได้รับสัญชาติไทย ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา เมื่อมองย้อนกลับไปคำถามผุดขึ้นมามากมาย น้องไปอยู่ไหน? พ่อแม่ทำอะไร? ทำไม ทำไม ?? น้องเพิ่งได้สัญชาติไทย
การได้มาซึ่งสัญชาติไทยสำหรับคนอย่างเรามันไม่ใช่เรื่องยุ่งยากใดใดเลย เรารู้แค่เพียงว่าสมัยเรา ๆ ท่าน ๆ อายุครบ๑๕ ปีบริบูรณ์ พ่อแม่ก็จูงมือไปอำเภอเพื่อไปทำบัตรประชาชนใบแรก ความรู้สึกกับการได้มาซึ่งบัตรประชาชนในแรกต้องบอกว่าตื่นเต้นน่าดูเลยทีเดียว
สมัยนี้บัตรประชาชนเริ่มกันทำเมื่ออายุครบ ๗ ปีบริบูรณ์ คุณครูจะนัดนักเรียนไปทำบัตรประชาชนเพื่อความสะดวกรวดเร็วและความสะดวกในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ประจำอำเภอ ส่วนใครไม่สวะดวกในช่วงเวลาดังกล่าวก็ให้พ่อมาพาไปทำบัตรประชาชนใบแรก
แต่ใครรู้ไหมว่ามีเด็กอีกหลายต่อหลายคนในแถบพื้นที่นี้ที่พวกเขาไม่สามารถมีบัตรประชาชนใบแรกได้เหมือนเพื่อน ๆ น้องเอมอรเป็นหนึ่งในเด็ก ๆ กลุ่มนี้ที่ต้องเผชิญปัญหาด้านสถานะบุคคล เพียงเพราะขณะที่เธอลืมตาดูโลก แม่ของเธอยังไร้ซึ่งสัญชาติไทย
เธอเกิดมามีแม่พ่อเป็นต่างด้าวเข้าเมื่องถูกกฎหมาย วันที่น้องเอมอรคลอดพ่อได้ไปแจ้งเกิดที่อำเภอเมืองเชียงราย พ่อแม่ทำทุกอย่างตามที่กฎหมายกำหนดให้น้องเอมอรได้รับสิทธิตามหลักดินแดนที่เด็กคนหนึ่งได้ถือกำเนิดบนผืนดินไทยนี้
พ่อแม่ใช้สิทธิบนผืนดินเกิดให้น้องเอมอร ตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
ข้อ ๗
๑. เด็กจะได้รับการจดทะเบียนทันทีหลังการเกิด และจะมีสิทธิที่จะมีชื่อนับแต่เกิด และสิทธิที่จะได้สัญชาติ และเท่าที่จะเป็นไปได้ สิทธิที่จะรู้จัก และได้รับการดูแลเลี้ยงดูจากบิดามารดาของตน
๒. รัฐภาคีจะประกันให้มีการปฏิบัติตามสิทธิเหล่านี้ตามกฎหมายภายในและพันธกรณีของรัฐภาคี ที่มีอยู่ภายใต้ตราสารระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องในเรื่องนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่เด็กจะตกอยู่ในสถานะไร้สัญชาติ
ประมาณต้นเดือน พฤษภาคม ๒๕๕๕
นางสาวนาง อินทร มารดาน้องเอมอร แสงคำ เดินทางมามูลนิธิกระจกเงา มาพบนางสาวสุรี อุ่ยแม เจ้าหน้าที่มูลนิธิกระจกเงา ซึ่งทำงานภายใต้โครงการคุ้มครองสิทธิเด็กไร้รัฐไร้สัญชาติ (Stateless Children Protection Project : SCPP) เพื่อมาขอคำปรึกษาและ นำเอกสารมาสอบถามเพื่อหาแนวทางการยื่นขอสถานะบุคคลของน้องเอมอร ซึ่งช่วงเวลานั้นพ่อน้องเอมอร เพิ่งเสียชีวิตไม่นานจากการตรวจสอบเอกสาร (๑) สูติบัตร (๒)ทะเบียน ทร.๑๓ (๓)ทะเบียนประวัติชุมชนบนพื้นที่สูง (๔)บัตรประชาชนมารดา
นางสาวสุรีย์ วิเคราะห์จากเอกสาร แม่ เกิดในประเทศไทย และได้รับอนุมัติสัญชาติไทยตาม พระราชบัญญัติสัญชาติพ.ศ.๒๕๐๘ ฉบับแก้ไข (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๓๕ เมื่อปี ๒๕๔๙ ส่วนพ่อน้องเอมอรก่อนเสียชีวิต ถือบัตรผู้ซึ่งไม่มีสัญชาติไทย ตาและยายถือสถานะต่างด้าวเข้าเมืองชอบด้วยกฎหมาย ตัวน้องเอมอรเองคลอดที่โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ มีการแจ้งเกิด และมีสูติบัตรถูกต้อง จากการวิเคราะห์เบื้องต้น น้องเอมอรต้องยื่นขอสัญชาติไทย ตามมาตรา ๒๓ แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๑ “มาตรา ๒๓ บรรดาบุคคลที่เคยมีสัญชาติไทยเพราะเกิดในราชอาณาจักรไทยแตถูกถอนสัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๓๗ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๑๕ขอ ๑ และผูที่เกิดในราชอาณาจักรไทยแตไมไดสัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๓๗ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๑๕ ขอ ๒ รวมถึงบุตรของบุคคลดังกลาว ที่เกิดในราชอาณาจักรไทยกอนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใชบังคับและไมไดสัญชาติไทยตามมาตรา ๗ ทวิ วรรคหนึ่งแหงพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. ๒๕๐๘ ซึ่งเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสัญชาติ(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ ถาบุคคลผูนั้นอาศัยอยูจริงในราชอาณาจักรไทยติดตอกันโดยมีหลักฐานทางทะเบียนราษฎร และเปนผูมีความประพฤติดี หรือทําคุณประโยชนใหแกสังคมหรือประเทศไทยใหไดสัญชาติไทยตั้งแตวันที่พระราชบัญญัตินี้ใชบังคับ เวนแตผูซึ่งรัฐมนตรีมีคําสั่งอันมีผลใหเปนผูมีสัญชาติไทยแลวกอนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใชบังคับเมื่อพนกําหนดเกาสิบวันนับแตวันที่พระราชบัญญัตินี้ใชบังคับ ใหผูมีคุณสมบัติตามวรรคหนึ่งยื่นคําขอลงรายการสัญชาติในเอกสารการทะเบียนราษฎรตอนายทะเบียนอําเภอหรือนายทะเบียนทองถิ่นตามกฎหมายวาดวยการทะเบี ยนราษฎรแหงทองที่ที่ผูนั้นมีภูมิลําเนาในปจจุบัน”
๒๘ พฤษภาคม ๒๕๕๕
นางสาวสุรีย์ พาแม่และน้องเอมอร ไปติดต่อที่อำเภอเมืองเชียงรายเพื่อตรวจสอบการยื่นขอสถานะบุคคลของน้องเอมอร จากการตรวจสอบปรากฏว่า แม่ได้ยื่นคำร้องขอสถานะบุคคลให้น้องเอมอรตาม มาตรา ๗ ทวิ
“ผู้เกิดในราชอาณาจักรไทย โดยบิดาและมารดาเป็นคนต่างด้าวย่อมไม่ได้สัญชาติไทย ถ้าในขณะที่เกิด
บิดาตามกฎหมายหรือบิดาซึ่งมิได้สมรสกับมารดาหรือมารดาของผู้นั้นเป็น
(๑) ผู้ได้รับการผ่อนผันให้พักอาศัยอยู่ในราชอาณาจักรไทยเป็นกรณีพิเศษเฉพาะราย
(๒) ผู้ได้รับอนุญาตให้เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยเพียงชั่วคราว หรือ
ผู้ที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองในกรณีที่เห็นสมควร รัฐมนตรีจะพิจารณาและสั่งเฉพาะรายหรือเป็นการทั่วไปให้บุคคลตามวรรคหนึ่งได้สัญชาติไทยก็ได้ ตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด
ผู้เกิดในราชอาณาจักรไทยซึ่งไม่ได้สัญชาติไทยตามวรรคหนึ่งจะอยู่ในราชอาณาจักรไทยในฐานะใด ภายใต้เงื่อนไขใด ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรและสิทธิมนุษยชนประกอบกัน ในระหว่างที่ยังไม่มีกฎกระทรวงดังกล่าว ให้ถือว่าผู้นั้นเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง”
หลังจากแม่ได้รับอนุมัติสัญชาติไทย การยื่นคำร้องของสถานะบุคคลของน้องเอมอรยื่นมาเป็นเวลานานแล้ว (ไม่ระบุว่านานแค่ไหนในการยื่นครั้งแรก) และไม่มีทีท่าว่าจะได้รับการอนุมัติ นางสาวสุรีย์ขอยื่นขอสถานะทางทะเบียนให้น้องเอมอรใหม่ เปลี่ยนจากเดิมยื่นขอสัญชาติไทยตามมาตรา ๗ ทวิ เป็นยื่นขอสัญชาติตามมาตรา ๒๓ เพราะขณะที่ยื่นแม่ได้รับอนุมัติสัญชาติไทยแล้ว หลังการยื่นคำร้อง ทางอำเภอเมืองเชียงราย ได้ออกใบนัดให้น้องเอมอรและแม่มาสอบพยานยืนยันการอยู่อาศัยในพื้นที่ในวันที่ ๕ มิถุนายน ๒๕๕๕
๕ มิถุนายน ๒๕๕๕
แม่และน้องเอมอร พร้อมด้วย พยานยืนยันการอยู่อาศัย ๒ คนและผู้ใหญ่บ้านหมู่ ๑๐ เดินทางไปที่อำเภอเมืองเชียงราย เพื่อเซ็นต์รับรองเอกสารที่อำเภอเมืองเชียงราย และได้ยื่นคำร้องขอสัญชาติไทยให้น้องเอมอรตามมาตรา ๒๓ หลังเสร็จภารกิจที่อำเภอเมืองเชียงราย แม่น้องเอมอรได้โทมรมาแจ้งนางสาวสุรีย์ ให้รับทราบถึงการดำเนินการในวันนี้
๑๕ มิถุนายน ๒๕๕๕
นางสาวสุรีย์โทรสอบถามทางอำเภอเมืองเชียงราย ถึงคำร้องที่ยื่นขอสัญชาติไทยให้น้องเอมอร ตามมาตรา ๒๓ ว่าเอกสารที่ยื่นไปครบถ้วนไหม เจ้าหน้าที่อำเภอเมืองเชียงรายแจ้งว่าตอนนี้เอกสารได้รับครบถ้วนแล้ว และทางอำเภอได้ยื่นให้นายอำเภอเซ็นต์อนุมัติเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
นางสาวสุรีย์ได้โทรแจ้งความคืบหน้าให้แม่น้องเอมอรได้รับทราบ ถึงการเซ็นต์อนุมัติของนายอำเภอเมืองเชียงราย และแจ้งให้แม่น้องเอมอร ติดต่อเพื่อสอบถามที่อำเภอเมืองเชียงรายเรื่อย ๆ เพื่อสอบถามความคืบหน้า กรรีถ้าเกิดปัญหาให้แม่น้องเอมอรติดต่อกลับมาแจ้งที่นางสาวสุรีย์เพื่อจะได้หาช่องทางการให้ความช่วยเหลือเป็นลำดับต่อไป
ประมาณ เดือนเมษายน ๒๕๕๖
มารดาของน้องเอมอรได้ไปสอบถามความคืบหน้าของคำร้องฯกับเจ้าหน้าที่อำเภอแต่ทางเจ้าหน้าที่อำเภอบอกว่าคำร้องยังไม่มีความคืบหน้าใด ๆ ให้รอฟังจากผู้ใหญ่บ้านอีกทีหนึ่ง หลังจากวันนี้แม่ก็ไม่ได้เข้ามาติดต่อกับทางมูลนิธิกระจกเงา ถึงผลความคืบหน้าในการดำเนินการด้านคำร้องขอสัญชาติ
๓๐ ตุลาคม ๒๕๕๖
น้องเอมอร เดินทางมาที่มูลนิธิกระจกเงา เพื่อมาพบนางสาวสุรีย์ และแจ้งว่า ตนเองยังไม่ได้รับการอนุมัติสัญชาติไทย ยังความตกใจเป็นอย่างมาก เพราะนางสาวสุรีย์เองเข้าใจว่า น้องเอมอรได้รับอนุมัติสัญชาติไทยเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เพราะช่วงเวลาที่ผ่านมา ระหว่าง ๑๕ มิถุนายน ๒๕๕๕ ถึง วันนี้ นางสาวสุรีย์ไม่ได้รับการติดต่อใด ๆ จากมารดาน้องเอมอรเลย ทำให้เข้าใจไปว่าน้องเอมอรได้รับอนุมัติสัญชาติเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
เมื่อทราบข่าวจากน้องเอมอร นางสาวสุรีย์ติดต่อไปที่อำเภอเมืองเชียงราย เพื่อสอบถามเรื่องการอนุมัติสัญชาติไทยของน้องเอมอร พบว่าน้องเอมอรได้รับการอนุมัติรับรองสัญชาติไทยตามมาตรา ๒๓ แล้วตั้งแต่วันที่ ๒๐ มิถุนายน ๕๕ และได้รับการกำหนดเลข ๑๓ หลักส่งมาที่อำเภอแล้วตั้งแต่วันที่ ๑๘ ธันวาคม ๕๕

น้องเอมอรได้รับการรับรองสถานะคนสัญชาติไทยโดยสมบูรณ์ตั้งแต่ปลายปี ๒๕๕๕แล้ว แต่เนื่องจากครอบครัวไม่ทราบจึงไม่ได้ไปติดต่ออำเภอเมืองเชียงรายเพื่อติดต่อขอทำบัตรประชาชน
นางสาวสุรีย์นัดหมายทางอำเภอเมืองเชียงราย ในวันจันทร์ที่ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๖ เพื่อไปขอเพิ่มชื่อใน ทร.๑๔ และถ่ายทำบัตรประชาชน
๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๖
นางสาวสุรีย์ พาน้องเอมอรและมารดาไปที่อำเภอเมืองเชียงราย เพื่อไปขอเพิ่มชื่อใน ทร.๑๔ ซึ่งตาของน้องเอมอรเป็นเจ้าบ้าน แต่ติดปัญหาชื่อของน้องเอมอรอยู่ที่บ้านที่ 100/พ ซึ่งเป็นทะเบียนบ้านทร.๑๔ อีกเล่มหนึ่งซึ่งต้องทำการย้ายชื่อของน้องจากบ้านเลขที่เข้าที่ทะเบียนบ้านที่คุณตาเป็นเจ้าบ้านอยู่
บ้านประกอบกับเอกสารที่เตรียมมาไม่ครบ ขาดหนังสือรับรองจากทางโรงเรียน และการถ่ายทำบัตรประชาชนครั้งแรกต้องให้ผุ้ใหญ่บ้านเซ็นต์รับรอง วันนี้จึงไม่สามารถถ่ายบัตรประชาชนได้ทำได้เพียง ย้ายชื่อเข้า ทร.๑๔
๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๖
นางสาวสุรีย์ นางสาวรัชนีวรรณ สุขรัตน์ เจ้าหน้าที่มูลนิธิกระจกเงา ซึ่งทำงานภายใต้โครงการคุ้มครองสิทธิเด็กไร้รัฐไร้สัญชาติ (Stateless Children Protection Project : SCPP) ได้นัดหมายมารดาน้องเอมอรให้พาน้องเอมอรมาถ่ายบัตรประชาชน ที่อำเภอเมืองเชียงราย และนัดหมายผู้ใหญ่บ้าน มาเซ็นต์รับรอง
คำถามที่คาใจในวันนี้ “ทำอย่างไรให้เด็กทุกคนที่เกิดในผืนดินไทยได้สัญชาติไทย” มันดูมิใช่เรื่องยากแต่ก็มิใช่เรื่องง่ายเลยที่จะให้มันเป็นไป
กรณีน้องเอมอร เป็นอีกกรณีศึกษาหนึ่งถึงเรื่องการสื่อสารระหว่างภาครัฐกับประชาชนที่ยังมีกระจกมัว ๆ กั้นอยู่ แล้วกระจกมัวนั้นหละคืออะไร คือหน้าที่ของใครที่จะสื่อสารเอกสารทางราชการถึงประชาชนเจ้าของปัญหา
ถ้าวันนั้น ๓๐ ตุลาคม ๒๕๕๖ น้องเอมอรไม่เข้ามาขอความช่วยเหลือจากทางมูลนิธิกระจกเงา ไม่เข้ามา ขอให้เราติดตามการยื่นเรื่องขอสัญชาติไทยของเธอ วันนี้และวันต่อไป ๆ สถานะบนผืนดินไทยของเธอเป็นได้แค่เพียงเด็กไร้สัญชาติไทยคนหนึ่งเท่านั้นเองซึ่งความจริงแล้วเธอควรจะมีสัญชาติไทยตั้งแต่ วันที่ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๕ ที่ ผ่านมา

Copyright © 2018. All rights reserved.