Month: January 2562

ค้านนโยบายไม่สนับสนุนเด็กนักเรียนไม่มีเลข 13 หลักเข้าระบบการศึกษา

เครือข่ายองค์กรพัฒนาเอกชนด้านประชากรข้ามชาติออกหนังสือค้านนโยบายไม่สนับสนุนเด็กที่ไม่มีเลข 13 หลักเข้าเรียนในโรงเรียนซึ่งทำให้เด็กไม่สามารถเข้าถึงระบบการศึกษา ขณะที่นักกฎหมายชี้ขัดต่อหลักกฎหมายระหว่างประเทศและมติคณะรัฐมนตรี 5 พ.ย. 2558 นางอธิตา ออร์เรลล์ ผู้ประสานงานเครือข่ายองค์กรพัฒนาเอกชนด้านประชากรข้ามชาติ กล่าวว่าจากกรณีที่กระทรวงศึกษาธิการได้ออกมีการออกระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยมาตรการการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนรายหัว พ.ศ. 2558 โดยได้มีการกำหนดนักเรียนที่จะนำมานับเพื่อขอรับเงินอุดหนุนรายหัว ต้องมีคุณสมบัติ โดยใน ข้อ ค. ระบุไว้ว่า “เป็นนักเรียนที่มีเลขประจำตัวประชาชนที่ออกโดยกระทรวงมหาดไทย” ซึ่งระเบียบดังกล่าวจะทำให้เด็กนักเรียนที่มีมีเอกสารแสดงตนหรือไม่มีเลขประจำตัวประชาชนที่ออกให้โดยกระทรวงมหาดไทย จะไม่ถูกนับการขอรับเงินอุดหนุนรายหัว ซึ่งมีผลทำให้เกิดปัญหาโรงเรียนเอกชนสงเคราะห์ปฏิเสธที่จะรับเด็กต่างด้าวเข้าเรียน เครือข่ายองค์กรพัฒนาเอกชน ฯ ซึ่งประกอบด้วย World Education (WE) Foundation for Rural Youth (FRY) National Catholic Commission on Migration (NCCM) National Catholic Commission on Seafarers (NCCS) Foundation for Education and Development (FED)และ Labour Rights Promotion […]

กว่าจะถึงวันที่ฉันเป็นคนไทย 100 %

นายโชค แซ่โฟ้ง หรือนายวิเชียร จาเล บุคคลที่ประสบปัญหาไร้สถานะบุคคลในผืนแผ่นดินไทย เขาได้ลุกขึ้นมาต่อสู้เรียกร้องสิทธิอันชอบธรรมของตนเอง โดยหวังว่าจะได้สิทธิความเป็นพลเมืองไทยโดยสมบูรณ์ในสักวันหนึ่ง นายโชค แซ่โฟ้ง เกิดเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ.2534 (แต่ในความเป็นจริงแล้วเกิดเมื่อ 9 สิงหาคม 2533) ที่โรงพยาบาลบ่อไร่ จังหวัดตราด มีบิดาเป็นคนสัญชาติไทย ชื่อนายวิชัย จาเล ปัจจุบันได้เสียชีวิต ทำให้การยืนยันเพื่อพิสูจน์ความเป็นไทยของนายโชคเป็นเรื่องยาก แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีทางออกสำหรับปัญหาเหล่านี้เลย และนั่นก็เป็นที่มาของเรื่องราวการต่อสู้ที่ยาวนานอีกเรื่องราวหนึ่งในชีวิตของเขา เรื่องมีอยู่ว่าหลังจากที่โชค เกิดได้ไม่นาน นางจันทร์ศรี ศรีโลเพี้ยน หรือ นางศรี แซ่โฟ้ง ผู้เป็นแม่ ก็ได้พาโชคไปให้ นายเลาสูโล ศรีโลโฟ้ง และนางเจียม ศรีโลเพี้ยน ผู้เป็นตากับยายเลี้ยงดู หลังจากบิดากับมารดาก็แยกทางกัน ในขณะที่เกิดทางโรงพยาบาลได้ออกหนังสือรับรองการเกิดให้โชคเป็นที่เรียบร้อยแล้ว แต่แม่ไม่ได้นำไปแจ้งเกิดกับทางสำนักทะเบียนอำเภอบ่อไร่ เพื่อออกสูติบัตร ต่อมาผู้เป็นพ่อ ได้เคยไปแจ้งเพิ่มชื่อที่สำนักทะเบียนอำเภอบ่อไร่ แต่เจ้าหน้าที่ไม่รับแจ้ง เนื่องจากมารดาไม่มีเอกสารใด ๆ ประกอบกับพ่อกับแม่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสและผู้เป็นพ่อไม่ได้จดทะเบียนรับรองบุตร ซึ่งหมายถึงโชคด้วย ทำให้เกิดปัญหาในช่วงเวลานั้น แต่ปัจจุบันตาม มาตรา 7 […]

สำรวจคนไร้บ้านกว่า 1,300 คนกระจายทั่วกรุงเทพฯ ส่วนใหญ่ติดเหล้าและมีปัญหาทางจิต

ผลสำรวจคนไร้บ้านในเขตกรุงเทพมหานคร พบกว่า 1,300 คน เป็นเพศชายกว่า1,000 คนและส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในพื้นที่สาธารณะมากที่สุด ถนนราชดำเนิน สนามหลวง หมอชิต 2 หัวลำโพง นักวิชาการชี้คนไร้บ้านส่วนใหญ่อยู่เหมือนไร้ตัวตน ไร้สัญชาติ จึงเข้าไม่ถึงบริการและสวัสดิการขั้นพื้นฐานของประชาชนไทยโดยเฉพาะการรักษาพยาบาล เมื่อวันที่ 12 พฤศจิยายน ทีมนักวิชาการโครงการ “การสำรวจสถานการณ์คนไร้บ้านและการสร้างการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายอย่างเป็นระบบในพื้นที่กรุงเทพมหานคร” ซึ่งสนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เปิดเผยผลการสำรวจคนไร้บ้านในพื้นที่กรุงเทพฯ ซึ่งสำรวจระหว่างเวลา 22.00 น. วันที่ 4 กันยายน ถึงเวลา 04.00 น. วันที่ 5 กันยายน 2558 นายอนรรฆ พิทักษ์ธานิน หัวหน้าโครงการการสำรวจสถานการณ์คนไร้บ้านและการสร้างการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายอย่างเป็นระบบในพื้นที่กรุงเทพมหานครกล่าวว่า ผลการสำรวจคนไร้บ้านในกรุงเทพมหานครพบคนไร้บ้านจำนวน 1,307 คน แบ่งเป็นเพศชาย 1,087 คน หรือร้อยละ 83 เพศหญิง 202 คน หรือร้อยละ 15 เพศทางเลือก 13 คน และไม่สามารถระบุเพศได้ […]

สารจากผู้สูญเสียที่ทำกินสู่ข้อเสนอ คสช. ถึงเวลาชุมชนทวงสิทธิ์พิทักษ์ป่า

เสียงสวดมนต์ก้องป่าลึกในบ้าน “แม่ป่าเส้า” อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อครั้งโครงการสื่อสารสุขภาวะชุมชนชายขอบนำสื่อมวลชนลงพื้นที่บวชป่าร่วมกับชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากแผนแม่บททวงคืนผืนป่า ยุคคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ดั่งเสื้อเกราะบาง ที่ชาวบ้านรู้ว่าไม่อาจป้องกันชีวิตและทรัพยากรได้ทั้งหมด แต่ก็ยังต้องทำตามจารีต ประเพณีด้วยหวังสิ่งศักดิ์สิทธิจะสนองตอบต่อความรักและความผูกพันระหว่างชาวบ้านและผืนป่าบ้าง หลังจากหลายหมู่บ้านเผชิญชะตากรรมเสียผืนนา ผืนไร่ให้กับแผนพัฒนาของรัฐบาล อาทิ แปลงปลูกยางอายุนับ 10 ปี และนาข้าวที่ทำกินมานานกว่า 15 ปี เคราะห์ร้ายดังกล่าวส่งให้ชาวบ้านเกิดน้อยเนื้อต่ำใจในความเป็นชนชั้นกสิกร แต่มีทางเลือกต่อสู้เพื่อสิทธิดังกล่าวไม่มากนัก ภายหลังจากร้องเรียนกรรมการสิทธิมนุษยชน (กสม.) แล้ว ชาวบ้านจึงเลือกรวมตัวกันเพื่อแลกเปลี่ยนสภาพปัญหา เสร็จสิ้นพิธีบวชป่า ชาวบ้านร่วมวงเสวนา “การจัดการทรัพยากรป่าในมุมมองที่หลากหลาย” หนึ่งในสมาชิกร่วมเสวนาสะท้อนผกระทบจากแผนแม่บท มีนางอามีมะ เลายี่ปา ชาวบ้านห้วยหก ตำบลเมืองแหง อำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นตัวแทนชาติพันธุ์ลีซอ ที่ทนทุกข์อย่างหนักเมื่อครั้งเธอกลับมาจากรับจ้างทำสวนข้างนอกพบว่า แปลงปลูกข้าวกว่า 5 ไร่ถูกเจ้าหน้าที่เข้าทำลายข้าวและข้าซโพดพร้อมปักป้ายยึดคืนพื้นที่ โดยไม่มีการเข้ามาพูดคุยหรือแจ้งเตือนกับชาวบ้านอย่างเป็นทางการ อามีมะ ย้อนความด้วยน้ำตาว่า เธอมีพื้นที่ทำกินมาหลายสิบปี ทำนาปลูกข้าวและปลูกพืชอย่างอื่นเพื่อหาเลี้ยงครอบครัว 12 คนรายได้อยู่ที่ประมาณปีละ 30,000 บาท แต่ภายหลังการยึดพื้นที่ เธอไม่สามารถจินตนาการได้ว่า รายได้ที่เหลือจะเป็นเท่าไหร่ต่อปี แต่รู้ว่าลำบากลงทุกวัน “ลูกยังเรียนอยู่ […]

ร่วมรณรงค์เรียกร้องให้กองทัพพม่ายุติความรุนแรงและโจมตีในรัฐชาติพันธุ์

จากการที่รัฐบาลทหารพม่าอาศัยช่วงที่ผู้คนทั่วโลกกำลังสนใจการเลือกตั้งในพม่า และอ้างการไม่ยอมลงนามหยุดยิงทั่วประเทศของกลุ่มชาติพันธุ์หลายกลุ่มนั้น รัฐบาลทหารพม่าได้ถือโอกาสใช้กำลังโจมตีฐานที่มั่นของกลุ่มชาติพันธุ์ เช่น โกก้าง รัฐฉานเหนือ และ คะฉิ่น เป็นต้น รัฐฉานเหนือถือว่าเป็นพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด โดยรัฐบาลทหารพม่าได้บุกโจมตีรัฐฉานเหนือในเขตเมืองหนอง เมืองสู้ และเมืองเกซี อย่างต่อเนื่องมีการใช้อาวุธสงครามทั้งทางบก และทางอากาศ มาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่วันที่ ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ จนถึงปัจจุบัน ความรุนแรงดังกล่าวส่งผลให้หมู่บ้านในรัฐฉานเหนือกว่า ๕๐ หมู่บ้านได้รับความเสียหาย ประชาชนกว่า ๗,๐๐๐ คนต้องอพยพหนีภัยสงคราม เบื้องต้นมีรายงานอย่างไม่เป็นทางการว่าชาวบ้านได้รับบาดเจ็บ ๖ คน และเสียชีวิตแล้ว ๕ คน ทรัพย์สินของชาวบ้านเสียหาย ทั้งบ้านเรือนและที่ดินทำกิน นอกจากนั้นทหารพม่ายังมีการกักตัวชาวบ้านกว่า ๕๐๐ คนและสั่งปิดสัญญาณโทรศัพท์ในพื้นที่ การกระทำดังกล่าวของรัฐบาลทหารพม่าถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง ทั้งต่อร่างกาย และทรัพย์สิน ผิดวิสัยของรัฐที่กำลังจะก้าวไปสู่วิถีทางแห่งประชาธิปไตย ดังนั้นเราจึงขอเชิญทุกท่านให้เข้าร่วมลงรายชื่อเพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลทหารพม่ายุติการกระทำอันเป็นการล่วงต่อสิทธิ เสรีภาพของประชาชนทั้งในรัฐฉานและรัฐอื่นๆ ที่มา : https://www.change.org/p/

“เอ็นจีโอจี้รัฐมอบสิทธิบัตรทอง 30 บาทให้เด็กชายแดนเกือบ 7 หมื่นคนที่ยังไม่ได้สัญชาติไทย”

“เอ็นจีโอจี้รัฐมอบสิทธิบัตรทอง 30 บาทให้เด็กชายแดนเกือบ 7 หมื่นคนที่ยังไม่ได้สัญชาติไทย เหตุเข้าไม่ถึงบริการรักษาพยาบาล ทั้งโรงพยาบาลปฏิเสธการรักษาผู้อำนวยการศูนย์ศึกษากระเหรี่ยงและพัฒนา นายสุรพงษ์ กองจันทึก บอกว่า ปัจจุบันยังมีเด็กนักเรียนเกือบ 7 หมื่นคน ส่วนใหญ่เป็นเด็กไร้สัญชาติที่อยู่อาศัยอยู่ตามแนวชายแดน ในกลุ่มชนเผ่าต่างๆ ซึ่งยังไม่มีเลขประจำตัวประชาชน จึงไม่ได้รับสิทธิขั้นพื้นฐานในการรักษาพยาบาล เมื่อเกิดการเจ็บป่วย โรคระบาดมากขึ้นไม่สามารถไปรักษาที่โรงพยาบาลได้ จึงมีอัตราการเสียชีวิตเร็วขึ้น ทั้งๆ ที่สามารถรักษาได้ ขณะที่คนที่มารักษาโรงพยาบาลต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายโดยวันพรุ่งนี้ วันที่ 20 พฤศจิกายนเป็นวันสิทธิเด็กสากล จึงอยากให้ภาครัฐทั้งกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย สภาความมั่นคงแห่งชาติที่กำลังพิจารณายืนยันสัญชาติไทยให้เด็กกลุ่มนี้ อนุมัติให้พวกเขาได้มีเลข 13 หลัก เพื่อจะได้เข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานที่คนไทยทุกคนพึงได้ และเพื่อเป็นของขวัญวันสิทธิเด็กสากลด้วย แต่ก็เป็นกังวลอยู่ว่าการประชุมพิจารณาสิทธิ ซึ่งเดิมจะประชุมวันที่ 16 พ.ย.ที่ผ่านมา แต่มีการเลื่อนออกไปแบบไม่มีกำหนด ซึ่งทำให้ยีดเยื้อออกไปอีกผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านตะโกล่าง อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี นายเฉลียว เถื่อนเภา เล่าว่าเวลาไปหาหมอหลายครั้งที่เจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาลมักปฏิเสธการรักษาเพราะไม่มีบัตรทอง ทั้งที่อาการของเด็กรุนแรงถึงแขนหัก ผอ.ต้องขอร้องด้วยตัวเอง บางทีก็หางบโรงเรียนไปจ่ายค่ารักษา ซึ่งต่อไปนี้ไม่อยากให้เกิดเหตุการณ์แบบนี้ อยากให้รัฐบาลมอบสิทธิ์บัตรทอง 30 บาทให้เด็กกลุ่มนี้ เพราะตามกฎหมายมีระบุไว้อยู่แล้วว่าคนไทยทุกคนต้องได้รับสิทธิการรักษาพยาบาลขั้นพื้นฐาน” อ่านต่อที่: http://www.nationtv.tv/main/content/social/378478583/

ตร.ภ.5 พบค้ามนุษย์ในเชียงใหม่เป็นเครือข่ายใหญ่ เร่งจับเพิ่มอีก 50 หมายจับ

รอง ผบก.ภ.5 เรียกประชุมทีมสืบสวนสอบสวนหลังพบการค้าบริการเด็กหญิงอายุไม่เกิน 15 ปีใน จ.เชียงใหม่ เป็นเครือข่ายใหญ่ พร้อมเร่งรัดจับกุมอีกเกือบ 50 หมายจับ วันที่ 24 พ.ย.58 ที่ สภ.ช้างเผือก จ.เชียงใหม่ พล.ต.ต.ทรงธรรม อัลภาชน์ รอง ผบก.ภ.5 เรียกประชุมทีมสืบสวนสอบสวน เพื่อติดตามความคืบหน้าคดีซื้อบริการทางเพศเด็กหญิงอายุไม่เกิน 15 ปี และคดีค้ามนุษย์ หลังจากที่ก่อนหน้านี้มีการออกหมายจับ และจับกุมผู้ซื้อบริการ-แม่เล้าผู้เป็นธุระจัดหาไปหลายราย รายงานแจ้งว่า รอง ผบก.ภ.5 ได้เร่งรัดให้จับดำเนินการจับกุมผู้ต้องหาตามหมายจับที่เหลือโดยเร็ว และให้นำข้อมูลที่ได้จากแม่เล้าขยายนำไปสู่การขออนุมัติหมายจับผู้ที่ซื้อบริการทางเพศเด็กหญิงที่ยังเหลืออยู่อีกหลายคน โดยส่วนใหญ่เป็นผู้บริหารในองค์กรต่างๆ รวมทั้งนักการเมือง สำหรับคดีนี้ล่าสุดศาลอนุมัติหมายจับไปแล้ว 109 หมายจับ จับกุมไปแล้วกว่า 70 หมายจับ ได้ผู้ต้องหาได้ 24 คน เป็นแม่เล้า 6 คน ที่เหลือเป็นผู้ซื้อบริการ ขณะที่ศาลได้อนุมัติ หมายจับเพิ่มอีก 8 ราย เป็นแม่เล้า 2 ราย และผู้ซื้อบริการอีก […]

กว่าจะเดินถึงซึ่งฝั่งฝัน ของ ไมค์ มาเยอะ

คนเราทุกคนย่อมมีฝัน แต่จะมีสักกี่คนที่จะได้เดินตามฝัน การจะไปให้ถึงฝั่งฝันของแต่ละคนย่อมพบเจออุปสรรค์ที่แตกต่างกันไป บางคนสามารถฝ่าฟันอุปสรรคจนเดินถึงฝัน บางคนพบเจออุปสรรคหนักหนาสาหัสจนไปไม่ถึงฝัน บางคนแม้พานพบอุปสรรคมาทั้งชีวิต แต่ก้อยังไม่คิดที่จะทิ้งความฝัน เพื่อวันหนึ่งเขาจะทำมันให้เป็นความจริง แต่มีอีกหลายคนที่มีสิทธิได้แค่ฝันแต่ไม่สามารถทำตามฝันของตัวเองได้ เพียงเพราะเขา เป็นคนไร้รัฐ ไร้สัญชาติ นายศักดา มาเยอะ หรือ ไมค์ ปัจจุบันศึกษาที่วิทยาลัยอาชีวศึกษา ชั้นปีที่ 1 สาขาการท่องเที่ยว ไมค์ มีความสามารถในด้านต่าง ๆ มากมาย เช่น ด้านภาษา มีผลการเรียนในระดับดี ด้านการร้องเพลง ไมค์ สามารถร้องเพลงสากล และแต่งเพลงพเราะได้หลากหลายเพลง มีเกียรติบัตรการันตีความสามารถในการเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ มากมาย ครั้งหนึ่งของนักเรียนไร้สัญชาติอย่างไมค์ ได้รับคัดเลือกให้เดินทางไปร่วมโครงการแลกเปลี่ยนเยาวชนระหว่างประเทศญี่ปุ่นและกลุ่มประเทศเอเซียตะวันออก (JENESYS ๒.๐) ณ ประเทศญี่ปุ่น เมื่อเดือนตุลาคม 2557 ที่ผ่านมา การร้องขอออกนอกราชอาณาจักรไทยของกลุ่มคนเช่นไมค์ต้องทำหนังสือขออนุญาตปลัดกระทรวงมหาดไทย มันไม่เป็นเรื่องง่ายเลยทุกคนจะได้รับการอนุมัติให้เดินทางออกนอกประเทศ ไมค์ มีความฝันอยากไปศึกษาต่อต่างประเทศ และอยากเป็นทหาร อยากมีส่วนในการพัฒนาประเทศชาติ เพื่อตอบแทนคุณแผ่นดินเกิดของตนเอง แต่สิ่งที่ไมค์ฝัน ไมค์ไม่รู้ว่ามันจะเกินฝันไปหรือเปล่ากับความคิดฝันของเด็กไร้สัญชาติคนหนึ่งที่อยากรับราชการทหาร เพราะด้วยคุณสมบัติที่ระบุชัดเจน คือ ต้องมีสัญชาติไทย […]

ครบรอบ 40 ปีลาวอพยพ พบชาวบ้านจำนวนมากยังประสบปัญหาสถานะบุคคล “พระมหา”อดีตคนไร้สัญชาติเผยได้บัตรเหมือนพ้นคุก นักวิชาการชี้ถูกเลือกปฏิบัติ

เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2558 ที่ศูนย์ตุ้มโฮมเรียนรู้บ้านตามุย ตำบลห้วยไผ่ อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ชาวบ้านจาก 3 อำเภอได้แก่อำเภอบุณฑริก โขงเจียม และโพธิ์ไทร ร่วมกับนักวิชาการ องค์การพัฒนาเอกชน และตัวแทนภาครัฐ จำนวนกว่า200 คน ทำพิธี “รับขวัญคนไทยมาตรา 23 เอิ้นขวัญคนไทไร้สัญชาติ” ในโอกาสครบรอบ 40 ปี ลาวอพยพ เพื่อแสดงความยินดีกับชาวบ้านกลุ่มลาวอพยพที่ได้สิทธิในการอาศัยอยู่ในประเทศไทยถาวร และได้มีเวทีเสวนา “ปัจจุบันและอนาคตของคนไร้สัญชาติบนแผ่นดินไทยภายใต้ประชาคมอาเซียน” นายบุญมา อักษร ตัวแทนจากกลุ่มลาวอพยพในอำเภอบุณฑริก กล่าวว่า ในโอกาสครบรอบ 40 ปี กลุ่มลาวอพยพอย่างตน หวังแค่ว่าประเทศไทยและลาวจะกั้นกลางแค่แม่น้ำและภูเขาเท่านั้น ส่วนเรื่องสัญชาติและการใช้กฎหมายที่แบ่งแยกเชื้อชาติ สัญชาติ ตลอดจนกฎเกณฑ์การเลือกปฏิบัติจากสังคมไทย อาทิ โรงพยาบาล โรงเรียน เจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคง ไม่อยากให้เกิดขึ้นอีกเพราะสงครามมันสิ้นสุดลงมานานแล้ว การอยู่ในประเทศไทยในอดีตอยู่เพราะภัยเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในประเทศลาวซึ่งใช้ชีวิตอยู่ในลาวลำบากเพราะอดีตคนกลุ่มดังกล่าวให้การสนับสนุนกองทัพไทย ทางการลาวไม่ยอมรับ แต่ปัจจุบันอยู่เพราะความผูกพันและยังคงไว้ซึ่งวัฒนธรรมไทย-ลาว ที่ต้องประคองอยู่ร่วมกัน ต่อไป พระมหาคำประเสริฐ ถาวร ตัวแทนกลุ่มลาวอพยพจากอำเภอโขงเจียม ที่ได้สัญชาติไทยตามมาตรา23 […]

1 46 47 48 49 50 56
Copyright © 2018. All rights reserved.