News

กมธ. ความมั่นคงรัฐฯ มุ่งให้สถานะบุคคล สัญชาติ 13,000 คนภายในปี 63

15 ม.ค. 63  พล.ท.พงศกร รอดชมภู ประธานกรรมาธิการ (กมธ.) ความมั่นคงแห่งรัฐ กิจการชายแดนไทย ยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศ สภาผู้แทนราษฎร พร้อมคณะ แถลงข่าวผลการประชุม กมธ. เพื่อพิจารณาเรื่องสถานการณ์ของบุคคลไร้รัฐไร้สัญชาติในประเทศไทย โดยเชิญผู้แทนกรมการปกครองเข้าร่วมประชุม ซึ่งกรณีกลุ่มบุคคลบุคคลไร้รัฐไร้สัญชาติ มีถิ่นอาศัยในประเทศไทย แต่ด้วยเงื่อนไขทางกฎหมายส่งผลให้กลุ่มดังกล่าวมีสถานะบุคคลไม่ชัดเจน ที่ประชุมจึงได้มีมติเห็นชอบให้จัดทำโครงการประชาสัมพันธ์ร่วมกับมหาวิทยาลัย กลุ่ม NGO และกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ในการแก้ไขปัญหาสถานะบุคคลและสัญชาติ สำหรับคนไร้รัฐไร้สัญชาติในประเทศไทย และการแก้ไขหรือยกเลิกประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดเขตพื้นที่ควบคุมและการอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจำพวกที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวออกนอกเขตพื้นที่ควบคุม เพื่อสร้างความเป็นธรรมต่อชนกลุ่มน้อย กลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย ให้พัฒนาเป็นแรงงานที่สามารถเคลื่อนย้ายถิ่นที่อยู่อาศัยได้โดยการควบคุมของรัฐ ขณะเดียวกัน กมธ. จะดำเนินการเร่งรัด ผลักดันให้เกิดกระบวนการแก้ปัญหากลุ่มบุคคลไร้รัฐไร้สัญชาติให้เป็นไปอย่างรวดเร็ว ด้วยการออกบัตรประจำตัวประชาชนให้กับบุคคลไร้รัฐไร้สัญชาติในประเทศไทย เมื่อมีหลักฐานครบถ้วนได้อย่างรวดเร็ว โดยจะเป็นความร่วมมือระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติกับฝ่ายบริหารในการผลักดันเรื่องดังกล่าวให้สำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งนี้ กมธ. จะเสนอโครงการดังกล่าวในช่วงเดือนเมษายน 2563 พร้อมกำหนดเป้าหมาย ภายในสิ้นปีนี้ (2563) จะดำเนินให้สถานะบุคคลและสัญชาติผู้ไร้รัฐไร้สัญชาติให้ได้อย่างน้อย 13,000 คน ที่มา: ทีมข่าววิทยุรัฐสภา  https://prachatai.com/journal/2020/01/85935

วอนรัฐให้ ‘ของขวัญวันเด็ก’ กลุ่มเด็ก G ไร้สัญชาติกว่า 9 หมื่นคน

องค์กรเครือข่ายด้านชาติพันธุ์และสถานะบุคคลฯ​ วอนรัฐให้ “ของขวัญวันเด็ก” กับกลุ่มเด็ก G นร.ไร้สัญชาติกว่า 9 หมื่นคน เข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานด้านสาธารณสุข ลดเหลื่อมล้ำด้านสุขภาพ เพิ่มคุณภาพชีวิต สกัดโรคไร้พรมแดน เมื่อวันที่ 10 ม.ค. ที่ศูนย์การเรียนไร่ส้มวิทยา อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ ดร.ประกาศิต กายะสิทธิ์ รองผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) นำคณะเจ้าหน้าที่ และภาคีเครือข่าย ลงพื้นที่กิจกรรมนับเราด้วยคน เรียนรู้ด้วยใจก้าวไปพร้อมกัน ที่จ.เชียงใหม่ และจ.เชียงราย โดยร่วมจัดกิจกรรมงานวันเด็กแห่งชาติประจำปี 2563 ซึ่งตรงกับวันเสาร์ที่ 11 ม.ค. นายวิวัฒน์ ตามี่ มูลนิธิพัฒนาชนกลุ่มน้อยและชาติพันธุ์ (พชช.) กล่าวว่า เนื่องในวันเด็กแห่งชาติ 2563 มูลนิธิพัฒนาชนกลุ่มน้อยและชาติพันธุ์ องค์การแพลน อินเตอรเนชั่นแนล อิงค์ ประเทศไทย มูลนิธิกระจกเงา มูลนิธิแอ๊ดดร้าไทยแลนด์ มูลนิธิภิวัฒน์สาธารณสุขไทย เครือข่ายชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย เครือข่ายผู้มีปัญหาสถานะและสิทธิ เครือข่ายโรงเรียนชายแดน ได้ร่วมเสนอข้อเสนอเชิงนโยบายการเพิ่มกลุ่มที่มีปัญหาสถานะและสิทธิเข้าสู่กองทุนให้สิทธิ (คืนสิทธิ) ขั้นพื้นฐานด้านสาธารณสุขกับบุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิ (เด็กนักเรียนที่มีเลขประจำตัวขึ้นต้นด้วยอักษร […]

ศอ.บต.แก้ปัญหา “คนไร้สัญชาติ” ชายแดนใต้

ปชช.ไร้สัญชาติ จชต. กว่า 300 คน เข้ารับการตรวจ DNA เพื่อแสดงการมีตัวตนในทะเบียนราษฎร์ เมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2563 ที่ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ได้มีการจัดกิจกรรมตรวจสารพันธุกรรม DNA บุคคลไม่มีสถานะทางทะเบียนราษฎร์จังหวัดชายแดนภาคใต้  ในโครงการตรวจสารพันธุกรรม DNA และอบรมเพื่อสร้างความเข้าใจแก่ผู้เข้าร่วมโครงการในประเทศ เพื่อแก้ไขปัญหาคนด้อยโอกาสและขาดโอกาสทางสังคม และเพื่อให้การช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาคนไทยไร้สัญชาติในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และคนไทยที่อาศัยอยู่ในประเทศมาเลเซีย ให้มีบัตรประจำตัวประชาชน ผ่านการตรวจพิสูจน์สารพันธุกรรมความสัมพันธ์ทางสายโลหิต โดยมีพลเรือตรีสมเกียรติ ผลประยูร เลขาธิการ ศอ.บต. เป็นประธาน  ซึ่งมีประชาชนเข้ารับบริการกว่า 300 คน พลเรือตรีสมเกียรติ ผลประยูร เลขาธิการ ศอ.บต กล่าวว่า นโยบายหรือโครงการใดก็ตามที่รัฐบาลและศอ.บต. ดำเนินการขึ้นในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้นั้น เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและแก้ไขปัญหาความยากจนในพื้นที่ รัฐบาลพยายามอย่างเต็มที่ในการแก้ไขปัญหาที่ทำให้ชีวิตของพี่น้องประชาชนเดือดร้อน ซึ่งไม่ว่าจะปัญหาเรื่องใดก็ตามเราก็สามารถแก้ไขได้ ยกเว้นปัญหาการไม่มีตัวตน ไม่มีบัตร ไม่มีสิ่งใดที่แสดงว่า เป็นพลเมืองของชาติใดในโลกของพี่น้อง จึงไม่มีสิทธิในการเข้ารับบริการ และสิทธิประโยชน์ใดๆที่พึงควรได้รับ โครงการตรวจสารพันธุกรรม DNA จึงเริ่มต้นขึ้นเพื่อกำเนิดชีวิตใหม่แก่พี่น้องที่ไม่มีสถานะทางทะเบียนตั้งแต่ปี 2560 […]

ผู้เฒ่าไร้สัญชาติทั่วปท.เฮ! ใช้พยานที่น่าเชื่อถือ-ทำประชาคมหมู่บ้านยืนยันเกิดในไทยแทนได้

ผู้เฒ่าไร้สัญชาติทั่วประเทศเฮ กรมการปกครองส่งหนังสือเวียนถึงผวจ.ย้ำระเบียบแก้ปัญหา ระบุหากหาหลักฐานเดิมไม่ได้ ใช้พยานที่น่าเชื่อถือ-ทำประชาคมหมู่บ้านแทนได้ นักกฎหมายชี้สร้างประสิทธิภาพและความทันสมัยให้ระเบียบ43 แนะสั่งการเพิ่มอีก 2 กรณี วันที่17 กุมภาพันธ์ 2563 ผู้สื่อข่าวรายงานว่าขณะนี้กรมการปกครองได้ส่งหนังสือเวียนถึงผู้ว่าราชการจังหวัดเรื่องแนวทางการปฏิบัติในการพิจารณาให้สัญชาติไทยแก่ผู้สูงอายุไร้สัญชาติ ตามระเบียบสำนักทะเบียนกลางว่าด้วยการพิจารณาลงรายการสถานะบุคคลในทะเบียนราษฎรให้แก่บุคคลบนพื้นที่สูง พ.ศ.2543 โดยมีเนื้อหาส่วนหนึ่งระบุว่า ได้รับการร้องเรียนจากกลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มชาติพันธุ์อาข่าและชนเผ่าอื่นๆ ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย ว่าได้อาศัยอยู่ในประเทศไทยมากกว่า 50 ปี และได้ยื่นเอกสารขอแปลงสัญชาติแต่ยังไม่ได้รับสัญชาติไทย ซึ่งในข้อเท็จจริงบางรายสามารถแก้ไขปัญหาความไร้สัญชาติได้ด้วยระเบียบสำนักทะเบียนกลาง ว่าด้วยการพิจารณาลงรายการสถานะบุคคลในทะเบียนราษฎรให้แก่บุคคลบนพื้นที่สูง พศ. 2543 (หรือ ระเบียบ 43) ทั้งนี้เพื่อให้การปฏิบัติเป็นไปในแนวทางเดียวกัน ขอให้จังหวัดแจ้งอำเภอ ปฏิบัติดังนี้ 1.การลงรายการสัญชาติไทยในทะเบียนบ้านตามระเบียบสำนักทะเบียนกลาง ว่าด้วยการพิจารณาลงรายการสถานะบุคคลในทะเบียนราษฎรให้แก่บุคคลบนพื้นที่สูง พ.ศ.2543 ผู้ยื่นคำร้องต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้ (1) เป็นชาวเขา 9 เผ่า ได้แก่ กะเหรี่ยง ม้งหรือแม้ว เมี่ยนหรือเย้า/อิวเมี่ยน อาข่าหรืออีก้อ ลาหู่หรือมูเซอ ลัวะหรือละเวือะ/ละว้า/ถิ่น/มัล/ปรัย /ขมุ และมลาบรีหรือคนตองเหลือง หรือ (2) เป็นบุคคลบนพื้นที่สูงที่ได้รับการจัดทำทะเบียนประวัติ (3) มีสัญชาติไทยตามกฎหมายว่าด้วยสัญชาติ […]

“หม่อง ทองดี” ขอโอกาส 2 เด็กไร้สัญชาติ ไปญี่ปุ่นทำตามฝัน

นายหม่อง ทองดี อดีตเยาวชนไร้สัญชาติ เจ้าของแชมป์เครื่องบินกระดาษพับ ในฐานะผู้จัดทำโครงการโรงเรียนสีขาว เพื่อพี่น้องคนไร้สัญชาติ ขอโอกาสให้กับเยาวชน 2 คน จาก จ.เชียงใหม่ สามารถคว้ารางวัลความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ดีเด่น สิ่งประดิษฐ์รักษ์โลก โครงการพลังเล็กเปลี่ยนโลกปี 7 อสมท. และ ปตท.จัดขึ้น โดยรางวัลปีนี้ จะพาเด็ก-เยาวชนเดินทางไปศึกษาดูงาน ที่ประเทศญี่ปุ่น แต่เพราะมีเด็กถือบัตรไร้สัญชาติ ทำให้ติดปัญหาเรื่องขอเอกสารเดินทางคนต่างด้าว (Travel Document for Aliens -TD) เพื่อเดินทางออกนอกประเทศ สำหรับเยาวชนที่พบปัญหา มี 2 คนด้วยกัน คือ น.ส.คำพร ติยะ ร.ร.บ้านบ่อแก้ว อ.สะเมิง จ. เชียงใหม่ และ ด.ญ.ญาหยี แซ่ฉี่ ร.ร.บ้านอรุโณทัย ต.เมืองนะ อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ ทั้ง 2 คนจะต้องเดินทางวันที่ 5 – 9 ต.ค.2562 นี้ […]

นิติม.ราชภัฏสุราษฎร์ลงพื้นที่ช่วยประชา พบคนยากจนไม่มีบัตรปชช.ไร้สิทธิอื้อ

วันที่ 21 ส.ค.2562  คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) และศูนย์ประสานภาคีเครือข่ายการพัฒนา จังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้จัดทำโครงการพลเมืองอาสาเพื่อช่วยเหลือผู้ยากลำบากในแต่ละจังหวัดทั่วประเทศ ซึ่งในเขตจังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้มีการสำรวจผู้ยากลำบากแล้วพบว่ามีประชาชนจำนวนหนึ่งต้องอยู่ในภาวะยากลำบากเพราะไม่มีสถานะทางทะเบียนราษฎร ไม่มีบัตรประจำตัวประชาชน ดังนั้น เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2562 คณะนิติศาสตร์จึงมอบหมายให้ อาจารย์และเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่เก็บข้อมูลพื้นฐานเบื้องต้น เพื่อให้บุคคลเหล่านี้ได้มีบัตรประจำตัวประชาชน เพื่อให้เข้าถึงสิทธิของรัฐอย่างเท่าเทียมกันต่อไป ในการนี้ผู้ช่วยศาสตราจารย์ภูภณัช รัตนชัย บรรณาธิการวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ เปิดเผยว่า การลงพื้นที่เพื่อสำรวจคนไทยผู้ไร้สัญชาติในเขตจังหวัดสุราษฎร์ธานีจะเป็นการช่วยเหลือแก่ผู้ประสบปัญหาดังกล่าว ให้ได้มีโอกาสเข้าถึงการบริการและสวัสดิการจากรัฐอย่างเท่าเทียมกันเช่นเดียวกับประชาชนคนไทยอื่น ๆ ทำให้ความสิ้นหวัง ความโดดเดี่ยวที่เคยเกิดขึ้นในจิตใจ เป็นเสมือนคนที่ไร้ที่พึ่งพิง ได้กลับมามีความหวังอีกครั้ง ถ้าหากหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายต่างให้ความสำคัญ มีความจริงใจ จริงจังที่จะให้ความช่วยเหลือตามอำนาจของกฎหมายที่มีอยู่ และหวังว่าการช่วยเหลือในครั้งนี้จะประสบผลสำเร็จไปได้ด้วยดี ฝ่ายผู้ช่วยศาสตราจารย์สมชาย บุญคงมาก ผู้ช่วยอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี กล่าวว่า การที่ตนได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ในครั้งนี้ นับว่าเป็นภาระหน้าที่ของมหาวิทยาลัยเช่นกันที่จะต้องมีส่วนช่วยเหลือดูแล  พี่น้องประชาชนในเขตพื้นที่ เพื่อนำมาซึ่งความเจริญก้าวหน้าแก่ท้องถิ่น เป็นการลดความเหลื่อมล้ำในสังคม และทำให้ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ได้รับการยอมรับอย่างเท่าเทียมกัน ด้านอาจารย์ทศพร จินดาวรรณ รองคณบดีคณะนิติศาสตร์ หนึ่งในทีมร่วมงาน มองว่า การลงพื้นที่ในครั้งนี้ […]

งานวันชนเผ่าพื้นเมืองปี 2562 ชี้ยังมีปัญหาที่ดิน-สถานะบุคคล ขวางการเข้าถึงสิทธิของกลุ่มชาติพันธุ์

คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ร่วมกับสมัชชาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย จัดงานวันชนเผ่าพื้นเมืองประจำปี 2562 เลขาธิการฯ ชี้ปัญหาที่ดิน-สถานะบุคคล ขวางการเข้าถึงสิทธิของกลุ่มชาติพันธุ์ แนะยอมรับความแตกต่างทางเชื้อชาติในสังคมพหุวัฒนธรรม เมื่อวันที่ 9 ส.ค. 2562 ซึ่งเป็นวันชนเผ่าพื้นเมืองโลก สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ร่วมกับสมัชชาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย และองค์กรภาคีเครือข่าย จัดงาน “วันชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย ประจำปี 2562” โดยมีกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ กว่า 36 กลุ่มเข้าร่วมแลกเปลี่ยนสถานการณ์สิทธิชนเผ่าพื้นเมืองในประเทศไทย ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ นายโสพล จริงจิตร เลขาธิการคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กล่าวในเวทีการเสวนาเรื่อง “ตัวตนชนเผ่าพื้นเมืองและการยกระดับมติ ครม. แนวนโยบายฟื้นฟูวิถีชีวิตกะเหรี่ยงและชาวเล” เนื่องในงานวันชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย ประจำปี 2562  สรุปว่า แม้ปัจจุบันสังคมไทยจะยอมรับความแตกต่างทางเชื้อชาติมากขึ้น แต่ประเด็นปัญหาที่ยังดำรงอยู่เมื่อพิจารณาจากเรื่องร้องเรียนที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ได้รับ คือ ปัญหาที่ดินทำกิน โดยชนเผ่าพื้นเมืองที่อาศัยบนพื้นที่สูงหรืออาศัยอยู่ในป่า ตลอดจนชนเผ่าพื้นเมืองชาวเลที่อาศัยตามเกาะแก่งในทะเลหรือพื้นที่ชายฝั่งมายาวนานหลายร้อยปี มักเกิดข้อพิพาทระหว่างชนเผ่าเหล่านั้นกับรัฐหรือเอกชนในประเด็นความเป็นเจ้าของที่ดินที่แท้จริง ปัญหาดังกล่าวยึดโยงกับการจัดการที่ดินและระบบกรรมสิทธิ์ที่ดิน และหากไม่มีการแก้ไขเชิงโครงสร้างปัญหาการแย่งชิงทรัพยากรก็จะยังดำรงอยู่ โดยคนส่วนน้อยหรือนายทุนก็ยังคงเป็นผู้ถือครองที่ดินจำนวนมากตามการขยายตัวของเศรษฐกิจแบบทุนนิยมเนื่องจากที่ดินเป็นทั้งปัจจัยการผลิตและทุน นายโสพล กล่าวต่อไปว่า […]

“ณัฐวุฒิ – จุติ” อภิปรายนโยบายสิทธิคนชายขอบ

“ณัฐวุฒิ บัวประทุม” ส.ส.พรรคอนาคตใหม่ กระตุกรัฐบาล ต้องเข้าใจคนชายขอบ ด้าน “จุติ ไกรฤกษ์” รมว.พม. ย้ำ นายกฯ กำชับให้ดูแลเป็นพิเศษ พร้อมเชิญ ส.ส.อนาคตใหม่ ร่วมแก้ปัญหา วันนี้ (26 ก.ค.2562) นายณัฐวุฒิ บัวประทุม ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคอนาคตใหม่ ลุกขึ้นอภิปรายนโยบายด้านสิทธิของผู้ด้อยโอกาส ที่ปรากฏในคำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีต่อรัฐสภา โดยระบุว่าหากดูจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 และคำแถลงนโยบายของรัฐบาล มีการใช้คำที่ไม่สอดคล้องกัน เช่น ผู้ด้อยโอกาส ผู้ยากไร้ ผู้ประสบปัญหาทางสังคม จึงตั้งคำถามว่าการให้ความหมายของคำว่าผู้ด้อยโอกาสของนายกรัฐมนตรีเป็นอย่างไร พวกเขาไม่ใช่คนด้อยสิทธิ ด้อยโอกาสในความหมายที่ต้องให้การสงเคราะห์ แต่เขาเป็นเจ้าของสิทธิของตนเอง เป็นประธานแห่งสิทธิ มีศักดิ์และศรี มีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เท่าเทียมกัน หลักคิดเหล่านี้หากปรับให้เข้าใจตรงกัน จะทำให้นโยบายที่เกี่ยวข้องมีความชัดเจนมากขึ้น นายณัฐวุฒิ ระบุถึงนโยบายด้านแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ โดยเฉพาะโอกาสของคนกลุ่มต่างๆ ในสังคม เช่น ปัญหาเด็กและเยาวชนถูกละเมิดสิทธิในด้านต่างๆ ที่พบว่าปีที่แล้ว กระทรวงสาธารณสุขยอมรับอย่างเป็นทางการ ว่ามีอัตราการรังแกกันในโรงเรียนสูงเป็นอันดับสองของโลก Bullying หรือ การรังแกกัน ทั้ง ครูละเมิดเด็ก […]

“จุรินทร์” เยี่ยมให้กำลังใจคนไทยไร้สัญชาติชายแดนใต้ ตรวจดีเอ็นเอพิสูจน์สิทธิรับบัตรประชาชน

 20 กรกฎาคม 2562  นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ รองนายกฯ และ รมว. พาณิชย์ พร้อมคณะ ได้เดินพบปะ ทักทายถามไถ่สารทุกข์สุกดิบ พี่น้องประชาชนที่มาใช้บริการตรวจเอกสารพันธุกรรมดีเอ็นเอ ทันทีที่คณะรองนายกรัฐมนตรีเดินทางถึง อาคารเอนกประสงค์ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ จังหวัดยะลา เพื่อแก้ไขปัญหาบุคคลไม่มีทะเบียนราษฎร์และไร้สัญชาติ ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ สร้างความประทับใจ และรอยยิ้มให้กับเจ้าหน้าที่และพี่น้องประชาชนที่มารอรับบริการ         โดยนายจุรินทร์ ใช้ภาษาถิ่นสอบถามถึงความเป็นมาเป็นไปถึงสาเหตุของการตกหล่นการสำรวจจนยังไม่มีบัตรประชาชน ซึ่งได้รับคำตอบอันเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น พ่อเป็นคนมาเลย์แต่แม่กลับมาอยู่เมืองไทย หรือพ่อแม่เป็นไทย เกิดเมืองไทยแต่ย้ายถิ่นไม่ได้แจ้งเกิด เป็นต้น โดยนายจุรินทร์กล่าวว่าหากได้บัตรประชาชนก็จะมีผลให้ได้รับสิทธิต่างๆจากภาครัฐโดยถูกต้องตามกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นสิทธิเรียนฟรี รักษาพยาบาล และสิทธิอื่นๆที่คนไทยทั่วไปพึงไดัรับ โดยโครงการแก้ไขปัญหาคนไทยไร้สัญชาติด้วยการตรวจพิสูจน์สารพันธุกรรมหรือดีเอ็นเอของศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดใช้แดนภาคใต้เป็นโครงการที่เริ่มเมื่อ 20 กันยายน 2559 โดยสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินยังศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดใช้แดนภาคใต้และมีรับสั่งด้วยความห่วงใยถึงปัญหาของคนไทยที่พำนักอยู่ในประเทศมาเลเซียและคนไทยที่ไม่มีสถานะทางทะเบียนราษฎรรวมทั้งปัญหาขาดสารอาหารด้วย   สำหรับการตรวจพิสูจน์สารพันธุกรรม หรือดีเอ็นเอในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ในปีงบประมาณพ.ศ. 2562 ได้กำหนดจัดตรวจพิสูจน์ เพื่อช่วยเหลือบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียนราษฎรหรือไม่มีสัญชาติในพื้นที่เป้าหมายจำนวน  1,000 คน หลังจากที่ในปีงบประมาณปี 2560 -2561 ได้ดำเนินการไปแล้ว ซึ่งโครงการยังคงเดินหน้าช่วยเหลือคนกลุ่มนี้ต่อไป […]

ผู้เฒ่าดอยแม่สลอง รอรัฐช่วยแก้คนไร้รัฐไร้สัญชาติ

นักศึกษา ปสม.1 ขึ้นดอยแม่สลอง เชียงราย ศึกษาปัญหาคนไร้รัฐไร้สัญชาติ หลังพบผู้เฒ่าไม่มีสัญชาติ จำนวนมาก วอนรัฐมนตรีมหาดไทย เร่งแก้ปัญหาเชิงสิทธิมนุษยชนอย่างเป็นรูปธรรม วันที่ 23 กรกฎาคม นักศึกษาหลักสูตรสิทธิมนุษยชนสำหรับนักบริหารระดับสูง (Human Rights Executive Program – HREP) (ปสม.๑) สถาบันพระปกเกล้า เดินทางไปยัง มูลนิธิพัฒนาชุมชนและพื้นที่ภูเขา (พชภ.) ดอยแม่สะลอง อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย เพื่อรับฟังปัญหาเกี่ยวกับคนไร้สัญชาติในพื้นที่ นอกจากนี้ยังได้มอบอุปกรณ์การเรียนการสอน ทุนการศึกษา และเครื่องกีฬาให้กับเด็กนักเรียนที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านป่าคาสุขใจ โดยมี นางเตือนใจ ดีเทศน์ นางประกายรัตน์ ต้นธีระวงศ์ และนางฉัตรสุดา จันทร์ดียิ่ง กรรมการสิทธิมนุษย์ชนแห่งชาติ เข้าร่วม นางเตือนใจ กล่าวว่า นับเป็นเรื่องดีที่นักศึกษาของสถาบันพระปกเกล้าในความสำคัญกับเรื่องนี้ เพราะเป็นเรื่องท้าทายของรัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทย ที่จะเข้ามาจัดการกับปัญหาคนไร้รัฐไร้สัญชาติ ที่ต้องรีบจัดการเพราะยังมีชาวบ้านจำนวนมากในพื้นที่ภูเขาที่มีคุณสมบัติการมีสัญชาติไทยครบถ้วนแต่ยังไม่ได้รับสัญชาติไทย ปัจจุบันเรื่องเด็กที่เกิดใหม่ไม่ค่อยมีปัญหาแล้ว แต่กลุ่มที่มีปัญหาที่สุดคือ ผู้เฒ่าหรือคนแก่ ที่ยังไม่มีสัญชาติ ต้องอาศัยภาครัฐและภาคประชาชนในการช่วยเหลือให้เป็นรูปธรรม เพราะในเชิงสิทธิมนุษยชนแล้วคนไร้รัฐต้องหมดไปจากประเทศไทย ที่มาของแหล่งข่าว : https://www.springnews.co.th/thailand/532711

1 5 6 7 8 9 46
Copyright © 2018. All rights reserved.