News

ชีวิตที่ถูกล็อคของเด็กไร้สัญชาติ

เด็กไทยไร้สัญชาติที่สามารถขอสัญชาติไทยได้ตามกฎหมาย ยังคงประสบปัญหาในการยื่นเรื่องขอสัญชาติจากหน่วยงานราชการ การเป็นเด็กไร้สัญชาติทำให้พวกเขาไม่รู้อนาคตของตัวเอง และขาดโอกาสในการศึกษาต่อ ทั้งยังมีความหวาดกลัวต่อเจ้าหน้าที่ด้านความมั่นคง อย่างเช่นชีวิตของธิดาและตุ๊กตา ที่แม้มีความฝันแต่อาจสะดุดลงเพราะการเป็นเด็กไร้สัญชาติ… ห้องเรียนเล็กๆของธิดาไม่มีนามสกุล รายล้อมไปด้วยเพื่อนๆคนไทย เธอเป็นหญิงสาวกะเหรี่ยงผู้โชคร้ายที่ตกหล่นจากฐานข้อมูลทะเบียนของรัฐ และกลายเป็นเด็กไร้สัญชาติ ที่โรงเรียนอุดมสิทธิศึกษา อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่ชายแดนไทย – พม่าที่ธิดาเรียนอยู่นี้ มีจำนวนนักเรียนทั้งหมด 1200 คนและ 1 ใน 3 ของเด็กๆที่นี่ เป็นเด็กไร้สัญชาติเหมือนกับธิดา “กำลังจะจบม.6 ในอีก 4 เดือนข้าง” เป็นห้วงเวลาที่กดดันธิดาอย่างหนัก ความฝันที่อยากจะเป็นนางพยาบาลเพื่อรักษาคนทั้งหมู่บ้าน ค่อยๆเลือนลาง และนับถอยหลังไปเรื่อย แม้ว่าหลายมหาวิทยาลัยจะมีโควต้าให้เด็กไร้สัญชาติได้เรียนต่อในระดับปริญาตรี แต่เพราะเป็นเด็กไร้สัญชาติ ธิดาจึงไม่มีสิทธิกู้เงินกยศ. และพ่อแม่ก็ไม่มีเงินมากพอ ที่จะส่งเสีย ในขณะที่ผู้ประกอบการ ห้างร้านต่างๆ ก็ไม่สามารถรับเด็กไร้สัญชาติเข้าทำงานพิเศษได้ เธอจึงไม่รู้ว่าจะหาเงินมาเรียนหนังสือต่อได้อย่างไร ธิดาเล่าให้เราฟังว่าพ่อเป็นกะเหรี่ยงอยู่ฝั่งประเทศพม่า ส่วนแม่เป็นกะเหรียงที่อยู่ชายแดนไทย จริงๆแล้วแม่ของเธอเป็นคนไทยแต่หลังการแบ่งเขตแดน ก็ทำให้แม่ตกหล่นจากทะเบียนราษฎร์และกลายเป็นคนไร้สัญชาติ ส่วนตัวเธอนั้นเกิดที่อำเภอสังขละบุรี แต่เพราะความไม่รู้เรื่องสิทธิและกฎหมายของพ่อกับแม่จึงไม่ได้นำเธอไปจดทะเบียนเกิด เธอจึงไม่ได้รับสัญชาติไทย พจนีย์ ไทรชมภู หรือครูเล็ก ครูโรงเรียนอุดมสิทธิศึกษา บอกว่า  บอกว่า […]

นโยบายการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าว

นับตั้งแต่ที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้เข้ามาบริหารประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 22 พฤษภาคม 2557 เป็นต้นมา ได้มีคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ฉบับที่ 59/2557 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าว และ คำสั่ง คสช. ฉบับที่ 60/2557 เรื่อง แต่งตั้งคณะอนุกรรมการประสานงานการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าวติดตามมาด้วยนโยบายการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวผ่านศูนย์บริการเบ็ดเสร็จ (One Stop Service) เมื่อระหว่างวันที่ 26 มิถุนายน –31ตุลาคม 2557 สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ได้สรุปยอดรวมจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวผ่านศูนย์บริการเบ็ดเสร็จทั้งสิ้น 1,626,235 คน โดยแบ่งเป็นแรงงานข้ามชาติ 1,533,675 คน (เมียนมา 623,648 คน, กัมพูชา 696,338 คน, ลาว 213,689 คน) กับผู้ติดตาม 92,560 คน (เมียนมา 40,801 คน, กัมพูชา 42,609 […]

รมว.สธ. เตรียมเสนอครม.แก้ไขสถานะสิทธิคนไร้รัฐ ไร้สัญชาติ

รมว.สธ. เตรียมเสนอครม.แก้ไขสถานะสิทธิคนไร้รัฐ ไร้สัญชาติ ลดวิกฤติการเงิน“รพ.อุ้มผาง”จ.ตากและรพ.พื้นที่ชายแดนอื่นๆ แยกสูตรจัดสรรงบรายหัวจากพื้นที่ปกติ ศาสตราจารย์นายแพทย์รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วยนายแพทย์สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข และคณะผู้บริหารระดับสูงจากกระทรวงสาธารณสุขและสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เดินทางไปตรวจเยี่ยมโรงพยาบาลอุ้มผาง อ.อุ้มผาง จ.ตาก ซึ่งเป็นโรงพยาบาลชุมชนขนาด 60 เตียง อยู่ติดชายแดนไทย-เมียนมาร์ เพื่อรับฟังการดำเนินงานดูแลสุขภาพประชาชน โดยเฉพาะการจัดบริการบุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิจากผู้ปฏิบัติในพื้นที่ จากนั้นเดินทางไปตรวจเยี่ยมสถานบริการสาธารณสุขชุมชนกิ่วห้าง อ.อุ้มผาง ซึ่งเป็นหน่วยบริการสาธารณสุขขนาดเล็ก ตั้งบนพื้นที่สูง  ทำหน้าที่ดูแลสุขภาพประชาชนขั้นพื้นฐาน เจ้าหน้าที่เป็นชาวเขา สามารถสื่อภาษาท้องถิ่นได้ และเยี่ยมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแม่กลอง เพื่อให้กำลังใจและรับฟังปัญหาอุปสรรคต่างๆในการจัดบริการ เนื่องจากอำเภออุ้มผางเป็นพื้นที่ทุรกันดารห่างไกล การเดินทางยากลำบากมาก เจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ทำงานต้องใช้กำลังใจอย่างเต็มที่ ศาสตราจารย์นายแพทย์รัชตะ กล่าวว่า จากการรับฟังบรรยายสรุปภาพรวมจากนายแพทย์ วรวิทย์  ตันติวัฒนทรัพย์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลอุ้มผาง ในการจัดบริการดูแลสุขภาพประชาชนของโรงพยาบาลอุ้มผาง ซึ่งที่โรงพยาบาลแห่งนี้ มีบทบทพิเศษต่างจากพื้นที่อื่นๆในประเทศ เพราะอยู่ชายแดนติดประเทศเมียนม่าร์ อยู่ห่างจาก อ.แม่สอด มาก การเดินทางลำบาก นอกจากนี้ระบบบริการการสาธารณสุขในประเทศเมียนมาร์ ยังมีข้อจำกัดในเรื่องของมาตรฐาน เนื่องจากปัญหาความมั่นคงทางการเมือง ทำให้ประชาชนข้ามมารักษาที่สถานบริการในเขตรับผิดชอบของรพ.อุ้มผาง สำหรับปัญหาในด้านของพื้นที่อำเภออุ้มผางขณะนี้ ประชาชนยังมีปัญหาเรื่องการสาธารณูปโภค ถนน น้ำ […]

‘โรฮิงญา’ เหยื่อค้ามนุษย์ ปัญหาที่ไทยยังแก้ไม่ตก

การหลบหนีเข้ามาในไทยของชาวโรฮิงญามีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ แต่การจัดการกับกลุ่มเหล่านี้หลายครั้งภาครัฐยังไม่ทันขบวนการค้ามนุษย์ ซึ่งนี่ถือเป็นอีกโจทย์ใหญ่ต้องแก้ ศิววงศ์ สุขทวี ผู้ประสานงานเครือข่ายองค์กรที่ทำงานด้านประชากรข้ามชาติ มองว่า แค่ 15 วันแรกของปี 2558 มีผู้อพยพชาวโรฮิงญาที่พบว่าเสียชีวิตแล้ว 3 ศพ ขณะที่ในปี 2557 มีผู้อพยพลักลอบหนีเข้าเมืองเสียชีวิตใน 3 เดือนแรก 8 ศพ และศพที่ 9 ในเดือนธันวาคม ที่เป็นเพียงเด็กชายอายุเพียง 3 ขวบที่ถูกขังร่วมอยู่กับพ่อในห้องควบคุมของด่านตรวจคนเข้าเมืองใน จ.สงขลา เนื่องจากไม่มีญาติที่เป็นผู้หญิงเดินทางด้วย และทั้งตัวเด็กเองก็ไม่ยอมที่จะอยู่ห่างจากพ่อของตน แต่ด้วยสภาพของห้องควบคุมที่ไม่เหมาะอย่างยิ่งสำหรับเด็ก และการควบคุมที่ยาวนานกว่า 10 เดือน เด็กชายคนนั้นก็ไม่มีโอกาสที่จะได้อยู่กับพ่ออีกต่อไป การอพยพลักลอบหนีเข้าเมืองชาวเมียนมาร์โรฮิงญา ได้ขยายเป็นขบวนการค้ามนุษย์ขนาดใหญ่ที่อยู่ในหลายจังหวัดชายฝั่งอันดามันของไทยตั้งแต่ระนอง พังงา จนถึงสตูล เรือประมงของไทยได้ไปรอรับอยู่บริเวณน่านน้ำที่เป็นชายแดนบังกลาเทศ เมียนมาร์ เพื่อรับตัวชาวโรฮิงญาที่ต้องการหนีความรุนแรงในบ้านเกิด หนีความยากจนในบริเวณชายแดนเมียนมาร์ บังกลาเทศ บางคนถูกหลอกลวงว่าจะพาไปหางานทำ บางคนถูกบังคับให้ขึ้นเรือ โดยนายหน้าที่อยู่ในชุมชนของตน พวกเขาถูกพาขึ้นเรือเล็กก่อนที่จะมาขึ้นเรือขนาดใหญ่ที่จอดรออยู่ในทะเล ถ้าโชคดีก็ใช้เวลาเดินทางในทะเลเพียงสิบกว่าวัน ถ้าโชคร้ายที่จำนวนชาวโรฮิงญาบนเรือยังได้ไม่ถึงเป้าก็ต้องอยู่รอบนเรือ หรืออาจต้องหลบเลี่ยงเรือตรวจการณ์ทั้งของบังกลาเทศ หรือของไทยในระหว่างทาง เวลาที่ใช้จากสิบกว่าวันก็เป็นหลายสิบวันที่มีเพียงข้าวสารคุกเกลือกิน ชาวโรฮิงญาที่ถูกจับกุมได้ในประเทศไทยตั้งแต่ปี […]

จี้ นพ.รัชตะ เสนอ ครม.เพิ่มคนไร้สถานะ 2 แสนคนได้สิทธิรักษา หลังไม่คืบหน้า แม้ประกาศเป็นนโยบาย

จี้ นพ.รัชตะ เสนอ ครม.เพิ่มคนไร้สถานะ 2 แสนคนได้สิทธิรักษา หลังไม่คืบหน้า แม้ประกาศเป็นนโยบาย 36 องค์กรสาธารณสุขและเครือข่ายแพทย์ชายแดน เรียกร้อง รมว.สธ.เสนอ ครม.เพิ่มคนไทยไร้สถานะ 208,631 คน ที่ยังรอการพิสูจน์สิทธิเข้ากองทุนให้สิทธิรักษาพยาบาลที่สธ.ดูแลอยู่ ตามมติ ครม. 23 มี.ค.53 พร้อมเสนอตั้งกองทุนควบคุมโรคตามแนวชายแดน เผยเสนอให้สธ.รับทราบและได้ประกาศเป็นนโยบายของ นพ.รัชตะ และนพ.สมศักดิ์ ตั้งแต่รับตำแหน่ง ก.ย.57 แล้ว คาดใช้งบเพิ่มปีละ 602.5 ล้านบาท ชี้เป็นมาตรการมนุษยธรรมที่จะช่วยแก้ปัญหา รพ.ชายแดนที่ต้องแบกรับค่ารักษา และช่วยควบคุมป้องกันโรคตามแนวชายแดน เมื่อวันที่ 29 ม.ค.58 ที่ มูลนิธิพัฒนาชุมชนและเขตภูเขา จ.เชียงราย เครือข่ายชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย ร่วมกับ 36 องค์กรด้านสาธารณสุขและเครือข่ายแพทย์ตามแนวชายแดน มูลนิธิภิวัฒน์สาธารณสุขไทย และสำนักสนับสนุนสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) แถลงข่าวการแก้ไขปัญหาสิทธิการรักษาพยาบาลให้กลุ่มคนไทยไร้สถานะ และเสนอตั้งกองทุนควบคุมโรคตามแนวชายแดน นางเตือนใจ ดีเทศน์ อดีตสมาชิกวุฒิสภา จ.เชียงราย กล่าวว่า ประเทศไทยยังมีประชากรกลุ่มหนึ่งที่ยังมีปัญหาสถานะและสิทธิ ส่วนใหญ่เป็นประชากรในพื้นที่สูง […]

“คนไร้บ้าน” กับความไม่เป็นธรรมทางสังคม

“คนไร้บ้าน” (homeless) เป็นคนกลุ่มหนึ่งที่ใช้ชีวิตในพื้นที่สาธารณะทั้งในเวลากลางวันและกลางคืน ผู้คนในส่วนใหญ่ในสังคม เข้าใจว่าคนไร้บ้านมีลักษณะเช่นเดียวกับคนเร่ร่อนขอทาน หากแต่งานศึกษา “โลกของคนไร้บ้าน” ของบุญเลิศ วิเศษปรีชา ที่ให้ภาพเชิงลึกในชีวิตของคนไร้บ้าน ก็ทำให้เราเห็นว่า คนไร้บ้านแตกต่างจากคนเร่ร่อนขอทานเพราะพวกเขาส่วนใหญ่ต่างมีศักยภาพในการประกอบอาชีพ ทั้งการเก็บของเก่า การรับจ้าง และการค้าขายเล็กๆ น้อยๆ “คนไร้บ้าน” เป็นปรากฏการณ์สามารถพบได้ในเมืองใหญ่ต่างๆ พวกเขาเป็นคนที่จัดได้ว่าอยู่สุดขอบและมีความยากจนสุดของเมือง และแทบจะปราศจากหลักประกันความมั่นคงในชีวิต ผู้คนส่วนใหญ่มักคิดกันว่า “คนไร้บ้าน” มาจากผู้ไร้ประสิทธิภาพในการทำงานจนทำให้ชีวิตต้องไร้บ้าน หากแต่ในความเป็นจริง “คนไร้บ้าน” มีที่มาหลากหลาย ส่วนหนึ่งพวกเขาเป็นผู้ที่ประสบกับปัญหาโครงสร้างทางครอบครัวและสังคมเศรษฐกิจจนต้องออกมาไร้บ้าน แม้จะมีศักยภาพในการทำงานอยู่ก็ตาม ส่วนหนึ่ง เป็นผู้ทีประสบปัญหาในชีวิตและไร้ทางออกให้กับตนเอง อีกส่วนหนึ่ง เป็นกลุ่มที่พบกับความแร้นแค้นของภูมิลำเนาจนต้องออกมาหาความหวังและความอยู่รอดในเมืองใหญ่ ทั้งถาวรและบางฤดูกาล ในแง่นี้ “คนไร้บ้าน” จึงไม่แตกต่างจากคนปกติทั่วไป และทุกคนอาจสามารถมีโอกาสเป็น “คนไร้บ้าน” ได้เช่นเดียวกัน กระนั้นก็ดี จากความเป็นคนชายขอบที่ยากจนสุดของสังคม และไร้ทุนทางสังคมวัฒนธรรมในการช่วยเหลือเจือจุนการใช้ชีวิต ทำให้คนไร้บ้านต้องประสบปัญหาต่างๆ ที่มีความไม่เป็นธรรมทั้งโดยตรงและโดยอ้อมจากสังคมตัวอย่างเช่น ปัญหาประการแรก ที่พบในกลุ่มคนไร้บ้านส่วนใหญ่ คือ ความเหลื่อมล้ำและไม่เป็นธรรมในการเข้าถึงบริการของรัฐ โดยเฉพาะบริการด้านสุขภาพที่เป็นความต้องการพื้นฐานของคนส่วนใหญ่ ทั้งนี้ ไม่เพียงคนไร้บ้านจะไม่สามารถเข้าถึงกลไกสนับสนุนด้านสุขภาพเฉกเช่นเดียวกับคนทำงานหรือมนุษย์ทั่วไปได้เท่านั้น หากแต่การเข้าถึงแม้เพียงบริการสุขภาพพื้นที่ก็ดูจะเป็นไปด้วยความยากลำบาก เพราะคนไร้บ้านส่วนใหญ่ได้ประสบปัญหาการไม่มี “บัตรประชาชน” อันเป็นเครื่องมือในการรับรองสิทธิพื้นฐาน […]

กลุ่มผู้มีปัญหาทางสถานะที่ถูกปลดจากสิทธิ UC ยังคงถูกลอยแพ

ภาคประชาชนได้แถลงการณ์เรียกร้องให้กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพิ่มคนไทยไร้สถานะ 2 แสนคนให้ได้รับสิทธิรักษาพยาบาลภายใต้กองทุนคืนสิทธิรักษาพยาบาลผู้มีปัญหาตามสถานะตามมติครม. 2553 (กองทุนคืนสิทธิฯ) สธ.ดูมีท่าทีตอบรับข้อเสนอของภาคประชาชน เห็นได้จากการที่รัฐมนตรีว่าการสาธารณสุข นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน ได้ลงพื้นที่อำเภออุ้มผาง จังหวัดตากก่อนหน้านี้ และประกาศจะเดินหน้าขอความเห็นชอบจาก ครม.ขอ สธ.ดูแลผู้ตกสำรวจเพิ่มเติม อย่างไรก็ตาม พบว่าข้อเสนอที่หยิบยกขึ้นมามิได้รวมกลุ่มผู่มีปัญหาทางสถานะ 95,071 รายที่ถูกปลดออกจากสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า หรือ UC (Universal Health Coverage) เมื่อปลายปี 2556 หลังจากที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)ถูกท้วงติงจากสำนักงบประมาณว่ากลุ่มบุคคลเหล่านี้มีทะเบียนซ้ำซ้อนกับกองทุนคืนสิทธิฯ จึงจำเป็นต้องปลดคนกลุ่มนี้ออกจากสิทธิ UC เนื่องจาก สปสช.ไม่สามารถดูแลได้ตามกฎหมาย ทั้งๆ ที่หลายคนเป็นผู้สูงอายุและอพยพมาอยู่ในไทยเป็นเวลายาวนาน มีผู้สืบสันดานเป็นผู้มีสัญชาติไทยทั้งสิ้น ปัญหานี้ได้ถูกหยิบยกโดยภาคประชาชนเมื่อต้นปี 2557 และเกิดการเรียกร้องขอให้ สธ.รับคนกลุ่มนี้เข้าสู่การดูแลภายใต้กองทุนคืนสิทธิฯ อย่างไรก็ตาม เกิดการถกเถียงในบอร์ด สปสช.เป็นเวลาหลายเดือน โดย สธ.ไม่มีท่าทีว่าจะรับคนกลุ่มนี้เข้าดูแล ทุกวันนี้ กลุ่มผู้ถูกปลดสิทธิได้รับการรักษาตามหลักมนุษยธรรมภายใต้คำสั่งสำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข ที่ 0209.01/ ว165 ลงวันที่ 17 มี.ค. […]

เมียนมาร์จวกยูเอ็นจุ้นกิจการภายใน

รัฐบาลเมียนมาร์ ออกโรงประณามเจ้าหน้าที่ทูตพิเศษยูเอ็น แทรกแซงกิจการภายใน ที่กล่าวหาเมียนมาร์เลือกปฏิบัติต่อชนกลุ่มน้อยชาวโรฮิงญา ซึ่งจะทำให้การแก้ปัญหายากมากขึ้น สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงย่างกุ้งประเทศเมียนมาร์ เมื่อวันที่4ก.พ.ว่ารัฐบาลเมียนมาร์ประณามนางยังฮีลี ผู้เขียนรายงานพิเศษด้านสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติหรือยูเอ็น ในฐานะทูตพิเศษของยูเอ็นกรณีที่เธอเดินทางเยือนเมียนมาร์เมื่อเดือนที่แล้วและเปิดประเด็นว่าเมียนมาร์เลือกปฏิบัติต่อชนกลุ่มน้อยชาวโรฮิงญาในเมียนมาร์พร้อมทั้งวิพากษ์วิจารณ์ร่างกฎหมายที่เสนอโดยพระสงฆ์ที่มีแนวคิดชาตินิยมที่ห้ามไม่ให้มีการแต่งงานข้ามศาสนาและห้ามเปลี่ยนศาสนา ชาวโรฮิงญาซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยทางศาสนาที่มีอยู่ 1.1ล้านคนในเมียนมาร์ส่วนใหญ่เป็นคนไร้สัญชาติและอาศัยอยู่ในสภาพที่ถูกเหยียดเชื้อชาติในรัฐยะไข่ภาคตะวันตกของประเทศที่ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวพุทธในขณะที่ รัฐบาลเมียนมาร์กำลังดำเนินขั้นตอนพิสูจน์สิทธิพลเมืองที่เต็มไปด้วยความขัดแย้งซึ่งเจ้าหน้าที่เมียนมาร์ที่ทำสำรวจสำมะโนประชากรเรียกร้องให้ชาวโรฮิงญาลงชื่อว่าตัวเองเป็นชาวเบงกาลี นางลีกล่าวว่า สภาพความเป็นอยู่ต่างๆ ในค่ายผู้ลี้ภัยที่มีชาวโรฮิงญาอาศัยอยู่เกือบ140,000คน“เลวร้ายมาก”หลังจากต้องทิ้งบ้านเรือนอพยพหลบหนีจากการปะทะรุนแรงกับชาวพุทธในรัฐยะไข่เมื่อปี 2555นางลีกล่าวในแถลงการณ์เมื่อวันที่16ม.ค.ว่าการกำหนดเงื่อนไขให้ชาวโรฮิงญาและเบงกาลีเป็นสิ่งที่ไม่สร้างสรรค์เธอเรียกร้องให้ประชาชนหันมามุ่งเน้นแก้ปัญหาด้านมนุษยธรรมและสิทธิมนุษยชนที่จำเป็นอย่างเร่งด่วน กระทรวงต่างประเทศเมียนมาร์วิพากษ์วิจารณ์ถ้อยแถลงของเธอเมื่อวันพุธในการแถลงข่าวที่เผยแพร่ในหนังสือพิมพ์โกลบอลนิว ไลท์ ออฟ เมียนมาร์กระบอกเสียงของรัฐบาลเมียนมาร์กระทรวงต่างประเทศระบุว่าการใช้ถ้อยคำเช่นนี้ของเจ้าหน้าที่ทูตพิเศษยูเอ็นผู้นี้จะทำให้ประชาชนเมียนมาร์เกิดความขุ่นเคืองอย่างรุนแรงแน่นอนซึ่งมันก็ยิ่งจะทำให้ความพยายามของรัฐบาลประสบความยุ่งยากมากขึ้นในการแก้ปัญหา ที่มา : http://www.dailynews.co.th Thu, 02/05/2015

ศาลปค.นัดอ่านคดีไทยพลัดถิ่น

เมื่อวันที่ 6 ก.พ. ที่ศาลปกครองกลาง ศาลปกครองนัดพิจารณาคดีครั้งแรก เพื่อฟังความเห็นของตุลาการในคดีที่คนไทยพลัดถิ่น 73 คน ยื่นฟ้อง รมว.มหาดไทย ที่ล่าช้าและละเลยในการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย จากกรณีที่ผู้ฟ้อง 73 รายยื่นเรื่องเปลี่ยนสัญชาติเป็นคนไทย แต่ไม่ได้ดำเนินการให้กว่า 10 ปี นายวุฒิ มีช่วย ตุลาการผู้แถลงคดี แถลงต่อองค์คณะศาลปกครองกลางว่า รัฐบาลอนุญาตให้คนไทยพลัดถิ่นเปลี่ยนแปลงสัญชาติเป็นคนไทยได้ ตั้งแต่ปีพ.ศ.2540 ทำให้คนไทยพลัดถิ่น จ.ตาก จ.ประจวบคีรีขันธ์ จ.ระนอง และจ.ชุมพร มายื่นเรื่อง และผ่านความเห็นชอบจากรมว. มหาดไทย จำนวน 2,984 คน ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2547 ต่อมาปีพ.ศ. 2549 มีพระบรมราชานุญาตเห็นชอบในการเปลี่ยนแปลงสัญชาติคนกลุ่มนี้ โดยมีคนไทยพลัดถิ่นทั้ง 73 คนรวมอยู่ด้วย จนถึงปี 2554 กลับไม่ปรากฏชื่อของ 73 คนในราชกิจจานุเบกษาให้มาทำบัตรประชาชนคนไทย นายวุฒิแถลงว่ากรณีนี้เป็นการขอเปลี่ยนแปลงสัญชาติไทยตามมาตรา 12 วรรค 3 พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ. 2508 เป็นอำนาจหน้าที่ของรมว.มหาดไทย […]

ผู้นำพม่ากลับลำไม่ให้สิทธิ์ชาวโรงฮิงญาออกเสียงลงประชามติ

ประธานาธิบดีเต็ง เส่ง ผู้นำเมียนมาร์ ยกเลิกการให้สิทธิชั่วคราวแก่ชนกลุ่มน้อยชาวโรงฮิงญาในการลงประชามติ หลังจากประชาชนชนและพระหลายร้อยรูปเดินขบวนประท้วงที่สภาเมียนมาร์เตรียมจะผ่านกฎหมายอนุญาตให้ผู้ที่มี “บัตรขาว”มีสิทธิ์เลือกตั้งได้ การออกบัตรขาวให้ชาวโรงฮิงญา เป็นนโยบายของรัฐบาลทหารชุดที่แล้วอนุญาตให้ชาวโรฮิงญามีสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้งทั่วไปในปี 2010 ล่าสุดนายเต็ง เส่ง พยายามหาทางให้รัฐสภาผ่านกฎหมายให้ผู้ถือบัตรขาวมีสิทธิ์ออกเสียงได้ แต่ผู้ประท้วงมองว่าเป็นการให้สิทธิ์กับคนที่ไม่ใช่ชาวพม่า ชิน ตุ๊มานา พระสงฆ์ที่เข้าร่วมเดินขบวนกล่าวว่า ผู้ถือบัตรขาวไม่ได้ถือสัญชาติพม่า จึงไม่มีสิทธ์เลือกตั้ง และนี่เป็นเพียงแค่กลยุทธ์ของนักการเมืองที่ต้องการจะได้คะแนนเสียงจากชาวโรฮิงญาเท่านั้น อย่างไรก็ตาม นาย ฉ่วย มอง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรชาวโรฮิงญาในเขตยะไข่กล่าวว่าสิทธิในการเลือกตั้งได้กลายเป็นประเด็นที่ถกเถียงกันมากหลังเกิดการปะทะกันระหว่างชาวโรฮิงญาและชาวพุทธเมื่อปี 2555 ในรัฐยะไข่ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 200 คน และทำให้การประท้วงลุกลามไปทั่วประเทศ เมื่อเดือนธันวาคม องค์การสหประชาชาติได้ยื่นข้อเสนอให้เมียนมาร์ให้สัญชาติแก่ชาวโรฮิงยากว่า 1 ล้านคนที่ยังเป็นบุคคลไร้สัญชาติ ที่มา ;https://www.facebook.com/BBCThai/posts/1611655222388845 Fri, 02/13/2015

1 34 35 36 37 38 46
Copyright © 2018. All rights reserved.