“มอญพลัดถิ่น” คนชายขอบแห่งสังขละบุรี ความเป็นไทยในสายเลือดมอญ

ชาวมอญ หรือ รามัญ เป็นกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่งที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานในประเทศไทย ปัจจุบันตั้งถิ่นฐานอยู่กระจัดกระจายทั่วประเทศนับตั้งแต่ภาคเหนือของไทย ท้องถิ่นภาคกลาง และตลอดแนวตะเข็บชายแดนภาคตะวันตก ทั้งที่เป็นมอญเก่าคือกลุ่มที่เคลื่อนเข้ามาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา และมอญใหม่คือกลุ่มที่เข้ามาสมัยรัตนโกสินทร์ บทความชิ้นนี้มุ่งทำความเข้าใจถึงกลุ่มชุมชนชาวมอญอพยพในอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี โดยพิจารณาถึงประวัติการอพยพย้ายถิ่นเข้าสู่ประเทศไทยและลักษณะสถานภาพบุคคล ของชนชาวมอญพลัดถิ่นหมู่บ้านมอญ หรือที่มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า หมู่บ้านแผ่นดินธรรมแผ่นดินทอง หมู่ที่ 2 บ้านวังกะ ตำบลหนองลู อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี อันเป็นหมู่บ้านที่มีชนชาวมอญอาศัยอยู่กว่า 1000 ครอบครัว ตั้งอยู่บนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำซองกาเลียตรงข้ามที่ว่าการอำภอสังขละบุรี ซึ่งอยู่บนฝั่งตะวันออก โดยเดินทางข้ามสะพานไม้ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นทางสัญจรของชาวบ้านระหว่าง ฝั่งอำเภอกับฝั่งหมู่บ้านมอญอันเป็นสัญลักษณ์สำคัญของหมู่บ้านมอญ บ้างวังกะ จนถึงทุกวันนี้
หากพิจารณาลำดับบริบททางประวัติศาสตร์เส้นทางการอพยพเข้ามาตั้งถิ่น ฐานในประเทศไทยของชนชาวมอญและที่มาของเมืองสังขละบุรีแล้ว สามารถแบ่งได้เป็น 3 ช่วงเวลาคือ
1. ช่วงแรก ก่อน พ.ศ.2490 เนื่องจากตั้งแต่สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น เมืองสังขละบุรีมีฐานะเป็นเมืองหน้าด่าน ดังนั้นจึงสันนิษฐานได้ว่าการอพยพเข้าออกของชาว มอญ กะเหรี่ยง พม่า แถบชายแดนถือเป็นเรื่องปกติเพราะสถานการณ์ทางพรมแดนรัฐไทยและพม่าในขณะนั้น ยังมีความยืดหยุ่น
2. ช่วงที่สอง ราวปี พ.ศ. 2490 เนื่องจากสถานการณ์ความไม่สงบและการสู้รบในพม่ารุนแรงมากขึ้นโดยมีชาวมอญ กลุ่มแรกเริ่มอพยพเข้ามาประมาณ 30 ครัวเรือนที่บริเวณหมู่บ้านนิเถะซึ่งเป็นที่อยู่ของชุมชนชาวกะเหรี่ยงห่าง จากตัวอำเภอประมาณ 5 กิโลเมตร ชาวมอญกลุ่มต่อมาภายใต้การนำของหลวงพ่ออุตตมะได้เดินทางเข้ามาตั้งถิ่นฐาน บริเวณบ้านวังกะล่างโดยกระจายตั้งบ้านเรือนตามริมแม่น้ำ เมื่อมีจำนวญชาวมอญมากขึ้นจึงได้รับการจัดแบ่งที่ดินให้ปลูกบ้านเรื่อนอาศัย อยู่บริเวณสามประสบที่แม่น้ำสามสาย คือซองกาเลีย บีคลี่ และรันตี โดยความอนุญาตของปลัดเจริญซึ่งทำหน้าที่รักษาการหัวหน้ากิ่งอำเภอสังขละบุรี ในขณะนั้น จึงมีการก่อตั้งเป็นชุมชนมอญขนาดใหญ่ขึ้น ต่อมาเมื่อมีการสร้างเขื่อนเขาแหลมคลอบคลุมพื้นที่อยู่อาศัยของชาวมอญนี้ การไฟฝ้าฝ่ายผลิตจึงมอบที่ดินชดเชย 614 ไร่ให้แก่วัด หลวงพ่ออุตตมะในฐานะเจ้าอาวาสจึงได้จัดสรรพื้นที่วัดให้เป็นที่อยู่ของชาว มอญอพยพกว่า 400 ครอบครัวจนกระทั้งถึงทุกวันนี้
3. ช่วงที่สาม ตั้งแต่ พ.ศ. 2531 เป็นต้นมา เป็นช่วงที่สถานการณ์ทางการเมืองในพม่าเข้มข้นมากขึ้น เนื่องจากรัฐบาลทหารพม่าเข้ายึดอำนาจปกครองประเทศและเริ่มดำเนินนโยบายปราบ ปรามชนกลุ่มน้อยส่งผลให้สถานการณ์ชายแดนค่อนข้างตึงเครียด จึงมีชาวมอญอพยพหนีภาวะเสียงอันตรายเข้ามามากขึ้น ขณะเดียวกันประเทศไทยก็มีนโยบายเปลี่ยนสนามรบเป็นสนามการค้าจึงส่งผลให้มี การเปิดการค้าบริเวณด่านพระเจดีย์สามองค์ และเมื่อการสู้รบยุติลงในปี 2538 ตลาดการค้าชายแดนก็คึกคึกยิ่งขึ้นส่งผลให้มีชาวมอญอพยพและหลบหนีเข้ามารับ จ้างเป็นแรงงานในไทยมากขึ้น จนกระทั้งปัจจุบันที่หมู่บ้านวังกะจึงมีชาวมอญอพยพประมาณ 1000 ครอบครัว
ทั้ง นี้สถิติประชากรอำเภอสังขละบุรีจากฐานตัวเลขสำรวจที่บันทึกไว้ในทะเบียน ราษฎร์ พบว่า ประชากรร้อยละ 80 เป็นชาวกะเหรี่ยง ร้อยละ 14 เป็นคนไทย และร้อยละ 5 เป็นชาวมอญพลัดถิ่น อย่างไรก็ตามมีการตั้งข้อสังเกตว่าน่าจะมีจำนวนมากกว่าที่บันทึกไว้เพราะมี ชนกลุ่มน้อยที่อพยพเข้าออกอย่างไม่ถูกต้องตามกฎหมายอีกเป็นจำนวนมาก
ประเภณีลอยเรือสเดาะเคราะห์มอญ
หากพิจารณาถึงลักษณะสถานภาพบุคคลของชนชาวมอญพลัดถิ่น อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรีจากทะเบียนประวัติและบัตรชนกลุ่มน้อยโดยซึ่งระบุจำแนกตาม ระยะเวลาที่เข้ามาอาศัยและสภาพพื้นที่ พบว่าสามารถแบ่งชนชาวมอญพลัดถิ่น อำเภอสังขละบุรี ได้ออกเป็น 4 กลุ่มคือ
1. บุคคลบนพื้นที่สูง คือกลุ่มบุคลที่ถือบัตรประจำตัวบุคคลบนพื้นที่สูง(บัตรสีฟ้า)ตามแบบ ของกรมการปกครอง กลุ่มบุคคลบนพื้นที่สูงนี้มีทั้งที่อพยพมาจากพม่าและเป็นชาวเขาดั้งเดิม ส่วนใหญ่เป็นชาวกะเหรี่ยงอยู่ในพื้นที่ป่าเขา
2. ผู้พลัดถิ่นสัญชาติพม่า คือกลุ่มบุคคลที่ถือบัตรประจำตัวผู้พลัดถิ่นสัญชาติพม่า(บัตรสีชมพู)ตามแบบของกรมการ ปกครอง เป็นคนสัญชาติพม่าที่หนีภัยการสู้รบเข้ามาอยู่ในอำเภอสังขละบุรีก่อน พ.ศ. 2519 ซึ่งได้มีการจัดทำทะเบียนประวัติพร้อมทั้งออกบัตรประจำตัวให้ไว้เมื่อปี พ.ศ. 2539 จำนวนประมาณ 5594 คน ส่วนใหญ่เป็นชาวมอญที่บ้านวังกะ หมู่ที่ 2 เนื่องจากมติคณะรัฐมนตรีซึ่งออกเมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2535 ให้ถือว่า “ผู้พลัดถิ่นสัญชาติพม่า” หมายถึง บุคคลหลายเชื้อชาติที่อยู่ในประเทศพม่า เช่น มอญ กะเหรี่ยง ไทยใหญ่ ละว้า พม่า ลาว ฯลฯ ที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทยก่อนวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ.2519 และอนุญาตให้อยู่ได้ชั่วคราว
3. ผู้หลบหนีเข้าเมืองสัญชาติพม่า หมายถึง บุคคลเชื้อชาติต่าง ๆ จากประเทศพม่า เช่น มอญ กะเหรี่ยงไทยใหญ่ ละว้า พม่า ลาว ฯลฯ ที่หลบหนีเข้ามาในประเทศไทยหลังจากวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ.2519 ทั้งนี้ตามมติคณะรัฐมนตรีออกเมื่อวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2535 ได้มีการจัดทำทะเบียนประวัติครั้งแรกและออกบัตรประจำตัวผู้หลบหนีเข้าเมือง สัญชาติพม่าตามแบบของกรมการปกครองให้ไว้เมื่อปี พ.ศ.2536-2537 โดยแบ่งบัตรออกเป็น 2 สี คือ
• บัตรสีส้ม ซึ่งออกให้กับผู้หลบหนีเข้าเมืองสัญชาติพม่าที่เข้าเมืองมาแล้วมีที่อยู่ เป็นของตนเอง โดยอาศัยกระจายอยู่ทั่วทั้งอำเภอ ซึ่งจำนวนร้อยละ 70 เป็นชาวมอญ ส่วนที่เหลือเป็นคนเชื้อสายพม่า
• บัตรสีม่วง ซึ่งออกให้กับผู้ที่หลบหนีเข้าเมืองมาเพื่อทำงานอยู่อาศัยกับนายจ้างอย่าง ไรก็ตามมติคณะรัฐมนตรีออกเมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ.2535 ผ่อนผันให้บุคคลดังกล่าวอาศัยอยู่ได้ชั่วคราว และเริ่มทดลองให้ทำงานได้โดยดำเนินการขอประกันตัวกับกองตรวจคนเข้าเมือง และขอใบอนุญาตการทำงานต่อกรมการจัดหางาน โดยมีเขตผ่อนผันใน 4 จังหวัดคือ เชียงราย ตาก กาญจนบุรี และระนอง
4. บุคคลชุมชนบนพื้นที่สูง คือกลุ่มบุคคลที่ถือบัตรประจำตัวบุคคลชุมชนบนพื้นที่สูง(บัตรสีเขียวขอบ แดง)ตามแบบของกรมการปกครอง ซึ่งได้แก่ ชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงและชนกลุ่มน้อยอื่น ๆ อย่างไรก็ตามแม้ว่าบุคคลทั้ง สี่ประเภทนี้จะมีสถานะเป็นบุคคลที่ได้รับอนุญาตให้อาศัยอยู่ในประเทศไทย กล่าวคือ ไม่อาจถูกส่งกลับออกจากประเทศไทยในขณะที่คำสั่งผ่อนผันยังไม่สิ้นสุด แต่การใช้สิทธิในความเป็นบุคคลในประเทศไทยย่อมถูกจำกัด อาทิ สิทธิและเสรีภาพในการเคลื่อนไหวย่อมถูกจำกัด ทั้งนี้โดยการกำหนดเขตหมู่บ้านที่ระบุไว้ในบัตรประจำตัวหรือในทะเบียน ประวัติว่าให้อยู่เฉพาะในเขตควบคุมและจะออกนอกพื้นที่ไม่ได้ นอกจากนี้ทางราชการยังมีนโยบายผลักดันบุคคลทั้ง 4 กลุ่มนี้กลับให้ได้มากที่สุด โดยเหตุผลเนื่องจากปัญหาการทำลายทรัพยากรป่าไม้ บุกรุกถางป่าเพื่อทำไร่ และปัญหาแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง
ในกรณีของชาวมอญบ้านวังกะนั้น ส่วนใหญ่ถูกกำหนดสถานะภาพว่าเป็น ผู้พลัดถิ่นสัญชาติพม่า และบางส่วนเป็น ผู้หลบหนีเข้าเมืองสัญชาติพม่า อย่างไรก็ชาวบ้านบางส่วนได้รับสัญชาติไทยเนื่องจากแต่งงานกับคนไทยแล้วมีผล ให้ลูกได้สัญชาติโดยอัตโนมัติแต่พ่อเม่ยังคงสัญชาติเดิม บางส่วนได้สัญชาติไทยเพราะทำความดีความชอบเนื่องจากการเป็นทหารพรานรับใช้ กองทัพอยู่หลายปี อย่างไรก็ตามในปี 2547 ทางหมู่บ้านวังกะยื่นรายชื่อชาวมอญผู้ถือบัตรผู้พลัดถิ่นสัญชาติพม่า(บัตรสี ชมพู)จำนวน 2119 คน เพื่อขอสถานะคนต่างด้าวที่เข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมาย(บัตรต่างด้าว)และขอ สัญชาติไทย อีกทั้งยื่นรายชื่อชาวมอญผู้ถือบัตรผู้หลบหนีเข้าเมืองสัญชาติพม่า(บัตรสี ส้ม)จำนวน 1111 คนเพื่อขอสถานะต่างด้าวที่เข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมาย(บัตรต่างด้าว)และขอ สัญชาติไทย
Copyright © 2018. All rights reserved.