การต่อสู้ของคนไม่มีอาวุธ

เกือบ 10 ปีมาแล้วที่ชาวบ้านกว่า 5 หมื่นชีวิตในอำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวเขาดั้งเดิมต้องต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งสัญชาติไทย สิ่งซึ่งพวกเขาเชื่อเหลือเกินว่าจะทำให้เขายืนอยู่บนแผ่นดินนี้ได้เท่าเทียม เยี่ยงคนไทยคนหนึ่งพึงมีพึงได้ และไม่ต้องทนทุกข์กับการอยู่อย่างไร้ตัวตนอย่างที่ผ่านมา
ห้วงเวลาที่ผ่านมากลุ่มคนเหล่านี้ดำเนินเรื่องยื่นคำร้องขอ สัญชาติไทยไปยังอำเภอไม่น้อยว่า 4 ครั้ง นับตั้งแต่พ.ศ.2543 ซึ่งมีระเบียบสำนักทะเบียนกลางว่าด้วยการพิจารณาลงรายการ สถานะบุคคลในทะเบียนราษฎรให้แก่บุคคลบนพื้นที่สูง พ.ศ. 2543 ออกมาเพื่อเอื้อให้ชาวเขาติดแผ่นดินหรือชาวเขาดั้งเดิมที่เกิดในประเทศไทย ได้ยื่นคำร้องลงรายการสถานะบุคคล
แต่จนแล้วจนรอดเอกสารของกลุ่มคนเหล่านี้ก็ยังถูกดองอยู่ ที่ทำการอำเภอ โดยมีข้ออ้างจากคนทำงานว่าเป็นเพราะมีการเปลี่ยนแปลงคนทำงานบ่อยครั้ง ทั้งที่พวกเขาคือกกลุ่มคนไทยที่จะต้องได้รับการเพิ่มชื่อให้อยู่ในทะเบียน บ้านตามกฎหมายอยู่แล้ว
มาถึงวันนี้ ชาวบ้านซึ่งเป็นคนหาชาวกินค่ำสุดจะทนกับระบบเต่า ซึงหากปล่อยไว้ก็รังแต่จะทำให้พวกเขาเสียเวลาทำมาหากินและเสียโอกาสหลาย อย่างในชีวิต จึงรวมตัวกันภายใต้ชื่อ “เครือข่ายแก้ไขปัญหาสถานะ บุคคล อำเภอแม่ฟ้าหลวง” เข้าพบนายอำเภอเพื่อยื่นข้อเรียกร้อง 3 ข้อ คือ ข้อ1ให้อำเภอแม่ฟ้าหลวงดำเนินการตรวจสอบรายชื่อที่ได้แนบมาว่าเป็นบุคคลที่ ได้ยื่นคำร้องลงรายการระเบียบ 43 ต่อที่ว่าการอำเภอ แม่ฟ้าหลวงหรือไม่ และให้แจ้งผลการดำเนินการเป็นลายลักษณ์อักษรแก่เครือข่ายภายใน 10 วัน ข้อ2ให้ดำเนินการรับคำร้องของสมาชิก เครือข่ายที่ยังไม่ได้ยื่นคำร้องไว้ตามข้อ 1 ภายใน 10 วัน ข้อ3.ให้นายอำเภอแม่ฟ้าหลวงดำเนินการพิจารณาคำร้องตามข้อ 1 และข้อ 2 ของบุคคลที่มีรายชื่อดังตามที่ แนบมา และมีคำสั่งอนุมัติหรือไม่อนุมัติภายในกำหนดระยะเวลาของกฎหมาย คือ 1 เดือน
นาย อาจู เชอเมอ แกนนำเครือข่ายแก้ไขปัญหาสถานะบุคคล อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย เล่าว่า มีชาวบ้านในอำเภอแม่ฟ้าหลวงอีก 3 หมื่นคนที่ยังตกอยู่ในสภาพคนไร้สิทธิ ทั้งที่กลุ่มคนเหล่านี้ได้ยื่นคำร้องฯไปแล้วตั้งแต่ปี43 เท่ากับว่าพวกตนได้ต่อสู้และเฝ้ารอมา 7-8 ปีแล้ว ซึ่งเป็นระยะเวลาที่นานเกินไป จึงไม่อาจทนกับความเพิกเฉยของเจ้าหน้าที่ได้อีกต่อไป
“เรารอโอกาสมา นานถึง 8-9 ปี เพราะการทำงานที่ล่าช้าของเจ้าหน้าที่ เปลี่ยนคนทำงานทีหนึ่งพวกเราก็ต้องยื่นคำร้องใหม่ครั้งหนึ่ง ตัวผมเองก็ยื่นมาแล้ว 4 ครั้ง เสียค่าใช้จ่ายไปแล้วไม่รู้เท่าไร เสียทั้งเงิน เสียทั้งเวลา วันนี้พวกเราไม่อยากรอแล้ว จึงตัดสินใจมายื่นข้อเรียกร้องต่อนายอำเภอด้วยตัวเอง”
นอกจากนี้หากอำเภอปฏิเสธไม่ขอดำเนินการตามคำเรียกร้องของเครือข่ายฯ ทางเครือข่ายฯจะดำเนินการตามกฎหมาย และจะชุมนุมเรียกร้องตามสิทธิของมนุษยชนที่พึงกระทำได้ ซึ่งชาวบ้านก็ต้องหัวใจสลายเมื่อนายอำเภอปฏิเสธข้อเรียกร้องดังกล่าว แม้จะเผื่อใจมาแล้วก็ตาม
“นายอำเภอปฏิเสธข้อเรียกร้องครับ แล้วเราจะเดินทางเข้าพบผู้ว่าราชการจังหวัดที่ศาลากลาง”
แกนนำ เครือข่ายฯกล่าว ก่อนเดินไปรวมพลกับกลุ่มชาวบ้านเพื่อเดินทางไปยังศาลากลางจังหวัดเชียงราย ซึ่งภารกิจของพวกเขาก็ได้จบสิ้นลงที่นี่ โดยมีจ่าจังหวัดออกมารับหนังสือและพูดคุยกับกลุ่มชาวบ้านว่าเรื่องนี้ต้อง ดำเนินการตามขั้นตอน พร้อมทั้งนำเสนอผู้ว่าอีกทีหนึ่ง
นี่เป็น อีกหนึ่งปรากฏการณ์ที่ผู้ใหญ่ในบ้านเมืองต้องขบคิดและแก้ไข เพราะนี่ไม่ใช่เหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นให้เห็นกันบ่อยครั้งนัก ชาวบ้านผู้ไม่มีความรู้ ประชาชนหาเช้ากินค่ำที่ไม่มีสิทธิแม้แต่จะเรียกร้องค่าแรงงานขั้นต่ำ รังแต่จะถูกกดเหยียบให้จมดินจนไม่อาจงอกเงยเช่นพวกเขาจึงไม่อาจอดรนทนต่อไป ได้ และเห็นว่าไม่มีอาวุธใดที่สามารถต่อกรกับระบบที่ไม่เข้าท่าได้เท่ากับพลัง แห่งมวลชนที่ก่อตัวขึ้นภายใต้แรงกดดันภายในบวกกับความผิดหวังที่เกิดขึ้น ครั้งแล้วครั้งเล่าจากความเพิกเฉย ละเลยในหน้าที่และไม่ปรานีปราศรัยต่อความเดือดร้อนของประชาชนจนของเจ้า หน้าที่บางกลุ่ม วันนี้จึงปะทุขึ้น
ปากีรณัม
Copyright © 2018. All rights reserved.