ขบวนการกะเหรี่ยงยื่นข้อเสนอปฎิรูป ออกแถลงการณ์วอนรัฐหยุดคุกคาม ข่มขู่ชาวบ้านอยู่กับป่า จี้สอบสวนวินัยอดีตหัวหน้าอุทยานแก่งกระจาน

เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ ขบวนการกะเหรี่ยงเพื่อฟื้นฟูวิถีวัฒนธรรมและจิตวิญญาณ ซึ่งเป็นการรวมตัวของชาวกะเหรี่ยงในประเทศไทยหลายเครือข่าย จำนวนกว่า 150 คน ได้เดินทางไปยังอาคารรัฐสภาเพื่อยื่นข้อเสนอให้ปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่เป็นปัญหาต่อการมีส่วนร่วมประชาชน โดยมีนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญและนพ.อำพล จินดาวัฒนะ ประธานกรรมาธิการปฏิรูปด้านสังคม ชุมชน เด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ สภาปฏิรูปแห่งชาติ เป็นตัวแทนรับหนังสือ
ในหนังสือข้อเสนอระบุว่า ด้วยขบวนการกะเหรี่ยงเพื่อฟื้นฟูวิถีวัฒนธรรมและจิตวิญญาณ สู่การคุ้มครองพื้นที่ทางสังคม ทรัพยากรธรรมชาติ-สิ่งแวดล้อม วิถีวัฒนธรรม และพื้นที่ทางจิตวิญญาณ ประกอบด้วยเครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม(กวส.)เขตเชียงใหม่-เชียงราย/ เขตลำพูน-ลำปาง-แพร่/ เขตแม่ฮ่องสอน/ เขตตาก-สุโขทัย-กำแพงเพชร/ เขตอุทัยธานี-สุพรรณบุรี-กาญจนบุรี/ เขตราชบุรี-เพชรบุรี-ประจวบคีรีขันธ์ เครือข่ายกลุ่มเกษตรกรภาคเหนือ (คกน.)ร่วมกับภาคีองค์กรเครือข่ายภาคประชาชน สถาบันวิชาการ องค์กรพัฒนาเอกชนที่เกี่ยวข้อง และหน่วยงานรัฐ ราชการ กระทรวงวัฒนธรรม สำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี จัดเวทีทางวิชาการเพื่อสรุปบทเรียนการดำเนินงาน 4 ปีการขับเคลื่อนมติคณะรัฐมนตรี 3 สิงหาคม พ.ศ.2553 ว่าด้วยแนวนโยบายและหลักปฏิบัติในการฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยง
ในหนังสือระบุว่า ได้มีการกำหนดกรอบแนวทางและแผนดำเนินงาน 4 ประเด็นหลักประกอบด้วยด้านอัตลักษณ์ชาติพันธุ์และวัฒนธรรม ด้านการจัดการทรัพยากร ด้านสิทธิในสัญชาติ ด้านการสืบทอดมรดกทางวัฒนธรรม และด้านการศึกษา พร้อมกับมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับผิดชอบชัดเจน อย่างไรก็ตามหลังเวลาล่วงเลยผ่านมานานกว่า 4 ปี จากการสรุปบทเรียนพบว่าการดำเนินงานไม่เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมเท่าที่ควร แม้จะมีความพยายามจากภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
นอกจากนี้ขบวนการกะเหรี่ยงเพื่อฟื้นฟูวิถีวัฒนธรรมและจิตวิญญาณ ยังได้ออกแถลงการณ์โดยระบุว่าสืบเนื่องด้วยคณะรักษาความสงบสุขแห่งชาติ(คสช.) มีแนวนโยบายการบริหารประเทศเพื่อการสร้างความปรองดองและการคืนความสงบสุขแก่ประชาชนชาวไทยทุกคน ดังนั้นเพื่อให้แนวนโยบายดังกล่าวนำไปสู่การปฏิบัติได้จริงและสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างเป็นรูปธรรม พวกเรามีข้องเสนอเรียกร้องให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติดังต่อไปนี้
ชาติพันธุ์กะเหรี่ยง หมายถึงกลุ่มชาติพันธุ์ที่เรียกตนเองว่าปกาเกอะญอจกอร์/โพล่ว/กะยาห์/และปะโอซึ่งอาศัยในสยามประเทศหรือประเทศไทย ชุมชนกะเหรี่ยงที่ตั้งถิ่นฐานชุมชนในพื้นที่จังหวัดต่างๆของประเทศไทยดังนี้ในภาคเหนือมี10 จังหวัดประกอบด้วยเชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ลำพูน ลำปาง ตาก พะเยา แพร่ กำแพงเพชร และสุโขทัย ภาคตะวันตก 7 จังหวัดประกอบด้วยอุทัยธานี สุพรรณบุรี ราชบุรี กาญจนบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ และระนอง มีประชากรกว่า5แสนคน กะเหรี่ยงดังเดิม บรรพบุรุษดั้งเดิมตั้งถิ่นที่อยู่อาศัยอาณาบริเวณภาคพื้นที่ทอดยาวจากเหนือตลอดจนถึงภาคตะวันตกของประเทศไทยมาอย่างยาวนานแล้ว เมื่อสืบย้อนข้อมูลประวัติศาสตร์ทางวิชาการชุมชนกะเหรี่ยงแต่ละแห่งได้ถึง1,200 ปี แต่ส่วนใหญ่ชุมชนจะสามารถระบุเวลาได้ไม่ประมาณ400-500 ปี ชุมชนกะเหรี่ยงดังกล่าวที่ตั้งถิ่นฐานที่อยู่อาศัยในพื้นที่มายาวนานแต่ส่วนใหญ่จะดรงอยู่ในป่า ต่อมาได้มีการจำแนกประเภทป่าตามกฎหมายต่างๆจากทางราชการ โดยที่ทางราชการไม่ได้กันเขตพื้นที่ชุมชนกะเหรี่ยงไว้ให้ จึงทำให้ชุมชนกะเหรี่ยงที่มีการตั้งถิ่นฐาน ชุมชนมายาวนานก่อนที่จะทีการประกาศพื้นที่ทางกฎหมายกลายเป็นผู้บุกรุก และฝ่าฝืนทันทีหลังมีการประกาศใช้กฎหมายของระเบียบราชการ
“ชุมชนกะเหรี่ยงจำนวนมากที่ได้อาศัยในพื้นที่ป่ามาเป็นเวลานาน หลายชั่วอายุคน ซึ่งมีประเพณี คติ ความเชื่อที่เคารพต่อป่า ที่เอื้อให้เกิดการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ และในชุมชนที่ได้รับปัญหาส่วนใหญ่จะมีสภาพป่าที่อุดมสมบูรณ์ ต่อมาเมื่อรัฐมีนโยบายเพิ่มพื้นที่ป่าอนุรักษ์ ชุมชนเหล่านี้ถูกเจ้าหน้าที่รัฐ ประกอบด้วยกรมป่าไม้ กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพรรณพืชประกาศแนวเขตป่าต่าง ๆ ทับพื้นที่อยู่อาศัย พื้นที่ทำกิน และพื้นที่ป่า ชุมชนเช่นการประกาศเป็นพื้นที่เขตรักษาพันธ์สัตว์ป่า เขตอุทยานแห่งชาติ เขตพื้นที่วนอุทยาน และการจัดชั้นคุณภาพลุ่มน้ำต่างๆตามมติคณะรัฐมนตรีเป็นต้นหลังจากรัฐได้ประกาศพื้นที่ป่าทับพื้นที่ของประชาชนแล้วรัฐได้ออกนโยบายและมาตรการต่าง ๆ มาปฏิบัติต่อคนที่อาศัยอยู่ในเขตป่า เช่น การอพยพออกจากเขตป่าอนุรักษ์ หากอพยพไม่ได้ก็ให้จำกัดการพัฒนา และให้มีการจับกุมและดำเนินคดีกับราษฎรที่อาศัยอยู่ในเขตป่าต่าง ๆ อย่างเคร่งครัด นโยบายดังกล่าวได้ส่งผลกระทบสร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตป่าเป็นอย่างมากโดยเฉพาะภาคเหนือที่มีลักษณะภูมิศาสตร์เป็นภูเขาสลับซับซ้อนและประกอบไปด้วยพื้นที่ป่าเป็นส่วนใหญ่ นอกจากนี้มาตรการหรือนโยบายต่าง ๆ ที่เจ้าหน้าที่รัฐปฏิบัติได้นำไปสู่วิกฤติปัญหาความขัดแย้งระหว่าง ประชาชนกับประชาชน ประชาชนกับเจ้าหน้าที่รัฐในวงกว้างเป็นอย่างมาก ในขณะเดียวกันจะเห็นว่าพื้นที่ป่ากลับลดลงเรื่อย ๆ เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงนโยบายที่ล้มเหลวของรัฐ ที่ไม่สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงของปัญหา ดังนั้นสมาพันธ์ชาวกะเหรี่ยงแห่งสยาม ซึ่งเป็นองค์กรเครือข่ายที่มีสมาชิกชุมชนที่ตั้งถิ่นฐานมาก่อนที่จะมีการประกาศเขตป่า และได้รับนโยบายที่ไม่เป็นธรรม”ในแถลงการณ์ระบุ
ในแถลงการณ์ยังระบุด้วยว่า ทางขบวนการกะเหรี่ยงฯ จึงเรียกร้องแก่ผู้บริหารประเทศไทยเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาดังกล่าวมาตลอดทุกรัฐบาล ทุกสมัยจนกว่าปัญหาจะได้รับการแก้ไขได้ดังนี้ 1.ปัญหากรณีเร่งด่วนเชิงนโยบาย ปัญหากรณีชาวบ้านถูกอพยพ พื้นที่รองรับไม่มีที่ทำกิน ถูกเจ้าหน้าที่ป่าไม้ เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบจับกุมข่มขู่และคุกคาม ในขณะที่ใช้วิถีชีวิตปกติ ผู้บริสุทธิ์ต้องติดคุก การพิจารณาคดียึดเยื้อ ครอบครัวขาดผู้นำ แต่หากรับสารภาพที่ทำกินก็ถูกเจ้าหน้าที่ป่าไม้ยึดปลูกป่า ฯลฯ เกิดความขัดแย้งรุนแรงระหว่างชาวบ้านกับเจ้าหน้าที่รัฐในระดับผู้ปฏิบัติการในพื้นที่เช่นกรณีตัวอย่างนายพอละจี รักจงเจริญ พื้นที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน จ.เพชรบุรีและอีกหลายกรณีที่เกิดขึ้นในภาคเหนือของประเทศไทยให้ คสช.ดำเนินการตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยอย่างร้ายแรงกับนายชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร อดีตหัวหน้าอุทยานแห่งชาติแก่กระจาน จังหวัดเพชรบุรี และดำเนินคดีกับหัวหน้าอุทยานและกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพรรณพืชอย่างเร่งด่วน เพื่อให้กระบวนการยุติธรรมของบ้านเมืองมีความศักดิ์สิทธิ์ นำไปสู่การสร้างสมานฉันท์และปรองดองของบ้านเมืองโดยเร็ว
2.ปัญหาเชิงพื้นที่เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาและการพัฒนาอย่างยั่งยืนตามเงื่อนไขภูมิสังคมดังนี้ 2.1ให้มีการดำเนินการออกพระราชบัญญัติว่าด้วยการฟื้นฟูวิถีชีวิติ และวัฒนธรรมชาติพันธ์กะเหรี่ยงโดยเร่งด่วน เพื่อให้การยกระดับ และเพิ่มประสิทธิภาพการการดำเนินการแก้ไขปัญหาเพื่อการฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยงตามมติคณะรัฐมนตรี 3 สิงหาคม 2553 ว่าด้วยเรื่องแนวนโยบายและหลักในการปฏิบัติการฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยง 1.2ให้ครม.มีมติ รับรอง และสนับสนุนระบบและกฎระเบียบการจัดการทรัพยากร(ดิน,น้ำ,ป่า)โดยการทำและสนับสนุน “โฉนดชุมชน พรบ.กองทุนยุติธรรม พรบ.กองทุนธนาคารที่ดิน พรบ.ภาษีที่ดินอัตราก้าวหน้า”ของชุมชนตามแผนการจัดการภายใต้องค์ความรู้ภูมิปัญญาชุมชน เห็นชอบการสร้างสิทธิชุมชน องค์ความรู้ ภูมิปัญญาชุมชนท้องถิ่น ในการจัดการ และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรฯ ที่อยู่บนหลักการ เหมาะสม สอดคล้อง ความสมดุล ยั่งยืนของระบบนิเวศ และความเข้มแข็ง ยั่งยืนของชุมชน รับรองการ จำแนกแบ่งเขตป่า พื้นที่ทำกิน พื้นที่อยู่อาศัย ให้ชัดเจน 3.รณรงค์สร้างการเข้าใจและและทัศนคติที่ดีและถูกต้องของการดำรงอยู่ร่วมกนของความหลากหลายชาติพันธุ์ของสังคมไทย
3.ปัญหาเชิงกฎหมายเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก้ประชาชน โดยให้พิจารณายกเลิกหรือปรับปรุงแก้ไขพรบ.เกี่ยวกับป่าไม้ 4 ฉบับ ได้แก่ พรบ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484, พรบ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504,พรบ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507, และ พรบ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 เป็นกฎหมายที่ล้าสมัย เป็นต้นเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดปัญหาในการจัดการทรัพยากรโดยองค์กรชุมชน ทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างชาวบ้านกับเจ้าหน้าที่ของรัฐและระหว่างชาวบ้านกับชาวบ้านและให้ยุติ การกำหนดและดำเนินนโยบายหรือโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ในระดับพื้นที่รัฐไม่ได้เปิดเผยข้อมูลแก่ชาวบ้านในพื้นที่ เช่น สร้างเขื่อน และโครงการอื่นๆ ทำให้ชาวบ้านได้รับความเดือดร้อน
ในแถลงการณ์ยังได้ระบุข้อเรียกร้องเชิงมาตราการ ไว้ดังนี้ 1.ให้แต่ตั้งคณะกรรมการกรรมอำนวยการและคณะทำงานทำงานฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยงตามมติคณะรัฐมนตรี สิงหาคม 2553 ว่าด้วยเรื่องแนวนโยบายและหลักในการปฏิบัติการฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยงโดยเร่งด่วน 2. ให้รัฐคสชรับ และพิจารณาผลการศึกษาวิจัยไร่หมุนเวียน เพื่อการแก้ไขปัญหาระบบเกษตรแบบไร่หมุนเวียน และประกอบจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาเกษตรบนพื้นที่สูง 3.ให้รัฐ คสช.กำหนดนโยบายการสนับสนุนทางเลือกในระบบการเกษตรที่หลายหลาย ยั่งยืน มีความเหมาะสมกับสภาพบนพื้นที่สูง แทนการส่งเสริมการผลิตเชิงพานิชที่ต้องพึ่งพาสารเคมีจากภายนอก 4.กรณีที่อาจจะเกิดต่อไปภายหน้าต่อพื้นที่ชุมชนกะเหรี่ยงให้คสช.มีคำสั่ง ยุติการข่มขู่ คุกคาม และการจับกุมดำเนินคดีทางอาญาและทางแพ่งแก่สมาชิกกะเหรี่ยงในที่อยู่อาศัยและทำกินในที่ดิน ที่สืบทอด ทำกินมาแต่ดั้งเดิม และยุติการปักป้ายตรวจยึดพื้นที่สมาชิก(พื้นที่ทำไร่หมุนเวียน)จากอุทยานแห่งชาติทั่วประเทศกรณีข้อมูลแนวเขตที่ยังไม่ชัดเจน
Tue, 02/17/2015
Copyright © 2018. All rights reserved.