News

หนาวจัด ชาวลาวป่วยระงม แห่ข้ามรักษาตัวที่ รพ.ท่าลี่

เลย – หนาวจัด ชาวลาวเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลท่าลี่จำนวนมาก ด้าน ผอ.ยันบริการเท่าเทียมคนไทย แม้คนไข้ขาดทุนทรัพย์ก็งดเก็บค่ารักษา รายงานข่าวแจ้งว่า ช่วงนี้โรงพยาลบาลท่าลี่ จ.เลย มีชาวลาวเดินทางข้ามสะพานมิตรภาพแม่น้ำเหืองไทย-ลาว เข้ามารับการรักษาในแต่ละวันจำนวนมาก เนื่องจากระยะนี้อุณหภูมิใน อ.ท่าลี่ และฝั่ง สปป.ลาวค่อนข้างหนาวจัด อุณหภูมิเฉลี่ย 10-12 องศาเซลเซียสตลอดทั้งวัน จนต้องออกมาตากแดดหรือผิงไฟเพื่อบรรเทาความหนาวเย็น นางบุญทอง ทองฤทธิ์ อายุ 35 ปี ชาวลาวบ้านเต่า เมืองแก่นท้าว แขวงไชยะบุรี กล่าวว่า ชาวลาวส่วนใหญ่นิยมเดินทางข้ามมารักษาโรคฝั่งไทยที่โรงพยาบาลท่าลี่ เนื่องจากมีอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ทันสมัยกว่าฝังลาว หากมีคนในครอบครัวไม่สบายก็จะเดินทางข้ามมาใช้บริการโรงพยาบาลฝั่งไทยแทน ด้านนายแพทย์ ศรีศักดิ์ ตั้งจิตธรรรม ผู้อำนวยการโรงพยาบาลท่าลี่ กล่าวว่า ทางโรงพยาบาลรับผู้ป่วยชาวลาวเดือนละประมาณ 120-150 คน ส่วนใหญ่มีอาการติดเชื้อทางระบบหายใจ และท้องร่วง ซึ่งทางฝั่งลาวยังขาดเรื่องสุขอนามัย รวมทั้งเครื่องมือทางการแพทย์ แม้แต่แพทย์ที่ทำการรักษาก็มีน้อย อย่างไรก็ตาม ทางโรงพยาบาลได้ให้การรักษาพี่น้องชาวลาวเท่าเทียมกับคนไทยทุกประการ หลายรายไม่มีค่ารักษาก็ยกเว้นให้ โดยให้อยู่ในดุลพินิจของแพทย์เจ้าของไข้ เพื่อเป็นการทำบุญทางการแพทย์อีกทางหนึ่ง รายงานอุณหภูมิต่ำสุดตามอำเภอต่างๆ เมื่อเช้าวันนี้ (หน่วยวัดเป็นองศาเซลเซียส) ดังนี้ อ.เมือง […]

แก้ไขเพิ่มเติมประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การออกหนังสือคนประจำเรือตามกฎหมายว่าด้วยการประมง

คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติ ดังนี้ 1. อนุมัติในหลักการร่างประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การออกหนังสือคนประจำเรือตามกฎหมายว่าด้วยการประมง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. และร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยกเว้นข้อห้ามมิให้คนต่างด้าวสัญชาติเมียนมา ลาว และกัมพูชา ที่เข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการเฉพาะ มายื่นคำขอรับหนังสือคนประจำเรือ เพื่ออยู่ในราชอาณาจักรและทำงานกับนายจ้างในกิจการประมงทะเล ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ .. พ.ศ. …. รวม 2 ฉบับ ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน โดยให้รับความเห็นของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้   2. ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กรมประมง) เป็นหน่วยงานหลักและให้กระทรวงมหาดไทย (กรมการปกครอง) กระทรวงแรงงาน (กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน) กระทรวงสาธารณสุข จังหวัดชายทะเล 22 จังหวัด และศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการทำการประมงผิดกฎหมาย ให้การสนับสนุนการเปิดศูนย์เพื่อจดทะเบียนและออกหนังสือคนประจำเรือ สำหรับแรงงานต่างด้าวเพื่อทำงานในเรือประมง   3. อนุมัติให้กระทรวงการต่างประเทศมอบอำนาจในการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราว (Non – Immigrant) รหัส L- A ให้กับสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองในการดำเนินการตรวจลงตราให้กับแรงงานต่างด้าวที่ถือหนังสือเดินทาง เอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง […]

ศธ.สุ่มตรวจจัดการศึกษาเด็กไร้สัญชาติร.ร.ยังขาดความเข้าใจ

ดร.วีระกุล อรัณยะนาค ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.) ในฐานะประธานคณะกรรมการประสานงานติดตามการดำเนินงานกำหนดสถานะบุคคลในสถานศึกษา เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆนี้  ที่ประชุมซึ่งประกอบด้วยผู้แทนจากหน่วยงานในศธ. กระทรวงมหาดไทย (มท.) กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา(ททท.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ตำรวจตระเวนชายแดน (ตชด.) สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ(พศ.) และมูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก ได้หารือถึงการจัดการศึกษาให้แก่คนไร้สัญชาติที่อยู่ในพื้นที่ต่างๆทั่วประเทศ  ซึ่งจากการลงพื้นที่สุ่มตรวจการจัดการศึกษาให้แก่คนกลุ่มนี้  พบปัญหาว่า บางสถานศึกษาไม่ทราบนโยบายว่าต้องเข้าไปจัดการศึกษาให้คนกลุ่มนี้อย่างมีคุณภาพและทั่วถึง และไม่ทราบวิธีปฏิบัติ  ยังมีปัญหา เรื่องการสอนภาษาไทย เนื่องจากบุคคลกลุ่มนี้มีหลายสัญชาติ  มีปัญหาเรื่องการพัฒนาสถานะของผู้เรียนหลังจากเรียนแล้วว่าจะได้รับสิทธิในการเปลี่ยนสัญชาติ หรือได้ไปเรียนต่ออย่างไร และยังค้นพบว่าบุคคลเหล่านี้จำนวนหนึ่งไม่สนใจที่จะมาเรียนจริง  แต่ลงทะเบียนเรียนไว้เพื่อให้ได้รับสิทธิในการไปขอวีซ่าพำนักในประเทศไทย“ที่ผ่านมาก็มีแนวปฏิบัติให้สถานศึกษาอยู่แล้ว แต่การประชาสัมพันธ์อาจจะไม่ทั่วถึง และบางมาตรการยังไม่ชัดเจน เช่น แนวทางพัฒนาสถานะและสิทธิของเด็ก  วิธีการให้ครูสอนภาษาไทยได้ดีขึ้นกับกลุ่มคนที่เป็นนักเรียนสัญชาติอื่น การแจ้งว่านักเรียนที่มาลงทะเบียนเข้าเรียนจริงหรือไม่ต่อสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองเพื่อใช้ประกอบในการพิจารณาให้วีซ่า เป็นต้น ดังนั้น ได้มอบให้สำนักส่งเสริมกิจการการศึกษา ศธ.ไปจัดทำรายละเอียดให้ชัดเจนและแจ้งไปต้นสังกัด เพื่อแจ้งต่อไปยังสถานศึกษา และจะมีการประชุมศึกษาธิการจังหวัดทั่วประเทศ เพื่อให้สื่อสารและให้ปฏิบัติไปในทิศทางเดียวกัน”ดร.วีระกุล กล่าวดร.วีระกุล กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้หารือถึงกลุ่มผู้ที่อยู่ในค่ายผู้ลี้ภัยสงคราม ซึ่งโดยหลักการต้องอยู่ที่ตรงนั้นการเดินทางออกมาเรียนนอกค่ายน่าจะไม่ถูกต้อง แต่ปรากฏว่าขณะนี้มีเด็กจำนวนหนึ่งมาเรียนในโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) ซึ่งทาง สพฐ.ชี้แจงว่าได้แจ้งไปสถานศึกษาทุกแห่งแล้วว่าให้ดูสถานะของผู้ที่เข้ามาเรียนด้วย ซึ่งคนที่อยู่ในค่ายผู้ลี้ภัยต้องได้เรียนซึ่งขณะนี้ก็มีหลายหน่วยงานเข้าไปจัดการศึกษาให้ในค่ายผู้ลี้ภัย โดยที่ประชุมเห็นว่าการเข้าไปจัดการศึกษาควรเป็นการจัดการศึกษาที่เป็นข้อตกลงร่วมกันของทุกหน่วยงาน ทั้งภาครัฐ และองค์กรเอกชน ไม่ใช่ต่างคนต่างเข้าไปจัดแบบที่ผ่านมา ซึ่ง ศธ.จะหารือเรื่องนี้กับสำนักงานสภาความมั่งคงแห่งชาติ […]

13th Stateless Children’s Day on January 10, 2015: “Thai Children will go to ASEAN, Where Will Stateless Children Go?”

The Legal Status Network Foundation (LSNF) is a network aimed at promoting the human rights of stateless people and influencing policy and development through their network of organizations. The network consists of thirty two non-governmental organizations and institutes that focus on child rights, human rights, stateless people, and issues specific to ethnic groups in five […]

เรื่องมหัศจรรย์ของสิทธิในการจดทะเบียนคนเกิด : ข้อเสนอผ่าน รมช.สมศักดิ์ เพื่อป้องกันคนไร้รัฐในโรงพยาบาล และพื้นที่บริการของโรงพยาบาล

แผนเสริมประสิทธิภาพในการจดทะเบียนคนเกิดอย่างครบขั้นตอนและถูกต้องเพื่อป้องกันปัญหาความไร้รัฐให้แก่เด็กที่เกิดในห้องคลอดของโรงพยาบาล และให้แก่เด็กที่คลอดนอกโรงพยาบาล แต่อยู่ในความดูแลทางสาธารณสุขของโรงพยาบาล อันจะทำให้เด็กมีสถานะเป็น “คนมีรัฐ” และจะทำให้มีความเป็นไปได้ในลำดับต่อไปที่จะแสวงหาหลักประกันสุขภาพที่เหมาะสมให้แก่เด็กดังกล่าว โดย รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร เมื่อวันที่ ๑๒ มกราคม พ.ศ.๒๕๕๘ แม้การจดทะเบียนคนเกิด ซึ่งเป็นงานสำคัญเพื่อป้องกันมิให้มนุษย์ตกเป็นคนไร้รัฐเจ้าของตัวบุคคล อันได้แก่ (๑) รัฐเจ้าของสัญชาติ และ (๒) รัฐเจ้าของทะเบียนราษฎร เป็นงานภายใต้กฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร ซึ่งรักษาการโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย แต่กฎหมายนี้ก็กำหนดให้หน่วยงานของกระทรวงสาธารณสุขต้องมีส่วนร่วมใน ๒ ลักษณะ กล่าวคือ กฎหมายไทยว่าด้วยการทะเบียนราษฎรกำหนดหน้าที่ในลักษณะแรกสำหรับสถานพยาบาล ก็คือ การออกหนังสือรับรองการเกิดในสถานะผู้ทำคลอด จึงทำให้ผู้อำนวยการโรงพยาบาล หรือหัวหน้าโรงพยาบาลสุขภาพตำบล มีหน้าที่ตามกฎหมายดังกล่าว ด้วยว่า เป็นหัวหน้าองค์กรที่ดูแลการคลอดของมนุษย์บนแผ่นดินไทย ในปัจจุบัน ข้อกฎหมายนี้ปรากฏในมาตรา ๒๓ แห่ง พ.ร.บ.การทะเบียนราษฎร พ.ศ.๒๕๓๔ ซึ่งบัญญัติว่า “เมื่อมีคนเกิดหรือคนตาย ผู้ทำคลอดหรือผู้รักษาพยาบาลต้องออกหนังสือรับรองการเกิด[1] หรือการตาย[2] ตามแบบพิมพ์ที่ผู้อำนวยการทะเบียนกลางกำหนดให้แก่ผู้มีหน้าที่ต้องแจ้งตามมาตรา ๑๘ หรือมาตรา ๒๑” ขอให้ตระหนักว่า หนังสือรับรองการเกิด (ท.ร.๑/๑) ดังกล่าวย่อมเป็นเอกสารฉบับแรกที่รับรองจุดเกาะเกี่ยวที่แท้จริงระหว่างมนุษย์และรัฐเจ้าของตัวบุคคล อันได้แก่ […]

รวบ 30 ต่างด้าว นำแรงงานพม่าเข้าไทย

เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน ที่กองบังคับการตำรวจภูธรจังหวัดสมุทรสาคร พล.ต.ต.สุรเชษฐ์ หักพาล  รรท.ผบช.สตม. พ.ต.อ. สามารถ ศรีสิริวิบูลย์ชัย รรท.ผบก.จว.สมุทรสาคร แถลงว่า พ.ต.ท.ชนันท์ เปรมปลื้มจิตต์ รองผกก.สส.สน.วัดพระยาไกร ชุดปฎิบัติการ ศปอส.ตร. จับกุมชาวต่างชาติ สัญชาติ เมียนมา จำนวน 21 ราย สัญชาติลาว 8 ราย,สัญชาติไทย 1 ราย รวมผู้ต้องหา 30 ราย โดย 1MR.THET NAING SOE อายุ 32 ปี สัญชาติเมียนมา และMR.YE MYAT OO อายุ 27 ปี สัญชาติเมียนมา ข้อหา ให้ความช่วยเหลือด้วยประการใด ๆ เพื่อให้คนต่างด้าวพ้นจากการจับกุม ​และ MR.KYAW HTET AUNG อายุ […]

“นพ.รัชตะ” เล็งเสนอ ครม. แก้ปัญหาสิทธิคนไร้สัญชาติ

วันนี้ (17 มกราคม 2558) ศาสตราจารย์นายแพทย์รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วยนายแพทย์สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข และคณะผู้บริหารระดับสูงจากกระทรวงสาธารณสุขและสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เดินทางไปตรวจเยี่ยมโรงพยาบาลอุ้มผาง อ.อุ้มผาง จ.ตาก ซึ่งเป็นโรงพยาบาลชุมชนขนาด 60 เตียง อยู่ติดชายแดนไทย-เมียนมาร์ เพื่อรับฟังการดำเนินงานดูแลสุขภาพประชาชน โดยเฉพาะการจัดบริการบุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิจากผู้ปฏิบัติในพื้นที่ จากนั้นเดินทางไปตรวจเยี่ยมสถานบริการสาธารณสุขชุมชนกิ่วห้าง อ.อุ้มผาง ซึ่งเป็นหน่วยบริการสาธารณสุขขนาดเล็ก ตั้งบนพื้นที่สูง  ทำหน้าที่ดูแลสุขภาพประชาชนขั้นพื้นฐาน เจ้าหน้าที่เป็นชาวเขา สามารถสื่อภาษาท้องถิ่นได้ และเยี่ยมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแม่กลอง เพื่อให้กำลังใจและรับฟังปัญหาอุปสรรคต่างๆในการจัดบริการ เนื่องจากอำเภออุ้มผางเป็นพื้นที่ทุรกันดารห่างไกล การเดินทางยากลำบากมาก เจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ทำงานต้องใช้กำลังใจอย่างเต็มที่ ศาสตราจารย์นายแพทย์รัชตะ กล่าวว่า จากการรับฟังบรรยายสรุปภาพรวมจากนายแพทย์ วรวิทย์  ตันติวัฒนทรัพย์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลอุ้มผาง ในการจัดบริการดูแลสุขภาพประชาชนของโรงพยาบาลอุ้มผาง ซึ่งที่โรงพยาบาลแห่งนี้ มีบทบทพิเศษต่างจากพื้นที่อื่นๆในประเทศ เพราะอยู่ชายแดนติดประเทศเมียนม่าร์ อยู่ห่างจาก อ.แม่สอด มาก การเดินทางลำบาก นอกจากนี้ระบบบริการการสาธารณสุขในประเทศเมียนมาร์ ยังมีข้อจำกัดในเรื่องของมาตรฐาน เนื่องจากปัญหาความมั่นคงทางการเมือง ทำให้ประชาชนข้ามมารักษาที่สถานบริการในเขตรับผิดชอบของรพ.อุ้มผาง สำหรับปัญหาในด้านของพื้นที่อำเภออุ้มผางขณะนี้ ประชาชนยังมีปัญหาเรื่องการสาธารณูปโภค ถนน น้ำ ไฟฟ้า […]

โครงการตรวจพิสูจน์ดีเอ็นเอให้แก่ราษฎรในอำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่

รายงานพิเศษ สถาบันนิติวิทยาศาสตร์และกรมการปกครองจัดโครงการตรวจพิสูจน์ดีเอ็นเอให้แก่ราษฎรในอำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ ที่ไร้สถานะทางทะเบียน เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม ปัญหาการไร้สัญชาติ นับเป็นปัญหาสำคัญหนึ่งของราษฎรในพื้นที่ห่างไกล ยากจน ไม่มีความรู้ โดยเฉพาะพื้นที่ตามแนวตะเข็บชายแดนอย่างอำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งมีราษฎรที่เป็นชาวเขาอาศัยอยู่จำนวนมาก และกว่า 10,000 คน ประสบปัญหาไร้สัญชาติ ล่าสุด เมื่อวันที่ 17 – 19 ธันวาคม 2557 ที่ผ่านมา ที่โรงเรียนแม่อายวิทยาคม พลเอกไพบูลย์ คุ้มฉายา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม พลตำรวจเอกชัชวาลย์ สุขสมจิตร์ ปลัดกระทรวงยุติธรรม นายสุริยะ ประสาทบัณฑิตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ และแพทย์หญิงคุณหญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงยุติธรรมปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ นำคณะเจ้าหน้าที่สถาบันนิติวิทยาศาสตร์พร้อมหน่วยงานในสังกัดกระทรวงยุติธรรมร่วมโครงการตรวจพิสูจน์สารพันธุกรรมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแก่ราษฎรที่ไร้สถานะทางทะเบียนราษฎร์ของอำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ นางสาววนิดา สะมือ หญิงชาวไทยภูเขาเผ่าอาข่า อายุ 18 ปี ผู้ประสบปัญหาไร้สัญชาติที่อาศัยอยู่อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า ตนไม่มีชื่ออยู่ในทะเบียนราษฎร์ เพราะไม่ได้ไปแจ้งเกิด ทำให้ขาดสิทธิและสวัสดิการจากหน่วยราชการ ทั้งการรักษาพยาบาล สิทธิทางการศึกษา และโอกาสในการทำงาน ขณะที่แพทย์หญิง […]

70 ปีปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน เตือนใจ ดีเทศน์ มอง “คนไร้รัฐในไทย”

เมื่อไม่นานมานี้ระทรวงการต่างประเทศได้จัดการบรรยายพิเศษในโอกาสครบรอบ ๗๐ ปี ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน และการประกาศวาระแห่งชาติ : สิทธิมนุษยชนร่วมขับเคลื่อนไทยแลนด์ 4.0 เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งได้รับความสนใจและมีผู้เข้าร่วมรับฟังกว่า 100 คน โดยนางเตือนใจ ดีเทศน์ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ได้กล่าวบรรยายในหัวข้อ “ประสบการณ์การทำงานในเรื่องคนไร้รัฐ พัฒนาการและข้อท้าทายในการขจัดคนไร้รัฐในประเทศไทย” ในฐานะที่มีประสบการณ์การทำงานในเรื่องดังกล่าวมานานกว่า 40 ปี หนึ่งในผลงานสำคัญคือการก่อตั้งมูลนิธิพัฒนาชุมชนและเขตภูเขา (พชภ.) เมื่อปี 2528 เพื่อศึกษาและพัฒนาชุมชนในเขตภูเขา โดยเน้นการรักษาป่าและการเกษตรที่ยั่งยืน ทำให้ได้รับรางวัลในระดับนานาชาติ อาทิ รางวัล Global 500 ของ UNEP เมื่อปี 2535 รางวัล Goldman Environmental Prize เมื่อปี 2537 การเป็น 1 ใน 25 ของสตรีนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมดีเด่นของโลกของ UNEP เมื่อปี 2540 นายธานี ทองภักดี รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ได้กล่าวเน้นย้ำถึงนโยบายของรัฐบาลที่ให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาความไร้รัฐอย่างเป็นระบบ […]

สธ.เสนอระบบโครงสร้างงบใหม่ปี 59 ดูแลรพ.พื้นที่พิเศษทุรกันดาร

สธ.เตรียมเสนอระบบโครงสร้างงบประมาณปี 2559 สำหรับดูแลรพ.ในพื้นที่พิเศษ เช่น ภูเขา ชายแดน เกาะ ทั้งงบลงทุน งบดำเนินงาน งบบุคลากรประจำสถานบริการสาธารณสุขชุมชน ให้สนับสนุนการทำงานของเจ้าหน้าที่ โดยจัดระบบอาสาสมัครดูแลสุขภาพ ระบบสื่อสาร และระบบขนส่ง เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงบริการครอบคลุมและทั่วถึง 20 ธ.ค.57 นพ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข(รมช.สธ.) พร้อมด้วย นพ.เทียม อังสาชน ที่ปรึกษารัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุข นพ.อำนวย กาจีนะ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) เดินทางไปตรวจเยี่ยม รพ.ศรีสังวาลย์ และสถานบริการสาธารณสุขชุมชนในพื้นที่สูง อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน เพื่อรับฟังผลการดำเนินงานการจัดบริการพัฒนาสาธารณสุขบนพื้นที่สูง ว่า รัฐบาลมีนโยบายในการดูแลสุขภาพประชาชนไทยทุกคน โดยจัดทำทีมหมอครอบครัว ประกอบด้วยสหวิชาชีพ ทั้งแพทย์ พยาบาลและเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เพื่อดูแลเป็นที่ปรึกษาด้านสุขภาพใกล้ชิดทุกครัวเรือน ประชาชนได้รับความมั่นใจ นพ.สมศักดิ์ กล่าวต่อว่า สำหรับพื้นที่พิเศษ ทุรกันดาร เช่น พื้นที่ภูเขา ซึ่งจะมีลักษณะปัญหาสุขภาพที่แตกต่างจากพื้นที่ปกติ การเดินทางยากลำบาก ได้เตรียมเสนอโครงสร้างระบบงบประมาณใหม่ ในปี 2559 สำหรับพื้นที่พิเศษเหล่านี้เป็นการเฉพาะ ได้แก่ งบลงทุน […]

1 33 34 35 36 37 46
Copyright © 2018. All rights reserved.