Month: January 2562

กสม.ยันไร้สถานะ 6 แสนคนแนะดึงเข้า’กองทุนคืนสิทธิ’

อนุกรรมการสิทธิมนุษยชนฯยันตัวเลข’คนไร้สถานะ’มีถึง 6 แสนคน เสนอรัฐบาลบรรจุเข้า’กองทุนคืนสิทธิ’ทั้งหมด ชี้ใช้งบประมาณ 957.5 ล้านบาทต่อปี กรณีสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ถอดสิทธิบุคคลกลุ่มรอพิสูจน์สถานะที่ยังไม่ได้เลขบัตรประจำตัวประชาชนออกจากสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า จำนวน 95,071 คน เนื่องจากซ้ำซ้อนกับรายชื่อในกองทุนให้สิทธิ (คืนสิทธิ) ขั้นพื้นฐานด้านสาธารณสุขสำหรับบุคคลผู้มีปัญหาสถานะและสิทธิ ตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2553 ซึ่งส่งผลให้ผู้ป่วยบางคนไม่ได้สิทธิเข้ารับการรักษาพยาบาลนั้น เมื่อวันที่ 11 มีนาคม นายสุรพงษ์ กองจันทึก อนุกรรมการด้านเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎเพื่อสำรวจและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) เปิดเผยว่า ในฐานะที่เป็นคนทำงานด้านนี้ และเป็นเลขานุการคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาปัญหาการบังคับใช้กฎหมายและแนวทางการแก้ไขคนไร้สถานะและสิทธิของบุคคลในประเทศไทย วุฒิสภา เคยศึกษาเรื่องนี้พบว่าคนที่มีปัญหาแบบนี้ไม่ได้มีเพียง 450,000 คน ที่มีชื่ออยู่ในกองทุนคืนสิทธิเท่านั้น แต่ยังมีอีก 150,999 คน ซึ่งแบ่งออกเป็น กลุ่มที่ตกสำรวจจากกลุ่ม 450,000 คน กล่าวคือ เป็น กลุ่มที่สำรวจพร้อมกันแต่กลับไม่พบชื่อ จำนวน 150,535 คน และกลุ่มคนที่ไม่สามารถพิสูจน์สถานะเกิดได้ แต่ยืนยันว่าเป็นคนไทย […]

UN หวั่นเรือโรฮิงญาลี้ภัยความรุนแรงในพม่าจมทะเลซ้ำรอย

UN หวั่นเรือโรฮิงญาลี้ภัยความรุนแรงในพม่าจมทะเลซ้ำรอย เจ้าหน้าที่รักษาพรมแดนบังกลาเทศเข้าสกัดเรือชาวมุสลิมโรฮิงญาที่พยายามจะข้ามแม่น้ำนาฟมายังฝั่งบังกลาเทศ เพื่อหลบหนีความรุนแรงระหว่างศาสนาในพม่า เมื่อวันที่ 11 มิ.ย. ชาวโรฮิงญายังคงหลบหนีออกจากพม่าทางเรือกันต่อเนื่อง และเมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา เกิดเหตุเรือโรฮิงญาพลิกคว่ำกลางทะเลทำให้มีผู้สูญหายหลายสิบคน ซึ่งสหประชาชาติวิตกกังวลว่าจะเกิดเหตุโศกนาฎกรรมซ้ำรอยขึ้นอีก พร้อมร้องขอให้พม่าจัดการแก้ไขปัญหาความรุนแรงดังกล่าว.– Agence France-Presse Photo/Munir uz Zaman.. เอเอฟพี – หน่วยงานด้านผู้ลี้ภัยของสหประชาชาติ เรียกร้องพม่าให้จัดการกับความรุนแรงทางศาสนาเพื่อเลี่ยงเหตุโศกนาฏกรรมทางเรือเกิดขึ้นซ้ำ ซึ่งเชื่อว่าได้คร่าชีวิตชาวมุสลิมโรฮิงญาที่หลบหนีการปะทะกันในพม่าไปแล้วหลายสิบคน “จากเหตุภัยพิบัติจากเรือพลิกคว่ำกลางทะเลเมื่อไม่นานนี้ ทำให้เรากังวลว่าเหตุโศกนาฏกรรมที่คล้ายกันจะเกิดขึ้นตามมาอีก หากประเทศที่เกี่ยวข้องไม่ดำเนินมาตรการจัดการกับสาเหตุ และลดความเสี่ยง” เอเดรียน เอ็ดเวิร์ด โฆษกหน่วยงานของสหประชาชาติ กล่าวกับผู้สื่อข่าว “เป็นเรื่องที่ไม่สามารถยอมรับได้ว่าประชาชนถูกผลักดันจากความสิ้นหวัง จนทำให้ต้องก้าวไปสู่การเดินทางที่เสี่ยงต่อชีวิต ที่มักตกไปอยู่ในเงื้อมมือของบรรดาพวกค้ามนุษย์” เจ้าหน้าที่ตำรวจระบุว่า เรือที่บรรทุกขาวโรฮิงญาลี้ภัยเกือบ 70 คน ซึ่งกำลังมุ่งหน้าไปยังมาเลเซีย ได้เกิดพลิกคว่ำเมื่อวันอาทิตย์ ที่บริเวณนอกชายฝั่งพม่า ทำให้มีผู้สูญหายหลายสิบราย และมีรายงานว่าพบผู้รอดชีวิตเพียง 8 คน ประชาชนราว 140,000 คน ที่ส่วนใหญ่เป็นชาวโรฮิงญา ต้องไร้ที่อยู่อาศัยจากเหตุความรุนแรงระหว่างชาวพุทธ และมุสลิมที่เกิดขึ้น 2 ระลอก ในรัฐยะไข่เมื่อปีก่อน ที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตมากถึง 200 […]

การตรวจพิสูจน์ DNA เกิดขึ้นแล้วที่จังหวัดเชียงราย กับการนำร่อง 5 คู่

2 กันยายน 2557 มูลนิธิกระจกเงา ร่วมกับ เครือข่ายสถานะบุคคลเชียงราย คณะทำงานโครงการดีเอ็นเอฯ เชียงราย โรงพยาบาล เชียงรายประชานุเคราะห์ และอำเภอเวียงป่าเป้า ได้ริเริ่มการตรวจ DNA เพื่อใช้ในกระบวนการพิสูจน์สถานะบุคคล โดยเริ่มต้นตรวจนำร่อง 5 คู่ ซึ่งเป็นคนพิการไร้สัญชาติ จำนวน 2 คน   บุคคลเหล่านี้มีมารดาที่เป็นคนสัญชาติไทยอยู่แล้วแต่เป็นบุตรตกหล่นจากการเพิ่มชื่อในทะเบียนราษฎร เนื่องจากพื้นที่อยู่อาศัยที่อยู่บนพื้นที่สูง และด้วยความไม่รู้จึงไม่ได้แจ้งการเกิดให้กับบุตร  ทำให้เกิดความลำบากมากมายตลอดชีวิตที่ผ่านมา และจากการที่คนกลุ่มนี้ขาดพยานหลักฐานที่บ่งชี้ความมีสัญชาติไทยของพวกเขา ทำให้ไม่สามารถดำรงสถานะคนไทยในทะเบียนราษฎรได้  กระบวนการตรวจพิสูจน์ DNA จะถูกนำมาใช้ ในขั้นตอนการพิสูจน์เพื่อยืนยันตัวบุคคลว่ามีความเกี่ยวพันกันจริงในสายเลือด  ซึ่งการตรวจพิสูจน์ DNA ได้ทำมาหลายปีแล้ว แต่ด้วยงบประมาณค่าใช้จ่ายที่ค่อนสูง บวกกับระยะทางที่ต้องเดินทางไปไกลถึงจังหวัดเชียงใหม่ ทำให้เป็นอุปสรรคที่สำคัญอีกประการหนึ่งที่ทำให้ไม่สามารถทำฝันให้เป็นจริงได้  วันนี้พวกเราหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ความพยายามของเราทั้งหลาย ทั้งคุณหมอณุ คุณหมอกันต์ และเครือข่ายสถานะบุคคลเชียงราย ที่อยากให้มีศูนย์ตรวจ DNA ในจังหวัดเชียงราย ได้เป็นความจริง และสำเร็จลุล่วงไปด้วยความราบรื่น ยังประโยชน์มหาศาลให้กับผู้มีปัญหาที่ยากลำบากทุกคน

บุคคลรอพิสูจน์สถานะและสิทธิ์ “สธ.-สปสช.” ใครลอยแพ ไร้สิทธิรักษา ?

ในการรักษาพยาบาลเพื่อให้ครอบคลุมคนไทยทุกคน รวมถึงคนซึ่งอยู่ในประเทศไทยมานานหลายสิบปี แต่ยังไม่ได้รับสัญชาติไทยที่ยังคงรอการพิสูจน์สถานะ โดยคนกลุ่มนี้มีทั้งชาวเขาเผ่าต่างๆ ชาวม้งที่อยู่ตามพื้นที่ชายขอบของประเทศไทย และกลุ่มคนเชื้อสายจีนที่อยู่ในประเทศไทยมานาน 50-60 ปี ที่เรียกว่า อากง อาม่า แต่ตาม พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 ไม่สามารถขึ้นทะเบียนผู้มีสิทธิ์ให้กับกลุ่มคนเหล่านี้ในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เนื่องจากถูกจำกัดให้ดำเนินการเฉพาะผู้ที่มีเลขบัตรประชาชน 13 หลักเท่านั้น ที่ผ่านมาจึงได้เกิดการผลักดันคืนสิทธิการรักษาพยาบาลให้กับกลุ่มคนเหล่านี้ซึ่งถือว่าเป็นคนไทยเช่นกัน ซึ่งขณะนี้มีจำนวนกว่า 4 แสนคน ด้วยเหตุนี้จึงมีมติคณะรัฐมนตรีอนุมัติ เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2553 ให้มีการคืนสิทธิการรับบริการรักษาพยาบาลสาธารสุขให้กับบุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิเหล่านั้น โดยให้งบประมาณในรูปแบบเหมาจ่ายรายหัว แต่ให้แยกการบริหารออกจากระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เป็น “กองทุนให้สิทธิ(คืนสิทธิ)ขั้นพื้นฐานด้านสาธารณสุขสำหรับบุคคลผู้มีปัญหาสถานะและสิทธิ” โดยมอบให้กระทรวงสาธารณสุขดำเนินการจัดการกองทุนดังกล่าว และได้มีการดำเนินงานประสานการทำงานร่วมกัน ทำให้กลุ่มบุคคลที่รอพิสูจน์สถานะและสิทธิ์เหล่านี้สามารถเข้ารับบริการรักษาพยาบาลโดยมีระบบหลักประกันสุขภาพรองรับ แต่เรื่องนี้กลับเป็นประเด็นร้อนระหว่าง สธ. และ สปสช. อีกครั้ง หลังมีการนำเสนอข่าว “การลอยแพบุคคลรอพิสูจน์สถานะและสิทธิ์” ที่เป็นผลจากการปรับฐานทะเบียนผู้มีสิทธิในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ทำให้มีการตรวจสอบพบกลุ่มคนที่ต้องกลับไปใช้สิทธิรักษาพยาบาลในกองทุนบุคคลรอพิสูจน์สถานะและสิทธิ์ 95,071คน จึงมีการตัดรายชื่อออกจากระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าตามกฎหมาย เป็นเหตุให้บุคคลรอพิสูจน์สถานะและสิทธิ์กลุ่มนี้ไม่สามารถใช้สิทธิ์ในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าได้ แต่ยังคงรับบริการรักษาฟรีได้ภายใต้กองทุนรักษาพยาบาลบุคคลรองพิสูจน์สถานะและสิทธิ์ หลัง สธ.ทำการปรับทะเบียบผู้มีสิทธิ์ในกองทุนนี้ และเรื่องนี้ทางคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน์ได้รับเรื่องร้องเรียน และได้การเรียกผู้แทนจาก สธ.และ สปสช.เข้าให้ข้อมูล […]

สภาทนายฯชี้เด็กมีสิทธิ์กู้กยศ.เท่ากัน จวกสพฐ.อย่าเลือกปฏิบัติกลุ่มต่างด้าว-จี้ทบทวนใหม่

นายสุรพงษ์ กองจันทึก ประธานคณะอนุกรรมการสิทธิมนุษยชนด้านชนชาติ ผู้ไร้สัญชาติ แรงงานข้ามชาติและผู้พลัดถิ่น สภาทนายความ เปิดเผยว่า จากกรณีคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) มีมติกำหนดมาตรการและปรับหลักเกณฑ์การกู้ยืมใหม่ โดยผู้กู้ยืมต้องมีผลการเรียนเฉลี่ยสะสมระดับไม่น้อยกว่า 2.0 นั้น ถือเป็นการปฏิบัติแบบ 2 มาตรฐาน ส่งผลให้เด็กจำนวนมากขาดโอกาส โดยเฉพาะเด็กที่เรียนไม่เก่ง ส่วนใหญ่มีพื้นฐานมาจากครอบครัวที่ยากจน ซึ่งรัฐควรสนับสนุนอย่างเต็มที่ ไม่ใช่มากำหนดเกณฑ์เช่นนี้ เพราะ กยศ.ไม่ใช่การให้ทุน แต่เป็นการให้กู้เพื่อนำไปใช้จ่ายเล่าเรียน เด็กจึงควรมีสิทธิ์ได้กู้ยืมเท่าๆ กัน เพราะเมื่อเด็กได้รับการศึกษาที่ดีแล้วจบออกมาก็จะเป็นคนที่มีคุณภาพ สิ่งที่กยศ.ควรทำคือ หามาตรการที่มีประสิทธิภาพ กำหนดให้ผู้กู้คืนเงินทุกคนมากกว่า นายสุรพงษ์กล่าวต่อว่า ส่วนที่ สพฐ.เตรียมเสนอถอนสิทธิ์เรียนฟรี 15 ปีเฉพาะกลุ่มเด็กต่างด้าวนั้น ถือเป็นการถอยหลังของนโยบายการศึกษาไทย เพราะที่ผ่านมา ศธ.จัดการศึกษาให้กับเด็กทุกคนที่อาศัยในประเทศมาอย่างดี การที่ สพฐ.หยิบยกตัวเลขเด็กต่างด้าวที่จะเพิ่มสูงขึ้นในอนาคตมาเป็นข้ออ้างนั้น จึงเป็นการคาดเดาที่ไม่มีข้อเท็จจริงรองรับ ไม่อยู่ในฐานของความเป็นจริง ที่ผ่านมาไทยได้รับคำชมจากทั่วโลกว่าดำเนินการให้ทุกคนเข้าถึงสิทธิ์ทางการศึกษาอย่างดีมา โดยตลอด “ผู้บริหารกระทรวงต้องไม่ลืมว่าการลงทุนทางการศึกษาเป็นการลงทุนที่ต่ำที่สุด ครม.ได้ผ่านนโยบายเรื่องจัดการศึกษา และลงทุนการศึกษาให้คนทุกคนมาแล้วตั้งแต่วันที่ 5 ก.ค.48 ดังนั้น ถ้าแก้เกณฑ์ทั้งสองเรื่องนี้ในอนาคตคนที่ไม่ได้สิทธิ์ในวันนี้อาจสร้างปัญหาให้สังคมในอนาคตได้ จึงขอให้ ศธ.ทบทวนทั้งสองประเด็นนี้ใหม่” นายสุรพงษ์กล่าว แหล่งที่มาขแชองข่าว […]

สธ.เผยยังมีผู้ไม่ได้รักษา ‘วัณโรค’ อีก 20,000 ราย

กรมควบคุมโรคจัดกิจกรรมรณรงค์ ‘วันวัณโรคสากล’ 24 มี.ค.57 เฉลิมพระเกียรติในหลวง สืบสานพระเมตตา เพื่อค้นหาและรักษาผู้ป่วยวัณโรค ระบุยังมีผู้ป่วยที่ไม่ได้รักษา 20,000 ราย เมื่อวันที่ 23 มี.ค. นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงกิจกรรมรณรงค์เนื่องใน “วันวัณโรคสากล (World TB day : 24 มีนาคม 2557)” ว่า ประเทศไทยยังคงเป็น 1 ใน 22 ประเทศของโลก ที่มีจำนวนผู้ป่วยวัณโรคสูง ซึ่งในปี 2555 ประเทศไทยมีการตรวจพบผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ทุกประเภท 60,000 ราย ในขณะที่องค์การอนามัยโลกประมาณการ 80,000 ราย ซึ่งหมายความว่า ยังมีผู้ป่วยที่ไม่สามารถเข้าสู่ระบบการบริการอีกประมาณ 20,000 ราย และพบว่ามีผู้ป่วยวัณโรคในแรงงานต่างด้าวถึง 2,333 ราย ผู้ต้องขังในเรือนจำ พบผู้ป่วยวัณโรคจำนวน 1,751 ราย ในขณะที่อัตราผลสำเร็จการรักษาโดยรวมร้อยละ 84 กรมควบคุมโรคจึงกำหนดมาตรการจุดเน้นและกรอบการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรควัณโรค ในปี 2557 […]

คสช.ปลดล็อกแรงงานต่างด้าว อสังหา-เกษตร-ประมงเฮ!

คสช.ปลดล็อกแรงงานต่างด้าว อสังหา-เกษตร-ประมงเฮ! คสช.ลุยจัดระเบียบแรงงานต่างด้าว สางปัญหา “กัมพูชา-เมียนมาร์-ลาว” กระทรวงแรงงานชงปลดล็อกยกแพ็กเกจ เปิดขึ้นทะเบียนประมงรอบใหม่ แก้กฎหมายรับแรงงานภาคเกษตรแนวชายแดน อสังหาฯ เฮ ! รัฐยกเว้นจัดเก็บค่าธรรมเนียมย้ายไซต์ นายจ้างโอดต้นทุนยุ่บยั่บค่าใช้จ่ายต่อหัวเกิน 2 หมื่นบาท ผู้สื่อข่าว “ประชาชาติธุรกิจ” รายงานว่า หลังคณะกรรมการนโยบายการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าว ที่ พล.อ.ธนศักดิ์ ปฏิมาประกร ผบ.ทหารสูงสุด ในฐานะรองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เป็นประธาน กับคณะอนุกรรมการประสานงานการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าว (อกนร.) ที่ พล.อ.ศิริชัย ดิษฐกุล เสนาธิการทหาร เป็นประธานอนุกรรมการ ได้เรียกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหารือเร่งด่วนถึงแนวทางจัดระเบียบแรงงานต่างด้าวทั้งระบบ และหาทางแก้ปัญหาการหนีกลับประเทศของแรงงานต่างด้าวชาวเมียนมาร์ ลาว และกัมพูชา ช่วงสัปดาห์เศษที่ผ่านมา โดยเฉพาะแรงงานกัมพูชาซึ่งส่วนใหญ่รับจ้างทำงานในภาคธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง อสังหาริมทรัพย์ และการเกษตรแถบจังหวัดชายแดน พากันหนีกลับประเทศถึงกว่า 1 แสนคน ส่งผลกระทบผู้ประกอบธุรกิจและอุตสาหกรรมของไทย รวมทั้งภาคการเกษตรและการประมงจำนวนมาก ล่าสุดในการประชุมแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าว วันที่ 21 มิ.ย.นี้ กระทรวงแรงงานเตรียมเสนอแนวทางแก้ปัญหาให้คณะทำงานของ คสช.พิจารณาเป็นแพ็กเกจ เพื่อแก้ปัญหาให้กับผู้ประกอบการในภาคธุรกิจก่อสร้าง อสังหาริมทรัพย์ ภาคการประมงและอุตสาหกรรมต่อเนื่องจากประมง […]

เผยเคล็บ100ปี แม่เฒ่ากินข้าวเหนียวกับกล้วยน้ำว่้า

พบแม่เฒ่าชาวกะเหรี่ยงหูยาน จ.แพร่ อายุกว่า 100 ปี เผยเคล็ดลับอายุยืน ทานข้าวเหนียวกับกล้วยน้ำว้า เจ้าตัวเผยจะอยู่ต่ออีกสัก 20 ปี … เมื่อเวลา 11.00 น. วันที่ 13 กันยายน 2557 นายอภิชาติ โตดิลกเวชช์ ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ ร่วมกับเหล่ากาชาดจังหวัดแพร่ เหล่ากาชาดอำเภอวังชิ้น พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดแพร่ และพันเอกชาตรี สงวนธรรม ผบ.กองพันทหารม้าที่ 12 อำเภอเด่นชัย ได้พาสื่อมวลชนเดินทางไปยังบ้านเลขที่ 132 ม.10 ต.แม่ป้าก อ.วังชิ้น จ.แพร่ หลังรับแจ้งว่า ที่บ้านหลังดังกล่าวมีคุณยายอายุกว่า 100 ปี อาศัยอยู่ ที่บ้านหลังดังกล่าว พบ นางสุขดี ใจข้อง อายุ 100 ปี 5 เดือน มีลูกทั้งหมด 6 คน ส่วนสามีเสียชีวิตไปนานแล้ว ซึ่งลูก 3 คน […]

หลักประกันสุขภาพผู้สูงอายุไทย…จะไปทางไหน ?

สหราชอาณาจักรได้เริ่มมีหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (Universal health coverage) มานานกว่า 30 ปีแล้ว ได้พัฒนาแนวคิดในการสร้างระบบการให้บริการสุขภาพและระบบประกันสุขภาพ มีการทยอยการปรับกลไกการคลังด้านสุขภาพให้สอดรับกับการปฏิสัมพันธ์ที่รัฐต้องการให้เกิดผลลัพธ์ด้านสุขภาพกับประชาชนให้มากที่สุด การปรับเปลี่ยนทุกครั้งต้องอาศัยระบบสารสนเทศด้านสุขภาพที่ครอบคลุมในทุกปัจจัยนำเข้า สู่ระบบสุขภาพของสหราชอาณาจักรได้อย่างครบถ้วน และสามารถจำลองรูปแบบต่างๆ ด้วยการปรับกลไก ปัจจัยนำเข้า ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วน เพื่อทำนายผลกระทบจากการปรับเปลี่ยนนโยบายด้านบริการสุขภาพได้อย่างใกล้เคียงความจริงให้มากที่สุด ระบบการดูแลผู้สูงอายุ (Long-term care for the elderly) เป็นกลุ่มบริการที่ซับซ้อน ซึ่งมีปัจจัยที่หลากหลาย และมีกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมากมายหลายกลุ่ม ทั้งนี้เนื่องจากกลุ่มผู้สูงอายุเป็นกลุ่มที่มักจะมีโรคที่ต้องพึ่งยารักษาที่มีราคาแพง มักอ่อนแอ เจ็บป่วยและเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ และเป็นกลุ่มที่ไม่มีรายได้ประจำแล้วทั้งสิ้น ภาระค่าใช้จ่ายของประเทศก็จะเพิ่มมากขึ้นตามผลลัพธ์ที่ดีเลิศจากการจัดการระบบการดูแลผู้สูงอายุ อย่างเช่น สหราชอาณาจักร และประเทศญี่ปุ่น ที่มีปัญหาเรื่องค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพที่สูงขึ้นจากสัดส่วนของผู้สูงอายุที่เพิ่มมากขึ้น ปัจจุบัน ปัญหาที่สหราชอาณาจักรเผชิญอยู่ และยังเป็นเรื่องที่ท้าทายระบบบริการสุขภาพที่ไม่ได้เตรียมการรองรับที่เหมาะสม อันได้แก่ ผู้ป่วยอายุมากกว่า 75 ปีครองเตียงมากถึงร้อยละ 70 และมีมากถึง 1 ใน 4 ที่เป็นผู้ป่วยหลงลืม (Dementia) ร้อยละ 70 ของค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพถูกใช้ไปในกลุ่มผู้สูงอายุที่ต้องดูแลระยะยาวนี้ การมุ่งพัฒนาทีมสหสาขาเพื่อจัดการแบบบูรณาการโดยใช้ผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง หาช่องว่างของโอกาสที่เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่างที่เกิดขึ้นในระหว่างและหลังการรักษา […]

วุฒิสภา จัดพิธีมอบบัตรประจำตัวประชาชนให้ 31 คนไทยผู้ไร้สัญชาติกลุ่มแรกที่เข้าร่วมโครงการเฉลิมพระเกียรติปกป้องสิทธิผู้ด้อยโอกาส ผู้ยากจนและคนยากไร้สู่พลเมืองอาเซียนและจัดเวทีสัมมนาเตรียมความพร้อมก้าวสู่สิทธิการเป็นพลเมือง

วุฒิสภาจัดพิธีมอบบัตรประจำตัวประชาชนให้ 31คนไทยผู้ไร้สัญชาติกลุ่มแรกที่เข้าร่วมโครงการเฉลิมพระเกียรติปกป้องสิทธิผู้ด้อยโอกาส ผู้ยากจน และคนยากไร้สู่พลเมืองอาเซียน วุฒิสภา เมื่อวันจันทร์ที่ 4 พฤศจิกายน 2556 ณ บริเวณห้องโถง ชั้น ๑ อาคารรัฐสภา ๑ โดยนายอโณทัย ฤทธิปัญญาวงศ์ ประธานกรรมการฯ นายตวง อันทะไชย รองประธานโครงการฯ นายสถาพร ศิริภักดี รองอธิบดีกรมการปกครอง นายอนุสรณ์ ไกรวัตนุสสรณ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ พร้อมด้วยแขกผู้มีเกียรติ ผู้แทนภาคีเครือข่าย ผู้บริหารภาครัฐ ตลอดจน ภาคเอกชน ภาคประชาชน สื่อมวลชน ตลอดจนผู้สนใจทั่วไป เข้าร่วมพิธีมอบบัตรประจำตัวประชาชนให้แก่ผู้เข้าร่วมโครงการเฉลิมพระเกียรติปกป้องสิทธิผู้ด้อยโอกาส ผู้ยากจน และคนยากไร้สู่พลเมืองอาเซียน โดยได้รับเกียรติจาก นายนิคม ไวยรัชพานิช ประธานวุฒิสภา เป็นประธานในพิธีมอบบัตรประจำตัวประชาชนให้แก่ผู้เข้าร่วมโครงการฯ ที่ได้รับการอนุมัติให้เพิ่มชื่อในทะเบียนราษฎร จำนวน 31 ราย ซึ่งเป็นคนไทยผู้ไร้สัญชาติกลุ่มแรกที่เข้าร่วมโครงการฯ ภายในงานประกอบไปด้วยกิจกรรมน่าสนใจมากมาย เริ่มตั้งแต่พิธีมอบบัตรประชาชนให้แก่ผู้เข้าร่วมโครงการฯ นอกจากนี้ ยังมีการมอบโล่ที่ระลึกให้แก่หน่วยงานที่สนับสนุนโครงการฯ การฉายวีดิทัศน์เกี่ยวกับปัญหาคนไร้สถานะ การจัดแสดงจุดบริการเคลื่อนที่จากหน่วยงานต่างๆ เพื่อให้ความรู้แก่ผู้เข้าร่วมงาน […]

1 7 8 9 10 11 56
Copyright © 2018. All rights reserved.