Month: January 2562

กมธ.วุฒิสภาเตรียมเสนอสธ.ดึงกลุ่มคนไร้รัฐตกค้างอีก 1.5 แสนคนเข้ากองทุนสุขภาพคนไร้สถานะ

คณะกรรมาธิการวิสามัญฯ วุฒิสภาและนักวิชาการด้านสาธารณสุขเตรียมผลักดันบุคคลมีปัญหาสถานะสิทธิกว่า 150,000 คนเข้าสู่กองทุนสุขภาพตามมติครม.53 อาจจะเริ่มมีความหวังขึ้นมาบ้าง เมื่อคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาปัญหาด้านการใช้กฎหมาย และแนวทางแก้ไขการไร้สถานะและสิทธิของบุคคลในประเทศไทย วุฒิสภา ได้เรียกผู้ที่เกี่ยวข้องด้านสาธารณสุขเข้าพบในสัปดาห์ที่ผ่านมา เพื่อชี้แจงสถานการณ์การเข้าถึงสิทธิการรักษาพยาบาลของบุคคลผู้มีปัญหาด้านสถานะและสิทธิ รวมถึงหารือการผลักดันนโยบายให้คนไร้รัฐได้เข้าถึงสิทธิการรักษามากขึ้น อย่างน้อย การต่อสู้ครั้งใหม่ของนักวิชาการและบุคคลด้านสาธารณสุขก็มิได้เป็นการเดินเพียงลำพัง ย้อนกลับไปเมื่อปี 2553 คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้สิทธิ (คืนสิทธิ) หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าให้แก่บุคคลที่มีปัญหาด้านสถานะและสิทธิ จำนวน 4.5 แสนคน ประกอบด้วย กลุ่มคนเข้าเมืองโดยชอบ 90,033 คน กลุ่มคนผู้ได้รับการผ่อนผันให้อยู่ชั่วคราวเพื่อรอกระบวนการแก้ปัญหาและพิสูจน์สัญชาติ 296,863 คน และกลุ่มบุคคลไม่มีสถานะทางทะเบียน 70,513 คน โดยให้กระทรวงสาธารณสุขเป็นผู้จัดการบริหารกองทุนสุขภาพคนไร้สถานะแทนสปสช.ซึ่งใช้ระบบเหมาจ่ายรายหัวที่ 2,067บาท/คน/ปี เป็นกองทุนคู่ขนานกับกองทุน 30 บาทรักษาทุกโรค ในระหว่างการหารือร่วมกับคณะกรรมาธิการวิสามัญฯในสัปดาห์ที่แล้ว ดร.นพ.พงศธร พอกเพิ่มดี นักวิชาการเศรษฐศาสตร์สาธารณสุขเล่าว่า กว่าคณะรัฐมนตรีจะให้การรับรองในตอนนั้น  นักวิชาการและบุคคลด้านสาธารณสุขต้องใช้เวลาในการขับเคลื่อนเรื่องนี้ถึง 5 ปี ผ่าน 4 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ต้องใช้มวลชนกดดันอย่างหนักเพื่อให้เกิดการยอมรับ แต่ในข้อเท็จจริง ยังมีบุคคลผู้มีปัญหาด้านสถานะและสิทธิตกค้างอยู่อีกจำนวนมากที่ตกหล่นจากมติครม. 2553 ซึ่งเป็นคนกลุ่มเลข 0 8 และ […]

สธ.ประกันสุขภาพ ‘ ต่างด้าว

จากกรณีที่ผู้ประกอบการประมงมีข้อเสนอแนะให้ลดราคาบัตรประกันสุขภาพแรงงานต่างด้าวลง เพราะเห็นว่าราคาเดิมแพงเกินไปส่งผลให้มีแรงงานต่างด้าวมาจดทะเบียนน้อยนั้น นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) กล่าวว่า การที่ผู้ประกอบการประมง ออกมาระบุว่า การประกาศให้แรงงานต่างด้าวซื้อบัตรประกันสุขภาพ ในอัตรา 2,800 บาท ซึ่งถือเป็นอัตราที่สูงเกินไป ทำให้ที่ผ่านมาแรงงานต่างด้าวไม่ยอมมาลงทะเบียนซื้อ แต่เข้าใจว่าผู้ประกอบการประมงอ้างว่าการประกาศให้แรงงานต่างด้าวต้องซื้อบัตรประกันสุขภาพในอัตรา 2,800 ต่อปีนั้น เป็นอัตราที่สูงเกินไปทำให้แรงงานต่างด้าวไม่ยอมมาลงทะเบียน จริงๆ แล้วค่าบัตรประกันสุขภาพแรงงานต่างด้าวจะอยู่ที่อัตรา 2,200 บาท ต่อปี ส่วนที่เหลืออีก 600 บาท เป็นค่าตรวจสุขภาพก่อนซื้อประกัน ส่วนตัวเห็นว่าคนเหล่านี้มีค่าแรงวันละ 300 บาท ถ้าเอา 2,800 บาทมาหารเท่ากับว่าต้องจ่ายวันละประมาณ 7-8 บาท ก็น่าจะเป็นอัตราส่วนที่เหมาะสม เพราะระบบสาธารณสุขของประเทศ ยังต้องให้สิทธิประโยชน์กับคนเหล่านี้ในการใช้บริการป้องกันรักษาสุขภาพ ซึ่งรวมถึงโรคร้ายแรงต่างๆ ด้วย แต่อย่างไรก็ตามจะรับข้อเสนอไว้พิจารณา แต่ต้องรอข้อเสนออย่างเป็นทางการ แต่ถ้าถามในหลักการตัวเลขนี้ก็น่าจะเหมาะสมแล้ว ที่มา: หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ภาพ : www.4toart.com  Fri, 03/21/2014

กกจ.ร่วมมือ สปส.เตรียมปรับเกณฑ์ดันแรงงานต่างด้าวเข้าประกันสังคม

นายประวิทย์ เคียงผล อธิบดีกรมการจัดหางาน (กกจ.) กระทรวงแรงงาน กล่าวถึงกรณีที่สำนักงานประกันสังคม (สปส.) เสนอให้ กกจ.ปรับเกณฑ์การรับแรงงานต่างด้าวเข้าสู่ระบบประกันสังคมโดยให้นายจ้างสามารถใช้เลขใบเสร็จรับเงินการขอใบอนุญาตทำงานของแรงงานต่างด้าวแทนใบอนุญาตการทำงานจริงมาใช้ในการยื่นเป็นหลักฐานว่า ปัจจุบันแรงงานต่างด้าวแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มแรก แรงงานต่างด้าวที่เข้าทำงานในไทยโดยผิดกฎหมาย และอยู่ระหว่างรอพิสูจน์สัญชาติ ซึ่งแรงงานต่างด้าวกลุ่มนี้จะไม่สามารถเข้าสู่ระบบประกันสังคมได้ แต่มีแรงงานต่างด้าวในบางอาชีพที่กฎหมายประกันสังคมไม่อนุญาตให้เข้าสู่ระบบประกันสังคมคือ อาชีพด้านเกษตร ประมงและแม่บ้านซึ่งต้องใช้การทำประกันสุขภาพแบบรายปีแทน อธิบดี กกจ. กล่าวต่อไปว่า ส่วนกลุ่มที่สองเป็นแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในไทยโดยถูกต้องตามกฎหมายและไม่ได้อยู่ในอาชีพที่ถูกห้ามไม่ให้เข้าระบบประกันสังคม ซึ่งที่ผ่านมา กกจ.พยายามผลักดันให้แรงงานต่างด้าวกลุ่มนี้เข้าสู่ระบบประกันสังคมแต่ติดปัญหาหลายเรื่องเช่น นายจ้างไม่ยอมมาแจ้งหรือทาง สปส.ต้องการเลขใบอนุญาตทำงาน แต่ กกจ.ไม่สามารถออกใบอนุญาตทำงานให้แรงงานต่างด้าวได้ทันเนื่องจากแรงงานต่างด้าวมีจำนวนมาก ซึ่งตนเห็นด้วยกับข้อเสนอของ สปส.ที่จะใช้เลขใบเสร็จรับเงินการขอใบอนุญาตทำงานแทนเพื่อให้แรงงานต่างด้าวเข้าสู่ระบบประกันสังคมได้รวดเร็วขึ้น ซึ่ง สปส.ก็ต้องปรับเกณฑ์เพื่อรองรับในเรื่องนี้เช่นกัน “ขณะนี้มีแรงงานต่างด้าวกว่า 200,00 คนที่จะครบกำหนดผ่อนผันให้ทำงานอยู่ในไทยชั่วคราว 4  ปีในเดือนพฤศจิกายนนี้ จะต้องขอเอกสารรับรองสถานะและใบอนุญาตทำงานใหม่ กกจ.จะประสานไปยังสปส.ให้มาตั้งโต๊ะร่วมกันตามศูนย์ออกเอกสารรับรองสถานะแก่แรงงานต่างด้าว เพื่อออกใบอนุญาตทำงานไปพร้อมกับการให้นายจ้างแจ้งนำแรงงานต่างด้าวเข้าสู่ระบบประกันสังคม ซึ่งจะนำวิธีนี้ไปใช้กับแรงงานต่างด้าวที่มาขอใบอนุญาตทำงานใหม่ ถือเป็นการผลักดันทางอ้อมให้นายจ้างต้องนำแรงงานต่างด้าวเข้าสู่ระบบประกันสังคม” อธิบดีกกจ.กล่าวและว่า ส่วนกรณีนักวิชาการวิจัยพบว่า แรงงานต่างด้าวเข้าสู่ประกันสังคมยากเพราะเปลี่ยนนายจ้างไม่ได้ หากเป็นกรณีนายจ้างนำแรงงานต่างด้าวเข้ามาแล้วให้ทำงานผิดประเภทเช่น รับมาทำงานด้านเกษตรแต่กลับให้ขายของเป็นเรื่องที่ผิดกฎหมาย ลูกจ้างต่างด้าวมีสิทธิยื่นขอเปลี่ยนนายจ้างได้และนายจ้างรายใหม่มาแจ้งนำเข้าประกันสังคมได้ ที่มา ; http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1382596242

‘ล่าม’สายด่วน คุ้มครองแรงงานข้ามชาติ

กระทรวงแรงงานจับมือไอแอลโอเพิ่มประสิทธิภาพช่องทางบริการเพื่อให้เข้าถึงสิทธิประโยชน์และการคุ้มครองแรงงานข้ามชาติ นายจีรศักดิ์ สุคนธชาติ ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวในโอกาสเป็นประธานเปิด “การประชุมระดับผู้บริหารเพื่อพัฒนากลไกการร้องทุกข์และส่งเสริมการเข้าถึงกลไกการคุ้มครองสิทธิของแรงงานข้ามชาติในประเทศไทย” ณ โรงแรมพูลแมน บางกอก คิง พาวเวอร์ กรุงเทพฯ ว่ายินดีอย่างยิ่งที่ได้เข้ามาเป็นภาคี ได้ร่วมทำกิจกรรมเชิงวิชาการกับองค์กรการแรงงานระหว่างประเทศในครั้งนี้ ทั้งนี้กระทรวงแรงงานได้ตระหนักถึงสถานการณ์การย้ายถิ่นข้ามชาติในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง โดยเฉพาะการย้ายถิ่นเพื่อการทำงานของแรงงานข้ามชาติจากประเทศเพื่อนบ้านที่เข้ามาทำงานในประเทศไทย และความสำคัญของกลไกการร้องทุกข์ ในฐานะเครื่องมือในการส่งเสริมให้การคุ้มครองสิทธิพี่น้องแรงงาน รวมถึงแรงงานข้ามชาติให้เกิดผลสัมฤทธิ์ แต่อย่างไรก็ตาม การบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวในส่วนของการคุ้มครองก็ยังคงเป็นปัญหาหนึ่ง ที่ถูกตั้งข้อสังเกต จากรายงานสถานการณ์การค้ามนุษย์ของสหรัฐอเมริกา ที่จัดอันดับให้ไทยอยู่ในระดับต่ำสุด คือ Tier 3 ปลัดกระทรวงแรงงานกล่าวต่อว่า “นโยบายของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ให้มีการขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าวที่กำลังดำเนินการอยู่ในครั้งนี้ เป็นการเพิ่มโอกาสให้แรงงานข้ามชาติมีโอกาสเข้าสู่กระบวนการการคุ้มครองตามกฎหมาย ขณะที่กระทรวงแรงงานก็พร้อมที่จะอบรม เติมความรู้ในเรื่องของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ทั้งเรื่องสิทธิประโยชน์และการดูแลคุ้มครองแก่ล่ามเพื่อให้แรงงานได้รับรู้และสามารถเข้าถึงสิทธิและการคุ้มครองอย่างเท่าเทียมกับแรงงานไทย” โดยการจัดกิจกรรมในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินปัญหาและข้อท้าทายในเรื่องเข้าถึงกลไกการร้องทุกข์ของกระทรวงแรงงาน ของกลุ่มแรงงานข้ามชาติ 3 สัญชาติในพื้นที่ 7 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ สมุทรสาคร ระยอง สุราษฎร์ธานี อ.แม่สอด เชียงใหม่ เพื่อศึกษาการแนวทางพัฒนากลไกการร้องทุกข์ของกระทรวงแรงงาน เพื่อส่งเสริมการเข้าถึงกลไกการร้องทุกข์หรือกลไกการคุ้มครองสิทธิของแรงงานข้ามชาติในประเทศไทย และเน้นในเรื่องของการพัฒนาความร่วมมือไตรภาคีในองค์กรภาคประชาสังคมเพื่อพัฒนากลไกการร้องทุกข์ และส่งเสริมการเข้าถึงกลไกการร้องทุกข์ของแรงงานข้ามชาติในประเทศไทยอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้สำหรับช่องทาง ‘สายด่วน’ […]

กลุ่ม Arakan Project กล่าวว่าผู้คนนับหมื่นอพยพออกจากบังคลาเทศและพม่ามุ่งหน้าไปหางานทำและสร้างชีวิตใหม่ในมาเลย์เซียโดยผ่านประเทศไทย

ฤดูการอพยพในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เริ่มขึ้นอีกครั้งหนึ่งแล้ว และกลุ่ม Arakan Project ซึ่งเป็นองค์กร NGO ที่ติดตามดูแลความเคลื่อนไหวของชาวโรฮิงจะ ชาวมุสลิมชนกลุ่มน้อย ไร้สัญชาติในภูมิภาค ประมาณว่า มีผู้อพยพออกไปแล้วราวๆ 17,000 คน และเรือที่ใช้เดินทางเป็นเรือใหญ่ แทนที่เรือเล็กเก่าๆที่เคยใช้กัน มีการอพยพของชาวบังคลาเทศและชาวพม่าที่เดินทางเสี่ยงภัยในทะเล ไปแสวงหางานและสร้างชีวิตใหม่ในมาเลย์เซียและที่อื่นๆในเอเชียมาเป็นเวลานานแล้ว แต่ความขัดแย้งรุนแรงระหว่างชาวพุทธกับชาวโรฮิงจะ ซึ่งเป็นชาวมุสลิมในรัฐยะไข่ของพม่า ทำให้มีชาวโรฮิงจะอพยพออกมากยิ่งขึ้นไปอีก Chris Lewa ผู้อำนวยการของกลุ่ม Arakan Project บอกว่า เฉพาะในสัปดาห์ที่ผ่านมา มีคนเกือบ 4,000 คนที่อพยพออกไปแล้ว และคิดว่าตั้งแต่นี้ไปจนตลอดหน้าแล้ง จะมีผู้คนอพยพออกไปทางเรือเป็นจำนวนมาก เจ้าหน้าที่ของสหประชาชาติในภูมิภาค ยอมรับว่ารายงานของกลุ่ม Arakan Project เชื่อถือได้ และว่าสหประชาชาติไม่มีตัวเลขในเรื่องนี้โดยเฉพาะ สำนักงานเพื่อการประสานงานในกิจการด้านมนุษยธรรมของสหประชาชาติยังได้ตั้งข้อสังเกตไว้ด้วยว่า ในปีนี้พาหนะที่ผู้อพยพใช้ในการเดินทาง เปลี่ยนจากเรือเล็กเก่าๆที่เป็นอันตรายมาเป็นเรือใหญ่ขึ้น Chris Lewa บอกกับ VOA ว่า การอพยพในช่วงนี้ ดูจะมีการจัดการอย่างเป็นดี และให้ความเห็นว่า การอพยพในลักษณะนี้จะมีขึ้นไม่ได้ ถ้าทางการของประเทศไม่ได้ให้ความร่วมมืออย่างใกล้ชิด ไม่ว่าจะเป็นทางการไทยหรือบังคลาเทศ แต่โดยเฉพาะในประเทศไทยนั้น ไม่คิดว่าการเคลื่อนย้ายผู้คนเป็นจำนวนมากอย่างนี้จะเกิดขึ้นได้ ถ้าไม่ได้รับความยินยอมอย่างลับๆ […]

สธ.ชงคสช.ตั้งกองทุนรักษาพยาบาลแรงงานต่างด้าว

ไทยโพสต์ -สธ.เตรียมเสนอ คสช.ตั้งกองทุนสวัสดิการ ดึงแรงงานต่างด้าวให้อยู่ในการดูแลทั้งหมด ตั้งแต่ตรวจสุขภาพใน รพ.รัฐเท่านั้น ตรวจเสร็จต้องซื้อประกันสุขภาพทันทีก่อนออกใบอนุญาตทำงานในประเทศ แถมจ่อลดราคาบัตรเหลือ 1,300 บาท จากเดิม 2,200 บาท นพ.บัญชา ค้าของ ผู้อำนวยการสำนักบริหารกลาง และในฐานะผู้อำนวยการกลุ่มประกันสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า กระทรวงสาธารณสุขเป็นหนึ่งในหน่วยงานที่ได้รับการแต่งตั้งจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ให้ดูแลแรงงานต่างด้าวนั้น ล่าสุดตนได้รับมอบหมายต่อจาก นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านเวชกรรมป้องกัน ในฐานะผู้รับผิดชอบเรื่องการดูแลแรงงานต่างด้าว ให้มาจัดทำข้อเสนอในประเด็นที่เกี่ยวข้องเพื่อเตรียมเสนอคณะกรรมการนโยบายการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าว คือ 1.ให้การตรวจสุขภาพแรงงานต่างด้าวแบบวันสต็อปเซอร์วิส ด้วยการนัดหมายล่วงหน้าต้องทำในโรงพยาบาลของรัฐเท่านั้น เพื่อความสะดวกของผู้มารับบริการ เนื่องจากระบบเดิมของประกันสังคมนั้นกำหนดให้ดำเนินการที่เขตบริการสุขภาพ ซึ่งมีปัญหาเรื่องการเดินทางข้ามจังหวัด นอกจากนี้ยังกำหนดให้แรงงานที่ผ่านการตรวจสุขภาพแล้วต้องซื้อประกันสุขภาพแรงงานต่างด้าวทั้งหมด ก่อนจะได้รับใบอนุญาตทำงานในประเทศ ทำให้สามารถครอบคลุมได้ดีกว่าระบบของประกันสังคมที่ไม่ได้กำหนดให้แรงงานที่ผ่านการตรวจสุขภาพแล้วต้องซื้อประกันสุขภาพร่วมด้วย ดังนั้นจึงทำให้แรงงานต่างด้าวไม่ยอมซื้อบัตรประกันสุขภาพหลังจากได้รับใบอนุญาตให้ทำงานในประเทศแล้ว 2.การปรับลดราคาบัตรประกันสุขภาพแรงงาน ต่างด้าวจากเดิมอยู่ที่ราคา 2,200 บาท ค่าตรวจสุขภาพแรกเริ่มอีก 600 บาทนั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาอัตราที่เหมาะสม เบื้องต้นได้คำนวณโดยคาดการณ์ว่าหากสามารถนำแรงงานต่างด้าวนอกระบบในประเทศไทยให้เข้าสู่ระบบได้ทั้งหมด จะทำให้มียอดแรงงานต่างด้าวกว่าล้านคน อาจจะสามารถปรับอัตราค่าบัตรประกันสุขภาพแรงงานต่างด้าวเหลือเพียง 1,300 บาท ไม่รวมค่าตรวจสุขภาพเมื่อแรกเริ่ม 600 บาท ทั้งนี้ […]

เด็กไร้สัญชาติ ถูกจำกัดฝึกอาชีพ

ปัจจุบันยังมีเด็กไทยที่ไม่ได้รับรองสถานะความเป็นไทย ทำให้ขาดโอกาสในการเรียนและการทำงาน ล่าสุดมีผลวิจัยยืนยันว่าปัญหานี้ยังคงมีอยู่ ไปติดตามรายงานจากคุณธรรมรัช กิจฉลอง  วันนี้ยังมีเด็กไทยที่ไม่ได้รับรองสถานะความเป็นไทย ทำให้ขาดโอกาสในการเรียนและการทำงาน ล่าสุดมีผลวิจัยยืนยันว่าปัญหานี้ยังคงมีอยู่           ” อรัญญา  มาไกล”  เยาวชนไร้สัญชาติเชื้อสายไทยใหญ่ จากจังหวัดเชียงใหม่   หนึ่งในกลุ่มตัวอย่างการศึกษาวิจัยพัฒนาสิทธิของเด็กไร้สัญชาติ กรณีการเข้าถึงการฝึกอาชีพ  เธอเรียนกศน.จบ ม.6 และฝันอยากทำงานเป็นช่างเย็บผ้า  จึงเข้าอบรมอาชีพกับศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานเชียงใหม่  แต่แล้วความฝันก็ดับวูบลง เพราะเรียนจบแล้วกลับไม่ได้วุฒิบัตร เนื่องจากไม่มีสัญชาติไทย  ทำให้ต้องหันเหไปทำงานโรงงานน้ำดื่มแทนการเป็นช่างตัดเย็บเสื้อผ้าอย่างที่หวังไว้        อีกหนึ่งเยาวชนไร้สัญชาติเชื้อสายไทยใหญ่  จ.เชียงใหม่  ผัด   ลุงต๊ะ  บอกว่า  เรียนจบชั้นม.3  จึงสมัครอบรมอาชีพสาขานี้ที่ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานนานาชาติเชียงแสน  จ.เชียงราย แต่เมื่อเรียนจบแล้วไม่ได้รับวุฒิบัตร  ไปสมัครงานตามร้านเบเกอรี่ก็ไม่รับเข้าทำงานเพราะไม่มีวุฒิบัตร ไม่มีสัญชาติไทย  จึงต้องไปทำงานในร้านอาหารได้ค่าจ้างวันละ 180 บาท           อาจารย์ดรุณี   ไพศาลพาณิชย์กุล […]

จี้สธ.-สปสช.ปรับฐานข้อมูลประชากรโดยเฉพาะกลุ่มคนไร้สถานะให้ตรงกัน

“หมอประดิษฐ” เสนอแก้ปัญหาระยะสั้น กลุ่มคนรอพิสูจน์สถานะ 9.5 หมื่นคน ที่ถูกต้องอยู่ในกองทุนคืนสิทธิ์ของสธ. แต่ติดปัญหาตรงฐานข้อมูล ให้ซื้อบัตรประกันสุขภาพแบบแรงงานต่างด้าวไปก่อน ด้านเอ็นจีโอจี้กางข้อมูลรายชื่อชัดๆ สธ.และสปสช.ต้องปรับฐานข้อมูลใหห้ตรงกัน เสนอสปสช.หน่วยงานที่มีความเชี่ยวชาญ บริหารกองทุนคืนสิทธิจะดีกว่า นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงกรณีการดูแลกลุ่มคนรอพิสูจน์สถานะจำนวน 95,071 คน ที่ถูกสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ถอดสิทธิจากระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เนื่องจากไม่มีสัญชาติไทย ซึ่งตามหลักต้องเข้าสู่กองทุนคืนสิทธิของ สธ. แต่กลับไม่มีชื่ออยู่ในฐานข้อมูลของ สธ.ทำให้ไม่สามารถรับการรักษาพยาบาลได้ ว่า แม้ พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 จะระบุว่า สปสช.ต้องดูแลเฉพาะคนไทยเท่านั้น แต่ในเรื่องการรักษาพยาบาลคนกลุ่มดังกล่าวก็ต้องให้การบริการรักษาด้วย เพราะเป็นเรื่องของหลักมนุษยธรรม ซึ่งปัญหาที่ว่ากลุ่มคนดังกล่าวยังไม่มีรายชื่ออยู่ในกองทุนคืนสิทธินั้น ทั้งที่ตามหลักแล้วต้องอยู่ การแก้ปัญหาในระยะสั้นตอนนี้ อาจต้องให้ซื้อบัตรประกันสุขภาพเหมือนแรงงานข้ามชาติ เช่น พม่า ลาว และกัมพูชา ไปก่อน “ที่ต้องให้ซื้อบัตรประกันสุขภาพ เพราะเมื่อยังพิสูจน์สถานะไม่ได้ ก็ยังไม่ถือว่าเป็นคนไทย จึงควรใช้มาตรการนี้ไปก่อน ซึ่งบัตรประกันสุขภาพราคาประมาณไม่เกิน 3,000 บาทต่อคน ซึ่งราคานี้คือจ่ายครั้งเดียวแล้วใช้ได้ทั้งปี ไม่ใช่ว่าต้องเสียประมาณ 3,000 บาททุกครั้งที่ไปรับบริการ […]

การประชุมกลุ่มติดอาวุธชนเผ่าน้อยเมียนมาร์บรรลุข้อตกลงว่าด้วยสันติภาพ

เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน กลุ่มติดอาวุธของชนเผ่าน้อยต่างๆ ในเมียนมาร์ได้บรรลุข้อตกลงหยุดยิงในการประชุมสุดยอดว่าด้วยสันติภาพที่จัดขึ้นในรัฐกะฉิ่น ทางภาคเหนือของเมียนมาร์ สองฝ่ายได้ลงนามในเอกสารเกี่ยวกับการบรรลุสันติภาพหลายฉบับ ระหว่างวันที่ 30 ตุลาคมถึงวันที่ 2 พฤศจิกายน ผู้แทนจากกลุ่มติดอาวุธชนเผ่าน้อย 17 คณะได้จัดการประชุมสุดยอดที่เมืองลายซา รัฐคะฉิ่น ซึ่งเป็นที่ตั้งของกองบัญชาการของกลุ่มคะฉิ่น ผู้แทนของชนเผ่าต่างๆ ได้บรรลุข้อตกลงเกี่ยวกับ แผนการนำทางด้านการเมือง เนื้อหาสำคัญเกี่ยวกับการหยุดยิง จัดการเจรจาทางการเมืองเพื่อหยุดยิง กำหนดมาตรการที่สร้างความเชื่อมั่น เป็นต้น ผู้แทนที่เข้าร่วมการประชุมครั้งนี้ระบุว่า ถ้ารัฐบาลยอมรับข้อตกลงของการประชุมครั้งนี้ ก็จะลงนามในข้อตกลงหยุดยิงในทั่วประเทศโดยเร็วได้ Yim/Lei ที่มา : http://thai.cri.cn/247/2013/11/03/64s215095.htm

สธ.ชงคสช.ตั้งกองทุนรักษาพยาบาลแรงงานต่างด้าว

ไทยโพสต์ -สธ.เตรียมเสนอ คสช.ตั้งกองทุนสวัสดิการ ดึงแรงงานต่างด้าวให้อยู่ในการดูแลทั้งหมด ตั้งแต่ตรวจสุขภาพใน รพ.รัฐเท่านั้น ตรวจเสร็จต้องซื้อประกันสุขภาพทันทีก่อนออกใบอนุญาตทำงานในประเทศ แถมจ่อลดราคาบัตรเหลือ 1,300 บาท จากเดิม 2,200 บาท นพ.บัญชา ค้าของ ผู้อำนวยการสำนักบริหารกลาง และในฐานะผู้อำนวยการกลุ่มประกันสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า กระทรวงสาธารณสุขเป็นหนึ่งในหน่วยงานที่ได้รับการแต่งตั้งจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ให้ดูแลแรงงานต่างด้าวนั้น ล่าสุดตนได้รับมอบหมายต่อจาก นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านเวชกรรมป้องกัน ในฐานะผู้รับผิดชอบเรื่องการดูแลแรงงานต่างด้าว ให้มาจัดทำข้อเสนอในประเด็นที่เกี่ยวข้องเพื่อเตรียมเสนอคณะกรรมการนโยบายการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าว คือ 1.ให้การตรวจสุขภาพแรงงานต่างด้าวแบบวันสต็อปเซอร์วิส ด้วยการนัดหมายล่วงหน้าต้องทำในโรงพยาบาลของรัฐเท่านั้น เพื่อความสะดวกของผู้มารับบริการ เนื่องจากระบบเดิมของประกันสังคมนั้นกำหนดให้ดำเนินการที่เขตบริการสุขภาพ ซึ่งมีปัญหาเรื่องการเดินทางข้ามจังหวัด นอกจากนี้ยังกำหนดให้แรงงานที่ผ่านการตรวจสุขภาพแล้วต้องซื้อประกันสุขภาพแรงงานต่างด้าวทั้งหมด ก่อนจะได้รับใบอนุญาตทำงานในประเทศ ทำให้สามารถครอบคลุมได้ดีกว่าระบบของประกันสังคมที่ไม่ได้กำหนดให้แรงงานที่ผ่านการตรวจสุขภาพแล้วต้องซื้อประกันสุขภาพร่วมด้วย ดังนั้นจึงทำให้แรงงานต่างด้าวไม่ยอมซื้อบัตรประกันสุขภาพหลังจากได้รับใบอนุญาตให้ทำงานในประเทศแล้ว 2.การปรับลดราคาบัตรประกันสุขภาพแรงงาน ต่างด้าวจากเดิมอยู่ที่ราคา 2,200 บาท ค่าตรวจสุขภาพแรกเริ่มอีก 600 บาทนั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาอัตราที่เหมาะสม เบื้องต้นได้คำนวณโดยคาดการณ์ว่าหากสามารถนำแรงงานต่างด้าวนอกระบบในประเทศไทยให้เข้าสู่ระบบได้ทั้งหมด จะทำให้มียอดแรงงานต่างด้าวกว่าล้านคน อาจจะสามารถปรับอัตราค่าบัตรประกันสุขภาพแรงงานต่างด้าวเหลือเพียง 1,300 บาท ไม่รวมค่าตรวจสุขภาพเมื่อแรกเริ่ม 600 บาท ทั้งนี้ […]

1 6 7 8 9 10 56
Copyright © 2018. All rights reserved.