เกี่ยวกับโครงการ

โครงการ พัฒนาสถานภาพและคุ้มครองสิทธิเด็กไร้รัฐและ เด็กไร้สัญชาติในประเทศไทย(ภาคเหนือ)

ภายใต้ มูลนิธิกระจกเงา  สำนักงานจังหวัดเชียงราย  ที่อยู่ เลขที่ 241 หมู่  1 ต.แม่ยาว อ.เมือง  จ.เชียงราย  57100

ประวัติองค์กรย่อ ๆ

มูลนิธิกระจกเงา คือ องค์กรพัฒนาเอกชนที่ทำงานเกี่ยวกับการพัฒนาสังคม หลาย ๆ ด้าน ได้แก่ งานด้านสิทธิมนุษยชน งานด้านสื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศ งานพัฒนาอาสาสมัครและการแบ่งปันทรัพยากร เพื่อเพิ่มศักยภาพในการเรียนรู้และการใช้ชีวิต โดยมีพื้นที่ปฏิบัติงานทั้งบนสังคมออนไลน์ (Internet) สังคมเมืองและสังคมชนบท โดยทำหน้าที่เป็นกระจกเงา ที่สะท้อนเรื่องราว ความเป็นจริงของสังคมและให้ความช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสังคม ด้วยวิธีคิด คือ การสร้างคนและสร้างนวัตกรรมสร้างความเปลี่ยนแปลงแก่สังคม และเริ่มต้นดำเนินงานด้านสังคมในพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทย  มาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2541  จนก่อให้เกิดโครงการที่เป็น   นวัตกรรมทางสังคมมากมาย  ไม่ว่าจะเป็นงานด้านการศึกษา งานด้านยาเสพติด งานด้านสิทธิและสถานะบุคคล  งานด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่องานพัฒนา (สถานีโทรทัศน์ชุมชน-บ้านนอกทีวี) โครงการร้านค้า Online (e-bannok)     โครงการพิพิธภัณฑ์ชนเผ่าออนไลน์   งานส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และการท่องเที่ยวเชิงอาสาสมัคร งานด้านการระดมทุนเพื่อสังคม (กองทุนเด็กดอย กองทุนคุ้มครองสิทธิ ครูบ้านนอก อาสาสมัครบ้านนอก กองทุนเสื้อผ้ามือ

ที่มาและแนวคิดของโครงการ

จากการดำเนินงานเพื่อการแก้ไขปัญหาบุคคลผู้ไร้สิทธิไร้สัญชาติในประเทศไทยอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2542 ของมูลนิธิกระจกเงา จาก 1 ตำบลนำร่อง ขยายสู่การทำงานในระดับจังหวัด จากภาคเหนือ สู่ภาคใต้ และเชื่อมโยงขบวนเครือข่ายเป็นในระดับประเทศ  จากปัญหาหนึ่งเชื่อมโยงไปสู่การแก้ไขปัญหาอีกปัญหาหนึ่งเพื่อบูรณาการให้เกิดการแก้ไขปัญหาแบบองค์รวม และรวมไปถึงการเชื่อมประสานความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของภาครัฐระดับพื้นที่และส่วนกลาง  นักวิชาการ องค์กรอิสระ องค์กรเครือข่าย สื่อ และที่สำคัญคือชุมชน   จนเป็นผลทำให้กระบวนการในการจัดการปัญหาด้านสถานะบุคคลในประเทศไทยในช่วง 10 ปีที่ผ่านมามีความคืบหน้าอย่างเห็นได้ชัด โดยได้รับการสนับสนุนการทำงานจาก แตเรซอม (terre des homes) และภาคีเครือข่ายอย่างต่อเนื่อง และด้วยหลักคิดและประสบการณ์ ปี 2553 มูลนิธิจึงได้เสนอแนวคิดและรูปแบบการทำงานต่อไดโกเนีย  ซึ่งเป็นผลทำให้ได้รับการสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินงานเป็นการเฉพาะในส่วนของการพัฒนาศักยภาพองค์กรชาวบ้านและรวมทั้งการทำงานเชิงประเด็นกับภาคสังคม และภายใต้หลักคิดและรูปแบบการทำงานดังกล่าว  ในปี 2554 ต่อเนื่องปี 2555 ทางมูลนิธิกระจกเงาจึงได้ทำการวิเคราะห์และสรุปผลการดำเนินงานที่ผ่านร่วมกับทีมงานของไดโกเนีย (Diakonia.)  พร้อมทั้งปรึกษาหารือ เพื่อการพัฒนาและขยายผลการดำเนินงานด้านการพัฒนาสถานภาพและคุ้มครองสิทธิของผู้ไร้รัฐ  ไร้สัญชาติ ในประเทศไทย    และพัฒนาโครงการเพื่อให้เกิดความต่อเนื่องและครอบคลุมงานในปี  2013-2015 นี้ขึ้น ภายใต้ชื่อ “The development of rights status for access to livelihoods  2013-2015 ”

วัตถุประสงค์และเป้าหมาย

-เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งและสนับสนุนกระบวนการการจัดการปัญหาและคุ้มครองสิทธิของภาคประชาชน  โดยประชาชน

-เพื่อส่งเสริมให้เกิดความพร้อมและสร้างพลังการขับเคลื่อนจากภาคสังคม ในการมีส่วนร่วมต่อการกำหนดมาตรการต่าง ๆ อันเกี่ยวข้องกับเรื่องของสิทธิและสถานะ รวมทั้งการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน

-เพื่อส่งเสริมและผลักดันให้รัฐรวมถึงผู้ที่เกี่ยวข้องในระดับนโยบายเห็นความสำคัญและตระหนักในกระบวนการปกป้องคุ้มครองสิทธิ และเร่งสร้างความชัดเจนในการจัดการด้านประชากร ก่อนการเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียน

-ผลักดันนโยบาย และติดตามการบังคับใช้กฎหมาย

-จัดตั้งและพัฒนาศักยภาพเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับกลุ่มแกนนำคนไร้สัญชาติ และรวมถึงการจัดกระบวนการเรียนรู้สู่ชุมชน เพื่อสร้างความยั่งยืน ในงานคุ้มครองสิทธิ  โดยการส่งเสริม ให้เกิดความรู้ และความเข้าใจ

-ปกป้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของพลเมืองเพื่อป้องกันการถูกละเมิดทางด้านสิทธิ การถูกเอารัดเอาเปรียบ รวมถึงการส่งเสริมให้ชาวบ้านสามารถเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมอย่างเท่าเทียม และสามารถเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานต่าง ๆ

-พัฒนาเครื่องมือและผลิตสื่อเพื่อใช้ในการส่งเสริมและสนับสนุนการคุ้มครองสิทธิให้กับกลุ่มชาวบ้าน และเป็นเครื่องมือในการปรับทัศนคติให้กับสาธารณะชนในสังคม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง“ศูนย์สื่อเพื่อการคุ้มครองสิทธิ”

กลุ่มเป้าหมาย/พื้นที่เป้าหมาย.

-กลุ่มเป้าหมายหลัก :  ชุมชน (เด็ก/เยาวชน, แกนนำ, ชาวบ้าน),   องค์กรเครือข่ายภาคประชาชน (NGOs,CBO’s),  นิสิตนักศึกษาสายนิติศาสตร์และพัฒนาชุมชนจากสถาบันการศึกษา

-กลุ่มเป้าหมายรอง  :   รัฐ  นักวิชาการ  หน่วยงานอิสระ บุคคลทั่วไปในสังคม   สื่อมวลชน

Copyright © 2018. All rights reserved.