พระราชบัญญัติฉบับให้ (คืน) ความเป็นไทย

พระราช บัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่4) พ.ศ. 2551 มาตรา 23 บรรดาบุคคลที่เคยมีสัญชาติไทยเพราะเกิดในราชอาณาจักรไทย แต่ถูกถอนสัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ลงวันที่ 13 ธันวาคม พุทธศักราช 2535 ข้อ1 และผู้ที่เกิดในราชอาณาจักรไทยแต่ไม่ได้สัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่337 ลงวันที่ 13 ธันวาคม พุทธศักราช 2515 ข้อ2 รวมถึงบุตรของบุคคลดังกล่าว ที่เกิดในราชอาณาจักรไทยก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับและไม่ได้ สัญชาติไทยตามมาตรา 7 ทวิ วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 ซึ่งเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่2) พ.ศ. 2535 ถ้าบุคคลนั้นอาศัยอยู่จริงในราชอาณาจักรไทยติดต่อกันโดยมีหลักฐานทางทะเบียน ราษฎรและเป็นผู้มีความประพฤติดี หรือทำคุณประโยชน์ให้แกสังคมหรือประเทศไทยให้ได้สัญชาติไทยตั้งแต่วันที่พระ ราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ เว้นแต่ผู้ซึ่งรัฐมนตรีมีคำสั่งอันมีผลให้เป็นผู้มีสัญชาติไทยแล้วก่อนวัน ที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
เมื่อพ้น กำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ผู้มีคุณสมบัติตามวรรคหนึ่งยื่นคำขอลงรายการสัญชาติในเอกสารการทะเบียน ราษฎรต่อนายทะเบียนอำเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่นตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียน ราษฎรแห่งท้องที่ที่ผู้นั้นมรภูมิลำเนาในปัจจุบัน
พระราช บัญญัติฉบับนี้เป็นเหมือนกุญแจดอกสำคัญที่มาปลดแอกจากความไร้สัญชาติของผู้ ที่ถูกถอนสัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 , ผู้ที่ เกิดในราชอาณาจักรไทยแต่ไม่ได้สัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับเดียว กัน รวมถึงบุตรของบุคคลดังกล่าว ที่เกิดในราชอาณาจักรไทยก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับและไม่ได้ สัญชาติไทยตามมาตรา 7 ทวิ วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 ซึ่งเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่2) พ.ศ. 2535 และ เด็กหญิงสือบูลา เซกองอากู่ คือหนึ่งในผู้ที่ได้สัญชาติไทยตามพ.ร.บ.ฉบับนี้ หลังจากที่ต้องอยู่อย่างไร้สัญชาติและตกเป็นคนเข้าเมืองผิดกฎหมายมา 13 ปีเต็ม
ข้อเท็จ จริงของเด็กหญิงคนนี้คือเกิดเมื่อวันที่1 มกราคม 2538 เป็นลูกของคนที่ถูกถอนสัญชาติไทยโดยประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่337 (ปว.337) ซึ่งทำให้เธอไม่ได้สัญชาติตามมาตรา 7ทวิ วรรคหนึ่ง พ.ร.บ.สัญชาติ แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่2 พ.ศ. 2508 กล่าวคือ “ผู้ ที่เกิดในราชอาณาจักรไทย โดยบิดาและมารดาเป็นคน ต่างด้าว ย่อมไม่ได้รับสัญชาติไทย ถ้าในขณะที่เกิดบิดาตามกฎหมายหรือบิดาซึ่งมีได้มีการสมรสกับมารดาหรือมารดา ของผู้นั้นเป็น (1) ผู้ได้รับการผ่อนผันให้พักอาศัยในราชอาณาจักรไทยเป็นกรณีพิเศษเฉพาะราย (2) ผู้ที่ได้รับอนุญาตให้เข้าอยู่ในราชอาณาจักรไทยเพียงชั่วคราว หรือ (3) ผู้ที่เข้ามาอยู่ในประเทศไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง”
นอกจาก นั้นเธอยังตกเป็นนักโทษอาญาแผ่นดิน ในข้อหาหลบหนีเข้าเมือง ตามบทบัญญัติของกฎหมายมาตรา 7ทวิ วรรค 3 แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติฉบับดังกล่าวที่บัญญัติว่า “ให้ ถือว่าผู้ที่เกิดในราชอาณาจักรไทยซึ่งไม่ได้สัญชาติไทยตามวรรคหนึ่งเป็นผู้ ที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้า เมือง เว้นแต่จะมีการสั่งเป็นอย่างอื่นตามกฎหมายว่าด้วยการนี้”
“..การ ไม่มีสัญชาติไทยของสือบูลา มันยังส่งผลต่อมาตรา 7 ทวิ วรรค3 ที่เข้าไปครอบตัวเด็กอีกก็คือทำให้เด็กมีสถานะเป็นคนหลบหนีเข้าเมืองตลอด ชั่วกัลปวสานเลย ไม่ว่ารุ่นลูกจะเกิดมากี่ชั้นๆ จะเกิดในประเทศไทย เขาจะผสมกลมกลืนกับประเทศไทยมากขนาดไหน หรือรักประเทศไทยมากกว่าคนไทยจริงๆ เขาก็ไม่มีสิทธิได้สัญชาติ เพราะโดนมาตรา 7 ทวิ วรรค 3 นี้ล็อกเอาไว้เมื่อคุณเกิดมาคุณก็ผิดกฎหมาย..” บทสัมภาษณ์ตอนหนึ่งของคุณชุติ งาม อุรุเลิศ นักกฎหมายประจำสำนักกฎหมายธรรมสติ ในสารคดี 7 ทวิ วรรค3 แห่งพ.ร.บ.สัญชาติ กฎหมายหรือผู้ทำร้ายทำงายเด็ก มูลนิธิกระจกเงา
หลังจาก ที่มีการผลักดันจากทุกฝ่ายให้มีการแก้กฎหมายมาตราดังกล่าวมาร่วม 5 ปีเต็ม ในที่สุดพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่4) พ.ศ. 2551 มาตรา 23 ข้างต้นก็ถึงกำหนดคลอดและประกาศในราชกิจจานุเบกษา ลงวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2551 ซึ่งเท่ากับว่าสือบูลา รวมถึงพ่อแม่ของเธอได้รับสัญชาติไทยตามพ.ร.บ.ฉบับนี้ไปแล้วตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2551
รศ.ดร.พันธุ์ ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร กล่าวว่า ในพ.ร.บ.สัญชาติ ฉบับที่4 พ.ศ.2551 ได้มีการแก้เรื่องคนที่ถูกถอนสัญชาติโดยปว.337 เมื่อปี 2515 ซึ่งพยายามที่จะช่วยเหลือบุคคลที่เคยถูกถอนสัญชาติโดยปว.337 ให้กลับคืนสัญชาติไทยดังเดิม ซึ่งสามารถแก้ปัญหาได้ไม่ยากโดยย้อนดูข้อเท็จจริงว่าเขาเกิดในประเทศไทยและ เสียสัญชาติไทยโดยปว. 337 หรือไม่
“กรณี เด็กที่เกิดในประเทศไทยแล้วถูกหาว่าเป็นคนเข้าเมืองผิดกฎหมาย ที่เราเรียกว่า 7 ทวิ วรรค3 พอเราอธิบายว่าร่างกฎหมายแบบเดิมมันขัดหลักกฎหมายระหว่างประเทศ รัฐสภาก็ผ่านกฎหมายนี้ง่ายๆ คนที่เกิดในประเทศไทย ไม่ใช่คนเข้าเมือง คนที่เข้าเมืองผิดกฎหมายคือพ่อแม่ ก็ต้องไปจับพ่อแม่ มาจับลูกได้อย่างไร ถ้าบอกว่าแค่เกิดในไทยแล้วผิดกฎหมาย คนทั้งประเทศไทยก็ผิดกฎหมายทุกคน เพราะฉะนั้นก็ไม่ยากที่จะแก้กฎหมายนี้ ซึ่งสือบูลาก็ได้สัญชาติไทยไปแล้วตั้งแต่วันที่ 28 กุภาพันธ์ 2551” นักวิชาการคนเดิมกล่าว
ปทุมวดี นาคพล
สำนักกฎหมายเพื่อการพิทักษ์สิทธิ มูลนิธิกระจกเงา
Copyright © 2018. All rights reserved.