Month: January 2562

สว.ยกทีม ลงพื้นที่แม่สอด แก้ปัญหาคนไร้สัญชาติ

ตาก-สมาชิกวุฒิสภาลงพื้นที่ชายแดนแม่สอด ตรวจ DNA ฟรี เพื่อแก้ไขปัญหาคนด้อยโอกาสที่ไร้สัญชาติ เตรียมให้สัญชาติไทย แก่ผู้ยากไร้ไทย-พม่า วันนี้ (31 ส.ค. 56) คณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนวุฒิสภา ประกอบด้วยนายถนอม ส่งเสริม ,นายนิรันดร์ ประเสริฐกุล , นายชรินทร์ หาญสืบสาย ,นายไพฑูรย์ หิรัญประดิษฐ์ และคณะ ได้เดินทางลงพื้นที่ชายแดนไทย-พม่า มาที่ หอประชุมที่ว่าการอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก เพื่อเข้าร่วมโครงการเฉลิมพระเกียรติปกป้องสิทธิผู้ด้อยโอกาส-ผู้ยากจนและผู้ยากไร้สู่พลเมืองอาเซียน ด้วยการตรวจพิสูจน์สารพันธุกรรม หรือ DNA ให้แก่ประชาชนผู้ด้อยโอกาส โดยมีผู้ด้อยโอกาส-ผู้ยากไร้ เข้ารับการตรวจ DNA จำนวนมาก ทั้งนี้มีการตรวจโดยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กระทรวงยุติธรรม เพื่อที่จะนำข้อมูลไปประกอบการรับริงสถานะทางทะเบียนของคนไทย ที่กลุ่มเหล่านี้ยังไม่รับสถานะคนไทย หากมีการตรวจ DNA แล้วมีข้อมูลหลักฐานว่าเป็นคนไทย ก็จะได้รับสัญชาติไทยและเข้าสู่ระบบทะเบียนราษฎร์ได้ทันที นายถนอม ส่งเสริม สมาชิกวุฒิสภา กล่าวว่า ปัญหาคนไทย ไร้สัญชาติหรือไร้สถานะความเป็นคนไทยมีมานานแล้ว ซึ่งมีอยู่กระจายทั่วไปตามชายแดน ทำให้เสียโอกาสที่จะได้รับสิทธิในการอยู่ในประเทศไทย ดังนั้น ทาง สว.จึงได้จัดโครงการเฉลิมพระเกียรติฯ ให้สัญชาติไทย […]

สธ.ขายบัตรประกันสุขภาพ แม่-เด็กต่างด้าวเข้าถึงบริการที่จำเป็น

นายแพทย์ประดิษฐ  สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่านายกรัฐมนตรีและรัฐบาลมีนโยบายให้การดูแลสุขภาพประชาชนตามกลุ่มรายอายุ 4 กลุ่ม ได้แก่ 0-5 ปี อายุ 6-20 ปีอายุ 21-60 ปี และ 60 ปีขึ้นไป เช่น เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ตั้งเป้าพัฒนาให้เจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์ มีพัฒนาการสมวัย กลุ่มอายุ 21-60 ปี เน้นการมีสุขภาพดี ส่วนอายุ 60 ปี ดูแลสุขภาพก่อนถึงวาระสุดท้ายชีวิต โดยกระทรวงสาธารณสุข จะเน้นใช้ 3 กลยุทธ์ได้แก่ การเข้าถึงบริการ คุณภาพบริการ และการบูรณาการดูแลร่วมกับหน่วยงานอื่นปัญหาที่พบขณะนี้คือการเข้าถึงบริการ โดยเฉพาะกลุ่มเด็กและแม่พบว่าแม่ฝากครรภ์ช้า ทำให้เด็กในครรภ์ขาดโอกาสการพัฒนาสาเหตุส่วนหนึ่งเกิดมาจากความไม่เข้าใจ หรือเข้าใจการใช้สิทธิ์ไม่ถูกต้อง นายกรัฐมนตรีจึงมีนโยบายให้หญิงตั้งครรภ์สามารถฝากท้องได้ทุกที่ฟรีทุกสิทธิ์ ซึ่งขณะนี้ได้พัฒนาระบบสารสนเทศสามารถใช้เชื่อมโยงกันได้ทุกแห่ง และพัฒนาศูนย์เด็กเล็กปลอดโรค รองรับการดูแลเด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบ ร่วมกับกระทรวงอื่นๆ นอกจากนี้ในกลุ่มของหญิงต่างด้าวที่ตั้งครรภ์และเข้ามาทำงาน หรือติดตามสามีเข้ามา กระทรวงสาธารณสุขกำหนดให้ซื้อบัตรประกันสุขภาพราคา 2,200 บาท และค่าตรวจสุขภาพอีก 600 […]

ประธานสภาชาติพันธุ์สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์เข้าพบ กสม.

มื่อวันที่ ๔ กันยายน  ๒๕๕๖  นายขิ่น อ่อง มิ้นท์  ประธานสภาชาติพันธุ์สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ นำคณะ เข้าพบหารือร่วมกับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)  โดยมีศาสตราจารย์อมรา พงศาพิชญ์  ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พร้อมด้วย  นายแพทย์แท้จริง  ศิริพานิช และนางวิสา  เบ็ญจะมโน  กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  พร้อมทั้ง  นายชาติชาย  สุทธิกลม  เลขาธิการคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  นายขรรค์ชัย  คงเสน่ห์ และนางภิรมย์  ศรีประเสริฐ  รองเลขาธิการคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ให้การต้อนรับและร่วมหารือแลกเปลี่ยนความคิดเห็น         การเข้าพบหารือดังกล่าว เป็นการประสานความร่วมมือระหว่างกันและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาสิทธิมนุษยชน  โดยมีการกล่าวถึงประเด็นที่ กสม. ประเทศ เมียนมาร์ยังไม่มีกฎหมายรองรับ จึงมีผลต่องบประมาณดำเนินการ  โดยต้องรอให้ได้รับความเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติ กสม. จาก ส.ส. และ ส.ว. ก่อน และได้ร่วมพูดคุยถึงปัญหาแรงงานและคนไร้สัญชาติ  โดยขณะนี้แรงงานประเทศเมียนมาร์ในประเทศไทยที่มีประมาณ ๓ ล้านคนมีเด็กเป็นจำนวนมาก ซึ่งเด็กเหล่านั้นควรได้รับการศึกษา  ทั้งนี้ ได้มีหารือปัญหาโรฮิงญาด้วย […]

เวทีสาธารณะ จังหวัดเชียงใหม่ “เด็กกับความหวังการได้เป็นคนถูกกฎหมายและได้สัญชาติไทย”

เวทีสาธารณะ จังหวัดเชียงใหม่ “เด็กกับความหวังการได้เป็นคนถูกกฎหมายและได้สัญชาติไทย” ตามมาตรา ๗ ทวิวรรคสอง และมาตรา ๗ ทวิวรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ.๒๕๕๑ ๑. ความเป็นมา การรอคอยของเด็กและบุคคลที่เกิดในประเทศไทยภายใต้มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๗ ธันวาคม ๒๕๕๓ เห็นชอบให้กำหนดสถานะของบุคคลที่อพยพเข้ามาอยู่ในประเทศไทยและอาศัยอยู่มานาน โดยกำหนดหลักเกณฑ์การกำหนดสถานะบุคคลตามยุทธศาสตร์การจัดการปัญหาสถานะและสิทธิของบุคคล โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มเด็กหรือบุคคลที่จะได้รับสัญชาติไทยตามมาตรา ๗ ทวิวรรคสอง กำหนดว่า มาตรา ๗ ทวิ ผู้เกิดในราชอาณาจักรไทย โดยบิดาและมารดาเป็นคนต่างด้าว ย่อมไม่ได้รับสัญชาติไทย ถ้าในขณะที่เกิดบิดาตามกฎหมายหรือบิดาซึ่งมิได้มีการสมรสกับมารดาหรือมารดาของผู้นั้นเป็น (๑) ผู้ที่ได้รับการผ่อนผันให้พักอาศัยอยู่ในราชอาณาจักรไทยเป็นกรณีพิเศษเฉพาะราย (๒) ผู้ที่ได้รับอนุญาตให้เข้าอยู่ในราชอาณาจักรไทยเพียงชั่วคราว (๓) ผู้ที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง ในกรณีที่เห็นสมควร รัฐมนตรีจะพิจารณาและสั่งเฉพาะรายหรือเป็นการทั่วไปให้บุคคลตามวรรคหนึ่งได้สัญชาติไทยก็ได้ ตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนดผู้เกิดในราชอาณาจักรไทยซึ่งไม่ได้สัญชาติไทยตามวรรคหนึ่งจะอยู่ในราชอาณาจักรไทยในฐานะใด ภายใต้เงื่อนไขใด ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรและสิทธิมนุษยชนประกอบกัน ในระหว่างที่ยังไม่มีกฎกระทรวงดังกล่าว ให้ถือว่าผู้นั้นเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การสั่งให้บุคคลซึ่งไม่มีสัญชาติไทยที่เกิดในราชอาณาจักรไทยโดยบิดาและมารดาเป็นคนต่างด้าว ได้สัญชาติไทยเป็นการทั่วไป และการให้สัญชาติไทยเป็นการเฉพาะราย ลงวันที่ ๒๖ กันยายน […]

แถลงการณ์ เวทีสาธารณะจังหวัดเชียงใหม่ “ เด็กกับความหวังการได้เป็นคนถูกกฎหมายและการได้สัญชาติไทย ”

น้องๆเจ้าของปัญหา มาตร 7ทวิวรรค 2 และ วรรค 3 ได้ขึ้นแถลงการณ์ เป็นบทแถลงการณ์ของ การจัดเวที “ เด็กกับความหวังการได้เป็นคนถูกกฎหมายและการได้สัญชาติไทย ” เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2556 ณ โรงแรมฟูราม่า อ.เมือง จ.เชียงใหม่ พวกหนูเกิดมาบนแผ่นดินไทย ไม่เคยเห็นแผ่นดินใดมาก่อนและไม่คิดจะไปอาศัยอยู่ในแผ่นดินไหน รักประเทศไทย รักในหลวง พวกหนูผิดด้วยหรือที่เกิดมาจาก บิดา-มารดาที่ไม่ปรากฏสัญชาติ จึงได้มีการกำหนดกฎหมายไว้ให้พวกหนูว่า “ เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้า เมือง….” ตามมาตรา 7 ทวิวรรคสาม พวกหนูรอกฎกระทรวงมาตลอดชีวิตก็ยังไม่มี และการที่จะให้สถานะเป็นอย่างไร ตามมาตรา 7 ทวิวรรคสอง “ ในกรณีที่เห็นสมควร รัฐมนตรีจะพิจารณาและสั่งเฉพาะรายหรือเป็นการทั่วไปให้ได้สัญชาติไทยก็ได้ ตามหลักเกณฑ์ที่รัฐมนตรีกำหนด…” ก็ยังมีหลักเกณฑ์ค่อนข้างยากและล่าช้า พวกหนูจึงมีข้อเสนอว่า 1. ควรพิจารณายกเลิกกฎหมายดังกล่าวที่ได้ตีตราบาปว่าพวกหนูเป็นผู้กระทำความผิด ซึ่งขัดแย้งกับ ความเป็นจริง หรือมีกฎกระทรวงรองรับให้มีฐานะอยู่อาศัยในประเทศไทยอย่างถูกต้องตามกฎหมาย 2. ควรจะต้องเร่งรัดการกำหนดสถานะบุคคลให้พวกหนูโดยเร็ว เพราะความล่าช้าหรือความไม่เป็นธรรม ในกรณีการได้สัญชาติตามมาตรา 7 […]

“นายกยิ่งลักษณ์” นำแรงงานต่างด้าวและครอบครัว 3 สัญชาติ พม่า กัมพูชา และลาว มีหลักประกันสุขภาพ ได้รับการดูแลทางสังคม โดยไม่ต้องพิสูจน์สัญชาติ

วันนี้ (5 กันยายน 2556) ที่ทำเนียบรัฐบาล กทม. นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีเป็นประธานประชุมหารือเรื่องการดำเนินการกลุ่มแรงงานต่างด้าวผู้ติดตามและบุตร (Migrant) ที่เหมาะสมของประเทศไทย ผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กระทรวงมหาดไทยกระทรวงแรงงาน กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงสาธารณสุข เลขาธิการนายกรัฐมนตรี เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติและมีผู้แทนจากองค์กรต่างประเทศ อาทิ องค์การอนามัยโลก ยูเอ็น ยูนิเซฟ อียู ไอโอเอ็ม ไจก้า ธนาคารโลก ธนาคารพัฒนาแห่งเอเชีย รวมทั้งเอ็นจีโอ เข้าร่วมประชุมหารือในครั้งนี้ นายแพทย์ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี มีนโยบายดูแลสุขภาพประชาชนทุกคนที่อาศัยในประเทศไทย โดยไม่ให้มีการเหลื่อมล้ำ โดยเฉพาะในแม่และเด็กที่ติดตามมากับแรงงานต่างชาติ ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาทางสังคมอื่นๆ ทั้งปัญหาการค้ามนุษย์ ทำร้ายเด็ก โสเภณี ยาเสพติด และปัญหาอาชญากรรม เป็นการดูแลตอบแทนที่คนกลุ่มนี้มีส่วนร่วมเข้ามาสร้างจีดีพีให้กับประเทศไทย โดยรัฐบาลพบว่าคนเหล่านี้ยังมีปัญหา เนื่องจากที่ผ่านมาการขึ้นทะเบียนของคนกลุ่มนี้ต้องผ่านขั้นตอนการพิสูจน์สัญชาติที่ยุ่งยาก เสียค่าใช้จ่ายมาก และในครั้งนี้ได้มอบให้กระทรวงที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการให้คนกลุ่มนี้อยู่ในประเทศไทย โดยไม่ต้องพิสูจน์สัญชาติ โดยลดขั้นตอนให้มาขึ้นทะเบียนด้วยขั้นตอนง่ายๆ เช่น […]

กรณีคำร้องนายนิวัฒน์ จันทร์คำ หรือ “น้องนิก” : คนไร้รัฐไร้สัญชาติ แต่ไม่ ไร้สิทธิทางการศึกษา…จากนโยบายสู่การปฏิบัติของภาครัฐ ที่บ่อยครั้งเด็กยังถูกละเลยสิทธิในการรับรองสถานะบุคคลตามกฎหมายการทะเบียนราษฎร

กรณีคำร้องนายนิวัฒน์ จันทร์คำ หรือ “น้องนิก” : คนไร้รัฐไร้สัญชาติ แต่ไม่ไร้สิทธิทางการศึกษา…จากนโยบายสู่การปฏิบัติของภาครัฐ ที่บ่อยครั้งเด็กยังถูกละเลยสิทธิในการรับรองสถานะบุคคลตามกฎหมายการทะเบียนราษฎร โดย นางสาวรัชนีวรรณ สุขรัตน์   เจ้าหน้าที่มูลนิธิกระจกเงา ซึ่งทำงานภายใต้โครงการคุ้มครองเด็กไร้รัฐ (Stateless Children Project :SCPP) เมื่อวันที่ ๘ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๖ สัญชาติเป็นสิ่งบ่งบอกถึงสถานะความเป็นคน ว่ามาจากชาติใด และการมีสิทธิความเป็นพลเมืองของประเทศนั้น ๆ แต่มีเด็กที่เกิดในประเทศไทยเป็นจำนวนมากที่ไม่ได้รับสัญชาติไทย เท่ากับการไม่มีตัวตน ไม่มีสิทธิใด ๆ ทั้งสิ้นบนผืนแผ่นดินนี้หรือผืนแผ่นดินไหน  กรณี น้องนิคและน้องสายพร ที่ยังไร้รัฐไร้สัญชาติ บนผืนดินรัฐไทย น้องนิก ร้องขอความช่วยเหลือด้านการพิสูจน์สถานะบุคคลของตัวเองและน้องสายพร  ผู้เป็นน้องสาว ผ่านทางเจ้าหน้าที่ โครงการคุ้มครองเด็กไร้รัฐ (Stateless Children Project :SCPP) จังหวัดเชียงใหม่  ทางเจ้าหน้าที่ได้ส่งต่อเคสน้องนิคและน้องสายพร  มายังองค์กรเครือข่าย เจ้าหน้าที่มูลนิธิกระจกเงา ซึ่งทำงานภายใต้โครงการคุ้มครองเด็กไร้รัฐ (Stateless Children Project :SCPP) เพื่อลงพื้นที่เก็บข้อมูลและให้ความช่วยเหลือเป็นลำดับต่อไป วันที่ ๓ […]

ระดมชาติพันธุ์ 9เผ่า รณรงค์ขอคืนสิทธิคนไทย ผลกระทบจากสงครามครั้งที่ 1-2

นายสุริยาวุธ  สร้อยสวิง  ประธานสิทธิชุมชนพะเยา อ.เชียงคำ  จ.พะเยา  เปิดเผยเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม ว่า  ได้ร่วมกับผู้นำชนเผ่าแต่ละเผ่า  และได้รวบรวมชาติพันธุ์ 9 ชนเผ่า  ในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนเช่น  จ.เชียงราย, น่าน, ลำปาง-พะเยา  และมีผู้เข้าร่วมกว่า  500  คน  และรวมกับเดินรณรงค์เรียกร้องขอสิทธิคืนสัญชาติไทย  เพราะบุคคลเหล่านี้ได้รับผลกระทบจากการเกิดสงครามทั้งครั้งที่ 1-2 ที่ผ่านมา  ตามข้อมูลในการบันทึกคนเข้าเมือง, เข้าประเทศรวมไปถึงข้อมูลในใบเกิด   บรรพบุรุษหรือปู่, ย่า, ตา-ยาย   อาศัยอยู่ในพื้นที่พะเยากว่า 100 ปี  และกระจายอยู่ทั่วในพื้นที่ภาคเหนือ  และในพื้นที่พะเยาทุกอำเภอและมีมากใน 4  อำเภอนับ 1.500 คน  คือ  อ.ภูซาง  อ.เชียงคำ  อ.ปง  อ.เชียงม่วน  ความเป็นอยู่ของชาติพันธุ์ชนเผ่าคือไตลื้อ, ไตยอง, เย้า, ม่ง-อาข่า,ลั้ว,ลีซอ-ขมุ๊  ได้อาศัยร่วมกันกับชาวไทยพื้นราบ  ในลักษณะพ่อเป็นคนไทย, แม่เป็นต่างด้าว   และแม่เป็นคนไทย, พ่อเป็นต่างด้าว […]

TBC เผย เตรียมความพร้อมส่งผู้ลี้ภัยกลับบ้าน

องค์กร เดอะบอร์เดอร์ คอนซอร์เตี้ยม (The Border Consortium -TBC) องค์กรเอ็นจีโอที่ให้ความช่วยเหลือผู้ลี้ภัยตามชายแดนไทย -พม่า ได้ออกรายงานเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา เปิดเผยว่า ยังคงให้ความช่วยเหลือผู้ลี้ภัยพม่าต่อไป อย่างไรก็ตาม ได้ให้ความสนใจในการเตรียมความพร้อมที่จะส่งผู้ลี้ภัยที่มีมากกว่า 120,000 คน กลับไปยังพม่าเมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม ทั้งนี้ ในรายงานของ TBC ล่าสุดระบุว่า กระบวนการปฏิรูปทางการเมืองและการเจรจาสร้างสันติภาพในพม่ายังคงดำเนินไปต่อเนื่อง ทาง TBC ได้เตรียมความพร้อมให้กับผู้ลี้ภัย หากต้องเดินทางกลับคืนสู่บ้านเกิด โดยขณะนี้ยังได้เปิดสำนักงานในย่างกุ้งเพื่อให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมตามคำเชิญของสำนักงานประธานาธิบดี อย่างไรก็ตาม ทาง TBC กล่าวว่า มีความจำเป็นอย่างมากในการรับประกันในเรื่องความปลอดภัยให้กับผู้ลี้ภัยที่จะเดินทางกลับพม่า เนื่องจากในบางพื้นที่ยังคงเกิดสงครามระหว่างทหารพม่าและกลุ่มติดอาวุธชนกลุ่มน้อย พร้อมกันนี้กล่าวว่า เห็นด้วยกับทางการไทยและพม่าที่ระบุว่า สภาพความเป็นอยู่ยังไม่พร้อมในการที่จัดส่งผู้ลี้ภัยกลับบ้าน ขณะที่ก่อนหน้านี้ ทาง TBC ได้ออกมาประกาศลดความช่วยเหลือด้านข้าวสารแก่ผู้ลี้ภัยบางส่วนในจำนวน 120,000 คน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสงครามในพม่า ทางด้าน Mike Bruce กล่าวว่า การลดความช่วยเหลือดังกล่าวนั้น เนื่องจากทางผู้สนับสนุนงบต้องการที่จะเพิ่มงบส่วนนี้ไปช่วยเหลือในโครงการเตรียมความพร้อมในการส่งกลับชุมชนผู้ลี้ภัย ทั้งนี้ TBC เป็นองค์กรที่ให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่ผู้ลี้ภัยตามชายแดนไทย -พม่า รวมถึงผู้พลัดถิ่นภายในและผู้ได้รับผลกระทบจากสงครามทางภาคตะวันออกของพม่ามาอย่างยาวนาน 30 […]

สังขละบุรีมอบสัญชาติ-บัตรประชาชนต่างด้าว 15 ราย

กาญจนบุรี 13 ต.ค.- นายชาธิป  รุจนเสรี นายอำเภอสังขละบุรี เป็นประธานมอบบัตรประจำตัวประชาชนแก่ต่างด้าวที่ได้รับสัญชาติไทย จำนวน 15 คน พร้อมทั้งบัตรประจำตัวประชาชน พร้อมกล่าวว่า ผู้ได้รับสัญญาชาติและบัตรประชาชนครั้งนี้ ขอให้ปฏิบัติตนให้ดี อย่าไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด สิ่งผิดกฎหมาย และที่สำคัญ  ต้องรักประเทศชาติ ศาสนา และสถาบันพระมหากษัตริย์ไทย หากไม่ประพฤติตนตามที่กล่าว อาจมีสิทธิ์ถูกเพิกถอนบัตรประชาชนได้ ด้านนายบุญรอด หงสาวดี อายุ 31 ปี หนึ่งในบุคคลที่ได้รับบัตรสัญชาติไทย กล่าวด้วยความตื้นตันว่า ตนจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยมกุฏราชวิทยาลัย ปัจจุบันเป็นครูสอนนักเรียนบ้านอุ่นรักใน อ.สังขละบุรี ดีใจและสบายใจที่ได้รับบัตรสัญชาติไทย ก่อนหน้านี้เดินทางไปไหนมาไหนไม่สะดวก มีความรู้สึกว่าไม่ทัดเทียมเพื่อนมนุษย์ หลังจากที่ได้รับบัตรสัญชาติไทยแล้ว รู้สึกเป็นคนอย่างสมเกียรติ มีสิทธิเท่าเทียมกัน ตนขอทำตัวเป็นคนดีของสังคม ขณะที่ น.ส.โนรี รัศมีอุดมฤทธิ์ อายุ 25 ปี กล่าวว่า จบการศึกษาจากสถาบันราชภัฏนครปฐม ทำงานอยู่ในตัวเมืองกาญจนบุรี ดีใจที่ได้บัตรคนไทย ช่วงศึกษาอยู่ได้รับสิทธิ์ให้เดินทางไปดูงานยังต่างประเทศ แต่ไม่สามารถไปกับกลุ่มคณะได้ เนื่องจากไม่มีหลักฐานสำคัญที่จะใช้เดินทางได้ ขอขอบคุณคนไทย ขอบคุณเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย และประเทศไทยที่ให้ที่พึ่งพาตนจนมีวันนี้.-สำนักข่าวไทย […]

1 3 4 5 6 7 56
Copyright © 2018. All rights reserved.