Month: January 2562

พะเยาเร่งสางปัญหาสถานะและสิทธิของบุคคล เพื่อเร่งรัดช่วยเหลือให้สถานะตามกฎหมายแก่บุคคลไร้รัฐ ไร้สัญชาติในพื้นที่

พะเยา/ เมื่อเร็วๆ นี้ นายชูชาติ กีฬาแปง ผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา เป็นประธานเปิดการประชุมการจัดการปัญหาสถานะและสิทธิของบุคคลในจังหวัดพะเยา ที่ห้องประชุมจอมทอง ชั้น 4 ศาลากลางจังหวัดพะเยา ซึ่งที่ทำการปกครองจังหวัดพะเยาจัดขึ้น เพื่อซักซ้อมแนวทางปฏิบัติและเร่งรัดให้ความช่วยเหลือแก่บุคคลไร้รัฐ ไร้สัญชาติ ตลอดจนประสานเชื่อมโยงการปฏิบัติงานกับองค์กรภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องให้ดำเนินการไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีปลัดจังหวัด นายอำเภอทั้ง 9 อำเภอ ปลัดอำเภอหัวหน้ากลุ่มงานที่เกี่ยวข้อง ผู้บริหารท้องถิ่น เจ้าพนักงานทะเบียนและบัตรของสำนักงานทะเบียนท้องถิ่น ตลอดจน หัวหน้าองค์กรสิทธิชุมชนจังหวัดพะเยา เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ นายชนะ แพ่งพิบูลย์ ปลัดจังหวัดพะเยา กล่าวว่า รัฐบาลได้กำหนดให้การแก้ไขปัญหาบุคคลที่ไม่มีสัญชาติไทยและไม่มีสถานะบุคคลที่ชัดเจน เป็นนโยบายสำคัญประการหนึ่ง และในปีงบประมาณ พ.ศ.2556 ที่ผ่านมา กระทรวงมหาดไทย โดยกรมการปกครอง ได้สั่งการให้ทุกจังหวัดดำเนินการตามโครงการเร่งรัดและให้สถานะตามกฎหมายกับบุคคลที่อพยพเข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศไทยติดต่อกันเป็นเวลานาน ให้แก่บุคคลที่กรมการปกครองได้ทำการสำรวจจัดทำข้อมูลไว้แล้ว และมีทะเบียนประวัติอยู่ในระบบฐานข้อมูลของสำนักทะเบียนกลาง โดยจังหวัดพะเยามีบุคคลซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายตามโครงการดังกล่าวจำนวน 429 คน ส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ อ.เชียงคำ อ.ปง และ อ.ภูซาง ซึ่งขณะนี้ทางจังหวัดได้ดำเนินการตรวจสอบและพิจารณาคำร้อง พร้อมทั้งจัดส่งเอกสารที่เกี่ยวข้องให้กระทรวงมหาดไทยเพื่อพิจารณาต่อไป ที่มา : http://www.ryt9.com/s/bmnd/1759997

กมธ.วุฒิสภาเตรียมเสนอสธ.ดึงกลุ่มคนไร้รัฐตกค้างอีก 1.5 แสนคนเข้ากองทุนสุขภาพคนไร้สถานะ

คณะกรรมาธิการวิสามัญฯ วุฒิสภาและนักวิชาการด้านสาธารณสุขเตรียมผลักดันบุคคลมีปัญหาสถานะสิทธิกว่า 150,000 คนเข้าสู่กองทุนสุขภาพตามมติครม.53 อาจจะเริ่มมีความหวังขึ้นมาบ้าง เมื่อคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาปัญหาด้านการใช้กฎหมาย และแนวทางแก้ไขการไร้สถานะและสิทธิของบุคคลในประเทศไทย วุฒิสภา ได้เรียกผู้ที่เกี่ยวข้องด้านสาธารณสุขเข้าพบในสัปดาห์ที่ผ่านมา เพื่อชี้แจงสถานการณ์การเข้าถึงสิทธิการรักษาพยาบาลของบุคคลผู้มีปัญหาด้านสถานะและสิทธิ รวมถึงหารือการผลักดันนโยบายให้คนไร้รัฐได้เข้าถึงสิทธิการรักษามากขึ้น อย่างน้อย การต่อสู้ครั้งใหม่ของนักวิชาการและบุคคลด้านสาธารณสุขก็มิได้เป็นการเดินเพียงลำพัง ย้อนกลับไปเมื่อปี 2553 คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้สิทธิ (คืนสิทธิ) หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าให้แก่บุคคลที่มีปัญหาด้านสถานะและสิทธิ จำนวน 4.5 แสนคน ประกอบด้วย กลุ่มคนเข้าเมืองโดยชอบ 90,033 คน กลุ่มคนผู้ได้รับการผ่อนผันให้อยู่ชั่วคราวเพื่อรอกระบวนการแก้ปัญหาและพิสูจน์สัญชาติ 296,863 คน และกลุ่มบุคคลไม่มีสถานะทางทะเบียน 70,513 คน โดยให้กระทรวงสาธารณสุขเป็นผู้จัดการบริหารกองทุนสุขภาพคนไร้สถานะแทนสปสช.ซึ่งใช้ระบบเหมาจ่ายรายหัวที่ 2,067บาท/คน/ปี เป็นกองทุนคู่ขนานกับกองทุน 30 บาทรักษาทุกโรค ในระหว่างการหารือร่วมกับคณะกรรมาธิการวิสามัญฯในสัปดาห์ที่แล้ว ดร.นพ.พงศธร พอกเพิ่มดี นักวิชาการเศรษฐศาสตร์สาธารณสุขเล่าว่า กว่าคณะรัฐมนตรีจะให้การรับรองในตอนนั้น  นักวิชาการและบุคคลด้านสาธารณสุขต้องใช้เวลาในการขับเคลื่อนเรื่องนี้ถึง 5 ปี ผ่าน 4 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ต้องใช้มวลชนกดดันอย่างหนักเพื่อให้เกิดการยอมรับ แต่ในข้อเท็จจริง ยังมีบุคคลผู้มีปัญหาด้านสถานะและสิทธิตกค้างอยู่อีกจำนวนมากที่ตกหล่นจากมติครม. 2553 ซึ่งเป็นคนกลุ่มเลข 0 8 และ […]

กกจ.ร่วมมือ สปส.เตรียมปรับเกณฑ์ดันแรงงานต่างด้าวเข้าประกันสังคม

นายประวิทย์ เคียงผล อธิบดีกรมการจัดหางาน (กกจ.) กระทรวงแรงงาน กล่าวถึงกรณีที่สำนักงานประกันสังคม (สปส.) เสนอให้ กกจ.ปรับเกณฑ์การรับแรงงานต่างด้าวเข้าสู่ระบบประกันสังคมโดยให้นายจ้างสามารถใช้เลขใบเสร็จรับเงินการขอใบอนุญาตทำงานของแรงงานต่างด้าวแทนใบอนุญาตการทำงานจริงมาใช้ในการยื่นเป็นหลักฐานว่า ปัจจุบันแรงงานต่างด้าวแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มแรก แรงงานต่างด้าวที่เข้าทำงานในไทยโดยผิดกฎหมาย และอยู่ระหว่างรอพิสูจน์สัญชาติ ซึ่งแรงงานต่างด้าวกลุ่มนี้จะไม่สามารถเข้าสู่ระบบประกันสังคมได้ แต่มีแรงงานต่างด้าวในบางอาชีพที่กฎหมายประกันสังคมไม่อนุญาตให้เข้าสู่ระบบประกันสังคมคือ อาชีพด้านเกษตร ประมงและแม่บ้านซึ่งต้องใช้การทำประกันสุขภาพแบบรายปีแทน อธิบดี กกจ. กล่าวต่อไปว่า ส่วนกลุ่มที่สองเป็นแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในไทยโดยถูกต้องตามกฎหมายและไม่ได้อยู่ในอาชีพที่ถูกห้ามไม่ให้เข้าระบบประกันสังคม ซึ่งที่ผ่านมา กกจ.พยายามผลักดันให้แรงงานต่างด้าวกลุ่มนี้เข้าสู่ระบบประกันสังคมแต่ติดปัญหาหลายเรื่องเช่น นายจ้างไม่ยอมมาแจ้งหรือทาง สปส.ต้องการเลขใบอนุญาตทำงาน แต่ กกจ.ไม่สามารถออกใบอนุญาตทำงานให้แรงงานต่างด้าวได้ทันเนื่องจากแรงงานต่างด้าวมีจำนวนมาก ซึ่งตนเห็นด้วยกับข้อเสนอของ สปส.ที่จะใช้เลขใบเสร็จรับเงินการขอใบอนุญาตทำงานแทนเพื่อให้แรงงานต่างด้าวเข้าสู่ระบบประกันสังคมได้รวดเร็วขึ้น ซึ่ง สปส.ก็ต้องปรับเกณฑ์เพื่อรองรับในเรื่องนี้เช่นกัน “ขณะนี้มีแรงงานต่างด้าวกว่า 200,00 คนที่จะครบกำหนดผ่อนผันให้ทำงานอยู่ในไทยชั่วคราว 4  ปีในเดือนพฤศจิกายนนี้ จะต้องขอเอกสารรับรองสถานะและใบอนุญาตทำงานใหม่ กกจ.จะประสานไปยังสปส.ให้มาตั้งโต๊ะร่วมกันตามศูนย์ออกเอกสารรับรองสถานะแก่แรงงานต่างด้าว เพื่อออกใบอนุญาตทำงานไปพร้อมกับการให้นายจ้างแจ้งนำแรงงานต่างด้าวเข้าสู่ระบบประกันสังคม ซึ่งจะนำวิธีนี้ไปใช้กับแรงงานต่างด้าวที่มาขอใบอนุญาตทำงานใหม่ ถือเป็นการผลักดันทางอ้อมให้นายจ้างต้องนำแรงงานต่างด้าวเข้าสู่ระบบประกันสังคม” อธิบดีกกจ.กล่าวและว่า ส่วนกรณีนักวิชาการวิจัยพบว่า แรงงานต่างด้าวเข้าสู่ประกันสังคมยากเพราะเปลี่ยนนายจ้างไม่ได้ หากเป็นกรณีนายจ้างนำแรงงานต่างด้าวเข้ามาแล้วให้ทำงานผิดประเภทเช่น รับมาทำงานด้านเกษตรแต่กลับให้ขายของเป็นเรื่องที่ผิดกฎหมาย ลูกจ้างต่างด้าวมีสิทธิยื่นขอเปลี่ยนนายจ้างได้และนายจ้างรายใหม่มาแจ้งนำเข้าประกันสังคมได้ ที่มา ; http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1382596242

กลุ่ม Arakan Project กล่าวว่าผู้คนนับหมื่นอพยพออกจากบังคลาเทศและพม่ามุ่งหน้าไปหางานทำและสร้างชีวิตใหม่ในมาเลย์เซียโดยผ่านประเทศไทย

ฤดูการอพยพในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เริ่มขึ้นอีกครั้งหนึ่งแล้ว และกลุ่ม Arakan Project ซึ่งเป็นองค์กร NGO ที่ติดตามดูแลความเคลื่อนไหวของชาวโรฮิงจะ ชาวมุสลิมชนกลุ่มน้อย ไร้สัญชาติในภูมิภาค ประมาณว่า มีผู้อพยพออกไปแล้วราวๆ 17,000 คน และเรือที่ใช้เดินทางเป็นเรือใหญ่ แทนที่เรือเล็กเก่าๆที่เคยใช้กัน มีการอพยพของชาวบังคลาเทศและชาวพม่าที่เดินทางเสี่ยงภัยในทะเล ไปแสวงหางานและสร้างชีวิตใหม่ในมาเลย์เซียและที่อื่นๆในเอเชียมาเป็นเวลานานแล้ว แต่ความขัดแย้งรุนแรงระหว่างชาวพุทธกับชาวโรฮิงจะ ซึ่งเป็นชาวมุสลิมในรัฐยะไข่ของพม่า ทำให้มีชาวโรฮิงจะอพยพออกมากยิ่งขึ้นไปอีก Chris Lewa ผู้อำนวยการของกลุ่ม Arakan Project บอกว่า เฉพาะในสัปดาห์ที่ผ่านมา มีคนเกือบ 4,000 คนที่อพยพออกไปแล้ว และคิดว่าตั้งแต่นี้ไปจนตลอดหน้าแล้ง จะมีผู้คนอพยพออกไปทางเรือเป็นจำนวนมาก เจ้าหน้าที่ของสหประชาชาติในภูมิภาค ยอมรับว่ารายงานของกลุ่ม Arakan Project เชื่อถือได้ และว่าสหประชาชาติไม่มีตัวเลขในเรื่องนี้โดยเฉพาะ สำนักงานเพื่อการประสานงานในกิจการด้านมนุษยธรรมของสหประชาชาติยังได้ตั้งข้อสังเกตไว้ด้วยว่า ในปีนี้พาหนะที่ผู้อพยพใช้ในการเดินทาง เปลี่ยนจากเรือเล็กเก่าๆที่เป็นอันตรายมาเป็นเรือใหญ่ขึ้น Chris Lewa บอกกับ VOA ว่า การอพยพในช่วงนี้ ดูจะมีการจัดการอย่างเป็นดี และให้ความเห็นว่า การอพยพในลักษณะนี้จะมีขึ้นไม่ได้ ถ้าทางการของประเทศไม่ได้ให้ความร่วมมืออย่างใกล้ชิด ไม่ว่าจะเป็นทางการไทยหรือบังคลาเทศ แต่โดยเฉพาะในประเทศไทยนั้น ไม่คิดว่าการเคลื่อนย้ายผู้คนเป็นจำนวนมากอย่างนี้จะเกิดขึ้นได้ ถ้าไม่ได้รับความยินยอมอย่างลับๆ […]

การประชุมกลุ่มติดอาวุธชนเผ่าน้อยเมียนมาร์บรรลุข้อตกลงว่าด้วยสันติภาพ

เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน กลุ่มติดอาวุธของชนเผ่าน้อยต่างๆ ในเมียนมาร์ได้บรรลุข้อตกลงหยุดยิงในการประชุมสุดยอดว่าด้วยสันติภาพที่จัดขึ้นในรัฐกะฉิ่น ทางภาคเหนือของเมียนมาร์ สองฝ่ายได้ลงนามในเอกสารเกี่ยวกับการบรรลุสันติภาพหลายฉบับ ระหว่างวันที่ 30 ตุลาคมถึงวันที่ 2 พฤศจิกายน ผู้แทนจากกลุ่มติดอาวุธชนเผ่าน้อย 17 คณะได้จัดการประชุมสุดยอดที่เมืองลายซา รัฐคะฉิ่น ซึ่งเป็นที่ตั้งของกองบัญชาการของกลุ่มคะฉิ่น ผู้แทนของชนเผ่าต่างๆ ได้บรรลุข้อตกลงเกี่ยวกับ แผนการนำทางด้านการเมือง เนื้อหาสำคัญเกี่ยวกับการหยุดยิง จัดการเจรจาทางการเมืองเพื่อหยุดยิง กำหนดมาตรการที่สร้างความเชื่อมั่น เป็นต้น ผู้แทนที่เข้าร่วมการประชุมครั้งนี้ระบุว่า ถ้ารัฐบาลยอมรับข้อตกลงของการประชุมครั้งนี้ ก็จะลงนามในข้อตกลงหยุดยิงในทั่วประเทศโดยเร็วได้ Yim/Lei ที่มา : http://thai.cri.cn/247/2013/11/03/64s215095.htm

UN หวั่นเรือโรฮิงญาลี้ภัยความรุนแรงในพม่าจมทะเลซ้ำรอย

UN หวั่นเรือโรฮิงญาลี้ภัยความรุนแรงในพม่าจมทะเลซ้ำรอย เจ้าหน้าที่รักษาพรมแดนบังกลาเทศเข้าสกัดเรือชาวมุสลิมโรฮิงญาที่พยายามจะข้ามแม่น้ำนาฟมายังฝั่งบังกลาเทศ เพื่อหลบหนีความรุนแรงระหว่างศาสนาในพม่า เมื่อวันที่ 11 มิ.ย. ชาวโรฮิงญายังคงหลบหนีออกจากพม่าทางเรือกันต่อเนื่อง และเมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา เกิดเหตุเรือโรฮิงญาพลิกคว่ำกลางทะเลทำให้มีผู้สูญหายหลายสิบคน ซึ่งสหประชาชาติวิตกกังวลว่าจะเกิดเหตุโศกนาฎกรรมซ้ำรอยขึ้นอีก พร้อมร้องขอให้พม่าจัดการแก้ไขปัญหาความรุนแรงดังกล่าว.– Agence France-Presse Photo/Munir uz Zaman.. เอเอฟพี – หน่วยงานด้านผู้ลี้ภัยของสหประชาชาติ เรียกร้องพม่าให้จัดการกับความรุนแรงทางศาสนาเพื่อเลี่ยงเหตุโศกนาฏกรรมทางเรือเกิดขึ้นซ้ำ ซึ่งเชื่อว่าได้คร่าชีวิตชาวมุสลิมโรฮิงญาที่หลบหนีการปะทะกันในพม่าไปแล้วหลายสิบคน “จากเหตุภัยพิบัติจากเรือพลิกคว่ำกลางทะเลเมื่อไม่นานนี้ ทำให้เรากังวลว่าเหตุโศกนาฏกรรมที่คล้ายกันจะเกิดขึ้นตามมาอีก หากประเทศที่เกี่ยวข้องไม่ดำเนินมาตรการจัดการกับสาเหตุ และลดความเสี่ยง” เอเดรียน เอ็ดเวิร์ด โฆษกหน่วยงานของสหประชาชาติ กล่าวกับผู้สื่อข่าว “เป็นเรื่องที่ไม่สามารถยอมรับได้ว่าประชาชนถูกผลักดันจากความสิ้นหวัง จนทำให้ต้องก้าวไปสู่การเดินทางที่เสี่ยงต่อชีวิต ที่มักตกไปอยู่ในเงื้อมมือของบรรดาพวกค้ามนุษย์” เจ้าหน้าที่ตำรวจระบุว่า เรือที่บรรทุกขาวโรฮิงญาลี้ภัยเกือบ 70 คน ซึ่งกำลังมุ่งหน้าไปยังมาเลเซีย ได้เกิดพลิกคว่ำเมื่อวันอาทิตย์ ที่บริเวณนอกชายฝั่งพม่า ทำให้มีผู้สูญหายหลายสิบราย และมีรายงานว่าพบผู้รอดชีวิตเพียง 8 คน ประชาชนราว 140,000 คน ที่ส่วนใหญ่เป็นชาวโรฮิงญา ต้องไร้ที่อยู่อาศัยจากเหตุความรุนแรงระหว่างชาวพุทธ และมุสลิมที่เกิดขึ้น 2 ระลอก ในรัฐยะไข่เมื่อปีก่อน ที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตมากถึง 200 […]

วุฒิสภา จัดพิธีมอบบัตรประจำตัวประชาชนให้ 31 คนไทยผู้ไร้สัญชาติกลุ่มแรกที่เข้าร่วมโครงการเฉลิมพระเกียรติปกป้องสิทธิผู้ด้อยโอกาส ผู้ยากจนและคนยากไร้สู่พลเมืองอาเซียนและจัดเวทีสัมมนาเตรียมความพร้อมก้าวสู่สิทธิการเป็นพลเมือง

วุฒิสภาจัดพิธีมอบบัตรประจำตัวประชาชนให้ 31คนไทยผู้ไร้สัญชาติกลุ่มแรกที่เข้าร่วมโครงการเฉลิมพระเกียรติปกป้องสิทธิผู้ด้อยโอกาส ผู้ยากจน และคนยากไร้สู่พลเมืองอาเซียน วุฒิสภา เมื่อวันจันทร์ที่ 4 พฤศจิกายน 2556 ณ บริเวณห้องโถง ชั้น ๑ อาคารรัฐสภา ๑ โดยนายอโณทัย ฤทธิปัญญาวงศ์ ประธานกรรมการฯ นายตวง อันทะไชย รองประธานโครงการฯ นายสถาพร ศิริภักดี รองอธิบดีกรมการปกครอง นายอนุสรณ์ ไกรวัตนุสสรณ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ พร้อมด้วยแขกผู้มีเกียรติ ผู้แทนภาคีเครือข่าย ผู้บริหารภาครัฐ ตลอดจน ภาคเอกชน ภาคประชาชน สื่อมวลชน ตลอดจนผู้สนใจทั่วไป เข้าร่วมพิธีมอบบัตรประจำตัวประชาชนให้แก่ผู้เข้าร่วมโครงการเฉลิมพระเกียรติปกป้องสิทธิผู้ด้อยโอกาส ผู้ยากจน และคนยากไร้สู่พลเมืองอาเซียน โดยได้รับเกียรติจาก นายนิคม ไวยรัชพานิช ประธานวุฒิสภา เป็นประธานในพิธีมอบบัตรประจำตัวประชาชนให้แก่ผู้เข้าร่วมโครงการฯ ที่ได้รับการอนุมัติให้เพิ่มชื่อในทะเบียนราษฎร จำนวน 31 ราย ซึ่งเป็นคนไทยผู้ไร้สัญชาติกลุ่มแรกที่เข้าร่วมโครงการฯ ภายในงานประกอบไปด้วยกิจกรรมน่าสนใจมากมาย เริ่มตั้งแต่พิธีมอบบัตรประชาชนให้แก่ผู้เข้าร่วมโครงการฯ นอกจากนี้ ยังมีการมอบโล่ที่ระลึกให้แก่หน่วยงานที่สนับสนุนโครงการฯ การฉายวีดิทัศน์เกี่ยวกับปัญหาคนไร้สถานะ การจัดแสดงจุดบริการเคลื่อนที่จากหน่วยงานต่างๆ เพื่อให้ความรู้แก่ผู้เข้าร่วมงาน […]

พิธีมอบบัตรประจำตัวประชาชน และปฏิญาณตนเป็นคนดี อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย

เมิ่อ วันที่ 22 สิงหาคม ที่ผ่านมา  ทางทีมงานสำนักกฎหมายเพื่อการพิทักษ์สิทธิ  ได้เข้าร่วมเพื่อเป็นสักขีพยานใน พิธีมอบบัตรประจำตัวประชาชน และปฏิญาณตนเป็นคนดี  ณ อำเภอแม่ฟ้าหลวง  จังหวัดเชียงราย ในครั้งนี้มี ผู้ได้รับลงรายการสัญชาติไทย ตามระเบียบสำนักทะเบียนกลาง  พ.ศ.2543   จำนวน  221  คน ตามมาตรา 23 แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551      จำนวน  158  คน ตามมาตรา 7 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2)พ.ศ. 2535 และ(ฉบับที่ 4) พ.ศ.2551   จำนวน  5 คน รวมผู้ได้รับลงรายการสัญชาติไทยทั้งสิ้น 384 คน โดยมีผู้อายุครบกำหนดได้รับการจัดทำบัตรประชาชนและร่วมในพิธีในวันนี้  จำนวน  364 คน […]

กรมการปกครอง จัดพิธีมอบหนังสือรับรองความเป็นคนไทยพลัดถิ่นและบัตรประชาชนให้กับ 140 คนไทยไร้สัญชาติ นำร่อง ที่อำเภอคลองใหญ่ จ.ตราด

26 ส.ค. 56) นายชวน ศิรินันท์พร อธิบดีกรมการปกครอง เป็นประธานในพิธีมอบหนังสือรับรองความเป็นคนไทยพลัดถิ่นและบัตรประจำตัว ประชาชนให้กับผู้ได้รับการรับรองให้ได้สัญชาติไทยโดยการเกิด จำนวน 140 คน ที่ผ่านการดำเนินการพิสูจน์สัญชาติและรับรองความเป็นคนไทยพลัดถิ่น ตามพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2555 มีนางสาวเบญจวรรณ อ่านเปรื่อง ผู้ว่าราชการจังหวัดตราด รวมทั้งคณะกรรมการรับรองความเป็นคนไทย จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และกลุ่มคนไทยพลัดถิ่นจำนวนมากเข้าร่วมพิธี ที่ศาลาเฉลิมพระเกียรติ หมู่ที่ 1 ตำบลหาดเล็ก อำเภอคลองใหญ่อธิบดีกรมการปกครอง กล่าวว่า การจัดพิธีมอบหนังสือรับรองความเป็นคนไทยพลัดถิ่นและบัตรประจำตัวประชาชนให้ กับผู้ได้รับการรับรองให้ได้สัญชาติไทยโดยการเกิดในครั้งนี้กรมการปกครองได้ เลือกพื้นที่จังหวัดตราดเป็นพื้นที่นำร่องแห่งแรกของประเทศ โดยคนไทยพลัดถิ่นทั้ง 140 คนนี้ได้ผ่านการตรวจสอบ ทั้งจากหลักฐานเอกสาร การตรวจพิสูจน์สารพันธุกรรมหรือการตรวจดีเอ็นเอ ตลอดจนตรวจสอบพยานและหลักฐานต่าง ๆ ที่มีอยู่ จนได้รับการรับรองจากคณะกรรมการที่มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมเป็นคณะ กรรมการจึงจัดให้มีพิธีมอบหนังสือรับรองความเป็นคนไทยพลัดถิ่นและบัตรประจำ ตัวประชาชน เพื่อให้บุคคลเหล่านี้มีสิทธิขั้นพื้นฐานของความเป็นคนไทยโดยสมบูรณ์ต่อไป อธิบดีกรมการปกครอง กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัจจุบันปัญหาคนไทยพลัดถิ่นนอกเหนือจากคนไทยเชื้อสายเกาะกงที่มีปัญหาจาก เรื่องดินแดนในยุคล่าอาณานิคมของชาติตะวันตกในสมัยรัชกาลที่ 5 ด้านจังหวัดตราด แล้ว ในจังหวัดอื่นอีก 4 จังหวัด คือ […]

เครือข่ายโครงการคุ้มครองเด็กไร้รัฐไร้สัญชาติ ร่วมกับ องค์กร plan international ร่วมกันจัดเวทีสาธารณะจังหวัดเชียงราย

เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2556 ที่ผ่านมา  เครือข่ายโครงการคุ้มครองเด็กไร้รัฐไร้สัญชาติ ร่วมกับ องค์กร plan international ร่วมกันจัดเวทีสาธารณะจังหวัดเชียงราย  ประเด็น “ เด็กกับความหวังการได้เป็นคนถูกกฏหมายและได้สัญชาติไทย ตามมาตรา 7 ทวิ วรรคสอง และ 7 ทวิวรรคสาม แห่ง พรบ. สัญชาติ ฉบับที่ 4 ปี 2551”  ที่ห้องประชุม องค์การบริหารส่วนตำบลเทอดไทย อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย โดยมี  นายวรญาณ  บุญณราช  นายอำเภอแม่ฟ้าหลวง ได้ให้เกียรติ เป็นประธานเปิดงาน  และร่วมเวทีพูดคุยประเด็นปัญหากับผู้เข้ารับการอบรมในครั้งนี้ ผู้เข้าร่วมการอบรมประกอบด้วย  นายอำเภอแม่ฟ้าหลวง  นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเทิดไทย   กลุ่มแกนนำชาวบ้านที่ยังไม่ได้รับสัญชาติไทย  กลุ่มแกนนำชาวบ้านที่ยื่นคำร้องขออนุมัติสัญชาติไทย และอยู่ระหว่างการรออนุมัติคำร้อง  กลุ่มผู้นำชุมชนหมู่บ้านในตำบลเทอดไทย  อำเภอแม่ฟ้าหลวง  จังหวัดเชียงราย  เจ้าหน้าที่ อาสาสมัครองค์กรพัฒนาเอกชน  รวม  80  คน วัตถุประสงค์การจัดอบรม […]

1 2 3 4 5 6 56
Copyright © 2018. All rights reserved.