News

สแกนแรงงานต่างด้าวสกัดไวรัส กทม. ไล่เช็ก 392 แคมป์ทั่วกรุง

“หม่อมเต่า” จี้แรงงานจังหวัดปิดจุดเสี่ยงโควิด โฟกัสกลุ่มแรงงานต่างด้าว สุ่มตรวจสถานประกอบการ-โรงงาน ย้ำหากไม่ร่วมมือใช้ไม้แข็ง สั่งปิดโรงงานทันที กทม.หวั่นโควิด-19 ระบาดไซต์ก่อสร้างสั่ง 50 เขตสำรวจคัดกรองโรคเข้ม พบทั่วกรุงมีแคมป์แรงงานไทย-ต่างด้าว 392 โครงการ กว่า 6 หมื่นคน สถานการณ์ไวรัสโควิด-19 ที่คลี่คลายลง ทำให้รัฐบาลเตรียมผ่อนคลายมาตรการคุมเข้ม ขณะเดียวกันเพื่อไม่ให้โควิดย้อนกลับมาแพร่ระบาดรอบใหม่ ได้มีนโยบายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องโฟกัสไปที่การควบคุมป้องกันกลุ่มคนที่มีความเสี่ยง โดยเฉพาะอย่างยิ่งแรงงานที่ทำงานและพักอาศัยในไซต์ก่อสร้าง และโรงงานอุตสาหกรรม ดร.ดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า หม่อมราชวงศ์จัตุมงคล โสณกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้มอบหมายให้โฟกัสกลุ่มแรงงานต่างด้าวในสถานประกอบการเข้มข้นมากขึ้น โดยเฉพาะพื้นที่เสี่ยง เช่น สมุทรสาคร, นครปฐม, สงขลา ฯลฯ ให้ลงพื้นที่ตรวจสอบที่พักอาศัยของแรงงานรับจ้างทั่วไป แรงงานที่อาศัยในบ้านพักหรือที่พักชั่วคราว ต้องมีสถาพไม่แออัด และสุ่มเสี่ยงติดเชื้อโควิด หากพบว่าสถานประกอบการที่มีแรงงานต่างด้าวติดเชื้อโควิดเพิ่มขึ้น จะอาศัยอำนาจภายใต้ พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินสั่งปิด กทม.สแกน 392 ไซต์ก่อสร้าง นายชวินทร์ ศิรินาค ผู้อำนวยการสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยกับ […]

ครม.กำหนดแรงงานต่างด้าวมีสัญชาติอยู่ในไทย 100 คน ไร้สัญชาติ 50 คน

วันนี้ (15 เม.ย.) เวลา 14.00 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล นางนฤมล ภิญโญสินวัฒน์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ครม.มีมติเห็นชอบร่างประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี และ กระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดจำนวนคนต่างด้าวซึ่งจะมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร ประจำปี พ.ศ. …. ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้ และให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไป โดยเนื่องจากในปัจจุบันการเข้ามาอยู่ในประเทศไทยของชาวต่างชาติ นับได้ว่ามีความสำคัญต่อสังคมไทย โดยมีเหตุผลที่ต้องการเข้ามามีถิ่นที่อยู่ถาวรในประเทศไทยหลายประการ เช่น เข้ามาเพื่อทำงาน ดังนั้น จึงกำหนดให้คนต่างด้าวที่มีสัญชาติของแต่ละประเท ศซึ่งจะมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรประจำปี พ.ศ. 2563 มีจำนวนประเทศละไม่เกิน 100 คน และคนต่างด้าวไร้สัญชาติมีจำนวนไม่เกิน 50 คน

เตือนผู้ลี้ภัยนับล้านเสี่ยงติดเชื้อโควิด-19

สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานเมื่อ 20 มี.ค. อ้างการเปิดเผยของ “เครือข่ายสิทธิผู้ลี้ภัยแห่งเอเชีย-แปซิฟิก” (APRRN) ว่า ผู้ลี้ภัยหลายล้านคนซึ่งอยู่กันอย่างล่อแหลมทั่วเอเชียมีความเปราะบางสูงเป็นพิเศษที่จะติดเชื้อไวรัส “โควิด-19” ซึ่งกำลังระบาดหนักทั่วโลก และการปิดพรมแดนของประเทศต่างๆ ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงที่จะทำให้ผู้ลี้ภัยถูกบังคับเนรเทศให้กลับถิ่นฐาน นายเทมบา ลูวิส เลขาธิการ APRRN เผยว่า ผู้ลี้ภัยและคนไร้สัญชาติที่อยู่ตามค่ายต่างๆ เป็นผู้รับเคราะห์หนักที่สุด เพราะถูกให้อยู่ในพื้นที่จำกัดที่ขาดสุขอนามัยและเข้าไม่ถึงระบบดูแลรักษาสุขภาพ จึงน่าเป็นห่วงอย่างยิ่งถ้ามีการระบาดของโควิด-19 โดยค่ายผู้ลี้ภัยใหญ่ๆ ที่น่าเป็นห่วงรวมทั้งค่ายผู้ลี้ภัยที่เมืองค็อกซ์’ส์ บาซาร์ ในบังกลาเทศ ซึ่งมีผู้ลี้ภัยชาวมุสลิมโรฮีนจาจากเมียนมาอยู่กว่า 700,000 คน ส่วนค่ายผู้ลี้ภัย 9 แห่งตามพรมแดนไทย-เมียนมา ก็มีผู้ลี้ภัยจากเมียนมาอยู่กว่า 31,000 คน ค่ายผู้ลี้ภัยทางภาคใต้อินเดีย มีผู้ลี้ภัยชาวทมิฬจากศรีลังกาอยู่กว่า 60,000 คน ส่วนผู้ลี้ภัยชาวอัฟกันกว่า 2 ล้านคนก็อยู่ตามค่ายในอิหร่านและปากีสถาน ถึงแม้ขณะนี้ ยังไม่มีรายงานยืนยันผู้ติดเชื้อโควิด-19 ตามค่ายผู้ลี้ภัย รอยเตอร์ยังรายงานว่า ขบวนรถขนส่งความช่วยเหลือทางการแพทย์จากนานาชาติชุดแรกมีกำหนดเดินทางถึงเกาหลีเหนือในสัปดาห์นี้ เพื่อช่วยยับยั้งโควิด-19 โดยองค์กรบรรเทาทุกข์หลายแห่งได้รับการยกเว้นจากมาตรการคว่ำบาตรของสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ต่อเกาหลีเหนือ แต่การควบคุมพรมแดนอย่างเข้มงวดอาจเป็นอุปสรรคต่อการส่งความช่วยเหลือเข้าไป ขณะที่เกาหลีเหนือยังไม่มีรายงานพบผู้ติดเชื้อ ด้านอยาตุลเลาะห์ อาลี คาเมเนอี ผู้นำสูงสุดของอิหร่าน แถลงผ่านทางโทรทัศน์ถ่ายทอดสดไปทั่วประเทศเนื่องในวันปีใหม่ของชาวเปอร์เซียเมื่อ 20 มี.ค. ชมเชยชาวอิหร่านที่เสียสละอย่างสูงในการต่อสู้การระบาดของโควิด-19 รวมทั้งกลุ่มแพทย์ พยาบาล ทีมงานโรงพยาบาล ผู้ช่วยและผู้จัดการหน่วยงานต่างๆ คาเมเนอีซึ่งดูสุขภาพแข็งแรงดีแม้มีข่าวว่าติดเชื้อโควิด-19 ยังชี้ว่า […]

“บิ๊กป๊อก” เผยปรับเกณฑ์ให้สัญชาติชนกลุ่มน้อย รับสิทธิเท่าเทียม ขู่ จนท.ห้ามเรียกใต้โต๊ะ

มท.1 เผยปรับปรุงแนวทางในการพิจารณาให้สัญชาติแก่ชนกลุ่มน้อย กลุ่มชาติพันธ์ุ และกลุ่มผู้เฒ่าไร้สัญชาติแล้วเสร็จ หวังให้ได้รับสิทธิ์ที่พึงมีพึงได้ กำชับ จนท. ห้ามเรียกรับผลประโยชน์โดยเด็ดขาด พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่า ตามที่กระทรวงมหาดไทยได้แจ้งว่ากรณีการขอสัญชาติของผู้สูงอายุไร้สัญชาติอยู่ระหว่างดำเนินการปรับปรุงแนวทางประกอบการพิจารณาคุณสมบัติของคนต่างด้าวซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยที่ขอแปลงสัญชาติเป็นไทยกรณีผู้สูงอายุนั้น พลเอก อนุพงษ์ กล่าวว่า บัดนี้ กระทรวงมหาดไทยได้ดำเนินการปรับปรุงแนวทางประกอบการใช้ดุลยพินิจในการพิจารณาคุณสมบัติของคนต่างด้าวในการยื่นคำขอแปลงสัญชาติเป็นไทย ตามมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 แล้วเพื่อเป็นการแก้ไขอุปสรรคในการขอแปลงสัญชาติเป็นไทยของชนกลุ่มน้อยและกลุ่มชาติพันธ์ุ รวมถึงกลุ่มผู้เฒ่าไร้สัญชาติ ซึ่งเป็นกลุ่มบุคคลที่รัฐมีนโยบายแก้ไขปัญหาสถานะและสิทธิ โดยได้รับการจัดทำทะเบียนราษฎร์และมีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลักพร้อมทั้งได้รับใบสำคัญถิ่นที่อยู่หรือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวแล้ว ให้สามารถขอแปลงสัญชาติเป็นไทยได้เช่นเดียวกับคนต่างด้าวอื่นทั่วไป โดยปรับปรุงแนวทางประกอบการใช้ดุลยพินิจในการพิจารณาคุณสมบัติของผู้แปลงสัญชาติ ในประเด็นต่างๆ ได้แก่ คุณสมบัติเรื่องการมีความประพฤติดี ตามมาตรา 10 วรรคสอง คุณสมบัติเรื่องการมีอาชีพเป็นหลักฐาน ตามมาตรา 10 วรรคสาม คุณสมบัติเรื่องการมีภูมิลำเนาในราชอาณาจักรต่อเนื่องจนถึงวันที่ยื่นคำขอแปลงสัญชาติเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปีตามมาตรา 10 วรรคสี่ และคุณสมบัติเรื่องการมีความรู้ภาษาไทย มาตรา 10 วรรคห้า นอกจากนี้ได้กำชับให้พนักงานเจ้าหน้าที่และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องสัญชาติของชนกลุ่มน้อยและกลุ่มชาติพันธ์รวมถึงกลุ่มผู้เฒ่าไร้สัญชาติที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ให้เร่งดำเนินการอย่างจริงจังและเร่งด่วนเพื่อแก้ไขปัญหาด้านสัญชาติให้แก่บุคคลกลุ่มดังกล่าว เพื่อให้ได้รับสิทธิ์ที่พึงมีพึงได้ตามกฎหมายและนโยบายรัฐ และห้ามไม่ให้มีการแสวงหา หรือเรียกรับผลประโยชน์หรือสิ่งตอบแทนใดๆ จากการดำเนินการโดยเด็ดขาด เพราะนอกจากจะเป็นการสร้างความเดือดร้อนให้แก่ราษฎรแล้วยังทำให้เกิดความเสียหายต่อภาพลักษณ์ขององค์กรและจริยธรรมที่ดีของเจ้าหน้าที่อีกด้วย สำหรับข้อมูลการปรับปรุงแนวทางประกอบการใช้ดุลพินิจในการพิจารณาคุณสมบัติของผู้ขอแปลงสัญชาติในประเด็นต่างๆ มีดังนี้ – คุณสมบัติเรื่องการมีความประพฤติดีตามมาตรา 10 […]

พระบรมราชโองการให้ “พระฌอนฯ” แปลงสัญชาติไทยเป็นกรณีพิเศษ

โปรดเกล้าฯเนื่องจากเป็นพระภิกษุที่เคร่งครัดในพระธรรมวินัย แตกฉานในพระธรรมคำสอน เมื่อวันที่ 9 มี.ค. 63   ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ ประกาศ เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้แปลงสัญชาติเป็นไทยเป็นกรณีพิเศษ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ประกาศว่า พระราชพัชรมานิต (พระฌอน ชิเวอร์ตัน ชยสาโร) สัญชาติอังกฤษ สถานพำนักสงฆ์ บ้านไร่ทอสี อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ได้เข้ามาพำนักอยู่ในประเทศไทยเป็นเวลานาน เป็นพระภิกษุที่เคร่งครัดในพระธรรมวินัย แตกฉานในพระธรรมคำสอน มีบทบาทสำคัญในการ เผยแผ่ธรรมะทั้งในประเทศไทยและนานาชาติ กับเคยดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดป่านานาชาติมาก่อน ถือเป็นผู้ทำคุณประโยชน์เป็นพิเศษต่อประเทศไทยและพระพุทธศาสนา และได้ทรงพระกรุณา โปรดพระราชทานสมณศักดิ์ขึ้นเป็นพระราชพัชรมานิต ในโอกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๒ ประกอบกับพระราชพัชรมานิต (พระฌอน ชิเวอร์ตัน ชยสาโร) ได้ขอพระราชทานพระมหากรุณาแปลงสัญชาติเป็นไทย อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. ๒๕๐๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ พระราชพัชรมานิต (พระฌอน ชิเวอร์ตัน ชยสาโร) แปลงสัญชาติเป็นไทยเป็นกรณีพิเศษ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๙ มีนาคม […]

แรงงานเมียนมาขอผู้ประกอบการต่ออายุเอกสารรับรองแสดงตัวบุคคล(CI) 31 มี.ค.นี้

แรงงานเมียนมา ขอผู้ประกอบการต่ออายุเอกสารรับรองแสดงตัวบุคคล(CI) ซึ่งจะหมดอายุในวันที่ 31 มี.ค.63 เปลี่ยนสถานะการจ้างแรงงานตาม ม.64 เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2563 ได้มีกลุ่มแรงงานต่างด้าวสัญชาติเมียนมา ซึ่งเป็นพนักงานของ ห้างหุ้นส่วนจำกัดแม่สอดบอร์เดอร์ (ผลิตหรือจำหน่ายเครื่องประดับ) ได้รวมตัวกันประมาณ 50 คน ณ บริเวณลานหน้า หจก.แม่สอด บอร์เดอร์ เพื่อเรียกร้องให้ผู้ประกอบการต่ออายุเอกสารรับรองแสดงตัวบุคคล(CI) ซึ่งจะหมดอายุในวันที่ 31 มีนาคม 2563 โดยบริษัทจะมีการปรับสถานะการจ้างแรงงานต่างด้าวจากเดิมเป็นเอกสารบัตรผ่านแดน(Border Pass) ตาม ม.64 แห่ง พ.ร.ก.การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2560 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม โดยแรงงานเมียนมา ให้ข้อมูลว่าถ้าเป็นสถานะเดิมจะสามรถเดินทางได้ทั่วราชอาณาจักรและได้ใช้สิทธิประกันสังคม นายชัยพฤกติ์ เชียรธานรักษ์ นายอำเภอแม่สอด จ.ตาก ได้สั่งการให้นายกันต์พงษ์ พิพัฒมนตรีกุล ปลัดอำเภอหัวหน้ากลุ่มงานความมั่นคง พร้อมด้วยสมาชิก อส.ร้อย อส.อ.แม่สอด 3 ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย จัดหางานจังหวัดตาก สาขาแม่สอด ทหาร หน่วยเฉพาะกิจกรมทหารราบที่ 4( […]

ให้ออก 5 ตำรวจแม่อายรีด 3 แสน สาวต่างด้าว-ไม่พกบัตรชมพู

ผบก.ภ.จ.เชียงใหม่ ลงดาบเชือด 5 ตำรวจ สภ.แม่อาย รีดเงินสาวไร้สัญชาติเมียเจ้าของร้านอาหาร 3 แสนบาท สะบัดปากกาเซ็นคำสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน พร้อมเร่งดำเนินการสอบสวนวินัยร้ายแรงตามกรอบเวลาที่ ตร.กำหนด เชื่อไม่นานความจริงจะปรากฏ ยืนยันให้ความเป็นธรรมทุกฝ่าย ลั่นใครผิดฟันไม่เลี้ยง กรณีนายฐานะพล เสาวคนธ์ อายุ 45 ปี เจ้าของร้านอาหารในพื้นที่ อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ พา น.ส.พิมพ์ชนก ปทุม อายุ 22 ปี ภรรยา เข้าแจ้งความดำเนินคดีกับตำรวจ สภ.แม่อาย จ.เชียงใหม่ 5 นาย ที่จับกุม น.ส.พิมพ์ชนก ข้อหาไม่พกบัตรสีชมพูของคนไม่มีสัญชาติ ก่อนจะข่มขู่รีดเงิน 3 แสนบาทเพื่อแลกกับการไม่ดำเนินคดี ความคืบหน้าตำรวจฉาวทั้ง 5 นายถูกคำสั่งให้ออกจากราชการแล้ว เมื่อวันที่ 12 มี.ค. พล.ต.ต.พิเชษฐ จีระนันตสิน ผบก.ภ.จ.เชียงใหม่ เผยว่า ได้มีคำสั่งตำรวจภูธรจังหวัดเชียงใหม่ ที่ 153/2563 ลงวันที่ 11 […]

ครม.เห็นชอบเก็บตกบุคคลไร้สัญชาติไทย24,079ราย เข้าถึงสิทธิรักษาพยาบาล

ครม.เห็นชอบเก็บตกบุคคลไร้สัญชาติไทยแต่มีชื่อในทะเบียนราษฎร์อีก24,079ราย เข้าถึงสิทธิรักษาพยาบาล ให้สธ.ทำแผนตั้งงบฯ61.8ล้าน อุ้มหัวละ2,567บาท เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2563 ที่ทำเนียบรัฐบาล น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ครม.มีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอการให้สิทธิ์หรือการคืนสิทธิ์ขั้นพื้นฐานด้านสาธารณสุข และให้สิทธิเพิ่มเติม กับบุคลที่มีปัญหาสถานะที่ไม่ได้สัญชาติไทย แต่มีชื่ออยู่ในทะเบียนราษฎร์ โดยสาระสำคัญเป็นการอนุมัติเพิ่มเติมเพื่อให้เข้าถึงระบบบริการสาธารณสุข ตามหลักสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานตามสมควรที่จะได้รับการดูแลการรักษาพยาบาลจากรัฐ ซึ่งครั้งนี้มีการอนุมัติสิทธิ์ให้ทั้งสิ้น 24,079 ราย ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่ตกหล่นจากมติ ครม.เดิมที่เคยอนุมัติเมื่อปี 2553 และ 2558 เป็นกลุ่มคนที่เกิดตั้งแต่ปี 2499 – 2527 ส่วนใหญ่ผู้สูงอายุ มีปัญหาสุขภาพ และมีภาระค่าใช้จ่ายค่อนข้างมาก โดยกลุ่มคนจำนวนดังกล่าวพบว่ามีเลขบัตรประชาชนขึ้นต้นด้วยเลข 3 กับ 4 จึงเห็นสมควรให้ สธ.จัดสรรงบประมาณส่วนหนึ่ง จำนวน 61,822,000 ล้านบาท โดยกำหนดกรอบวงเงินตามจำนวนผู้มีสิทธิ์ในอัตรางบฯ เหมาจ่ายรายหัวเท่ากับหลักสิทธิประกันสุขภาพแห่งชาติตามปีงบฯ 63 คือ จำนวนหัวละ 2,567 บาทต่อปีต่อราย จากนี้ทาง สธ.จะไปดำเนินการทำแผน […]

ยื่นหนังสือขอ(คืนสิทธิ)ขั้นพื้นฐานด้านสาธารณสุขกับเด็กนักเรียนไร้รัฐในสถานศึกษา

ผู้อำนวยการมูลนิธิกระจกเงา สำนักงานฝาง และเครือข่าย เข้าพบนายวัชรพงศ์ คูวิจิตรสุวรรณ เลขานุการ รมว.สาธารณสุข (นายอนุทิน ชาญวีรกูล) . เพื่อยื่นหนังสือและพูดคุยแนวทางพร้อมข้อเสนอในการแก้ปัญหา การให้สิทธิ(คืนสิทธิ)ขั้นพื้นฐานด้านสาธารณสุข กับเด็กนักเรียนไร้รัฐ ในสถานศึกษา (เด็กติดG)ที่กระทรวงศึกษาธิการคัดกรองแล้วทั่วประเทศ ซึ่งในปีการศึกษา 2562 มีจำนวนนักเรียน G ทั่วประเทศทั้งหมด 78,897 คน

‘บิ๊กป๊อก’ ลั่นห้ามเรียกรับผลประโยชน์ให้บัตรปชช.ผู้เฒ่าไร้สัญชาติ ปรับหลักเกณฑ์ใหม่ไม่ต้องร้องเพลงชาติไทย

มท.ปรับปรุงแนวทางให้บัตรประชาชนผู้เฒ่าไร้สัญชาติ-กลุ่มชาติพันธุ์ “บิ๊กป๊อก”กำชับห้ามเรียกรับผลประโยชน์ “ครูแดง” ชื่นชม เผยหลักเกณฑ์ใหม่เปิดช่องให้ผู้สูงอายุไม่จำเป็นต้องทดสอบร้องเพลงชาติไทย 20 ก.พ.63 – ฝ่ายประชาสัมพันธ์กระทรวงมหาดไทย (มท.) ได้เผยแพร่ข่าวการปรับปรุงแนวทางช่วยเหลือคนเฒ่าไร้สัญชาติ โดยอ้างถึงคำสัมภาษณ์ของพล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ที่ระบุว่า มท.ได้ดำเนินการปรับปรุงแนวทางประกอบการใช้ดุลยพินิจในการพิจารณาคุณสมบัติของคนต่างด้าวในการยื่นคำขอแปลงสัญชาติเป็นไทย ตามมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 แล้ว ทั้งนี้เพื่อแก้ไขอุปสรรคในการขอแปลงสัญชาติเป็นไทยของชนกลุ่มน้อยและกลุ่มชาติพันธุ์ รวมถึงกลุ่มผู้เฒ่าไร้สัญชาติ ซึ่งเป็นกลุ่มบุคคลที่รัฐบาลมีนโยบายแก้ไขปัญหาสถานะและสิทธิโดยได้รับการจัดทำทะเบียนราษฎร์และมีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก พร้อมทั้งได้รับใบสำคัญถิ่นที่อยู่หรือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว ให้สามารถขอแปลงสัญชาติเป็นไทยได้เช่นเดียวกับคนต่างด้าวอื่นทั่วไป โดยปรับปรุงแนวทางประกอบการใช้ดุลยพินิจในการพิจารณาคุณสมบัติของผู้แปลงสัญชาติ ในประเด็นต่างๆ ได้แก่ คุณสมบัติเรื่องการมีความประพฤติดี ตามมาตรา 10 วรรคสอง คุณสมบัติเรื่องการมีอาชีพเป็นหลักฐาน ตามมาตรา 10 วรรคสาม คุณสมบัติเรื่องการมีภูมิลำเนาในราชอาณาจักรต่อเนื่องจนถึงวันที่ยื่นคำขอแปลงสัญชาติเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปีตามมาตรา 10 วรรคสี่ และคุณสมบัติเรื่องการมีความรู้ภาษาไทย มาตรา 10 วรรคห้า พล.อ.อนุพงษ์ กล่าวว่า ได้กำชับให้พนักงานเจ้าหน้าที่และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องสัญชาติของชนกลุ่มน้อยและกลุ่มชาติพันธ์รวมถึงกลุ่มผู้เฒ่าไร้สัญชาติที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ให้เร่งดำเนินการอย่างจริงจังและเร่งด่วนเพื่อแก้ไขปัญหาด้านสัญชาติให้แก่บุคคลกลุ่มดังกล่าว เพื่อให้ได้รับสิทธิ์ที่พึงมีพึงได้ตามกฎหมายและนโยบายรัฐ […]

1 4 5 6 7 8 46
Copyright © 2018. All rights reserved.