News

พชภ.จับมือUNฟื้นฟูคุณภาพชีวิตคนไร้สัญชาติบนดอยแม่สลอง

เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2564 นายไกรทอง เหง้าน้อย ผู้จัดการโครงการเสริมสร้างศักยภาพกลุ่มคนไร้สัญชาติที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด19 เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันและสร้างความมั่นทางอาหารด้วยระบบนวัตกรรมเกษตรยั่งยืน ชุมชนบนพื้นที่สูง อำเภอแม่จัน อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย มูลนิธิพัฒนาชุมชนและเขตภูเขา(พชภ.)เปิดเผยว่า สถานการณ์โควิด19 ที่ระบาดอยู่ทั่วทุกภูมิภาค ได้ส่งผลกระทบอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คน ที่ยากจะกลับไปเหมือนเดิม ในประเทศไทยมีการระบาดแม้ไม่มากถ้าเปรียบเทียบกับในหลายประเทศทั่วโลกแต่ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับมากมายมหาศาลกับผู้คนทุกระดับ ซึ่งจังหวัดเชียงรายเป็นจังหวัดหนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากโควิด19 ด้วยมีพรมแดนติดกับประเทศเพื่อนบ้านทั้งประเทศพม่า ประเทศลาว และมีการเข้ามาของคนจีนในประเทศเพื่อนบ้าน “ที่ผ่านมาภาครัฐได้ออกมาตรการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบไว้หลายระดับ แต่ที่น่าเป็นห่วงคือกลุ่มคนชายขอบ กลุ่มคนที่ไร้สัญชาติ คนเหล่านี้ไม่ได้รับการเยียวยาใดๆจากหน่วยงานภาครัฐ ทั้งที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ความเสี่ยงรอบด้าน เพียงเพราะไม่มีบัตรแสดงสถานะบุคคลที่เป็นคนไทย”นายไกรทอง กล่าว ผู้จัดการโครงการฯกล่าวว่า จากข้อมูลจำนวนประชากรคนไร้รัฐไร้สัญชาติ ที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้กับกรมการปกครองปี2562 พบว่าในจังหวัดเชียงราย มีจำนวน 96,960 คน คิดเป็น โดยแยกออกเป็นกลุ่มผู้สูงอายุ 10% กลุ่มเด็กเยาวชนอายุ18 ปี คิดเป็น18% อายุ18-60 ปี คิดเป็น71% แบ่งเป็นผู้หญิง 54% ผู้ชาย46% จึงเป็นกลุ่มคนที่มีความเปราะบางเป็นอย่างมากต่อสถานการณ์โควิด19 ระบาด มีความจำเป็นต้องได้รับการเยียวยาและเสริมศักยภาพให้สามารถปรับตัวอยู่ได้ภายใต้สถานการณ์โควิดในระยะยาว นายไกรทองกล่าวว่า […]

คุมเข้มขอบัตรหัวศูนย์ เวียงแหงจัดระเบียบขอบัตร ป้องกันกลุ่มเรียกรับประโยชน์คืนชีพ

คณะทำงานภาครัฐและเอกชน เพื่อการพัฒนาและแก้ไขปัญหาชุมชนบนพื้นที่สูง ภาคเหนือ เปิดเผยว่า ตามที่เครือ ข่ายบุคคลไร้รัฐ ไร้สัญชาติ แรงงานข้ามชาติ ในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน ทั้งเชียงใหม่,เชียงราย,แม่ฮ่องสอน ได้ติดตามปัญหากลุ่มบุคคลที่สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.)ตลอดจนหลาย ๆ ภาคส่วนพยายามหาทางออกในการจัดระเบียบชนกลุ่มน้อยในพื้นที่เป้าหมาย 20 จังหวัด 80 อำเภอ”โดยยึดหลักการด้านสิทธิมนุษยชน ไม่ซ้ำเติมคนมีปัญหา เสริมสร้างโอกาส และ เร่งคลายปมปัญหาไม่ให้สั่งสมจนยากจะแก้ไข กลายเป็นปัญหากระทบความมั่นคง เป็นช่องทางแสวงประโยชน์จากกลุ่มบุคคลไร้รัฐ ไร้สัญชาติ และแรงงานข้ามชาติเช่นที่ผ่าน ๆ มา” ทั้งนี้การรับสิทธิ์ขอมีสถานะคนต่างด้าวเข้าเมืองโดยถูกกฎหมาย ผ่านกระบวนการยื่นเรื่อง ยื่นเอกสารตามขั้นตอน เป็นที่ทราบกันดีว่า เกิดช่องโหว่ จนกลายเป็นข่าวฉาวโฉ่ มีกลุ่มเจ้าหน้าที่ของรัฐ ในหลาย ๆ อำเภอ เรียกรับประโยชน์ เป็นขบวนการจนมีการร้องเรียน มีหน่วยงานคดีพิเศษ และหน่วยงานส่วนกลางเข้ามาสืบเสาะหาพยานหลักฐานเพิ่มเติมตามเบาะแส จนกระทั่งบางอำเภอ เช่น เวียงแหง จ.เชียงใหม่ ต้องโยกย้ายข้าราชการระดับสูงออกนอกพื้นที่ และต่อมากรมการปกครอง ได้จัดระเบียบที่เกี่ยวข้องกับภารกิจส่วนนี้ใหม่ ในการประชุมสัมมนาการแก้ไขปัญหา ด้านสถานะบุคคล ในพื้นที่สูง กรณีไม่มีบัตรรับรองสถานะตามกฎหมายของไทย พบอุปสรรคปัญหามากมายหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นทะเบียนประวัติสูญหายหรือไม่ชัดเจน […]

22 ผู้เฒ่าไร้สัญชาติสุดปลื้ม จังหวัดเชียงรายเห็นชอบแปลงสัญชาติ-ทำบัตรประชาชน

22 ต.ค.63 – ที่ห้องประชุมพระยาพิทักษ์ ศาลากลางจังหวัดเชียงราย ได้มีการประชุมคณะทำงานสัมภาษณ์ สังเกตพฤติการณ์ และทดสอบความรู้ภาษาไทย แก่ผู้ยื่นคำร้องขอถือสัญชาติไทยตามสามีของหญิงต่างด้าว ซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อย ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดเชียงราย ซึ่งมีนายชูสวัสดิ์ สวัสดี จ่าจังหวัดเชียงราย เป็นประธาน ซึ่งมีการพิจารณาคำร้องทั้งสิ้น 32 ราย โดย 22 รายเป็นผู้เฒ่าไร้สัญชาติอาข่า จากบ้านป่าคาสุขใจ ต.แม่สลองนอก อ.แม่ฟ้าหลวง ที่ได้ยื่นคำร้องขอแปลงสัญชาติไว้ตั้งแต่ พ.ศ.2560 ถือว่าครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่ผู้เฒ่าไร้สัญชาติกลุ่มชาติพันธุ์เหล่านี้ได้รับการพิจารณาในระดับจังหวัด ทั้งนี้ผู้เฒ่าชาวอาข่าทั้ง 22 ได้เดินทางออกจากบ้านป่าคาสุขใจ ต.แม่สลองนอก  อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย ตั้งแต่เวลา 09.00 น.โดยเดินทางมาถึงศาลากลางเชียงรายราว 11.00 น.ซึ่งทั้งหมดได้แต่งชุดประจำเผ่า ระหว่างเดินขึ้นห้องประชุมได้สร้างความในใจให้กับข้าราชการเป็นอย่างมาก บางคนขอถ่ายภาพด้วย ขณะที่ผู้เฒ่าบางรายมีท่าทางตื่นเต้นเนื่องจากเป็นการเดินทางมายังศาลากลางเชียงรายเป็นครั้งแรก อย่างไรก็ตามในจำนวน 22 ราย มีผู้เฒ่าบางรายที่มีโรคชรา และปัญหาด้านสุขภาพ ไม่สามารถเดินทางมาสอบสัมภาษณ์ที่จังหวัดด้วยตนเองได้ และเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2563 นายณรงค์พล คิดอ่าน นายอำเภอแม่ฟ้าหลวง และนายทะเบียนอำเภอ […]

ข้อเสนอการแก้ปัญหาของขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม(พีมูฟ)

ในวาระการประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจรจังหวัดภูเก็ต วันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๖๓ ๑.ให้มีมติ ครม.คุ้มครองพื้นที่กรณีปัญหาของพีมูฟ ซึ่งอยู่ในการแก้ปัญหาร่วมกับรัฐบาลไม่ให้ถูกคุกคามจนกว่าการแก้ปัญหาจะมีข้อยุติทุกกรณีปัญหา ๒.ให้ คทช. ดำเนินการนโยบายโฉนดชุมชน เป็นแนวทางหนึ่งซึ่งอยู่ภายใต้แนวทาง คทช. และดำเนินการรับพื้นที่โฉนดชุมชนที่ยื่นขอไว้ ๔๘๖ ชุมชน เพื่อไปตรวจสอบและดำเนินการต่อเนื่องโดยเริ่มต้นจากชุมชนที่เป็นสมาชิกพีมูฟ ที่เสนอเป็นพื้นที่โฉนดชุมชนแล้ว ๓.ให้ออกพระราชกฤษฎีกานิรโทษกรรมคดีความที่เกี่ยวข้องกับป่าไม้ ที่ดิน ที่เกิดจากกระบวนการดำเนินการตามนโยบายของรัฐ โดยไม่มีการตรวจสอบ คดีผู้ได้รับผลกระทบจากแผนทวงคืนผืนป่า คดีความที่เกิดขึ้นในระหว่างกระบวนการแก้ปัญหาที่ดินกับรัฐล่าช้าจนเกิดคดีความคนจนขึ้น รวมทั้งยุติการดำเนินคดีกับทุกกรณีปัญหาที่อยู่ในกระบวนการแก้ปัญหาที่ล่าช้า ๔.ทบทวนและยกเลิกกฎหมายลำดับรองที่ออกตาม พ.ร.บ.ป่าชุมชน, พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ และ พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า ฉบับ พ.ศ. ๒๕๖๒ ทั้ง ๓ ฉบับ ซึ่งขัดกับสิทธิชุมชนตามรัฐธรรมนูญ และทบทวนกฎหมายทั้ง ๓ ฉบับด้วย ๕.ให้สถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดินเร่งดำเนินการแก้ปัญหาชุมชนไร้ที่ดิน และสนับสนุนงบประมาณ ให้ บจธ.๕๕๐ ล้าน เพื่อดำเนินการจัดซื้อที่ดินตามบัญชีของชุมชนที่จะดำเนินการแก้ปัญหาคนจนได้ ๖.ตามที่อดีตประธานคณะกรรมการแก้ปัญหาพีมูฟ รองนายกรัฐมนตรี(นายวิษณุ เครืองาม) ได้เคยมีบัญชาที่จะลงดูพื้นที่การจัดการที่ดินและทรัพยากรโดยชุมชนในรูปแบบโฉนดชุมชน ในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต เพื่อผลักดันให้เป็นนโยบาย คทช. จึงเสนอให้คณะกรรมการแก้ปัญหาพีมูฟ เป็นเจ้าภาพร่วมกับเครือข่ายสิทธิชุมชนพัฒนาภูเก็ตจัดงานมหกรรมโฉนดชุมชนในพื้นที่จังหวัดภูเก็ตโดยประธานคระกรรมการแก้ปัญหาพีมูฟ […]

‘ผู้เฒ่าลีซอ’ ปลื้มได้บัตรปชช.ใบแรกในชีวิต ‘ครูแดง’ เผยคนสูงวัยไร้สัญชาติทั่วประเทศมี 7.7 หมื่นคน

24 ก.ย.63 – ที่ว่าการอำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย นายธนาคม จงจิระ อธิบดีกรมการปกครอง นายวีนัส สีสุข รองอธิบดีกรมการปกครอง พร้อมคณะ ได้เดินทางมาตรวจเยี่ยมและติดตามผลการขับเคลื่อนโครงการสำคัญของกรมการปกครอง นอกจากนี้ยังได้มอบบัตรประชาชนให้นายอาเหล งัวยา วัย 82 ปีและภรรยาคือนางอาหวู่มิ งัวยา ผู้เฒ่าเผ่าลีซู ซึ่งเป็นชาวเขาดั้งเดิมหมู่บ้านเฮโก ต.ป่าตึง อ.แม่จัน จ.เชียงราย และมอบบัตรตัว G ให้กับเด็กนักเรียน ทั้งนี้ บรรยากาศเป็นไปอย่างคึกคักโดยมีชาวบ้านกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆแต่งชุดประจำเผ่ามาร่วมให้กำลังใจและแสดงความยินดีกับผู้เฒ่าอาเหลและภรรยา รวมทั้งลูกหลานของนายอาเหลและนางอาหวู่มิ ที่ได้เดินทางกันมานับสิบคน การมอบบัตรประชาชนให้นายอาเหลครั้งนี้ถือว่าเป็นกรณีศึกษา เนื่องจากนายอาเหลเกิดที่ อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ แต่ได้ย้ายถิ่นฐานมาอยู่บนดอยแม่สลอง จ.เชียงราย โดยทั้งคู่มีมีบุตรด้วยกัน 11 คนซึ่งทั้งหมดได้รับบัตรประชาชนไทยเรียบร้อยแล้ว แต่นายอาเหลและนางอาหวู่มิ กลับยังไม่ได้รับการรับรองสัญชาติไทย ไม่มีบัตรประชาชน เนื่องจากในการสำรวจของเจ้าหน้าที่ทางการเพื่อทำทะเบียนประวัติบุคคลบนพื้นที่สูงเมื่อปี 2534 ได้บันทึกข้อมูลของนายอาเหลผิดข้อเท็จจริง โดยระบุว่า นายอาเหลเกิดประเทศพม่า ทำให้นายอาเหลมีสถานะเป็นคนต่างด้าวเข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมาย และการขอสัญชาติไทยของนายอาเหลมีปัญหามาโดยตลอด เนื่องจากเจ้าหน้าที่ไม่ยอมแก้ไขให้ โดยอ้างว่าเคยมีคำสั่งของกรมการปกครองที่ระบุว่า ห้ามแก้ไขผลการสำรวจบุคคลที่ระบุว่าเกิดนอกประเทศเป็นเกิดในประเทศ เนื่องจากกรมการปกครองเกรงว่าจะเป็นต้นเหตุของการทุจริตคอรัปชั่น อย่างไรก็ตาม […]

UN ชมไทยให้สิทธิด้าน สธ.นักเรียน ‘ไร้รัฐ-ไร้สัญชาติ

“สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ” ชื่นชมการให้สิทธิด้านสาธารณสุขแก่ นักเรียนไร้รัฐ และไร้สัญชาติ สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (ยูเอ็นเอชซีอาร์) ชื่นชมความก้าวหน้าที่นักเรียนไร้รัฐไร้สัญชาติในประเทศไทยจะได้เข้าถึงสิทธิด้านสาธารณสุขผ่านการให้สิทธิ (คืนสิทธิ) ขั้นพื้นฐานด้านสาธารณสุขภายในประเทศ ซึ่งครอบคลุมถึงการป้องกันโรค การรักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสมรรถภาพ เมื่อวันที่ 22 ก.ย. คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการการให้สิทธิ (คืนสิทธิ) ขั้นพื้นฐานด้านสาธารณสุขแก่กลุ่มเด็กและบุคคลที่เรียนอยู่ในสถานศึกษากว่า 3,000 คน ซึ่งกระทรวงมหาดไทยได้ขึ้นทะเบียนและกำหนดเลขประจำตัว 13 หลักเรียบร้อยแล้ว โดยการให้สิทธิ (คืนสิทธิ) นี้จะทำให้เด็กนักเรียนไร้รัฐไร้สัญชาติซึ่งได้รับสิทธิด้านการศึกษาแต่ยังไม่ได้รับสิทธิด้านหลักประกันสุขภาพสามารถเข้าถึงบริการด้านสาธารณสุขของรัฐได้และยังช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายอีกด้วย การให้สิทธิ (คืนสิทธิ) ขั้นพื้นฐานด้านสาธารณสุขกับบุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิดังกล่าวนี้ คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2553 ซึ่งดำเนินการตามยุทธศาสตร์การจัดการสถานะและสิทธิของบุคคล พ.ศ. 2548 ที่มีการระบุถึงการให้สิทธิขั้นพื้นฐานแก่บุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิ ต่อมาคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบเพิ่มเติม (ครั้งที่ 2) เมื่อ พ.ศ. 2558 โดยได้รวมเด็กนักเรียนในสถานศึกษาไว้ด้วย “ประเทศไทยได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาที่บุคคลไร้รัฐไร้สัญชาติต้องเผชิญในการเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานบางประการมาอย่างต่อเนื่อง และมติคณะรัฐมนตรีนี้นับเป็นอีกหนึ่งความพยายามของรัฐบาลไทยที่จะขยายสิทธิด้านสาธารณสุขให้กับกลุ่มคนชายขอบ กลุ่มบุคคลเปราะบาง รวมถึงบุคคลไร้รัฐไร้สัญชาติ ซึ่งนับว่ามีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19” นายจูเซ็ปเป้ เด วินเซ็นทีส ผู้แทนข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ ประจำประเทศไทย กล่าว ความก้าวหน้านี้สอดคล้องกับคำมั่นสัญญาในการเพิ่มประสิทธิภาพและยกระดับการให้ความคุ้มครองทางสังคมแก่บุคคลไร้รัฐไร้สัญชาติที่รัฐบาลไทยได้แถลงต่อที่ประชุมระดับสูงว่าด้วยภาวะไร้รัฐไร้สัญชาติ […]

นำร่องให้บัตรประชาชนคนเฒ่าไร้สัญชาติริมโขง หลังตกหล่นทางทะเบียนมา 82 ปี

นำร่องให้บัตรประชาชนคนเฒ่าไร้สัญชาติริมโขง หลังตกหล่นทางทะเบียนมา 82 ปี เผยยังมีผู้สูงอายุอีกกว่า 800 กำลังลำบาก “รศ.พันธุ์ทิพย์”แนะกรมการปกครองทำคู่มือหนังสือสั่งการฉบับตำราให้สำนักทะเบียนราษฏร วันที่ 22 พฤษภาคม 2563 ณ ที่ว่าการอำเภอเชียงของ จ.เชียงราย นายพร ธรรมกอง หรือลุงพร วัย 82 ปี ชาวบ้านห้วยซ้อ หมู่ 12 ตำบลห้วยซ้อ อำเภอเชียงของ ได้เดินทางมาถ่ายรูปติดบัตรประจำตัวประชาชน เป็นครั้งแรก ภายหลังได้รับการอนุมัติเพิ่มชื่อและรายการบุคคลในทะเบียนบ้าน (ทร.14) โดยลุงพรเป็นคนไร้สัญชาติมาทั้งชีวิตทั้งๆ ที่เกิดในเดินแดนประเทศไทย แต่ได้เดินทางเข้าไปทำงานและดำเนินชีวิตในลาวตั้งแต่เด็กก่อนจะกลับมาอยู่บ้านเกิด ทั้งนี้คณะทำงานโครงการสุขภาวะผู้เฒ่าไร้รัฐไร้สัญชาติในพื้นที่พรมแดนไทย-พม่าและไทย-ลาว นำโดยนางเตือนใจ ดีเทศน์ ที่ปรึกษามูลนิธิพัฒนาชุมชนและเขตภูเขา (พชภ.) และสมาชิกกลุ่มรักษ์เชียงของ เข้าร่วมเป็นสักขีพยานและแสดงความยินดี นายเกรียงไกร แจ้งสว่าง เจ้าหน้าที่กลุ่มรักษ์เชียงของ กล่าวว่าลุงได้รับสัญชาติไทย โดยอยู่ในกลุ่มคนคนตกหล่นทางทะเบียน ซึ่งจากข้อเท็จจริงข้อมูลความเป็นมาและคำให้การของพยานรับรองนายพร ธรรมกอง ทั้งจากการประชาคมหมู่บ้าน และจากพยานบุคคลที่รับรองว่านายพร ธรรมกอง มีพ่อเป็นชาวบ้านห้วยซ้อ ครอบครัวรู้จักกัน โดยในช่วงที่ทางการให้ทำบัตรประชาชน นายพรได้ตกหล่นทางทะเบียน ประกอบกับพ่อแม่ได้เสียชีวิตประมาณปีพ.ศ. […]

ไร้สัญชาติยังไร้สิทธิ เข้าไม่ถึงรัฐเยียวยา

“เพราะฉันไม่มีบัตรประชาชน …ฉันจึงไม่ได้รับการช่วยเหลืออะไรเลย” คำพูดจากใบหน้าเศร้าหมอง ดวงตาฝ้าฟางของผู้เฒ่าชาวอาข่า อายุกว่า 65 ปีแล้ว อีกทั้งบางคนก็พิการ บางคนเป็นผู้ป่วยติดเตียง ใช้ชีวิตอยู่แต่ละวันอย่างยากลำบาก บ้างก็ไม่มีลูกหลานดูแล อยู่ตามลำพัง ประเด็นน่าสนใจมีว่า…ผู้เฒ่าเหล่านี้บางคนตกหล่นจากการสำรวจไม่มีชื่อในระบบทะเบียนราษฎร บางคนถือ…บัตรเลข 0 บางคนถือ…บัตรเลข 6 แม้จะเกิดในประเทศไทยหรือเข้ามามีภูมิลำเนาเดิมอยู่ในประเทศไทย 30 ถึง 60 ปีแล้ว จนกลมกลืนเข้ากับสังคมไทย มีลูกหลานเป็นคนชาติไทย อีกทั้ง…บางคนก็ถือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวและใบถิ่นที่อยู่ 15- 20 ปี แต่ยังไม่ได้เข้าสู่กระบวนการแปลงสัญชาติ หรือเข้าสู่กระบวนการแปลงสัญชาติแล้วแต่ติดเงื่อนไขและขั้นตอนที่ต้องใช้เวลามากและเกี่ยวข้องกับหน่วยงานหลายหน่วยงาน อย่าทิ้งคนไร้สัญชาติไว้เบื้องหลัง จากมาตรการเยียวยาผู้ได้รับ ผลกระทบจากโควิด-19? เจ้าหน้าที่มูลนิธิพัฒนาชุมชนและเขตภูเขา (พชภ.) เครือข่าย สสส. ได้นำตะกร้ายังชีพจาก “โครงการเทใจ”…มีข้าวสาร ไข่ไก่ ผลไม้ สบู่ ยาสีฟันและเงินสด ไปมอบให้ถึงบ้าน น้ำตาของผู้เฒ่าก็ไหลรินด้วยความดีใจ กล่าวขอบคุณจากหัวใจคนแก่ ที่ยังมีคนจิตใจดีงามที่คิดถึงผู้เฒ่าที่ไม่มีใครมองเห็น โครงการพัฒนาสุขภาวะผู้เฒ่ารัฐไร้สัญชาติในพื้นที่พรมแดนไทย-พม่า และไทย-ลาว ตั้งแต่ปี 2555 โดยมูลนิธิ พชภ.ได้เห็นความก้าวหน้าระดับนโยบายที่ให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหา “คนไร้สัญชาติ” คือ มติคณะรัฐมนตรี […]

แรงงานเพื่อนบ้านหัวหิน-อ้อมน้อย ตกงาน กลับบ้านไม่ได้ ความช่วยเหลือไปไม่ถึง

แรงงานหญิงพม่าท้อง 4 เดือนวอนขอกลับประเทศ ตกงานแถมสามีไปต่อพาสปอร์ตช่วงโควิด-ไม่ได้กลับมาแสนเดียวดาย-ยื่นหนังสือกระทรวงแรงงาน เอ็นจีโอหวั่นเชื้อประทุในกลุ่มแรงงานข้ามชาติเหตุอยู่กันแออัด-เด็กๆ ไร้หน้ากากอนามัย เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2563 เจ้าหน้าที่เทศบาลหัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์  ลงพื้นที่เยี่ยมแรงงานข้ามชาติที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 ในเขตเทศบาลเมืองหัวหิน อาทิ ซอยอ่างน้ำ ห้องแถวแพไม้ หัวหินซอย 68 จำนวน 62 ครอบครัว โดยได้นำหน้ากากอนามัยไปมอบให้ในเบื้องต้น และในวันที่ 13 พฤษภาคม จะมีภาคเอกชนนำข้าวสารอาหารมอบให้กับครอบครัวแรงงานข้ามชาติอีกครั้งหนึ่ง ทั้งนี้จากการสอบถามความต้องการ ทราบว่าแรงงานกลุ่มนี้ทำงานสัปดาห์ละ 1 วัน ทำให้ไม่มีเงินในการซื้ออาหารโดย 1 ในนี้เป็นผู้ป่วยติดเตียง ซึ่งทางเทศบาลได้แจ้งให้ศูนย์สาธารณสุขเข้าไปดูแล นายราม (นามสมมุติ) แรงงานข้ามชาติและจิตอาสาชาวพม่า กล่าวว่า เมื่อเดือนที่แล้วแรงานข้ามชาติในหัวหินที่ตกงานเริ่มไม่มีเงินซื้อข้าวกิน ตนและเพื่อนๆจึงพยายามหาทางช่วยโดยเริ่มต้นจากการลงพื้นที่ไปดูที่พักอาศัยของแรงงานที่อยู่แถวสะพานปลากันเป็นกลุ่มๆ ซึ่งพบว่าส่วนใหญ่พักอาศัยอยู่กันห้องละ 4-5 คน และกำลังจะไม่มีข้าวกินจริงๆ และเผอิญพวกตนได้รู้จักกับฝรั่งกลุ่มหนึ่งที่อาศัยอยู่ในหัวหินในนาม “Hua Hin COVID-19 Community” โดยคนกลุ่มนี้ได้ให้การช่วยเหลือด้านต่างๆกับคนต่างชาติด้วยกัน และพวกเขาได้มอบข้าวสารอาหารแห้งให้เอาไปแจกจ่าย หลังจากนั้นแรงงานข้ามชาติก็ได้บอกันปากต่อปากและประสานมาที่ตน ซึ่งใครที่เดือดร้อนมากก็จะรีบเอาข้าวสารอาหารแห้งไปให้ก่อน แรงงานบางส่วนไม่มีรถมาเอา พวกตนก็ขับมอเตอร์ไซและรถซาเล้งเอาไปให้ “ตอนนี้เรามีรายชื่อแรงงานต่างชาติที่กำลังเดือดร้อนอยู่ในหัวหินกว่า 800 คน ส่วนมากตกงาน เมื่อก่อนพวกเขาเคยทำงานอยู่ในร้านอาหาร ตั้งแผงอยู่ในตลาดโต้รุ่ง บางส่วนเป็นแม่บ้าน บางส่วนเป็นคนงานส่งน้ำ-น้ำแข็ง แต่หลังจากที่นักท่องเที่ยวหายไปหมด นายจ้างก็ไม่มีเงินจ้างเลย บางคนก็ไม่ได้ค่าจ้างเดือนสุดท้าย เพราะนายจ้างไม่มีเงินจริงๆ” นายรามกล่าว เมื่อถามว่าหน่วยงานราชการได้เข้ามาช่วยเหลือแรงงานต่างชาติบ้างหรือไม่ […]

แรงงาน แจง 10 มาตรการ สกัดโควิด-19 ในกลุ่มแรงงานต่างด้าว

เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2563 นายสุทธิ สุโกศล ปลัดกระทรวงแรงงาน เปิดเผยถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ยังพบการแพร่ในระบาดในกลุ่มแรงงานต่างด้าวว่า ในส่วนของกระทรวงแรงงาน ได้มีมาตรการเข้มงวดเพื่อมิให้มีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในกลุ่มแรงงานต่างด้าว ซึ่งได้แก่ 1) การชะลอการอนุมัตินำเข้าแรงงานต่างด้าว ตั้งแต่วันที่ 23 มีนาคมเป็นต้นไป จนกว่าสถานการณ์จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ 2) การผ่อนปรนให้แรงงานต่างด้าวสามารถอยู่ในราชอาณาจักรและทำงานได้ต่อไปจนถึง 30 พฤศจิกายน 2563 3) ป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในกลุ่มแรงงานต่างด้าว โดยร่วมมือกับสภากาชาดไทย กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการป้องกันนำร่องในพื้นที่จังหวัดสมุทรสาครและขยายความร่วมมือไปยังจังหวัดต่างๆ เพื่อให้แรงงานต่างด้าวที่ทำงานอยู่ในประเทศไทยป้องกันตนเองให้ปลอดภัยจากโควิด-19 การดำเนินการ ประกอบด้วย จัดทำเอกสารเผยแพร่เป็นภาษาของแรงงานต่างด้าว เพื่อให้สามารถสื่อสารเข้าใจง่าย รวมทั้งการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรการเยียวยาลดผลกระทบ การมอบสิ่งของเพื่อบรรเทาทุกข์ เช่น หน้ากากอนามัย เจลล้างมือ ถุงยังชีพ เป็นต้น รวมทั้งกระบวนการการเข้ารับการตรวจรักษาพยาบาลกรณีมีประวัติการเดินทางไปยังประเทศกลุ่มเสี่ยง ตลอดจนขั้นตอนการคัดกรอง การกักตัวเอง 14 วัน ตามกระบวนการที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด เสริมสร้างสร้างการรับรู้การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน 4) สำรวจตรวจสอบ (Check List) แรงงานต่างด้าวในสถานประกอบการให้สามารถทำงานได้โดยไม่ให้มีการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 […]

1 3 4 5 6 7 46
Copyright © 2018. All rights reserved.