News

การช่วยเหลือคนไร้สัญชาติกับการติดขัดข้อกฎหมาย

เชียงราย 1 มิ.ย. –หลายอำเภอในจังหวัดเชียงราย จะมีคนไร้รัฐ ไร้สัญชาติอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก แต่หน่วยงานของรัฐหลายแห่งยังคงช่วยเหลือคนเหล่านี้อย่างเต็มที่ เพื่อให้สามารถเข้าถึงสวัสดิการต่างๆ ในพื้นที่ได้   เสียงเพลงของกลุ่มชาติพันธุ์บรรยายถึงความไม่เท่าเทียมกันในความเป็นมนุษย์ บรรเลงในเวทีเสวนาวันผู้เฒ่าไร้สัญชาติ ที่ผู้เฒ่าและชาวบ้านไร้รัฐไร้สัญชาติในพื้นที่ห่างไกลของเชียงราย ร่วมกันต่อสู้ให้ได้สิทธิเป็นคนไทย ผู้เฒ่าบางคนอยู่ที่นี่มาเกินครึ่งชีวิต แต่ติดขัดที่ข้อกฎหมายทำให้สถานะเขาแตกต่าง   การพิสูจน์สัญชาติของกลุ่มชาติพันธุ์ อาทิ อาข่า ไทลื้อ ลาหู่ ม้ง ที่อพยพมาอยู่ใทยโดยเฉพาะพื้นที่เชียงราย มีไม่น้อยกว่า 1,400 คน แม้จะมีประกาศเขตปกครองรัฐ บางส่วนมีเลขประจำตัว คือ 0 และ 6 แต่ติดเงื่อนไขกฎหมายสัญชาติ พ.ศ.2508 ที่กำหนดให้คนแปลงสัญชาติต้องมีรายได้มั่นคง ไม่เป็นภาระประเทศไทย ทั้งที่คนเหล่านี้บางคนเคยทำประโยชน์ให้ สิ่งที่ก่อปัญหาคือการเสียสิทธิ ทั้งการเดินทาง การรักษาพยาบาล แม้ไม่ได้สิทธิในการรักษาพยาบาล แต่ผู้อำนวยการโรงพยาบาลแม่ฟ้าหลวง ยังยืนยันให้ความช่วยเหลือตามหลักมนุษยธรรม     ขณะเดียวกัน การพิสูจน์สัญชาติของคนเหล่านี้ทำได้ยาก เนื่องจากพยานบุคคลที่จะยืนยันล้มหายตายจากหมดแล้ว ทั้งติดขัดเรื่องภาษา แต่ใช้การประกอบอาชีพ รวมถึงการตั้งถิ่นฐานมาพิสูจน์สัญชาติไทยได้   เบื้องต้นกระทรวงสาธารณสุขสั่งการให้ทุกโรงพยาบาลรักษาคนไร้สัญชาติ โดยไม่แบ่งแยก […]

แก้ปม “โรฮีนจา” ที่ต้นตอ ท้าทายกรอบ”มนุษยชน-คนไร้รัฐ”

“การประชุมว่าด้วยการโยกย้ายถิ่นฐานไม่ปกติในมหาสมุทรอินเดีย” ที่ไทยเป็นเจ้าภาพเมื่อวันที่ 29 พ.ค.ที่ผ่านมา แม้จะยังไม่มีแนวทางแก้ปัญหาระยะยาวอย่างเป็นรูปธรรม แต่ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่จะนำไปสู่การแก้ปัญหา “ผู้อพยพทางเรือ” อย่างจริงจัง บทสรุปการประชุม การประชุมที่จัดขึ้นเป็นการเฉพาะกิจครั้งนี้ถือเป็นจุดเริ่มต้นของความร่วมมือที่จะต้องนำไปสู่ แนวทางการแก้ปัญหาร่วมกันในระยะยาว โดยมุ่งเน้น 3 ทางแก้ที่สำคัญ ได้แก่ (1) การช่วยชีวิตผู้ลี้ภัยที่ติดอยู่ในทะเล ได้แก่ การประสานงานระหว่างประเทศ เพื่อระบุตำแหน่งเรือบรรทุกผู้ลี้ภัย การให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม และจัดการเรื่องการตั้งถิ่นฐานในประเทศที่ 3 ของผู้ลี้ภัย และการส่งผู้ลี้ภัยกลับประเทศต้นทาง (2) การป้องกันการย้ายถิ่นฐานแบบไม่ปกติ และการจัดการกับการค้ามนุษย์ โดยจะใช้กระบวนการคัดกรอง แยกผู้ลี้ภัยออกจากเหยื่อการค้ามนุษย์ และเตรียมส่งเหยื่อการค้ามนุษย์กลับประเทศต้นทาง และ/หรือส่งผู้ลี้ภัยให้เดินทางต่อไปยังประเทศที่ 3 (3) การแก้ไขปัญหาที่ต้นตอและพื้นที่เสี่ยง โดยที่ประชุมมีแผนที่จะส่งมอบความช่วยเหลือให้กับเมียนมา เพื่อพัฒนาความเป็นอยู่ของประชาชนในด้านเศรษฐกิจ และสังคม ตลอดจนสร้างความรู้สึกปลอดภัย และความเคารพสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะในรัฐยะไข่ เป็นที่น่าสนใจว่าในที่ประชุมนี้ คำว่า “โรฮีนจา” ไม่ได้ถูกกล่าวถึงเลย เนื่องจากทุกฝ่ายในที่ประชุมต่างต้องการหลีกเลี่ยงการพูดคุยในประเด็นที่ อ่อนไหว ทั้งยังเลี่ยงการ “โทษกันไปมา” ในบริบทต้นตอของปัญหา แม้ว่าผลสรุปของการประชุมในประเด็นที่ 3 จะเป็นการชี้เป้าว่า “ผู้ลี้ภัยทางเรือส่วนใหญ่มาจากเมียนมา” ขณะที่เมียนมาก็แสดงท่าทีตอบรับอย่างดี […]

เรือขนควาย รหัสเฉพาะในหมู่เรือเมื่อไปรับผู้อพยพชาวโรฮีนจา และเบื้องหลังการมีชีวิตอยู่บนเรือ

ในหมู่ชาวเรือแถวระนอง และแถบชายฝั่งทะเลอันดามัน เรียกหมู่เรือเหล่านี้ว่า “เรือขนควาย” หรือ “เรือบรรทุกควาย” และควายฝูงนั้นคือ ผู้อพยพชาวโรฮิงญา หรือ โรฮีนจา ตามศัพท์บัญญัติใหม่ของราชบัณฑิตยสถาน นับย้อนหลังไปนานราว 6-7 ปี ในทุกปีเมื่อลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้สงบลง ตั้งแต่เดือนธันวาคมจนถึงเดือนพฤษภาคม ทะเลอันดามันจะราบเรียบปราศจากคลื่นลม เมื่อนั้น ฤดูกาลแห่งการอพยพย้ายถิ่นฐานทางเรือของชาวโรฮิงญาจะเริ่มต้น และดำเนินไปตลอดหกเดือนที่คลื่นลมสงบเงียบในทะเลอันดามัน ชีวิต ความอยู่รอด และความตาย ดำรงหมุนเวียนในทะเลนี้ไม่สิ้นสุด รหัสเฉพาะที่ใช้ขึ้นเสียงทางวิทยุคุยกันในหมู่เรือเมื่อไปรับผู้อพยพชาวโรฮิงญา คือ “ไปขนควาย” หรือ “ไปบรรทุกควาย” เรือเหล่านั้นจึงได้ชื่อเฉพาะว่า “เรือขนควาย” หรือ “เรือบรรทุกควาย” ปีต่อๆ มาเมื่อมีความเข้มงวดจากทางการมากขึ้น การขึ้นเสียงทางวิทยุเรื่อง “ไปขนควาย” จึงลดน้อยลง หันมาใช้โทรศัพท์ดาวเทียมคุยกันมากขึ้น ในยุคแรกของการอพยพ เรือรุ่นแรกที่ใช้ขนชาวโรฮิงญา เป็นเรือขนาดเล็กเช่นเรืออวนลอยขนาดเล็ก เรือจับปูจั๊กจั่น หรือเรือระเบิดปลา เรือรุ่นนี้เป็นเรือขนาด 200-300 ถัง เทียบได้กับเรือขนาด 50-60 ตัน ไม่เกิน 100 ตัน ความยาวประมาณ 9 […]

ดันกฎหมายจัดตั้งสภาชนชาติพันธุ์และชนเผ่า หวั่นวิถีวัฒนธรรมดั้งเดิมถูกทำลายสิ้น “ชาวเล”วิกฤตหนัก-ไม่มีแผ่นดินจะอยู่

เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2558 ที่สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพฯ ได้มีการจัดการสัมมนาวิชาการ หัวข้อ “แนวทางพัฒนานโยบายเกี่ยวกับชนพื้นเมืองในประเทศไทย” ขึ้น เพื่อเป็นเวทีวิเคราะห์ทบทวน ระดมแนวทางพัฒนานโยบายเกี่ยวกับชนพื้นเมืองในประเทศไทย ให้เกิดการทบทวนบทเรียนการทำงานด้านนโยบาย แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และร่วมกันหาแนวทางพัฒนานโยบายเกี่ยวกับชนพื้นเมืองในประเทศไทย โดยมี นักวิชาการ คนทำงาน และตัวแทนภาคประชาชนที่ทำงานเกี่ยวข้องเข้าร่วม นายกิตติศักดิ์ รัตนกระจ่างศรี ตัวแทนเครือข่ายชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย กล่าวว่า สาเหตุที่เราพยายามผลักดันร่างพระราชบัญญัติสภาชาติพันธุ์และชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย เนื่องจากต้องการให้เกิดกฎหมายที่คุ้มครองสิทธิด้านชาติพันธุ์ ซึ่งยังไม่มีกฎหมายใดให้การคุ้มครอง และเพื่อเป็นร่มในการทำงานขับเคลื่อนด้านต่างๆ จึงจำเป็นจำเป็นต้องผลักดันเกิดการจัดตั้งสภาชาติพันธุ์และชนเผ่าขึ้น เพราะสถานการณ์ของทุกกลุ่มชาติพันธุ์กำลังประสบกับปัญหามากมายสะสม โดยเฉพาะปัญหาการแย่งชิงทรัพยากร ปัญหาด้านที่ดิน ปัญหาการสูญเสียอัตตลักษณ์ รวมไปถึงต้องการมีส่วนร่วมในการค้นหาแนวทางและจัดการปัญหาต่างๆ ดังนั้นจึงเตรียมที่จะมีการจัดเวทีสมัชชาชนเผ่าระดับชาติครั้งที่ 2 ในเดือนสิงหาคมนี้ ซึ่งจะเป็นการขับเคลื่อนให้เกิดการจัดตั้งสภาชาติพันธุ์และชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทยอย่างจริงจัง โดยอาศัยธรรมนูญชนเผ่าพื้นเมืองเป็นกรอบการขับเคลื่อนในระหว่างที่ยังไม่มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ โดยจะมีการเลือกผู้แทนของสภาฯ ที่เป็นตัวแทนจากแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์ ให้เข้ามาร่วมกันกำหนดแผนในการแก้ปัญหาต่างๆ และจะมีการวางแนวทางการทำงานร่วมกันต่อไป นายศักดิ์ดา แสนมี่ ตัวแทนเครือข่ายชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย กล่าวว่า บทเรียนสำคัญที่ผ่านมา คือเราได้มีโอกาสเปิดพื้นที่การเรียนรู้กับพี่น้องมากขึ้น มีการร่วมกันออกแบบการขับเคลื่อนขบวนการร่วมกัน ทำให้เห็นความหลายหลากจากต่างภูมิภาคมาร่วมมือกัน ทำให้เกิดการเชื่อมโยงกับการแก้ไขปัญหาของชาติได้ดี ส่วนเรื่องที่ยากนั้นคิดว่าคือการทำอย่างไรให้ชาติพันธุ์ต่างๆ มีความเข้าใจพร้อมกัน และเกิดการจัดการเปลี่ยนแปลงที่สอดคล้องกับวิถีชีวิต […]

ห้องเรียนเคลื่อนที่ ด้านงานสถานะบุคคล ณ บ้านขุนห้วยแม่เปา

เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน ที่ผ่านมา โครงการ The development of rights status for access to Livelihoods 2015 ลงพื้นที่บ้านขุนห้วยแม่เปา อำเภอพญาเม็งราย จังหวัดเชียงราย เพื่อจัดอบรมให้ความรู้ รวมถึงอัพเดทสถานการณ์ด้านก็หมาย พ.ร.บ.สัญชาติ ให้ชาวบ้านได้เรียนรู้และเท่าทัน รวมถึงจัดทำข้อมูลคนที่ตกหล่นจากการสำรวจเพื่อนำมาวิเคราะห์ข้อมูล และให้แนวทางในการดำเนินการช่วยเหลือเป็นลำดับต่อไป Thu, 06/11/2015

พม. ชูโมเดลใหม่ SE พลิกฟื้น 5 กลุ่มผู้ด้อยโอกาส

-นับว่าเป็นมิติใหม่ของการพัฒนา “โมเดลวิสาหกิจเพื่อสังคม (SE)” ให้เป็นกลไกธุรกิจสร้าง “ภาระ สู่ พลัง” -โดยเล็งเป้าฟื้น 5 กลุ่มผู้ด้อยโอกาสกลับเข้าสู่หุ้นส่วนสังคมไทย เนื่องจากสังคมไทยยังพบเห็นความเหลื่อมล้ำ การกดขี่ และการถูกตีตราหลากหลายรูปแบบ ซึ่งหากพูดถึงกลุ่มคนเหล่านี้ในสังคม เรามักจะให้คำนิยามคนกลุ่มนี้ว่า “ผู้ด้อยโอกาส” ซึ่งตามที่สำนักส่งเสริมและพิทักษ์ผู้ด้อยโอกาส แบ่งผู้ด้อยโอกาสออกเป็น 5 ประเภท ได้แก่ คนยากจน คนเร่ร่อน/คนไร้ที่อยู่ คนไร้สถานะทางทะเบียนราษฎร ผู้ติดเชื้อเอชไอวี / ผู้ป่วยเอดส์ / ผู้ได้รับผลกระทบ และผู้พ้นโทษ เช่นกรณีคนยากจน ความยากจนตามสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้กำหนดเส้นความยากจนที่ 2,422 บาท/เดือน ซึ่งมีจำนวนประมาณ 15.6 ล้านคน หรือร้อยละ 23.5 ของประชากรทั้งประเทศ โจทย์สำคัญของกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) จึงเป็นการมองหาช่องทางเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตใน 5 กลุ่มผู้ด้อยโอกาส เพื่อมุ่งผลสัมฤทธิ์ให้ประชาชนทุกคนสามารถเข้าถึงบริการขั้นพื้นฐานของรัฐ และพึ่งพาตนเอง ทางเลือกใหม่ SE เพื่อผู้ด้อยโอกาส พุฒิพัฒน์ เลิศเชาวสิทธิ์ อธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ พม. กล่าวว่าการส่งเสริมและสนับสนุนให้กลุ่มผู้ด้อยโอกาสดังกล่าวสามารถพึ่งพาตนเองได้ […]

ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 193/2558 สอศ.ตั้งเป้าฝึกอบรมหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นปีนี้ 1.2 ล้านคน แก้ปัญหาขาดแคลนแรงงานฝีมือ

พลเรือเอก ณรงค์ พิพัฒนาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยถึงความก้าวหน้าการดำเนินงานด้านการฝึกอบรมหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น ของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) โดยตั้งเป้าหมายที่จะฝึกอบรมหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นในปีนี้ 1.2 ล้านคน และปีหน้าอีก 1.5 ล้านคน เพื่อแก้ปัญหาขาดแคลนแรงงานฝีมือ รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า จากการประชุมกระทรวงศึกษาธิการ ครั้งที่ 6/2558 เมื่อวันศุกร์ที่ 12 มิถุนายนที่ผ่านมา สอศ.ได้รายงานต่อที่ประชุมเกี่ยวกับการฝึกอบรมหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นว่า สืบเนื่องจากนโยบายกระทรวงศึกษาธิการ นโยบายทั่วไปข้อที่ 2 การสร้างโอกาสทางการศึกษาในสังคมไทย จะต้องให้ความสำคัญกับการสร้างความเท่าเทียมและเป็นธรรม โดยการน้อมนำแนวทางการพัฒนาระบบการจัดการศึกษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาสมัยใหม่เข้ามาประยุกต์ใช้ เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนทุกกลุ่มได้มีโอกาสเข้าถึงองค์ความรู้ได้โดยสะดวกและสามารถพัฒนาประยุกต์ใช้องค์ความรู้ในการดำเนินชีวิตได้อย่างต่อเนื่อง ประกอบกับมีความต้องการกำลังคนสาขาขาดแคลนอย่างเร่งด่วนในการพัฒนาประเทศ และเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนที่จะต้องมีแรงงานฝีมือคุณภาพมาตรฐานระดับสากล สอศ.จึงได้จัดฝึกอบรมหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นเพื่อแก้ปัญหาขาดแคลนแรงงานฝีมือ (Skill Labour) เป็นปีที่ 2 เพื่อยกระดับทักษะอาชีพของประชาชนทั้งประเทศในทุกกลุ่มอายุ จำนวน 1.2 ล้านคน ภายในปีงบประมาณ 2558 สำหรับแนวทางการดำเนินการ ในช่วงเดือนมิถุนายน – กันยายน 2558 สถานศึกษาในสังกัด สอศ.ทั้ง 421 แห่งทั่วประเทศ จะร่วมจัดการฝึกอบรมโดยใช้หลักสูตรที่ดำเนินการในปีแรก รวมทั้งสำรวจอาชีพที่มีความต้องการเร่งด่วน […]

เงาะป่าสตูลสุดซึ้ง ได้บัตรปชช.เป็นราษฎรเต็มขั้น

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ว่าการ อ.ควนกาหลง จ.สตูล ได้ออกบัตรประจำตัวประชาชนให้ นายไพรวัลย์ ด่านดง เงาะป่าซาไก อายุ 60 ปี บ้านเลขที่ 22/2 หมู่ที่ 8 ต.ทุ่งนุ้ย อ.ควนกาหลง จ.สตูล เป็นคนแรกของอำเภอ หลังนางอรนงค์ ทิมบัว ปลัดอำเภอ หัวหน้าฝ่ายบริหารงานปกครองอำเภอควนกาหลง (ปลัดอาวุโส) สืบทราบว่า นายไพรวัลย์ ด่านดง ได้เกิดที่น้ำตกไพรวัลย์ อ.กงหรา จ.พัทลุง แต่ได้เดินทางพลัดหลงป่ามาพักอาศัยอยู่ที่ด่านในดง หมู่ที่ 8 ต.ทุ่งนุ้ย อ.ควนกาหลง นานกว่า 40 ปีแล้ว แม้จะมีการเดินทางไปมาพบหาญาติในป่าบนเทือกเขาบรรทัดอยู่เรื่อยๆ หลังหัวหน้าฝ่ายบริหารงานปกครองเดินทางไปพบ และสอบสวนพยานบุคคลและเจ้าตัวพบมีถิ่นฐานที่ชัดเจน จึงนำเรื่องขออนุมัติจากนายอำเภอควนกาหลง เพิ่มชื่อ และทำบัตรประจำตัวประชาชนให้นายไพรวัลย์ ด่านดง ว่าที่ ร.ต.ภูษิต ไชยทอง นายอำเภอควนกาหลง กล่าวว่า จากการตรวจสอบพบว่า คุณลุงไพรวัลย์ ด่านดง เกิดในประเทศไทย ตามที่กระทรวงมหาดไทยได้มีนโยบายในการเพิ่มชื่อให้แก่บุคคลเข้าในทะเบียนราษฎร์ […]

ไทยพลัดถิ่นได้สัญชาติไทยเพิ่ม 6 ราย

คนไทยพลัดถิ่น จ.ตาก ได้สัญชาติไทย เพิ่มอีก 6 รายหลังจากศาลปกครองกลางพิพากษาให้ รมว.มหาดไทย เร่งดำเนินการคืนสัญชาติให้คนไทยพลัดถิ่น หลังจากศาลปกครองกลางพิพากษาให้กระทรวงมหาดไทย เร่งดำเนินการคืนสัญชาติไทย กับคนไทยพลัดถิ่น ภายใน 60 วัน หลังกลุ่มคนไทยพลัดถิ่น อ.แม่ระมาด และ อ.แม่สอด จ.ตาก ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองกลางเพื่อเอาผิดกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเมื่อปี 2550 ฐานละเลยปฏิบัติหน้าที่ล่าช้านานกว่า 8 ปี ส่งผลให้คนไทยพลัดถิ่นจำนวนมากได้รับความเดือดร้อนและไม่ได้รับสิทธิขั้นพื้นฐาน โดยผู้พิพากษาศาลปกครองกลางได้ให้ความเห็นว่ากระทรวงมหาดไทยไม่ได้ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งได้ดำเนินการพิสูจน์สถานะและตรวจสอบสถานบุคคลของกลุ่มคนไทยพลัดถิ่นที่ยื่นฟ้องคดีแล้วทั้ง 73 คนและได้ดำเนินการคืนสัญชาติไทยให้กับผู้ที่ยื่นฟ้องไปแล้วบางส่วน แต่ยังเหลือผู้ฟ้องอีก 9 คน ที่ยังมีความล่าช้าในกระบวนการคืนสัญชาติไทยนานกว่า 8 ปี ศาลปกครองจึงพิจารณาเห็นว่ากระทรวงมหาดไทย ยังดำเนินการคืนสัญชาติไทยและออกบัตรประชาชนให้คนไทยพลัดถิ่นล่าช้าเกินสมควร จึงพิพากษาให้กระทรวงมหาดไทยเร่งดำเนินการคืนสัญชาติให้กับคนไทยพลัดถิ่นที่เหลือทั้ง 9 คนภายใน 60 วันนับตั้งแต่ศาลมีคำพิพากษา (26 ก.พ. 2558) จนกระทั่งเมื่อวันที่ 8 มิ.ย. 58 กระทรวงมหาดไทย ได้มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษา เรื่อง การได้สัญชาติไทย หลังจากกลุ่มคนไทยพลัดถิ่นได้ยื่นเรื่องขอแปลงสัญชาติเป็นไทยตามพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. […]

อบจ.เชียงใหม่ชงเปิดด่านถาวรหลักแต่ง-เวียงแหง เชื่อมเนปิดอว์ ชี้ศักยภาพเป็น ‘แม่สาย2′

วันที่ 24 พฤษภาคม 2558 นายบุญเลิศ บูรณุปกรณ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) เชียงใหม่ กล่าวว่า การเปิดประชาคมอาเซียน AEC ที่จะถึงในปลายปี 2558 นี้ จะมีผลบวกทางด้านการค้าและเศรษฐกิจจากการผลักดันเปิดจุดผ่านแดนถาวรบ้านหลักแต่ง อำเภอเวียงแหง เพราะมีสภาพสมบูรณ์แบบไม่ต่างจากแม่สายแห่งที่ 2 เนื่องจากสามารถเดินทางไปสู่เนปิดอว์ เมืองหลวงใหม่ ประเทศเมียนมา ระยะทางแค่ 200 กิโลเมตร โดยที่ผ่านมาได้ร่วมเดินทางไปสำรวจเส้นทางและจุดผ่านแดนหลักแต่งพร้อม พล.ท.สุทัศน์ จารุมณี ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองทัพบก “ซึ่งหากเปิด AEC เชื่อว่าจีนสนใจลงทุนทำถนนเชื่อมแน่นอน เพราะเส้นทางนี้ผ่านชนกลุ่มน้อยไทยใหญ่ ซึ่งสามารถเจรจาตกลงกันได้ลงตัว และในแง่ความมั่นคงทางทหารก็เห็นด้วย เชื่อว่าต่อไปจะเป็นดิวตี้ฟรี DUTY FREE ที่สร้างความเจริญเพราะในแง่ของพื้นที่ดีกว่าแม่สายด้วยซ้ำ โดยเส้นทางจากเชียงใหม่ไปเวียงแหงประมาณ 2 ชั่วโมง หรือจะปรับเส้นทางลัดเลียบแม่น้ำแตงผ่านบ้านกึ้ดช้างไปย่นระยะทางให้ใกล้เข้ามาได้อีก แม้จะชันไปหน่อยแต่ อบจ.พร้อมปรับถนนให้สามารถเดินทางเชื่อมต่อไปได้ง่ายขึ้น ที่มา : http://www.hedlomnews.com/?p=8042

1 40 41 42 43 44 46
Copyright © 2018. All rights reserved.