News

ยูเอ็นค้านเมียนมาร์ยึดบัตรประชาชนโรฮิงญา

สหประชาชาติเผยแพร่แถลงการณ์เรื่องการหารือระหว่างนายบัน คี-มูน เลขาธิการใหญ่ กับคณะผู้แทนถาวรของเมียนมาร์ประจำยูเอ็น เกี่ยวกับสถานการณ์ความขัดแย้งในรัฐยะไข่ ทางตะวันตกของเมียนมาร์ โดยแถลงการณ์ดังกล่าวชี้ว่า เมียนมาร์ยังคงเต็มไปด้วยปัญหาจากความขัดแย้งทางเชื้อชาติ และการหาผลประโยชน์จากความแตกต่างทางศาสนา นอกจากนี้ เลขาธิการสหประชาชาติยังได้แสดงความเห็นคัดค้านการที่รัฐบาลเมียนมาร์เรียกเก็บบัตรประชาชนชั่วคราว หรือ “บัตรขาว” คืนจากกลุ่มชาวโรฮิงญาตั้งแต่ต้นเดือนเมษายน ทำให้ชาวโรฮิงญาเป็นกลุ่มคนไร้สัญชาติโดยปริยาย ขณะเดียวกัน กระแสต่อต้านชาวโรฮิงญาในประเทศยังไม่มีท่าทีที่ลดลง สร้างความกังวลต่อทางสหประชาชาติว่าจะส่งผลต่อกระบวนการปฏิรูปประเทศและการเลือกตั้งทั่วไปที่กำลังจะมีขึ้นภายในต้นเดือนพฤษจิกายน 2558 อย่างไรก็ตาม รัฐบาลเมียนมาร์ยืนยันมาตลอดเช่นกันว่า ชาวโรฮิงญาไม่ใช่พลเมืองของประเทศ แต่เป็น “ชาวเบงกาลี” และเป็นผู้อพยพจากบังกลาเทศซึ่งเดินทางข้ามพรมแดนเข้ามาอย่างผิดกฎหมาย แม้ชาวโรฮิงญาจำนวนไม่น้อยจะเกิดบนแผ่นดินเมียนมาร์ก็ตาม แหล่งที่มา: dailynews.co.th Mon, 05/04/2015

ตรวจ DNA ข้อพิสูจน์สถานะเป็น “คนไทย”

หลายๆคน….ที่ยังตกอยู่ในสภาพ ไร้สถานะความเป็น “คนไทย” และยังมีคนไทยอยู่อีกมากมาย ที่ยังไม่มีสถานะ ยังไม่กล้าที่ออกมาใช้ชีวิตข้างนอก อีกทั้งยังไม่กล้าเปิดเผยตัวตนจริงๆ เพราะกลัวถูกจับ บางคนเล่าว่าถูกส่งตัวไปยังประเทศเพื่อนบ้านก็มี เสียงเล็กๆหลายๆเสียงที่สะท้อนฝากมาบอกว่า ไม่มีงานที่ดีๆทำ ถูกย่ำยี ถูกเหยียดหยามศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เสียงที่เล็ดรอดออกมาว่าบางบริษัทให้ไปทำใบแรงงานต่างด้าวมาก่อนก็มี ทั้งๆที่ตนเองเป็นคนไทยแท้ๆ แต่สถานะต้องกลายเป็นคนต่างด้าว “แม่ฉันเป็นคนไทยนะ” เป็นเสียงสะท้อนความในใจของผู้ประสบปัญหา ก่อนอื่น….ใครบ้างไม่อยากมีสถานะเป็น “คนไทย” แล้วมีใครเห็นใจเธอบ้าง เพราะการที่จะได้สถานะเป็น คนไทย นั้นไม่ใช่เรื่องง่ายๆ และก็ไม่ใช่เรื่องยาก แต่ก็ขึ้นอยู่กับพยานหลักฐานที่ค้นหามา เพียงแค่เราหา…ข้อเท็จจริง คุณเกิดที่ไหน? มีพยานรู้เห็นการเกิด? หลักฐานเอกสารการศึกษา พยานบุคคล เจ้าหน้าที่ข้าราชการที่เกี่ยวข้อง และผลตรวจ DNA เพื่อใช้พิสูจน์ข้อเท็จจริง ยังมีอีกหลายๆเสียงที่ยังรอการพิสูจน์สัญชาติไทย และก็มีอีกหลายๆคนที่ได้รับการพิสูจน์ความเป็น “คนไทย” โดยสมบูรณ์ ได้ฝากขอบคุณมายัง โครงการสถานีสัญชาติ มูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก ที่ทำให้เขาได้มีวันนี้ มีสิทธิความเป็นคนไทย สิทธิรักษาพยาบาล สิทธิเบี้ยยังชีพ และสิทธิคนพิการ ฯลฯ วันนี้ ๕ พฤษภาคม ๒๕๕๘ นางสะล่า จะแตะ เดินทางมาปรึกษากับศูนย์ข่าวคนไร้รัฐ […]

เร่งตรวจสถานะทะเบียนราษฎร์บุคคลไร้สัญชาติ

กรมการปกครอง-นิติวิทยาศาสตร์ เร่งความร่วมมือตรวจสอบสถานะทะเบียนราษฎร์บุคคลไร้สัญชาติ จี้พิสูจน์กลุ่มนักเรียนเกือบ 8 หมื่นคน เพื่อประโยชน์ด้านสิทธิการศึกษา อธิบดีกรมการปกครองเผยสถิติคนไร้สัญญามีกว่า 2 แสนคน วันพฤหัสที่ 14 พฤษภาคม 2558 เวลา 15:32 น. เมื่อวันที่14 พ.ค. ที่สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ พญ.คุณหญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์ผอ.สถาบันนิติวิทยาศาสตร์พร้อมด้วย นายกฤษฎา บุญราช อธิบดีกรมการปกครองลงนามข้อตกลงความร่วมมือด้านการให้บริการตรวจสารพันธุกรรมเพื่อสนับสนุนงานทะเบียนราษฎร์ โดยอธิบดีกรมการปกครองกล่าวว่า ปัจจุบันคนไทยมีกว่า 65 ล้านคนแต่เนื่องจากเป็นประเทศเปิดทำให้มีประชากรในพื้นที่ข้างเคียงเข้ามาอยู่ในประเทศจำนวนมาก ซึ่งตาม พ.ร.บ.การทะเบียนราษฎร์ กำหนดให้ต้องจัดสถานภาพให้ชัดเจน เพื่อแยกแยะสิทธิ์ที่จะได้รับอย่างถูกต้อง ซึ่งเดิมมีการใช้วัตถุพยานและพยานบุคคลในการยืนยันสถานะทางทะเบียนราษฎร์ว่าเป็นคนไทยหรือไม่ แต่พบว่ามีข้อผิดพลาด ดังนั้นความร่วมมือกับสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ครั้งนี้จะทำให้การตรวจพิสูจน์สถานะทางทะเบียนราษฎร์มีประสิทธิภาพและทำได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น โดยขณะนี้มีสถิติบุคคลที่ไร้สัญชาติประมาณ 200,000 คน นอกจากนี้เฉพาะนักเรียนมีประมาณ 79,000 คน ที่จะเร่งพิสูจน์สถานะทางทะเบียนราษฎร์เพื่อประโยชน์ในการใช้สิทธิเพื่อการศึกษา อธิบดีกรมการปกครอง กล่าวต่อว่าสำหรับค่าใช้จ่ายในการตรวจพิสูจน์มีราคาประมาณคู่ละ 10,000 บาท กระทรวงยุติธรรมเป็นผู้สนับสนุนค่าใช้จ่าย โดยปี 2558 มีคำร้องขอตรวจพิสูจน์ค้างที่กรมการปกครองประมาณ 240 คำร้อง จากการยื่นคำร้องทั้งหมด 700 คำร้อง […]

อินโดนีเซีย สั่งห้ามชาวประมงช่วยผู้ลี้ภัยโรฮีนจาแม้เรือจม

อินโดนีเซีย สั่งเข้มห้ามชาวประมงเข้าช่วยเหลือผู้ลี้ภัยโรฮีนจาเด็ดขาด ถึงแม้เรือจะจม ยันไม่มีงบประมาณดูแล วันที่ 18 พฤษภาคม 2558 สำนักข่าวบีบีซีรายงานว่า ชาวประมงอินโดนีเซียในจังหวัดอาเจะห์ของอินโดนีเซีย ได้รับการชี้แจงจากทางการว่า ห้ามพวกเขาให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ลี้ภัยโรฮีนจา ถึงแม้ว่าเรือจะจมลงก็ตาม โดยเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ชาวประมงอาเจะห์ได้ช่วยเหลือเรือบรรทุกผู้ลี้ภัยชาวบังกลาเทศและโรฮีนจาขึ้นฝั่งอย่างปลอดภัย เป็นจำนวนกว่า 700 คน ทำให้ที่ค่ายพักพิงในอินโดนีเซียมีประชากรเพิ่มขึ้นกว่า 1,500 คน ด้านเจ้าหน้าที่กองทัพ เปิดเผยว่า การให้ความช่วยเหลือดังกล่าวจะทำให้มีการลักลอบเข้าประเทศโดยผิดกฎหมายเพิ่มขึ้น ขณะที่ทุกประเทศมีการปกป้องชายแดนทางทะเลกันอย่างเข้มงวด อย่างไรก็ตามชาวอาเจะห์บางรายได้ระบุว่า ถึงแม้จะถูกทางการสั่งห้ามก็ยังยืนยันว่าจะให้ความช่วยเหลือผู้ลี้ภัยทันที หากเรือประสบอุบัติเหตุ ทั้งนี้กองทัพอินโดนีเซีย ได้ชี้แจงแก่ผู้ประกอบการเรือประมงถึงสิ่งที่สามารถจะช่วยเหลือผู้ลี้ภัย คือทำได้เพียงช่วยเหลือเป็นสิ่งของเพื่อบรรเทาทุกข์เท่านั้น แต่ไม่สามารถนำผู้ลี้ภัยเข้าในประเทศได้ ซึ่งหากนำขึ้นฝั่งจะมีความผิดทางกฎหมาย ขณะที่ประชาชนเมืองลังซายังระบุด้วยว่า ไม่มีงบประมาณพอที่ช่วยเหลือและยังไม่ได้รับการช่วยเหลือมาจากส่วนกลางด้วย Tue, 05/19/2015

UN-องค์กรผู้ลี้ภัย เรียกร้อง 9 ข้อ วอนไทย-มาเลย์-อินโดฯช่วยผู้อพยพ

หน่วยงานของสหประชาชาติและองค์กรช่วยเหลือผู้ลี้ภัยต่างๆ ออกแถลงการณ์ร่วม เรียกร้องให้ไทย มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ช่วยเหลือผู้อพยพที่ติดค้างอยู่กลางทะเลอย่างเร่งด่วน โดยระบุว่า ให้คำนึงถึงการช่วยเหลือชีวิตเป็นอันดับแรก… สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (ยูเอ็นเอชซีอาร์), สำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งองค์การสหประชาชาติ (โอเอชซีเอชอาร์), องค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน (ไอโอเอ็ม) และผู้แทนพิเศษของเลขาธิการสหประชาชาติ (เอสอาร์เอสจี) เพื่อการพัฒนาและการย้ายถิ่นฐาน ออกแถลงการณ์ร่วมกันเมื่อวันที่ 19 พ.ค. ร้องขอให้ประเทศไทย, มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ช่วยเหลือผู้อพยพที่ติดค้างอยู่บนเรือกลางทะเลในอ่าวเบงกอล และทะเลอันดามัน รวมทั้งระบุข้อเรียกร้องเอาไว้ 9 ข้อ แถลงการณ์ร่วมระบุว่า “พวกเราซึ่งร่วมลงนามไว้แล้วในข้างท้าย ขอเรียกร้องอย่างรุนแรงต่อผู้นำของประเทศอินโดนีเซีย, มาเลเซีย และไทย ให้ปกป้องผู้อพยพและผู้ลี้ภัยซึ่งติดค้างอยู่บนเรือในอ่าวเบงกอลและทะเลอันดามัน, อำนวยความสะดวกในการนำพวกเขาขึ้นฝั่งอย่างปลอดภัย และให้ความสำคัญกับการช่วยเหลือชีวิต, ปกป้องสิทธิ และเคารพในคุณค่าของศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เป็นลำดับแรก “สถานการณ์วิกฤติในอ่าวเบงกอลและทะเลอันดามันในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา อันเกี่ยวเนื่องกับผู้ลี้ภัยและผู้อพยพชาวโรฮีนจา และอื่นๆ จากบังกลาเทศ และเมียนมา เป็นเครื่องยืนยันแล้วว่า ผู้ด้อยโอกาสทั่วโลกกำลังเคลื่อนไหวเพื่อค้นหาความปลอดภัยและความภาคภูมิ, หลบหนีการข่มเหงรังแก ความยากจนอันอย่างน่าเวทนา การถูกทอดทิ้ง การแบ่งแยก และการทารุณกรรม โดยการเดินทางซึ่งเต็มไปด้วยอันตรายเช่นนี้ ไม่ว่าจะทางบก, ทางทะเล หรือทางอากาศ […]

เมื่อชาติตะวันตกดราม่า “โรฮิงญา” หรือแท้จริงหวังเจาะยะไข่ไว้ในกำมือ

ขณะนี้ปัญหา “โรฮิงญา” เรียกได้ว่าเป็นเรื่องระดับชาติที่หลายฝ่ายกำลังร่วมมือกันแก้ไข ซึ่งต่างก็เข้าใจว่าชาติพันธุ์พลัดถิ่นเหล่านี้หนีมาจากยะไข่ แต่ “ดร.ปิติ” ก็ตั้งข้อสังเกตว่าเมียนมาร์ปิดชายแดนประเทศไปนานถึง 30 ปี คนกลุ่มนี้จึงไม่ได้มาจากยะไข่ แต่ชาติตะวันตกพยายามชี้นำว่ามาจากเมียนมาร์และต้อการเข้าไปจัดการโดยมีนัยสำคัญทางเศรษฐกิจ หลังจากที่ทีมข่าว PPTV HD เปิดข้อมูลอีกด้านของผู้อพยพย้ายถิ่นชาวโรฮิงญา ซึ่งเป็นข้อมูลของฝ่ายความมั่นคงที่ระบุว่าผู้หลบหนีเข้าเมืองที่กำลังเป็นข่าวโด่งดังไปทั่วโลกนั้น จริงๆ แล้วเป็นชาวโรฮิงญาที่หนีภัยการสู้รบจากรัฐยะไข่ หรืออาระกัน ประเทศเมียนมาร์ จำนวนไม่มากนัก แต่สัดส่วนที่มากกว่าคือผู้อพยพย้ายถิ่นชาวโรฮิงญาจากบังคลาเทศและคนพื้นเมืองบังคลาเทศเอง ซึ่งประสบปัญหาไม่มีงานทำ จากสถานะประเทศที่ยากจน มีประชากรมากถึงกว่า 80 ล้านคน ทั้งๆ ที่เป็นประเทศเล็กๆ เท่านั้น ข้อมูลชุดนี้ได้รับการขานรับจากหลายภาคส่วน เช่น นักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดร.ปิติ ศรีแสงนาม ซึ่งปัจจุบันรั้งตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์อาเซียนศึกษาของจุฬาฯ อยู่ด้วย ดร.ปิติ เขียนบทความในเฟซบุ๊กส่วนตัว ตั้งข้อสังเกตว่าเหตุใดชาติตะวันตกจึงมีความพยายามชี้ประเด็นว่า ชาวโรฮิงญาที่ล่องเรือไปยังประเทศต่างๆ ผ่านทางน่านน้ำของไทย เป็นผู้หนีภัยการสู้รบและการละเมิดสิทธิมนุษยชนในเมียนมาร์ ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้วเมียนมาร์ปิดชายแดนไม่ให้คนโรฮิงญาอยู่ในประเทศมานานถึง 30 ปี ฉะนั้นชาวโรฮิงญาและบังคลาเทศที่ตะวันตกหลายๆ ฝ่ายอ้างตัวเลขการเดินทางอพยพว่ามีมากกว่า 125,000 คนนั้น ส่วนใหญ่มาจากประเทศบังคลาเทศไม่ใช่เมียนมาร์ นอกจากนี้ การตีแผ่ข้อมูลข่าวสารว่าชาวโรฮิงญากำลังถูกทารุณกรรมถึงขั้นฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ เป็นยุทธศาสตร์ของชาติตะวันตกที่ต้องการเข้าไปมีอิทธิพลในรัฐยะไข่ของเมียนมาร์ ซึ่งเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญที่เชื่อมอินเดีย จีน และชาติอาเซียนหรือไม่ […]

หน่วยมั่นคงเปิดข้อมูลใหม่ โรฮิงญาไม่ได้มาจากยะไข่ และส่วนใหญ่ไม่ได้หนีตาย

หน่วยงานความมั่นคงเปิดข้อมูลอีกด้านของผู้หลบหนีเข้าเมืองชาวโรฮิงญา ระบุส่วนใหญ่ไม่ได้มาจากยะไข่ และไม่ได้ลงเรือหนีตาย แต่เป็นการจ่ายเงินเพื่อไปหางานทำประเทศที่สาม ย้ำไม่ใช่ปัญหาค้ามนุษย์ ในขณะที่นานาชาติ องค์กรพัฒนาเอกชน หรือเอ็นจีโอ นักสิทธิมนุษยชน และสื่อมวลชนบางแขนง นำเสนอข่าวการหลบหนีเข้าเมืองของชาวโรฮิงญาว่าเป็นการหนีภัยสงครามจากรัฐยะไข่ ประเทศเมียนมาร์ และตกเป็นเหยื่อขบวนการค้ามนุษย์ในพื้นที่ภาคใต้ของไทย จนมีกระแสเรียกร้องให้ไทยเปิดศูนย์พักพิงชั่วคราว เพื่อดูแลชาวโรฮิงญานั้น มีข้อมูลจากหน่วยงานความมั่นคงไทย นำเสนอข้อเท็จจริงอีกด้านหนึ่ง ระบุว่า ได้ตรวจสอบปัญหาผู้หลบหนีเข้าเมืองชาวโรฮิงญาแล้ว พบว่ามีข้อเท็จจริงหลายประการที่สังคมไทยยังเข้าใจคลาดเคลื่อน หนึ่ง คือ ชาวโรฮิงญาที่ลักลอบเข้าเมือง ไม่ใช่เชื้อชาติโรฮิงญาทั้งหมด แต่มีชาวบังกลาเทศครึ่งต่อครึ่ง สอง ชาวโรฮิงญาที่หลบหนีเข้าเมือง ไม่ได้มาจากรัฐยะไข่ของเมียนมาร์ทั้งหมด แต่ที่มาจากรัฐยะไข่เป็นเพียงส่วนน้อย เพราะส่วนใหญ่ตรวจสอบแล้วมาจากคอกซ์บาซา ชายแดนบังกลาเทศที่ติดกับรัฐยะไข่ของเมียนมาร์ แม้แต่ชาวโรฮิงญาจากยะไข่ที่หลบหนีออกมา ก็ไปเริ่มต้นลงเรือที่คอกซ์บาซา เพราะมีขบวนการนำพารับจ้างพาลงเรือล่องจากอ่าวเบงกอลสู่ทะเลอันดามัน สาม ชาวโรฮิงญาส่วนใหญ่ที่ลักลอบเข้าไทยไม่ใช่เหยื่อขบวนการค้ามนุษย์ แต่สมัครใจเดินทางมาเพื่อต้องการเข้าไปทำงานที่มาเลเซีย อินโดนีเซีย ไทย หรือประเทศที่สามเพื่อหางานทำ สี่ เมื่อชาวโรฮิงญาหรือบังคลาเทศเดินทางมาด้วยความสมัครใจ ด้วยการลงขันออกเงินค่าเดินทางและเช่าเรือกันมาเอง จึงไม่ใช่การค้ามนุษย์ แต่เป็นการลักลอบเข้าเมือง ขณะที่เครือข่ายที่ช่วยเหลือก็เป็นพวกขบวนการนำพาคนเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย ไม่ใช่ขบวนการค้ามนุษย์ ห้า การจัดตั้งค่ายผู้อพยพหรือศูนย์พักพิงชั่วคราวในไทยจึงไม่จำเป็น และไม่ใช่แนวทางแก้ไขปัญหาที่ถูกต้อง หก มีค่ายใหญ่มากที่สามารถรองรับชาวโรฮิงญาได้อยู่แล้ว โดยมี 2 ค่ายอยู่ที่คอกซ์บาซา จุคนได้ร่วม 3 แสนคน แต่ตอนนี้ในค่ายมีชาวโรฮิงญาอยู่แค่ราวๆ 2 หมื่นกว่าคนเท่านั้น […]

RCSS/SSA ประสานทางการพม่าทำบัตรประจำตัวให้ชาวไทใหญ่ตกหล่น ที่หัวเมืองตรงข้าม จ.แม่ฮ่องสอน

สภาเพื่อการกอบกู้รัฐฉาน/กองทัพรัฐฉาน(RCSS/SSA) ภายใต้การนำของเจ้ายอดศึก และกลุ่มไทใหญ่ชื่อ “มุกจุมจาวเคือไต”ได้ประสานกับทางการพม่าในการทำบัตรประจำตัวประชาชนพม่าให้กับชาวไทใหญ่ที่ตกหล่น หรือแรงงานชาวไทใหญ่ที่มาทำงานในประเทศไทย ล่าสุด ทางการพม่าได้ส่งเจ้าหน้าที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง หรือ”ล่าว่าก้า” มายัง อ.หัวเมือง ตรงข้าม จ.แม่ฮ่องสอน เพื่อดำเนินการเรื่องนี้แล้ว โดยจะเปิดทำบัตรให้กับชาวไทใหญ่ที่ยังไม่มีบัตรประจำตัวระหว่างวันที่ 18 พ.ค.- 18 มิ.ย.เป็นเวลา 1 เดือน มีรายงานว่า ระหว่างวันที่ 18 – 20 พ.ค.จะทำบัตรประจำตัวให้กับประชาชนใน อ. หัวเมืองก่อน จากนั้นจึงจะทำบัตรประจำตัวให้คนนอกพื้นที่อื่นๆ ก่อนหน้านี้ปี 2556 มีชาวไทใหญ่ราว 4,000 คน ได้ลงชื่อไว้เพื่อที่จะขอยื่นทำบัตรประจำตัวที่ อ.หัวเมือง อย่างไรก็ตาม ช่วงที่ผ่านมา ชาวไทใหญ่บางส่วนได้กลับไปทำบัตรประจำที่บ้านเกิดแล้ว ที่มา Tai Freedom

“สุรินทร์ พิศสุวรรณ”แนะ พลิกวิกฤตโรฮิงยา ล้างภาพ”แดนค้ามนุษย์”ในสายตาต่างชาติ

ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ อดีตเลขาธิการอาเซียน โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว แสดงความเห็นในประเด็นปัญหาผู้อพยพชาวโรฮิงยา โดยระบุว่า ประเทศไทยนั้นควรเปลี่ยนวิกฤตครั้งนี้ให้เป็นโอกาส ดร.สุรินทร์ กล่าวว่า เรื่องปัญหาผู้ลี้ภัยและผู้อพยพชาวโรฮิงญามีหลาย ๆ ท่าน เฝ้าเพียรถามถึงความคิดเห็นของผมในเรื่องนี้ ซึ่งผมได้ชี้แจงไปบ้างแล้วกับสื่อต่าง ๆ ทั้งในประเทศและในต่างประเทศ ผมเข้าใจว่าหลายท่านคงจะได้รับทราบกันไปบ้างแล้ว แต่ผมขอให้ความเห็นเพื่อเป็นที่กระจ่าง ณ ที่นี้อีกครั้งหนึ่ง เรื่องผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญานั้น ผมคิดว่าประเทศไทยควรจะต้องพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสในการพิสูจน์ตนเองเพื่อลบล้างข้อกล่าวหาจากประชาคมโลกว่าด้วยเรื่องการค้ามนุษย์(HumanTrafficking) ซึ่งเป็นปัญหาที่สั่งสมมาช้านาน ถ้าประเทศไทยไม่ฉกฉวยจังหวะนี้ไว้ เราจะพลาดโอกาสสำคัญที่จะแก้ต่างกับประชาคมระหว่างประเทศ ซึ่งมองว่าประเทศไทยเป็นจำเลยเรื่องการค้ามนุษย์ และเราจะถลำลึกติดหล่มกับปัญหานี้มากขึ้นไปอีก ในรายงานสถานการณ์การค้ามนุษย์ พ.ศ. 2557 (Trafficking in Person Report -TIP) ของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา ระบุอย่างชัดเจนว่าทางการสหรัฐฯ ได้ลดอันดับประเทศไทยเกี่ยวกับประสิทธิภาพและความมุ่งมั่นในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว และได้เริ่มกระบวนการที่จะนำไปสู่การกดดันทางด้านเศรษฐกิจ และด้านอื่น ๆ ต่อไป อีกทั้งสหภาพยุโรปได้แสดงความห่วงกังวลต่อปัญหาของเรือประมงของไทยที่ละเมิดกฎหมาย และข้อตกลงระหว่างประเทศ และได้กล่าวหาว่ามีการละเมิดสิทธิมนุษยชนของลูกเรือประมงต่างชาติอย่างรุนแรง และได้เริ่มมาตรการตอบโต้ทางด้านการค้าและความสัมพันธ์ด้านอื่น ๆ อีกด้วย ทั้งหมดนี้จะส่งผลเสียโดยตรงกับอุตสาหกรรมการประมง และการแปรรูปอาหารทะเล การส่งสินค้าไปยังตลาดในสหภาพยุโรป ความเสียหายในครั้งนี้จะกระทบกับชื่อเสียงและภาพลักษณ์ของประเทศไทยอย่างมาก จนยากที่จะเยียวยามากขึ้นทุกขณะ เพื่อหาทางออกให้กับประเทศไทยในปัญหาผู้อพยพชาวโรฮิงญานี้ จำเป็นอย่างยิ่งที่ไทยจะต้องร่วมกับมิตรประเทศทั้งในภูมิภาคและประชาคมโลก […]

ศธ.ตั้งทีมกำหนดสถานะเด็กไร้สัญชาติ ร.ร.ตชด.-ช่วยได้รับสิทธิพื้นฐาน-เข้าสู่ทะเบียนราษฎร

นายสุรพงษ์ กองจันทึก ประธานคณะอนุกรรมการสิทธิ มนุษยชนด้านชนชาติ ผู้ไร้สัญชาติ แรงงานข้ามชาติ และผู้พลัดถิ่นสภาทนายความ เปิดเผยว่า สภาการพยาบาล มูลนิธิรางวัลสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ได้จัดตั้งคณะกรรมการศึกษาแนวทางแก้ไขการไร้สถานะและสิทธิของนักเรียน โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน เพื่อดำเนินการศึกษาแก้ไขปัญหาสถานะและสิทธิของนักเรียนโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน โดยมีพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ องคมนตรี เป็นประธานที่ปรึกษา และมี รศ.ดร.ทัศนา บุญทอง เป็นกรรมการ ซึ่งสอดคล้องกับกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ที่ประสานงานกับกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ดำเนินการแก้ไขเรื่องดังกล่าวเช่นกัน ประธานคณะอนุกรรมการกล่าวต่อว่า จากข้อมูลของกระทรวงศึกษาธิการพบว่าตั้งแต่ต้นเดือนพ.ค.2558-ปัจจุบัน มีโรงเรียนในสังกัดกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน ที่ดำเนินงานภายใต้กองการพัฒนาเด็กและเยาวชน ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทั้งหมด 196 แห่ง พบโรงเรียนที่มีปัญหาสถานะทางทะเบียนราษฎรของนักเรียน 73 แห่ง และพบนักเรียนที่มีปัญหาด้านสถานะ 2,276 ราย และจากข้อมูลยังพบนักเรียนทั่วประเทศ ที่มีปัญหาด้านสถานะและสัญชาติ อายุไม่เกิน 20 ปี จำนวน 70,322 ราย โดยปัญหาดังกล่าวนี้ ที่ผ่านมาทางกระทรวงศึกษาธิการได้ดำเนินการตั้งคณะทำงานจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการแก้ปัญหาแก่บุคคลที่ไม่มีหลักฐาน ทะเบียนราษฎร หรือไม่มีสัญชาติไทย ขณะเดียวกันยังได้ตั้งคณะอนุกรรมการช่วยเหลือสนับสนุนการกำหนดสถานะบุคคลไปสถานศึกษา […]

1 39 40 41 42 43 46
Copyright © 2018. All rights reserved.