News

ตั้ง ‘สุขศาลา’ ในประเทศเพื่อนบ้าน ติด 8 จว.ชายแดนไทย ลดปัญหาข้ามแดนรักษา

รมว.สธ.เผยปี 2557 ไทยรับภาระบริการสุขภาพต่างด้าวที่ไม่สามารถเรียกเก็บได้ประมาณ 360 ล้านบาท เล็งตั้งสุขศาลานำร่องใน 8 จังหวัดชายแดนฝั่งประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อจัดบริการสุขภาพขั้นพื้นฐาน ลดปัญหาและภาระข้ามแดนมาฝั่งไทยในระยะยาว โดยไทยเป็นพี่เลี้ยง และสนับสนุนวิชาการ วันนี้ (25 มีนาคม 2558)ที่ โรงแรมมารวยการ์เด้น กทม. ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานเปิดประชุมผู้บริหารทั้งจากส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค นักวิชาการที่ดูแลงานสาธารณสุขแนวชายแดน จำนวน 55 คน เพื่อพัฒนาระบบการจัดการด้านสุขภาพขั้นพื้นฐานประชาชนในพื้นที่แนวชายแดนประเทศเพื่อนบ้าน โดยประเทศไทยมีพรมแดนติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน 4 ประเทศ คือ เมียนมาร์ พม่า ลาว กัมพูชา และมาเลเซีย ในพื้นที่ 31 จังหวัด และขณะนี้มีแรงงานต่างด้าวที่ขึ้นทะเบียนกับกระทรวงมหาดไทยจำนวน 851,830 คน เป็นเมียนมาร์ 543,535 คน กัมพูชา 214,874 คน ลาว 93,421 คน ปัญหาสาธารณสุขชายแดนที่พบบ่อย ได้แก่ โรคติดต่อ […]

จีน-ตุรกี เปิดศึก! แย่งชาวอุยกูร์ที่ถูกจับในไทย อ้างสิทธิเป็นพลเมืองของตัวเอง

จากรายงานของสำนักข่าวอิระวดี กลุ่มชาวต่างชาติซึ่งคาดว่าเป็นชาวมุสลิมอุยกูร์ชนกลุ่มน้อยในประเทศจีน ที่ถูกจับในประเทศไทย ต่างถูกยื้อแย่งจากประเทศตุรกีและจีน โดยทั้งสองประเทศต่างต้องการให้ไทยส่งตัวคนเหล่านี้กลับประเทศของตน รวมถึงชาวอุยกูร์รายอื่นๆที่ถูกจับในประเทศไทยในฐานะผู้หลบหนีเข้าเมืองเช่นกัน นายวรสิทธิ์ พิริยะวิบูลย์ ทนายความของชาวต่างชาติ 17 คน กลุ่มนี้ล้วนเป็นคนในครอบครัวเดียวกัน ถูกทางการไทยจับกุมตั้งแต่เดือนมีนาคม 2014 หลังจากเดินทางเข้าไทยโดยผิดกฎหมายผ่านทางประเทศกัมพูชา โดยมีทารกสองคนในกลุ่มเกิดในช่วงที่พวกเขาถูกกักขัง ครอบครัวนี้ใช้นามสกุลว่า เทคลิมากัน พวกเขาใช้ชีวิตในช่วงหนึ่งปีที่ผ่านมาส่วนใหญ่ศูนย์กักกันผู้อพยพในกรุงเทพฯ โดยพวกเขาอ้างว่าพวกตนเป็นชาวตุรกี และระหว่างที่ถูกกักขังทางสถานทูตตุรกีได้ออกหนังสือเดินทางให้กับพวกเขา และอนุญาตให้พวกเขาเดินทางเข้าประเทศด้วย ขณะที่จากข้อมูลของรอยเตอร์สที่ได้เห็นเอกสารการพิจารณาคดีพบว่าทางการจีนยืนยันว่าคนกลุ่มนี้เป็นชาวจีนอุยกูร์ซึ่งควรที่จะต้องถูกส่งตัวกลับซินเจียงมณฑลทางตะวันตกเฉียงเหนือของจีน ทั้งนี้ชาวอุยกูร์หลายร้อยคนถูกฆ่าตายในซินเจียงในช่วงสองปีที่ผ่านมา หลังจากจีนพยายามปราบปรามการต่อต้านของชาวอุยกูร์ในพื้นที่นี้ ทำให้มีชาวอุยกูร์จำนวนมากต้องเดินทางหลบหนีออกนอกประเทศ โดยคาดกันว่ามีประชาชนนับพันเดินทางผ่านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มุ่งหน้าสู่ตุรกี นายอนุสิทธิ์ คุณากร เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ กล่าวว่าทั้งจีนและตุรกีต่างขอความช่วยเหลือจากไทยให้ส่งตัวกลุ่มบุคคลดังกล่าวกลับประเทศของตน โดยเขาย้ำว่าไทยจะไม่เอาตัวเองไปผูกมัดกับฝ่ายใดแต่ไทยจะต้องพิสูจน์สัญชาติของคนกลุ่มนี้เสียก่อน ซึ่งทำให้ไทยตกอยู่ในที่นั่งลำบากไม่น้อย เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา ณ ศาลอาญากรุงเทพใต้ ซึ่งพิจารณาคดีของบุคคลกลุ่มนี้ ได้เกิดความตึงเครียดขึ้นอย่างชัดเจน เมื่อตัวแทนของทางตุรกีและจีนต่างเข้าร่วมการพิจารณาคดีในครั้งนี้ด้วย โดยเจ้าหน้าที่ตุรกีให้สัมภาษณ์ว่า คนกลุ่มนี้เป็นชาวตุรกี พวกเขามีหนังสือเดินทางของตุรกี และต้องการเดินทางไปยังตุรกี ซึ่งทางการตุรกีก็ได้ตอบอนุญาตแล้ว ขณะที่ผู้แทนของฝ่ายจีนปฏิเสธที่จะให้ความเห็นใดๆ ด้านกลุ่มสิทธิมนุษยชนรวมถึงฮิวแมนไรท์สวอทช์ เรียกร้องให้ไทยอย่าส่งตัวชาวอุยกูร์เหล่านี้ไปยังประเทศจีน โดยอ้างว่าพวกเขาอาจถูกดำเนินคดีในข้อหาร้าย รวมถึงเสี่ยงที่จะถูกจับกุมและทรมาณ ทั้งนี้ชาวอุยกูร์ เป็นกลุ่มชนที่พูดภาษาในตระกูลตุรกี ซึ่งประเทศตุรกีประกาศว่าพวกเขาเป็นพี่น้องอย่างเป็นทางการ และเป็นประเทศที่มีชาวอุยกูร์อาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก ที่มา : http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1427279486 […]

คาดมีคนไร้สัญชาติตกค้างเข้าไม่ถึงสิทธิรักษาอีกนับแสนคน

“สุรพงษ์ กองจันทึก” คาดยังมีคนไร้สัญชาติตกค้างเข้าไม่ถึงสิทธิหลักประกันสุขภาพอีกนับแสนคน แม้สธ.จะเตรียมเสนอ ครม.ขยายสิทธิรักษาพยาบาลเพิ่มอีก 285,171 คนแล้วก็ตาม แนะจัดสรรงบสงเคราะห์รักษาพยาบาลเพิ่มตามภาระงานในแต่ละโรงพยาบาล และให้มหาดไทยเร่งมอบเลข 13 หลักโดยเร็ว นายสุรพงษ์ กองจันทึก ประธานคณะอนุกรรมการสิทธิมนุษยชนด้านชนชาติ ผู้ไร้สัญชาติ แรงงานข้ามชาติ และผู้พลัดถิ่น สภาทนายความ เปิดเผยว่า แม้ในเร็วๆ นี้ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) จะเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาให้สิทธิหรือขยายสิทธิขั้นพื้นฐานด้านสาธารณสุขแก่บุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิเพิ่มเติมอีก 285,171 คน โดยเป็นกลุ่มที่ยังไม่ได้รับสิทธิหลักประกันสุขภาพ ตามมติ ครม.วันที่ 23 มีนาคม 2553 ที่จัดสรรให้คนไร้รัฐไร้สัญชาติไปแล้ว 457,409 คน หลังจากนี้เชื่อว่าสถานการณ์การเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานการรักษาพยาบาลจะดีขึ้น อย่างไรก็ตาม คาดว่ายังคงมีกลุ่มคนไร้รัฐไร้สัญชาติ ที่ตกค้างไม่ได้เข้าสู่ระบบหลักประกันสุขภาพอยู่อีกประมาณ 100,000 คน และเสนอว่าควรดำเนินการบรรเทาความเดือดร้อน โดยในส่วนของ สธ. ควรสนับสนุนให้เงินสงเคราะห์สำหรับการรักษาพยาบาลคนกลุ่มนี้ให้มากขึ้น แต่รูปแบบการจัดสรรเงินต้องศึกษาเป็นรายโรงพยาบาล และจัดสรรเงินให้ตามภาระที่เกิดขึ้นตามความจำเป็นจริง ไม่ใช่ให้ทุกโรงพยาบาลเท่ากันหมด ซึ่งงบประมาณที่เหมาะสม ก็ขึ้นอยู่กับผลการศึกษาว่าควรเป็นจำนวนเงินเท่าใด “ปัญหาของกลุ่มคนไร้สถานะคือไม่มีสัญชาติไทย ไม่มีบัตรประชาชน จึงเข้าไม่ถึงสิทธิหลักประกันสุขภาพ […]

ครม.อนุมัติเพิ่มคนไร้สถานะ 208,631 คน ได้สิทธิรักษาในกองทุนคืนสิทธิ ตามมติ ครม.เศรษฐกิจแล้ว

ครม.เห็นชอบมติ ครม.เศรษฐกิจ ที่อนุมัติเพิ่มคนไร้สถานะและสิทธิอีก 208,631 คน เข้าไปในกองทุนคืนสิทธิรักษาพยาบาลตามมติ ครม. 23 มี.ค.53 แล้ว ส่วนกลุ่มนักเรียนอีกกว่า 7 หมื่นคน มีมติว่า ยังไม่สามารถพิสูจน์ได้เพราะขาดหลักฐาน จึงยังไม่มีความชัดเจนถึงจำนวนที่แท้จริงและอาจมีความซ้ำซ้อนของข้อมูล ให้ สธ. มหาดไทย และ สมช. ตรวจสอบข้อมูลเพื่อยืนยันความถูกต้องแล้วเสนอ ครม.พิจารณาต่อไป 20 เม.ย.58 ในการประชุมคณะรัฐมนตรี ซึ่งมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน มีมติรับทราบตามมติคณะกรรมการรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ในคราวประชุมครั้งที่ 5/2558 เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 16 เมษายน 2558 ที่เห็นชอบในหลักการการให้สิทธิ(คืนสิทธิ) ขั้นพื้นฐานด้านสาธารณสุขกับบุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิเพิ่มเติม ประกอบด้วย บุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิรวมถึงบุตรที่กระทรวงมหาดไทยได้ขึ้นทะเบียน โดยมีเลขประจำตัว 13 หลัก เรียบร้อยแล้ว จำนวน 208,631 คน ตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอ สาระสำคัญของการให้สิทธิ (คืนสิทธิ) […]

สสจ.เพชรบุรี แนะคนต่างด้าวที่ถือบัตรสีชมพูให้ไปรายงานตัวขออนุญาตทำงานภายในวันที่ 30 มิถุนายนนี้

สจจ.เพชรบุรี มอบหมายเจ้าหน้าที่เข้าร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจสภาพการจ้างและการทำงานและการค้ามนุษย์ด้านแรงงานในเรือประมงจำนวน 5 ลำ พบแรงงานต่างด้าว 16 คน คนไทย 9 คน ซึ่งคนต่างด้าวมีใบอนุญาตทำงานถูกต้องทั้งหมด พร้อมแนะนำคนต่างด้าวที่ถือบัตรสีชมพูให้ไปรายงานตัวขออนุญาตทำงานภายในวันที่ 30 มิถุนายนนี้ Wed, 04/29/2015

เมียยื่นฎีกาคดีกะเหรี่ยงบิลลี่หาย

เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 27 เม.ย. ที่ศาลจังหวัดเพชรบุรี นางสาวพิณนภา พฤกษาพรรณ ภรรยาพร้อมบุตรสาว นายพอละจีหรือบิลลี่ รักจงเจริญ ที่หายตัวไปในเขตอุทยานแห่งชาติแก่งกระจานระหว่างเดินทางออกมาจากหมู่บ้านโป่งลึก -บางกรอย ต.ห้วยแม่เพรียง อ.แก่งกระจานพร้อมน้ำผึ้งป่าจำนวนหนึ่ง เหตุเกิดเมื่อวันที่ 17 เม.ย. 2557 พร้อมน.ส.ทิพย์วิมล ศิรินุพงศ์ เลขานุการ อนุกรรมการสิทธิมนุษยชนด้านชนชาติ ผู้ไร้สัญชาติ แรงงงานข้ามชาติและผู้พลัดถิ่น สภาทนายความ นำหนังสือยื่นฎีกาคัดค้านคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 7 ที่พิพากษายกคำร้องในคดีการขอให้ปล่อยตัวนายพอละจี หรือบิลลี่ รักจงเจริญ ที่ถูกควบคุมตัวโดยมิชอบด้วยกฎหมาย หลังศาลอุทธรณ์ยกฟ้อง โดยระบุว่าเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจานมีหน้าที่ดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดตามพ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2504 แต่เนื่องจากเจ้าหน้าที่ มีความขัดแย้งกับนายบิลลี่ในกรณีการเผาทำลาย ไล่รื้อ บ้านเรือนและทรัพย์สินของชาวกะเหรี่ยงบ้านบางกลอย จึงอาจเป็นเหตุให้เจ้าหน้าที่ ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ไม่ดำเนินคดี และนำไปสู่การควบคุมตัวนายบิลลี่โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย อันอาจทำให้เกิดอันตรายต่อเสรีภาพในชีวิตและร่างกายของนายบิลลี่ และการพิสูจน์ว่านายบิลลี่ ได้รับการปล่อยตัวไปแล้วหรือไม่นั้น โดยหลักการรับฟังพยานหลักฐาน ภาระการพิสูจน์ของฝ่ายเจ้าหน้าที่ที่มีอำนาจในการควบคุมตัว ไม่ใช่ภาระการพิสูจน์ของญาติผู้ถูกควบคุมตัว และตุลาการจะต้องทำหน้าที่ในการแสวงหาข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานให้ถึงที่สุดว่านายบิลลี่ได้รับการปล่อยตัวไปแล้วจริง เมื่อไม่ปรากฏหลักฐานบันทึกการจับ บันทึกของกลางและบันทึกการปล่อย จึงไม่อาจเชื่อได้ว่านายบิลลี่ ได้รับการปล่อยตัวไปแล้ว และเชื่อได้ว่านายบิลลี่ […]

ย้อนรอย 5 ปี กองทุนคืนสิทธิคนไร้สถานะ กองทุนของพลเมืองชั้น 2

ขณะที่ประเทศไทยได้รับการยอมรับเป็นอย่างสูงจากความสำเร็จที่สามารถสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าให้กับประชาชนทุกคนได้อย่างเสมอหน้าภายใต้นโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรคซึ่งเริ่มต้นเมื่อปี 2545 ซึ่งไม่เพียงทำให้ประชาชนทุกคนมีหลักประกันสุขภาพเท่านั้น แต่ผลลัพธ์ที่ได้ยังทำให้ไทยถูกยกเป็นต้นแบบประเทศกำลังพัฒนาที่ทำเรื่องนี้จนสำเร็จและมีผลลัพธ์ด้านสุขภาพที่ดีจากตัวชี้วัดด้านต่างๆ อย่างไรก็ตาม ระบบประกันสุขภาพของไทยก็มีความแตกต่าง หลากหลาย เหลื่อมล้ำ ซ้อนทับกันอยู่ ไม่เฉพาะแต่ 3 กองทุนสุขภาพใหญ่ๆ อย่าง กองทุนประกันสังคม กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการและครอบครัว ที่หลากหลาย ไม่เท่าเทียม และนำไปสู่ข้อเสนอให้สร้างระบบสุขภาพมาตรฐานเดียวที่จนถึงขณะนี้ก็ยังไม่สามารถเดินหน้าได้สำเร็จนั้น   ยังมีกองทุนประกันสุขภาพขนาดเล็กสำหรับกลุ่มประชากรที่อาจจะถูกเรียกได้ว่าเป็นพลเมืองชั้น 2 ของประเทศนี้ก็ได้ นั่นคือ “กองทุนให้สิทธิ (คืนสิทธิ) ขั้นพื้นฐานด้านสาธารณสุขให้กลุ่มบุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิ ตามมติ ครม. 23 มี.ค.53” ที่คล้ายเป็นกองทุนรักษาพยาบาลเฉพาะกิจที่ถูกตั้งขึ้นมาเพื่อดูแลสิทธิการรักษาพยาบาลสำหรับกลุ่มบุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิที่ยังรอการพิสูจน์สิทธิอยู่ ปัจจุบันดูแลประชากรประมาณ 4.5 แสนคน และล่าสุด เมื่อวันที่ 20 เม.ย. ครม.ได้อนุมัติเพิ่มกลุ่มคนรอการพิสูจน์สถานะและสิทธิที่ตกค้าง 208,631 คนให้ได้รับสิทธินี้   เป้าหมายแท้จริงของกองทุนนี้คือ ระหว่างที่ประชาชนกลุ่มนี้รอพิสูจน์สิทธิ์ เพื่อให้ได้รับสิทธิพื้นฐานด้านสาธารณสุขตามที่ไทยให้การรับรองไว้กับประชาคมโลก ก็ควรให้พวกเขาได้รับสิทธิรักษาพยาบาลด้วย เมื่อผ่านกระบวนการพิสูจน์สิทธิ์ ได้สัญชาติไทยแล้ว ก็จะเปลี่ยนไปใช้สิทธิประกันสุขภาพสำหรับคนไทยตามสถานะต่อไป ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะเป็น สิทธิ 30 […]

ผอ.รพ.ปายชี้ กองทุนคืนสิทธิฯ อุดช่องโหว่งบรายหัวไม่พอรายจ่าย

รายงานชุด : ย้อนรอย 5 ปี กองทุนคืนสิทธิคนไร้สถานะ กองทุนของพลเมืองชั้น 2 ขณะที่ประเทศไทยได้รับการยอมรับเป็นอย่างสูงจากความสำเร็จที่สามารถสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าให้กับประชาชนทุกคนได้อย่างเสมอหน้าภายใต้นโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรคซึ่งเริ่มต้นเมื่อปี 2545 ซึ่งไม่เพียงทำให้ประชาชนทุกคนมีหลักประกันสุขภาพเท่านั้น แต่ผลลัพธ์ที่ได้ยังทำให้ไทยถูกยกเป็นต้นแบบประเทศกำลังพัฒนาที่ทำเรื่องนี้จนสำเร็จและมีผลลัพธ์ด้านสุขภาพที่ดีจากตัวชี้วัดด้านต่างๆ อย่างไรก็ตาม ระบบประกันสุขภาพของไทยก็มีความแตกต่าง หลากหลาย เหลื่อมล้ำ ซ้อนทับกันอยู่ ไม่เฉพาะแต่ 3 กองทุนสุขภาพใหญ่ๆ อย่าง กองทุนประกันสังคม กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการและครอบครัว ที่หลากหลาย ไม่เท่าเทียม และนำไปสู่ข้อเสนอให้สร้างระบบสุขภาพมาตรฐานเดียวที่จนถึงขณะนี้ก็ยังไม่สามารถเดินหน้าได้สำเร็จนั้น ยังมีกองทุนประกันสุขภาพขนาดเล็กสำหรับกลุ่มประชากรที่อาจจะถูกเรียกได้ว่าเป็นพลเมืองชั้น 2 ของประเทศนี้ก็ได้ นั่นคือ “กองทุนให้สิทธิ (คืนสิทธิ) ขั้นพื้นฐานด้านสาธารณสุขให้กลุ่มบุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิ ตามมติ ครม. 23 มี.ค.53” ที่คล้ายเป็นกองทุนรักษาพยาบาลเฉพาะกิจที่ถูกตั้งขึ้นมาเพื่อดูแลสิทธิการรักษาพยาบาลสำหรับกลุ่มบุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิที่ยังรอการพิสูจน์สิทธิอยู่ ปัจจุบันดูแลประชากรประมาณ 4.5 แสนคน และขณะนี้อยู่ระหว่างการให้ ครม.ชุดใหญ่อนุมัติเพิ่มกลุ่มคนรอการพิสูจน์สถานะและสิทธิที่ตกค้างอีกกว่า 2 แสนคนให้ได้รับสิทธินี้ หลังจากที่ ครม.เศรษฐกิจอนุมัติไปแล้วเมื่อวันที่ 16 เม.ย.ที่ผ่านมา เป้าหมายแท้จริงของกองทุนนี้คือ ระหว่างที่ประชาชนกลุ่มนี้รอพิสูจน์สิทธิ์ เพื่อให้ได้รับสิทธิพื้นฐานด้านสาธารณสุขตามที่ไทยให้การรับรองไว้กับประชาคมโลก […]

ความคืบหน้าของการช่วยเหลือ น้องทั้งสอง คือ น้องแดง และ น้องสมปอง เดินทางไป มาเลเซีย

เริ่มต้นจากทางโครงการคุ้มคร้องไร้รัฐไร้สัญชาติ ได้ประสานงานโครงการสัญชาติของมูลนิธิกระจกเงา เดินทางไป ที่โรงเรียนบ้านแม่ฮ่าง เพื่อไปเก็บข้อมูลกับคุณครู ต้น และน้องทั้งสอง คือน้องแดง น้องสมปอง สรุปเป็นเรื่องราว ได้จาก ที่นี้ ถึงปัจจุปันการช่วยเหลือ และความคืบหน้า เป็นดังนี้ ตอนนี้ได้ดำเนินการ ประสานให้ ท่าน อ.แหวว และโครงการ4หมอชายแดนที่ จ.ตาก(อ.ปลาทอง ) ดำเนินการประสานงาน กับทาง ครูต้น โรงเรียน แม่ฮ่าง เพื่อนำเอกสารทั้งหมด ของน้องทั้งสอง มาวิเคาะห์ในการดำเนินการ สรุปข้อเท็จจริง ดังนี้ —————————— ข้อมูลของเด็กชายสมปอง ละแอ —————————— ชื่อ เด็กชายสมปอง ละแอ เลขประจำตัวประชาชน 7-5087-00012-17-6 (บัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทยของ เด็กชายสมปอง ละแอ) เกิดเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2547 สถานที่เกิด โรงพยาบาลฝาง ประเทศไทย ( ปรากฏตามสูติบัตร ของ เด็กชายสมปอง […]

ความคืบหน้าของการช่วยเหลือ น้องทั้งสอง คือ น้องแดง และ น้องสมปอง เดินทางไป มาเลเซีย

เริ่มต้นจากทางโครงการคุ้มคร้องไร้รัฐไร้สัญชาติ ได้ประสานงานโครงการสัญชาติของมูลนิธิกระจกเงา เดินทางไป ที่โรงเรียนบ้านแม่ฮ่าง เพื่อไปเก็บข้อมูลกับคุณครู ต้น และน้องทั้งสอง คือน้องแดง น้องสมปอง สรุปเป็นเรื่องราว ได้จาก ที่นี้ ถึงปัจจุปันการช่วยเหลือ และความคืบหน้า เป็นดังนี้ ตอนนี้ได้ดำเนินการ ประสานให้ ท่าน อ.แหวว และโครงการ4หมอชายแดนที่ จ.ตาก(อ.ปลาทอง ) ดำเนินการประสานงาน กับทาง ครูต้น โรงเรียน แม่ฮ่าง เพื่อนำเอกสารทั้งหมด ของน้องทั้งสอง มาวิเคาะห์ในการดำเนินการ สรุปข้อเท็จจริง ดังนี้ ——————————— ข้อมูลของเด็กชายสมปอง ละแอ —————————— ชื่อ เด็กชายสมปอง ละแอ เลขประจำตัวประชาชน 7-5087-00012-17-6  (บัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทยของ เด็กชายสมปอง ละแอ) เกิดเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2547 สถานที่เกิด โรงพยาบาลฝาง ประเทศไทย ( ปรากฏตามสูติบัตร ของ เด็กชายสมปอง ละแอ ออกโดยสำนักทะเบียน ท้องถิ่นเทศบาลตำบลเวียงฝาง จังหวัดเชียงใหม่) […]

1 38 39 40 41 42 46
Copyright © 2018. All rights reserved.