News

100 องค์กรนอกภาครัฐส่งจดหมายเปิดผนึกจี้คุ้มครองสิทธิแรงงานข้ามชาติหลังเกิดเหตุที่ สน.ดินแดง

องค์กรนอกภาครัฐ 100 แห่งร่วมกันลงชื่อส่งจดหมายเปิดผนึกถึงรัฐบาล และผู้แทนองค์การสหประชาชาติ เรียกร้องให้ปกป้องสิทธิแรงงานข้ามชาติ หลังเกิดเหตุตำรวจ สน.ดินแดง ควบคุมตัวแรงงานสัญชาติกัมพูชา 7 คนฐานไม่มีใบอนุญาต ขณะที่พวกเขาเดินทางมายื่นหนังสือทวงถามความคืบหน้าข้อเสนอแก้ไขปัญหาในกลุ่มแรงงานข้ามชาติระหว่างการระบาดโควิด-19 4 พ.ย. 2564 เมื่อวันที่ 1 พ.ย. ที่ผ่านมา องค์กรนอกภาครัฐ 100 องค์ร่วมกันลงนามในจดหมายเปิดผนึกส่งถึงนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีกระทรวงแรงงาน รัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทย คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ผู้รายงานพิเศษแห่งสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิมนุษยชนของผู้ย้ายถิ่นฐาน ผู้รายงานพิเศษแห่งสหประชาชาติด้านสถานการณ์นักปกป้องสิทธิมนุษยชน ประธานรัฐสภาไทย องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) และสำนักงานข้าหลวงใหญ่ด้านสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (OHCHR) เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลไทยปล่อยตัวแรงงานข้ามชาติสัญชาติกัมพูชา 7 คนที่ถูกจับที่ สน.ดินแดง เมื่อวันที่ 29 ต.ค. ที่ผ่านมา พร้อมชกเชยเยียวยา และคุ้มครองสิทธิแรงงานช้ามชาติ รวมถึงยุติการจับกุมแรงงานข้ามชาติด้วยเหตุผลว่าไม่มีเอกสารแสดงตน จนกว่าจะบวนการจัดทำเอกสารจะแล้วเสร็จ โดยเนื้อความในจดหมายระบุดังต่อไปนี้ เรียน นายกรัฐมนตรีประยุทธ์ จันทร์โอชา พวกเราซึ่งเป็นองค์กรที่มีรายชื่อด้านท้าย เขียนจดหมายเพื่อแสดงข้อกังวลและเรียกร้องให้มีการปฏิบัติในกรณีดังต่อไปนี้ เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2564 แรงงานข้ามชาติจากกัมพูชาเจ็ดคน […]

อนุมัติสัญชาติไทย 7 ทวิ อำเภอแม่สาย 32 คน

วันพุธ ที่ 29 กันยายน 2564 เวลา 12.00 น. นายประสงค์ หล้าอ่อน นายอำเภอแม่สาย ได้มอบบัตรประจำตัวประชาชนให้กับผู้ที่ ได้รับอนุมัติสัญชาติไทยตามพ.ร.บ สัญชาติ พ.ศ. 2508 แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 4 พ.ศ.2551 ตามโครงการสำคัญกรมการปกครอง (10​ Flagships​ for​ DOPA​ New normal 2021) ภายใต้แนวคิด​ ทำให้ประชาชน​ทุกข์​น้อยลง​ แต่มีความสุข​มากขึ้น​ โดยวันนี้มีผู้ได้อนุมัติรับสัญชาติไทย ตามมาตรา 7 ทวิ วรรค สอง จำนวน 32 คน โดยมารับบัตรประจำตัวประชาชน 16 คน (ที่เหลือ อายุไม่ถึงเกณฑ์ถ่ายบัตรฯและอยู่ต่างจังหวัด ยังเดินทางมาไม่ได้) โดยนายอำเภอแม่สาย ได้มอบโอวาทให้ผู้ได้รับสัญชาติ เป็นพลเมืองดี ยึดมั่นในชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ รู้สามัคคี มีจิตอาสา เผื่อแผ่ […]

“ครูแดง”วอนเร่งรัดกระบวนให้สัญชาติผู้เฒ่า-เสียชีวิตก่อนได้บัตรปชช.แล้ว2

เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2564 นางเตือนใจ ดีเทศน์ กรรมการผู้ก่อตั้งมูลนิธิพัฒนาชุมชนและเขตภูเขา (พชภ.) และอดีตสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดเชียงราย เปิดเผยว่า การแก้ปัญหาผู้เฒ่าไร้สัญชาติ กรณีแปลงสัญชาติชนกลุ่มน้อย ผู้สูงอายุชาติพันธุ์อาข่า บ้านป่าคาสุขใจ ต.แม่สลองนอก อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย ได้ผ่านการพิจารณาจากคณะอนุกรรมการของกรมการปกครองแล้ว จำนวน 15 ราย และได้ส่งรายชื่อไปยังคณะกรรมการของกระทรวงมหาดไทยเพื่อพิจารณา และเพื่อเสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ซึ่งพระราชบัญญัติสัญชาติ พศ.2508 ระบุว่าเมื่อรัฐมนตรีเห็นสมควรอนุญาตให้นำความกราบบังคมทูลขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต นางเตือนใจกล่าวว่า ผู้เฒ่าไร้สัญชาติจำนวน 15 รายนี้ อยู่ในกลุ่มที่มีการยื่นคำร้องเป็นกรณีศึกษาชุดแรก จำนวน 23 ราย ซึ่งการพิจารณาเป็นไปตามหนังสือสั่งการที่ลงนามโดยปลัดกระทรวงมหาดไทย (นายฉัตรชัย พรมเลิศ) เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2563 เรื่องการปรับปรุงแนวทางประกอบการพิจารณาให้สัญชาติไทยแก่ชนกลุ่มน้อย โดยการแปลงสัญชาติตามมาตรา10 แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติ พศ.2508 “สำหรับความคืบหน้าในครั้งนี้ ถือว่ามาไกล นับตั้งแต่มีการขับเคลื่อนแก้ปัญหาผู้เฒ่าไร้สัญชาติ ซึ่งมีความละเอียดและขั้นตอนที่ซับซ้อน ใช้เวลายาวนาน ผู้เฒ่ากลุ่มนี้ มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทยมากกว่า 40 ปี กลมกลืนกับสังคมไทย […]

อำเภอเวียงแก่นมอบบัตรเด็กนักเรียนตัว G -192 ราย

มูลนิธิกระจกเงา สำนักงานฝาง ร่วมกับเครือข่ายสิทธิสถานะบุคคล ซึ่งได้รับการแต่งตั้งเป็นคณะทำงานฝ่ายการแก้ไขปัญหาสถานะทางทะเบียนราษฎรของเด็กนักเรียนที่มีเลขประจำตัวบุคคลที่ขึ้นต้นด้วยอักษร G อำเภอเวียงแก่น จำนวน 192 ราย ซึ่งนายทะเบียนได้อนุมัติจัดทำทะเบียนประวัติให้เด็กนักเรียนจำนวนดังกล่าวข้างต้น และนักเรียนได้ยื่นคำขอมีบัตรประจำตัวบุคคลไม่มีสถานะทางทะเบียน ณ สำนักทะเบียนอำเภอเวียงแก่น เรียบร้อยแล้ว . 23 กรกฎาคม 2564 ได้มีพิธีมอบบัตรประจำตัวบุคคลไม่มีสถานะทางทะเบียนของเด็กนักเรียน ณ หอประชุมที่ว่าการอำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย ประกอบด้วยนักเรียนจาก โรงเรียนบ้านไทยสมบูรณ์,โรงเรียนขุนขวากพิทยา,โรงเรียนปอวิทยา,โรงเรียนบ้านห้วยคุ,โรงเรียนไตรมิตรวิทยา,โรงเรียนบรรพตวิทยา,โรงเรียนบ้านผาแล,โรงเรียนบ้านหองเตา,โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 24,โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 25,ศูนย์การเรียนรู้ตำรวจตระเวนชายแดนบ้านห้วยกุ๊ก,ศูนย์การเรียนรู้ตำรวจตระเวนชายแดนบ้านฟ้าไทยงาม,โรงเรียนบ้านน้ำลัด รวม 192 ราย

“ชาวประมงสมุทรสาคร”วอน“พ่อเมืองมหาชัย”ช่วยตามเรื่อง“ซีบุ๊คแรงงานต่างด้าว”หวั่นผิดกฎหมาย

“ชาวประมงสมุทรสาคร”วอน“พ่อเมืองมหาชัย”ช่วยตามเรื่อง“ซีบุ๊คแรงงานต่างด้าว”หวั่นผิดกฎหมาย “ชาวประมงสมุทรสาคร” บุกศาลากลางวอน “พ่อเมืองมหาชัย” ช่วยทวงถาม “กรมประมง” เอาไง เรื่องต่อ “ซีบุ๊คแรงงานต่างด้าว” ด้าน “วุฒิพงษ์” เผยรอ ครม.อนุมัติ          เมื่อเวลา 13.00 นวันที่ 14 มิ.ย.64 นายมงคล มงคลตรีลักษณ์ นายกสมาคมการประมงสมุทรสาคร พร้อมด้วยตัวแทนชาวประมงในจังหวัด ได้เดินทางมาที่ศาลากลางจังหวัดสมุทรสาคร เพื่อเข้าพบกับนายวีระศักดิ์ วิจิตร์แสงศรี ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร โดยต้องการฝากเรื่องผ่านผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร ไปทวงถามกรมประมงและผู้มีอำนาจในการอนุมัติการต่อหนังสือคนประจำเรือ Seabook (ซีบุ๊คเล่มเหลือง) ให้กับแรงงานต่างด้าวในเรือประมง ตามมาตรา 83 (กรณีพิเศษ) ที่ได้เคยให้ยื่นขออนุญาตทำงานในเรือประมงตั้งแต่เมื่อเดือนมิถุนายน-กันยายน 2563 และมีอายุการทำงานได้ 1 ปี ซึ่งในขณะนี้มีแรงงานเริ่มทยอยหมดอายุการทำงานแล้วนับตั้งแต่เมื่อวันที่ 7 มิถุนายนเป็นต้นมา แต่กรมประมงก็ยังนิ่งเฉยกับทิศทางการอนุญาตให้ต่อหนังสือคนประจำเรือที่ทั้งประเทศมีอยู่กว่า 3,000 คน ส่วนที่สมุทรสาครมีอยู่ 158 คน ซึ่งหากปล่อยผ่านไปจนถึงวันที่ 28 กันยายน 2564 แรงงานจำนวนนี้จะกลายเป็นแรงงานเถื่อนทั้งหมด และขณะนี้บางคนก็กลายเป็นแรงงานเถื่อนไปแล้ว เนื่องจากหนังสือคนประจำเรือหมดอายุลงตามวันที่ยื่นขออนุญาตเมื่อปีที่แล้วนั่นเอง […]

คนเท่ากัน-ลดอคติ “ต่างด้าว” ผู้สร้าง “จีดีพี” ก่อน-หลังโควิด!

ทีมข่าว “1/4 Special Report” เกาะติดสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 อย่างต่อเนื่อง ในสภาพปัจจุบันที่แคมป์พักคนงานต่างชาติหลายแห่งพบผู้ติดเชื้อเป็นจำนวนมาก สถานการณ์แรงงานข้ามชาติ หรือที่สื่อมวลชนและคนจำนวนมากชอบเรียกกันว่า “แรงงานต่างด้าว” ยังคงมีการลักลอบเข้าประเทศอย่างผิดกฎหมาย ท่ามกลางความเสี่ยงติดโรคระบาดแพร่กระจายกลายเป็นคลัสเตอร์ใหญ่ ๆ ตามที่ปรากฏในแคมป์พักคนงานหลายแห่งทั่วกรุงเทพฯและปริมณฑล ยิ่งตอกย้ำ “อคติ” ความไม่พอใจของคนไทยต่อแรงงานเหล่านี้ปรากฏให้เห็นมากขึ้น เกี่ยวกับปัญหาใหญ่ของแรงงานข้ามชาติ และแนวทางแก้ไขปัญหาช่วงโควิด-19 นั้น รศ.ดร.กิริยา กุลกลการ อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปิดเผยว่า ที่ผ่านมามีความพยายามจะเรียกแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านโดยชื่อใหม่ว่า แรงงานข้ามชาติ แรงงานต่างชาติ แทนคำว่าแรงงานต่างด้าว ซึ่งมีอคติการดูถูกแฝงอยู่ ก่อนโควิดจะระบาด สังคมไทยมีมุมมองต่อแรงงานเหล่านี้ดีขึ้นกว่าสมัยก่อนมาก แต่เมื่อเจอการแพร่ระบาดดูเหมือนอคติและความไม่พอใจแรงงานเพื่อนบ้านในสังคมไทยจะเพิ่มขึ้นมากกว่าเดิม ปัญหาหมักหมม “แรงงานข้ามชาติ” สร้างเศรษฐกิจไทย สำหรับปัญหาแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านนั้น เป็นปัญหาที่มีมาอย่างยาวนาน โดยเฉพาะการนำเข้าแรงงานโดยผิดกฎหมาย ทำให้พวกเขากลัวถูกเจ้าหน้าที่จับกุม จนต้องไปอยู่รวมกันอย่างแออัด เข้าไม่ถึงระบบสาธารณสุข ซึ่งปัญหาแรงงานผิดกฎหมายมันแก้ได้ยาก เพราะมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเยอะ หากต้องการนำแรงงานเข้ามาทำงานโดยถูกต้องตามกฎหมายไทย จะมีขั้นตอนและค่าใช้จ่ายเยอะมาก หลังจากเราเริ่มต้นเอาแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านมาลงทะเบียนใน พ.ศ. 2535 จนถึงปัจจุบันเกือบ 30 ปีแล้ว แต่การแก้ปัญหายังสำเร็จยาก แม้ภาครัฐจะมีมาตรการผ่อนปรนและนิรโทษกรรมความผิดของแรงงานที่เข้ามาทำงานผิดกฎหมาย แต่เรายังแก้ไขปัญหาดังกล่าวไม่สำเร็จ จุดหนึ่งคือไทยมีพรมแดนติดกับประเทศเพื่อนบ้านยาวมาก […]

เด็กไร้สัญชาติ เกิดในประเทศไทยมีสิทธิอยู่อาศัยและเดินทางได้ภายในประเทศโดยไม่ต้องขออนุญาติ

เด็กไร้สัญชาติ เกิดในประเทศไทย มีสิทธิอยู่อาศัยและเดินทางได้ภายในประเทศโดยไม่ต้องขออนุญาติออกนอกเขตควบคุม…แต่ต้องมีหนังสืบรับรองการคงฐานะการอาศัยอยู่ในราชอาณาจักรไทย ขอบคุณแหล่งข่าว  นายสันติพงษ์ มูลฟอง

มติครม. 30 มีนาคม 2564

มติครม. 30 มีนาคม 2564 19.เรื่อง การให้สิทธิขั้นพื้นฐานด้านสาธารณสุขกับบุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิเด็กและบุคคลที่เรียนอยู่ในสถานศึกษา ครั้งที่ 2 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการการให้สิทธิขั้นพื้นฐานด้านสาธารณสุข (สิทธิฯ) กับบุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิเด็กและบุคคลที่เรียนอยู่ในสถานศึกษา ครั้งที่ 2 ที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) ได้ตรวจสอบความซ้ำซ้อนและกำหนดเลขประจำตัว 13 หลัก เรียบร้อยแล้ว และกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ได้ตรวจสอบคัดกรองข้อมูล จำนวน 5,203 คน ซึ่งครอบคลุมบริการด้านสาธารณสุข ได้แก่ การสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การรักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสมรรถภาพ นับตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติ ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ สาระสำคัญของเรื่อง สธ. รายงานว่า 1. สธ. ได้ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี (วันที่ 23 มีนาคม 2553 วันที่ 20 เมษายน 2558 และวันที่ 22 กันยายน 2563) ในการตรวจสอบข้อมูลเพื่อยืนยันความถูกต้องและรับรองการขึ้นทะเบียนของกลุ่มบุคคลกลุ่มอื่น ๆ ที่ยังไม่สามารถพิสูจน์ได้เพราะขาดหลักฐานซึ่งจำนวนที่แท้จริงยังไม่ชัดเจนและอาจมีความซ้ำซ้อนของข้อมูล โดยในส่วนของกลุ่มบุคคลดังกล่าวที่เป็นเด็กและบุคคลที่เรียนอยู่ในสถานศึกษา […]

มองปัญหา ‘คนไร้สัญชาติ’ ผ่านสายตา ‘ครูแดง’ นักต่อสู้เพื่อคนไร้รัฐ

พร้อมค้นหาความหมายของชีวิตคนไร้สัญชาติ ผ่านสายตา “ครูแดง” หรือ “เตือนใจ ดีเทศน์” ผู้ขับเคลื่อนการแก้ปัญหาคนไร้รัฐไร้สัญชาติในประเทศไทย และเป็นคนไทยคนแรกที่เข้าชิงรางวัลนานเซ็นของ UNHCR ในปี 2561 หากย้อนกลับไปเมื่อ 2 ปีที่แล้ว ข่าวดีเล็กๆ ที่ยิ่งใหญ่ของประเทศไทยคือ ครูแดง เตือนใจ ดีเทศน์ ซึ่งเป็นคนไทยคนแรกได้รับการเสนอชื่อให้เป็น 1 ใน 4 คนสุดท้ายที่จะเข้าชิงรางวัลนานเซ็นของ UNHCR ในปี 2561 โดย ‘ครูแดง’ เป็นที่รู้จักในนามนักต่อสู้เพื่อสิทธิของคนไร้รัฐไร้สัญชาติในประเทศไทย รางวัลนานเซ็น (Nansen Refugee Award) เปรียบได้กับรางวัลโนเบลที่จัดมอบโดย สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) แต่เมื่อเทียบกับระยะเวลาที่ครูแดงทำงานเพื่อสิทธิของคนไร้รัฐไร้สัญชาติในประเทศไทย มากกว่า 40 ปี รางวัลนี้ดูเล็กน้อยไปถนัดตา และอาจไม่ได้ช่วยให้เป้าประ “สิ่งที่เราทำ มันยังไม่ทำให้สังคมเปลี่ยนไปในทางที่หวัง ไม่ว่าเราจะได้รางวัล ได้เข้าชิงหรืออะไรก็แล้วแต่ แต่ในทางกลับกันถ้าเราได้รางวัลแล้วผู้คนหันมาสนใจปัญหาคนไร้สัญชาติมากขึ้น อันนี้แหละที่เราพอใจ” นับตั้งแต่ พ.ศ. 2516 ครูแดง เตือนใจ ดีเทศน์ ใช้ชีวิตคลุกคลีอยู่กับกลุ่มชาติพันธุ์บนพื้นที่สูงของจังหวัดเชียงราย สร้างเครือข่ายการศึกษานอกระบบใน 27 หมู่บ้าน สร้างความตระหนักรู้ในเรื่องสิทธิให้กับชาวบ้าน และยังส่งเสริมการทำการเกษตรอย่างยั่งยืน ครูแดงได้ร่วมก่อตั้งมูลนิธิพัฒนาชุมชนและเขตภูเขา (พชภ.) ใน พ.ศ. […]

1 2 3 4 5 6 46
Copyright © 2018. All rights reserved.