News

ปรับหลักสูตรสอนทวิภาษา

นายสุรพงษ์ กองจันทึก ประธานคณะอนุกรรมการสิทธิ มนุษยชนด้านชนชาติ ผู้ไร้สัญชาติ แรงงานข้ามชาติ และผู้พลัดถิ่นสภาทนายความ กล่าวถึงกรณีที่พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รมว.ศธ.มอบให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ทบทวนการเรียนการสอนทวิภาษา สำหรับสอนในร.ร.ตามแนวชายแดน เนื่องจากพบว่าเด็กไม่ได้ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาแม่ แต่ใช้ภาษาท้องถิ่น ส่งผลให้เด็กไม่สามารถสื่อสารภาษาไทยกับคนอื่นได้ และอาจมีผลกระทบด้านความมั่นคง โดยให้ดูว่าการเรียนการสอนทวิภาษายังมีความจำเป็นอยู่หรือไม่ว่า ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า ทวิภาษาคือพหุวัฒนธรรม ซึ่งสังคมคนไทยมีวัฒนธรรมแตกต่างกันจำนวนมาก ซึ่งกลุ่มตามแนวชายแดนนี้ ก็เป็นคนไทยที่มีเชื้อสายกะเหรี่ยง อาข่า ใช้ภาษาไทย-กะเหรี่ยง ภาษาไทย- อาข่า จึงควรจะยอมรับความเป็นไทยที่มีความแตกต่าง “เรื่องนี้ควรปรับหลักสูตรการเรียนการสอนภาษาไทย ไม่ควรกีดกันภาษาไทยที่เกิดจากคนไทยชาติพันธุ์ แต่จะต้องส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาไทยในโรงเรียนให้เรียนรู้อย่างถูกต้อง ส่วนระบบการเรียนการสอนภาษาไทยบางโรงที่กำลังเกิดวิกฤต ไม่ควรจะโทษภาษาแม่พื้นถิ่น แต่ต้องโทษการเรียนการสอนของตนเอง และศึกษาเหตุผลว่าระบบใดไม่ดี เพื่อแก้ไข และควรจะปรับครู ผู้สอน ให้เข้าใจกลุ่มชาติพันธุ์และภาษา” นายสุรพงษ์กล่าว วันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2558 ปีที่ 24 ฉบับที่ 8868 ข่าวสดรายวัน แหล่งที่มา http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TURObFpIVXdNakV3TURNMU9BPT…

ศธ.ตั้งหน่วยดูแล’เด็กไร้สัญชาติ’รับจัดการศึกษา-เร่งช่วยหลังศูนย์เรียนรู้ฯถูกปิด

นายสุรพงษ์ กองจันทึก ประธานคณะอนุกรรมการสิทธิมนุษยชนด้านชนชาติ ผู้ไร้สัญชาติ แรงงานข้ามชาติ และผู้พลัดถิ่นสภาทนายความ เปิดเผยว่า ตามที่สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (สป.ศธ.) เป็นประธานการประชุม การจัดการศึกษาแก่บุคคลที่ไม่มีหลักฐานทะเบียนราษฎรหรือไม่มีสัญชาติไทย โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันหารือแนวทางการจัดการแก้ปัญหาสำหรับเด็กที่ไม่มีเลข 13 หลัก โดยเฉพาะในศูนย์การเรียนรู้เด็กข้ามชาติในพื้นที่ อ.แม่สอด จ.ตาก ซึ่งขณะนี้มีศูนย์การเรียนฯ อยู่ 95 ศูนย์ และกำลังจะถูกปิด 20 ศูนย์ ส่งผลกระทบต่อเด็ก 5,500 ราย ที่จะไม่ได้รับการศึกษา นายสุรพงษ์กล่าวต่อว่า ที่ประชุมมีมติให้ตั้งคณะทำงานขึ้นมาดูแล การจัดการศึกษาในพื้นที่ชายแดน การจัดการศึกษาสำหรับผู้ด้อยโอกาส การจัดการศึกษากับผู้ที่มีปัญหาสถานะบุคคล และให้คณะทำงานชุดดังกล่าวตั้งคณะทำงานย่อย ดูแลศูนย์การเรียนโดยตรง เพื่อศึกษาว่าศูนย์การเรียนจะดำเนินการอย่างไร และศูนย์การเรียนที่ถูกปิดแล้ว จะรับมาสอนต่อหรือดูแลในพื้นที่อย่างไร นอกจากนี้ ยังประสานศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ศทก.) ของ สป.ศธ. ดูแลฐานข้อมูลเด็กทั้งหมด ทั้งสังกัด สพฐ. กศน. หรือมหาวิทยาลัยต่างๆ รวมถึงเด็กที่มีปัญหาด้านสถานะบุคคล ขณะเดียวกันสำนักส่งเสริมกิจการการศึกษา (สสก.) และสำนักสัมพันธ์ต่างประเทศ (สต.) จะศึกษาขั้นตอนเป็นภาคีในอนุสัญญาว่าด้วยการเลือกปฏิบัติทางการศึกษา ซึ่งเป็นอนุสัญญาฉบับโลกด้วย […]

หญิงชาติพันธุ์อาข่าไร้สัญชาติขอถือสัญชาติไทยตามสามี

ด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์และความอยากได้สถานะสัญชาติไทย นางอานุ่ม ยูรึ  จึงเคยตกเป็นเหยื่อของกลุ่มขบวนการแสวงหาประโยชน์ ที่อ้างตนว่ามาจากองค์กรสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (ภาคพลเมือง) เข้ามาชักชวนให้ชาวบ้านทำบัตร   “บัตรแสดงตนสมาชิกวิสามัญ ของ อ.ส.ม.ช.”  โดยชักจูงให้หลงเชื่อว่าบัตรที่ชาวบ้านจะได้รับ สามารถเดินทางออกพื้นที่ได้โดยไม่ต้องขออนุญาต ทำให้ชาวบ้านและนางอานุ่ม  จำนวนกว่า 50 ราย ได้หลงเชื่อ เสียเงินให้กับกลุ่มขบวนการเหล่านี้ รายละ 2,000-3,000 บาท  จากเหตุการณ์ครั้งนั้นทำให้ นางอานุ่ม  ไม่กล้าเชื่อใครง่ายๆ อีกต่อไปและยังคงจดจำไว้เป็นบทเรียน   เพราะหลังจากเสียเงินไปบัตรที่ได้มาก็ไม่มีผลใด ๆ ตามที่องค์กรสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (ภาคพลเมือง)  กล่าวอ้างตามสรรพคุณของบัตรที่ตนและชาวบ้านรายอื่น ๆ ถือครองอยู่   การเดินทางไปไหนมาไหนก็ต้องขออนุญาตเหมือนเดิม  ซ้ำร้ายเมื่อตรวจสอบบัตรที่ตนถือก็ไม่มีผลใดๆที่จะกล่าวอ้างกับทางราชการได้เลย   ตนและชาวบ้านต้องตกเป็นเหยื่อเพราะการหลงเชื่อในครั้งนี้ เพราะไม่อยากให้ใครตกอยู่สภาพเดียวกับเธอ เธอจึงตัดสินใจให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ กรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ DSI และมีโอกาสได้พบกับเจ้าหน้าที่มูลนิธิกระจกเงา  ที่ทำงานด้านสิทธิและสถานะบุคคล ต่อมานางอานุ่มพร้อมสามีได้เดินทางมามูลนิธิกระจกเงา  เพื่อขอคำปรึกษาในการคลี่คลายปมปัญหาสถานะที่ประสบมาแสนนาน    การเดินทางมาวันนี้เธอได้รู้ว่าคนต่างด้าวอย่างเธอก็สามารถมีสิทธิขอสัญชาติไทยได้ ในรูปแบบขอถือสัญชาติไทยตามสามี  ซึ่งนับว่าโชคดีที่เธอมีสามีเป็นคนสัญชาติไทยโดยการเกิด ตามระเบียบ สำนักงานทะเบียนกลางว่าด้วยการพิจารณาลงรายการสถานะบุคคลในทะเบียนราษฎรให้แก่บุคคลบนพื้นที่สูง พ.ศ.2543  เราจึงแนะนำให้นางอานุ่มไปติดต่อยื่นคำร้อง ณ สำนักทะเบียนอำเภอเมืองเชียงราย  ปรากฎว่าเจ้าหน้าที่อำเภอไม่กล้ารับคำร้อง เพราะไม่เคยพบเจอกรณีดังกล่าว   นายยุทธชัย  จะจู  เจ้าหน้าที่โครงการ ฯ  มูลนิธิกระจกเงา  จึงได้โทรศัพท์หารือกับ นายสนั่น ราชตา เจ้าพนักงานปฏิบัติการจังหวัด   จึงทำให้ทราบว่ากรณีนางอานุ่ม สามารถยื่นคำร้อง ฯ ได้  หากเป็นกรณีที่ถือบัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย […]

ศธ.ตั้งหน่วยดูแล”เด็กไร้สัญชาติ” รับจัดการศึกษา-เร่งช่วยหลังศูนย์เรียนรู้ฯถูกปิด

นายสุรพงษ์ กองจันทึก ประธานคณะอนุกรรมการสิทธิมนุษยชนด้านชนชาติ ผู้ไร้สัญชาติ แรงงานข้ามชาติ และผู้พลัดถิ่นสภาทนายความ เปิดเผยว่า ตามที่สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (สป.ศธ.) เป็นประธานการประชุม การจัดการศึกษาแก่บุคคลที่ไม่มีหลักฐานทะเบียนราษฎรหรือไม่มีสัญชาติไทย โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันหารือแนวทางการจัดการแก้ปัญหาสำหรับเด็กที่ไม่มีเลข 13 หลัก โดยเฉพาะในศูนย์การเรียนรู้เด็กข้ามชาติในพื้นที่ อ.แม่สอด จ.ตาก ซึ่งขณะนี้มีศูนย์การเรียนฯ อยู่ 95 ศูนย์ และกำลังจะถูกปิด 20 ศูนย์ ส่งผลกระทบต่อเด็ก 5,500 ราย ที่จะไม่ได้รับการศึกษา นายสุรพงษ์กล่าวต่อว่า ที่ประชุมมีมติให้ตั้งคณะทำงานขึ้นมาดูแล การจัดการศึกษาในพื้นที่ชายแดน การจัดการศึกษาสำหรับผู้ด้อยโอกาส การจัดการศึกษากับผู้ที่มีปัญหาสถานะบุคคล และให้คณะทำงานชุดดังกล่าวตั้งคณะทำงานย่อย ดูแลศูนย์การเรียนโดยตรง เพื่อศึกษาว่าศูนย์การเรียนจะดำเนินการอย่างไร และศูนย์การเรียนที่ถูกปิดแล้ว จะรับมาสอนต่อหรือดูแลในพื้นที่อย่างไร นอกจากนี้ ยังประสานศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ศทก.) ของ สป.ศธ. ดูแลฐานข้อมูลเด็กทั้งหมด ทั้งสังกัด สพฐ. กศน. หรือมหาวิทยาลัยต่างๆ รวมถึงเด็กที่มีปัญหาด้านสถานะบุคคล ขณะเดียวกันสำนักส่งเสริมกิจการการศึกษา (สสก.) และสำนักสัมพันธ์ต่างประเทศ (สต.) จะศึกษาขั้นตอนเป็นภาคีในอนุสัญญาว่าด้วยการเลือกปฏิบัติทางการศึกษา ซึ่งเป็นอนุสัญญาฉบับโลกด้วย […]

รมว.พม.เร่งบูรณาการหาแนวทางช่วยแรงงานประมง

พลตำรวจเอก อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กล่าวว่า จากกรณีมูลนิธิเครือข่ายส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงาน (LPN) ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการค้ามนุษย์ (Anti Human Trafficking Network – ATN) และศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือลูกเรือประมง (Seafarers Action Center – SAC) ยื่นหนังสือเปิดผนึกถึงนายกรัฐมนตรี เรียกร้องให้หน่วยงานภาครัฐเข้าไปดำเนินการช่วยเหลือแรงงานที่ตกเรือและประสบความทุกข์ยาก รวมถึงคนที่ถูกนายหน้าหลอกลวงมาทำงานเป็นลูกเรือประมงที่เกาะอัมบน ประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งมีทั้งชาวไทย เมียนมา กัมพูชา และลาว โดยพบว่าลูกเรือส่วนใหญ่ไม่มีเอกสารแสดงตนที่ถูกต้อง เนื่องจากถูกปลอมแปลงเอกสารลูกเรือและถูกยึดเอกสารไว้ ทำให้ไม่สามารถจัดการเรื่องเดินทางกลับประเทศได้ จึงขอให้รัฐบาลจัดชุดเฉพาะกิจมาช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน ตนได้กำชับให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องติดตามตรวจสอบรายละเอียดข้อมูลเพิ่มเติม โดยมอบหมายให้ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ ดำเนินการประสานหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง อาทิ กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงแรงงาน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ร่วมกันหาแนวทางเร่งช่วยเหลือแรงงานดังกล่าวแล้ว ที่มา : http://www.innnews.co.th/shownews/show?newscode=606284 Fri, 03/20/2015

ประสานรัฐบาลอินโดช่วยเหยื่อลูกเรือประมงไทย “อดุลย์”ระดมทีม-ให้ดีเอสไอร่วมทำคดี เผยมีเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี-วอนขอปัจจัยสี่ด่วน

เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2558 ที่กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์(พม.)พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีพม. ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีมีลูกเรือประมงไทยจำนวนมากตกทุกข์ได้ยากอยู่ที่เกาะอัมบนในหมู่เกาะโมลุกกะ ประเทศอินโดนีเซีย เนื่องจากถูกหลอกและถูกบังคับไปทำงานในเรือประมงว่า ตนได้กำชับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ติดตามตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติมให้แน่ชัดถึงจำนวนแรงงานที่ตกเป็นเหยื่อและติดค้างอยู่ที่เกาะอัมบน โดยขณะนี้ได้มอบหมายให้ปลัดพม. ดำเนินการประสานกระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงแรงงาน และกรมสอบสวนคดีพิเศษหรือดีเอสไอ เพื่อหารือถึงแนวทางการช่วยเหลือเยียวยาและดำเนินคดีเอาผิดต่อนายจ้าง รัฐมนตรีพม.กล่าวว่า ในเบื้องต้นที่ได้รับรายงานจากเจ้าหน้าที่มูลนิธิเครือข่ายส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงาน หรือ LPN ที่ได้ลงพื้นที่ช่วยเหลือแรงงานไทยในอินโดนีเซีย พบว่ามีแรงงานที่ตกค้างอยู่ถึง 500-600 คน ซึ่งทางรัฐบาลไทยจะเร่งประสานทางการอินโดฯ เพื่อช่วยดำเนินการตรวจสอบข้อมูลจำนวนคนไทยตกค้างให้แน่ชัดและช่วยเหลือส่งกลับประเทศไทยอย่างเร่งด่วน ส่วนเหยื่อที่เป็นชาวต่างชาติ พม่า ลาว กัมพูชานั้น จะช่วยประสานไปยังสถานทูตของแต่ละประจำประเทศในประเทศไทยให้ดำเนินการช่วยเหลือต่อไป “หาก LPN หรือทางการอินโดฯ ต้องการให้รัฐบาลไทยส่งทีมเข้าไปสำรวจและช่วยเหลือแรงงาน เราก็พร้อมที่จะส่งทีมเฉพาะกิจไปช่วยตรวจสอบ พร้อมทั้งส่งทีมแพทย์ที่จะไปช่วยดูแลสุขภาพของแรงงานที่ป่วยอยู่ที่นั่น ปัญหาการค้ามนุษย์ถือเป็นเรื่องสำคัญที่รัฐบาลให้ความสนใจ หลังจากรัฐบาลได้เข้ามาดำเนินการจัดระเบียบแรงงานทำให้ปัญหานี้เบาบางลง” พล.ต.อ.อดุลย์ กล่าว รัฐมนตรีพม.กล่าวว่า ในปีที่แล้ว ได้มีการจับกุมนายจ้างหรือเจ้าของเรือ 5 ครั้ง ช่วยเหลือลูกเรือที่ถูกหลอกไปทำงานและตกค้างได้ถึง 40 คน แต่เป็นกรณีเหยื่อที่ตกค้างมานาน ไม่ใช่กรณีที่เกิดขึ้นใหม่ โดยในขณะนี้รัฐบาลกำลังเร่งผลักดันให้เกิดการแก้กฎหมายคุ้มครองแรงงานให้ดีขึ้น ซึ่งกำลังพิจารณาในสภา วาระ 2 […]

จ่อชง ครม.ขยายสิทธิรักษาพยาบาลคนไร้สัญชาติเพิ่มกว่า 2.8 แสนคน

รมว.สาธารณสุข จ่อชง ครม.ขยายสิทธิรักษาคนไร้รัฐไร้สัญชาติ ระยะเร่งด่วน โดยคืนสิทธิเพิ่มอีก 285,171 คน มีผลทันที พร้อมเสนอของบประมาณในปี 2558 ให้โรงพยาบาลตามชายแดนวงเงิน 412 ล้านบาท ยันผู้รับบริการไม่ต้องกังวลเรื่องค่าใช้จ่าย ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยว่า จากการรับฟังความเห็นของหลายภาคส่วน โดยเฉพาะข้อเรียกร้องของเครือข่ายชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย กระทรวงสาธารณสุข ได้เร่งดำเนินการแก้ไขปัญหา ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาทิ กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย สภาความมั่นคงแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ สปสช. องค์กรเอกชน เช่น มูลนิธิชุมชนไท มูลนิธิพัฒนาชุมชนเขตภูเขา ขณะนี้ได้ข้อสรุปแนวทางการแก้ไขปัญหา ทั้งมาตรการระยะเร่งด่วน และระยะยาว เพื่อให้เกิดกลไกการแก้ไขปัญหาที่เป็นระบบและยั่งยืน โดยเตรียมเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีในสัปดาห์หน้า 3 ประเด็น ประกอบด้วย 1.เสนอให้สิทธิหรือขยายสิทธิขั้นพื้นฐานด้านสาธารณสุข ให้บุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิเพิ่มเติมอีกจำนวน 285,171 คน ซึ่งเป็นกลุ่มที่ยังไม่ได้รับสิทธิหลักประกันสุขภาพ ตามมติครม.เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2553 ที่ได้จัดสรรให้คนไร้รัฐไร้สัญชาติไปแล้ว 457,409 คน เนื่องจากขณะนั้นยังอยู่ระหว่างการสำรวจ ประกอบด้วย […]

ปมค้ามนุษย์ไทยรัฐต้องแก้ไขมากกว่าแก้ตัว

จากการที่ไทยได้ส่งรายงานสถานการณ์การค้ามนุษย์ในประเทศไทยประจำปี 2557 ให้ต่างชาติเพื่อขอความเห็นเกี่ยวกับรายงานดังกล่าว ซึ่งมีข้อเสนอกลับมาว่าอยากให้มีการนำเสนอข้อมูลคดี และเปิดโปงขบวนการค้ามนุษย์มากกว่านี้ ซึ่งที่ประชุมคณะอนุกรรมการด้านประชาสัมพันธ์และกฎหมายที่เกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขปัญหามนุษย์ ภายใต้คณะกรรมการนโยบายแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์และการทำประมงผิดกฎหมาย เห็นชอบให้มีการแก้ไขรายงานดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายในสัปดาห์นี้เพื่อให้ทันกำหนดรอบการประเมินที่จะครบกำหนดวันที่ 31 มี.ค. พร้อมกันนี้ยังได้วางแผนการประชาสัมพันธ์การแก้ไขปัญหาค้ามนุษย์โดยบูรณาการข้อมูลควบคู่ไปกับการทำงานของสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) เพื่อให้ต่างประเทศเห็นความตั้งใจจริงของภาครัฐในการแก้ปัญหานี้นั้น นายสุรพงษ์ กองจันทึก ประธานอนุกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนด้านชนชาติ ผู้ไร้สัญชาติ แรงงานข้ามชาติ และผู้พลัดถิ่น สภาทนายความ เห็นว่า รัฐบาลชุดนี้ให้ความสำคัญมากต่อการแก้ปัญหาค้ามนุษย์ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างออกมาตรการต่างๆ นานา มากมายเพื่อแก้ไขปัญหาเหล่านี้ แต่ตลอดระยะเวลา 10 เดือนที่ผ่านมา ทุกสิ่งทุกอย่างที่ประกาศใช้เพื่อแก้ไขปัญหา ไม่ได้นำมาดำเนินการอย่างเต็มที่ ส่วนใหญ่ที่ตกเป็นข่าวมีลักษณะแก้ตัวมากกว่าแก้ไข เช่น การประกาศความคืบหน้าแล้วบอกว่า เราทำดีแล้วแต่ไม่มีสิ่งยืนยันที่เป็นรูปธรรมเพื่อสะท้อนสิ่งที่เราบอกว่าเราทำดีแล้วอย่างไร “เราใช้วิธีการเชิงประชาสัมพันธ์มากเกินไป และมากกว่าการลงมือทำเพื่อแก้ไขปัญหานี้อย่างเป็นรูปธรรมจริงๆ” ตัวอย่างของเหตุการณ์ค้ามนุษย์ที่เกิดขึ้นมีการแยกประเภทกันไป เช่น การค้ามนุษย์ การกระทำทารุณกับเด็ก แล้วมีการแก้ไขในแต่ละกรณีอย่างไร ผลการจับกุมมีบุคคลระดับใดบ้าง จำนวนเท่าไร แล้วผลการตัดสินเมื่อเข้าสู่กระบวนศาลเป็นเช่นไร นี่คือผลที่สหรัฐนำมาวัดระดับความรุนแรง ขณะเดียวกัน เมื่อสหรัฐนำข้อมูลเหล่านี้มาชี้แจง บ้านเรากลับปฏิเสธความจริงในข้อมูล และถามหาความน่าเชื่อถือจากแหล่งข้อมูลเหล่านั้น นายสุรพงษ์ มองว่า สิ่งที่น่าสนใจในการแก้ปัญหาเพื่อให้ประเทศไทยถูกปรับลดอันดับคือ การค้ามนุษย์โรฮิงญา คือ หัวข้อปัญหาที่สหรัฐทวงติง […]

พม. รับดูแลสถานที่ควบคุมชาวโรฮิงญาและกลุ่มมุสลิมไม่ทราบสัญชาติ (อุยกูร์) โดยเฉพาะเด็กและสตรีอย่างเหมาะสมและปลอดภัย

พลตำรวจเอก อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวง การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นประธานการประชุมแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหา กลุ่มผู้ลักลอบเข้าเมืองชาวโรฮิงญาและกลุ่มมุสลิมไม่ทราบสัญชาติ (อุยกูร์) เพื่อหามาตรการการป้องกันในระยะสั้นและระยะยาว ณ ห้องประชุมชั้น ๘ อาคารใหม่ กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ สะพานขาว กรุงเทพฯ พลตำรวจเอก อดุลย์ กล่าวว่า การประชุมในครั้งนี้เป็นการหารือถึงแนวทางในการแก้ไขปัญหา อย่างบูรณาการ กรณีกลุ่มผู้ลักลอบเข้าเมืองชาวโรฮิงญาและกลุ่มมุสลิมไม่ทราบสัญชาติ (อุยกูร์) โดยแบ่งเป็น ๒ มาตรการ ได้แก่ ๑)มาตรการระยะสั้น คือ การคัดแยกผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ โดยทีมสหวิชาชีพ ได้แก่ นักสังคมสงเคราะห์ เจ้าหน้าที่ตำรวจ นักจิตวิทยา แพทย์ พยาบาล และล่าม ตลอดจนผู้แทนองค์เอกชน หากพบว่าเป็นผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ พนักงานสอบสวนจะดำเนินคดีกับผู้กระทำผิดอย่างจริงจัง จากนั้น จึงขยายผลหา ต้นตอของขบวนการค้ามนุษย์ทุกรูปแบบ ในส่วนของกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ มีหน่วยงานในพื้นที่ให้ความดูแลคุ้มครองช่วยเหลือทางด้านร่างกายและจิตใจ โดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของผู้เสียหายเป็นสำคัญ รวมทั้งประสานประเทศต้นทาง เพื่อส่งกลับภูมิลำเนาอย่างปลอดภัย เพื่อป้องกันไม่ให้ตกเข้าสู่ขบวนการค้ามนุษย์ซ้ำอีก รวมถึงการจัดสถานที่ชั่วคราวสำหรับการดูแล ไม่ใช่เป็นสถานที่กักกัน โดยเปิดตลอด ๒๔ ชั่วโมง […]

รมว.แรงงาน เร่งจัดระเบียบแรงงานต่างด้าว หลังสิ้นสุด 31 มีนาคมนี้

รมว.แรงงาน เร่งกำหนดแนวทางจัดระเบียบแรงงานต่างด้าวหลังสิ้นสุด 31 มีนาคมนี้ ประสานประเทศต้นทางเมียนมา ลาว กัมพูชาเร่งตรวจพิสูจน์สัญชาติ การจ้างงานคนต่างด้าวตาม ม.๑๔ เปิดเพิ่มขึ้นทะเบียนเฉพาะงานประมงทะเล ๒๒ จังหวัดเริ่ม ๑ เมษายนนี้ ย้ำ ขรก.ทำงานเชิงรุก อัตราค่าธรรมเนียมการตรวจลงตราสำหรับคนต่างด้าวเมียนมา ลาวและกัมพูชา คนละ ๕๐๐ บาท  พลเอก สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการประสานงานการจัดการแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน (อกนร.) ครั้งที่ 2/ 2558 ว่า ขณะนี้กระทรวงแรงงานได้กำหนดแนวทางจัดระเบียบแรงงานต่างด้าว ภายหลังสิ้นสุด 31 มีนาคม 2558  กระทรวงแรงงานเร่งทำงานเชิงรุกในหลายด้านพร้อมกัน อาทิ การเร่งตรวจพิสูจน์สัญชาติแรงงานเพื่อนบ้านที่มาขึ้นทะเบียนไว้ประมาณ ๑.๖ ล้านคน แต่การทำงานไม่สามารถทำงานได้โดยประเทศไทยเพียงฝ่ายเดียว ต้องประสานความพร้อมของประเทศต้นทางด้วย ซึ่งได้ดำเนินการประสานความร่วมมือจัดให้มีการพูดคุยกับประเทศต้นทาง เร่งตรวจพิสูจน์สัญชาติทั้ง ๓ สัญชาติแล้ว ประเทศเมียนมาได้จัดส่ง ๕ ทีมให้บริการประจำศูนย์บริการเบ็ดเสร็จ และจัด ๒๑ ทีมเฉพาะกิจลงพื้นที่เก็บข้อมูลตรวจสัญชาติส่งทางไทย  สำหรับประเทศลาวก็ได้จัดส่งทีมเจ้าหน้าที่การฑูตมาเพิ่มเติมทำให้สามารถตรวจพิสูจน์ได้ปริมาณมากขึ้น ส่วนประเทศกัมพูชา […]

1 37 38 39 40 41 46
Copyright © 2018. All rights reserved.