article

“มอญพลัดถิ่น” คนชายขอบแห่งสังขละบุรี ความเป็นไทยในสายเลือดมอญ

ชาวมอญ หรือ รามัญ เป็นกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่งที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานในประเทศไทย ปัจจุบันตั้งถิ่นฐานอยู่กระจัดกระจายทั่วประเทศนับตั้งแต่ภาคเหนือของไทย ท้องถิ่นภาคกลาง และตลอดแนวตะเข็บชายแดนภาคตะวันตก ทั้งที่เป็นมอญเก่าคือกลุ่มที่เคลื่อนเข้ามาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา และมอญใหม่คือกลุ่มที่เข้ามาสมัยรัตนโกสินทร์ บทความชิ้นนี้มุ่งทำความเข้าใจถึงกลุ่มชุมชนชาวมอญอพยพในอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี โดยพิจารณาถึงประวัติการอพยพย้ายถิ่นเข้าสู่ประเทศไทยและลักษณะสถานภาพบุคคล ของชนชาวมอญพลัดถิ่นหมู่บ้านมอญ หรือที่มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า หมู่บ้านแผ่นดินธรรมแผ่นดินทอง หมู่ที่ 2 บ้านวังกะ ตำบลหนองลู อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี อันเป็นหมู่บ้านที่มีชนชาวมอญอาศัยอยู่กว่า 1000 ครอบครัว ตั้งอยู่บนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำซองกาเลียตรงข้ามที่ว่าการอำภอสังขละบุรี ซึ่งอยู่บนฝั่งตะวันออก โดยเดินทางข้ามสะพานไม้ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นทางสัญจรของชาวบ้านระหว่าง ฝั่งอำเภอกับฝั่งหมู่บ้านมอญอันเป็นสัญลักษณ์สำคัญของหมู่บ้านมอญ บ้างวังกะ จนถึงทุกวันนี้ หากพิจารณาลำดับบริบททางประวัติศาสตร์เส้นทางการอพยพเข้ามาตั้งถิ่น ฐานในประเทศไทยของชนชาวมอญและที่มาของเมืองสังขละบุรีแล้ว สามารถแบ่งได้เป็น 3 ช่วงเวลาคือ 1. ช่วงแรก ก่อน พ.ศ.2490 เนื่องจากตั้งแต่สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น เมืองสังขละบุรีมีฐานะเป็นเมืองหน้าด่าน ดังนั้นจึงสันนิษฐานได้ว่าการอพยพเข้าออกของชาว มอญ กะเหรี่ยง พม่า แถบชายแดนถือเป็นเรื่องปกติเพราะสถานการณ์ทางพรมแดนรัฐไทยและพม่าในขณะนั้น ยังมีความยืดหยุ่น 2. ช่วงที่สอง ราวปี พ.ศ. 2490 เนื่องจากสถานการณ์ความไม่สงบและการสู้รบในพม่ารุนแรงมากขึ้นโดยมีชาวมอญ กลุ่มแรกเริ่มอพยพเข้ามาประมาณ 30 […]

เมื่อครั้งหนึ่งที่ชีวิตเคยถูกทิ้ง(ลง)ถังขยะ

หลายครั้ง ที่คนเรามักเลือกให้กำลังใจตัวเองด้วยการคิดถึงความทรงจำดีๆในชีวิตที่ผ่าน พ้น เพื่อใช้เป็นแรงขับให้ดิ้นรนกันไปในปัจจุบันขณะ หาก แต่ในสังคมก็ยังมีคนอีกจำนวนหนึ่งที่ยังคงถูกกักตรึงไว้ด้วยความทรงจำที่เลว ร้าย เฉกเช่น “อาบา แชตุกุ” เด็กหนุ่มอายุ 24 ปี จากบ้านพญาไพร ตำบลเทิดไทย อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย ที่ครั้งหนึ่งชีวิตถูกโยนทิ้งลงถังขยะอย่างไม่ใยดี ชะตาชีวิต ของอาบาก็ไม่ต่างไปจากคนไร้สัญชาติคนอื่นที่รู้สึกว่าถูกจำกัดสิทธิ ทำให้เขาต้องตกเป็นเหยื่อของความอยุติธรรมและความไม่เท่าเทียมในสังคม ชีวิตซึ่งเปรียบเหมือนนกน้อยที่ถูกจองจำในกรงแห่ง “การ ไร้สัญชาติ” การได้มาซึ่ง อิสระจึงไม่ใช่เรื่องง่ายนักที่เด็กหนุ่มอย่างเขาจะเข้าถึง แต่นอกจากเขาจะต้องต่อสู้กับกับแรงกดดันภายนอกเช่นนี้แล้ว อาบายังต้องปะทะกับแรงกดดันภายในที่ผุดจากความทรงจำอันโหดร้ายซึ่งเปรียบ เสมือนฝันร้ายที่ตามมาหลอกหลอนกว่า 10 ปี นับตั้งแต่ครั้งแรกของการยื่นคำร้องขอความเป็นไทย อาบายื่นคำร้องขอสัญชาติไทยครั้งแรกด้วยความอนุเคราะห์ของโรงเรียน เมื่อครั้งยังเรียนอยู่ชั้นป.4 ด้วยกำลังใจจากน้ำคำของอาจารย์บวกกับความหวังแจ่มจรัสที่ปลายอุโมงค์ซึ่งเคย มืดดับมาตั้งแต่เกิด ทำให้อาบาหวังและเชื่อจนหมดใจว่าสักวันเขาต้องได้สัญชาติ แต่ชีวิตไม่ใช่ละครเพราะมันน้ำเน่ากว่าละครหลายเท่านัก เมื่ออาบาพบว่าหนังสือยื่นคำร้องขอสัญชาติของเขากลับไปนอนแน่นิ่งอยู่ในถัง ขยะของโรงเรียนแทนการส่งถึงมือผู้ใหญ่ที่จะเป็นผู้หยิบยื่นความเป็นไทยแก่ เขา “พอเห็นอย่างนั้นก็รู้เลยว่าจบแล้ว ในเมื่อคำร้องยังอยู่ที่นี่ อยู่ในถังขยะ!!!! ก็รู้เลยว่าไม่ได้แล้วสัญชาติไทย แล้วด้วยความที่ตอนนั้นเรายังเด็ก ก็ได้แค่คิดว่าทำไมครูบอกว่าจะช่วยแล้วไม่ทำอย่างที่พูด ไม่ได้ถาม ไม่ได้เอาคำร้องไปให้ครูด้วย ได้แค่คิดจึงเป็นเรื่องที่ฝังใจมาตลอดจนถึงวันนี้” อาบาเล่า ถึงความทรงจำชวนปวดร้าว ซึ่งเชื่อว่าหากคำบอกเล่านี้ออกจากปากของเด็กชายอาบาเมื่อกว่า 10 ปีที่แล้ว […]

การต่อสู้ของคนไม่มีอาวุธ

เกือบ 10 ปีมาแล้วที่ชาวบ้านกว่า 5 หมื่นชีวิตในอำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวเขาดั้งเดิมต้องต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งสัญชาติไทย สิ่งซึ่งพวกเขาเชื่อเหลือเกินว่าจะทำให้เขายืนอยู่บนแผ่นดินนี้ได้เท่าเทียม เยี่ยงคนไทยคนหนึ่งพึงมีพึงได้ และไม่ต้องทนทุกข์กับการอยู่อย่างไร้ตัวตนอย่างที่ผ่านมา ห้วงเวลาที่ผ่านมากลุ่มคนเหล่านี้ดำเนินเรื่องยื่นคำร้องขอ สัญชาติไทยไปยังอำเภอไม่น้อยว่า 4 ครั้ง นับตั้งแต่พ.ศ.2543 ซึ่งมีระเบียบสำนักทะเบียนกลางว่าด้วยการพิจารณาลงรายการ สถานะบุคคลในทะเบียนราษฎรให้แก่บุคคลบนพื้นที่สูง พ.ศ. 2543 ออกมาเพื่อเอื้อให้ชาวเขาติดแผ่นดินหรือชาวเขาดั้งเดิมที่เกิดในประเทศไทย ได้ยื่นคำร้องลงรายการสถานะบุคคล แต่จนแล้วจนรอดเอกสารของกลุ่มคนเหล่านี้ก็ยังถูกดองอยู่ ที่ทำการอำเภอ โดยมีข้ออ้างจากคนทำงานว่าเป็นเพราะมีการเปลี่ยนแปลงคนทำงานบ่อยครั้ง ทั้งที่พวกเขาคือกกลุ่มคนไทยที่จะต้องได้รับการเพิ่มชื่อให้อยู่ในทะเบียน บ้านตามกฎหมายอยู่แล้ว มาถึงวันนี้ ชาวบ้านซึ่งเป็นคนหาชาวกินค่ำสุดจะทนกับระบบเต่า ซึงหากปล่อยไว้ก็รังแต่จะทำให้พวกเขาเสียเวลาทำมาหากินและเสียโอกาสหลาย อย่างในชีวิต จึงรวมตัวกันภายใต้ชื่อ “เครือข่ายแก้ไขปัญหาสถานะ บุคคล อำเภอแม่ฟ้าหลวง” เข้าพบนายอำเภอเพื่อยื่นข้อเรียกร้อง 3 ข้อ คือ ข้อ1ให้อำเภอแม่ฟ้าหลวงดำเนินการตรวจสอบรายชื่อที่ได้แนบมาว่าเป็นบุคคลที่ ได้ยื่นคำร้องลงรายการระเบียบ 43 ต่อที่ว่าการอำเภอ แม่ฟ้าหลวงหรือไม่ และให้แจ้งผลการดำเนินการเป็นลายลักษณ์อักษรแก่เครือข่ายภายใน 10 วัน ข้อ2ให้ดำเนินการรับคำร้องของสมาชิก เครือข่ายที่ยังไม่ได้ยื่นคำร้องไว้ตามข้อ 1 ภายใน 10 วัน ข้อ3.ให้นายอำเภอแม่ฟ้าหลวงดำเนินการพิจารณาคำร้องตามข้อ 1 และข้อ […]

พระราชบัญญัติฉบับให้ (คืน) ความเป็นไทย

พระราช บัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่4) พ.ศ. 2551 มาตรา 23 บรรดาบุคคลที่เคยมีสัญชาติไทยเพราะเกิดในราชอาณาจักรไทย แต่ถูกถอนสัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ลงวันที่ 13 ธันวาคม พุทธศักราช 2535 ข้อ1 และผู้ที่เกิดในราชอาณาจักรไทยแต่ไม่ได้สัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่337 ลงวันที่ 13 ธันวาคม พุทธศักราช 2515 ข้อ2 รวมถึงบุตรของบุคคลดังกล่าว ที่เกิดในราชอาณาจักรไทยก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับและไม่ได้ สัญชาติไทยตามมาตรา 7 ทวิ วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 ซึ่งเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่2) พ.ศ. 2535 ถ้าบุคคลนั้นอาศัยอยู่จริงในราชอาณาจักรไทยติดต่อกันโดยมีหลักฐานทางทะเบียน ราษฎรและเป็นผู้มีความประพฤติดี หรือทำคุณประโยชน์ให้แกสังคมหรือประเทศไทยให้ได้สัญชาติไทยตั้งแต่วันที่พระ ราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ เว้นแต่ผู้ซึ่งรัฐมนตรีมีคำสั่งอันมีผลให้เป็นผู้มีสัญชาติไทยแล้วก่อนวัน ที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ เมื่อพ้น กำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ผู้มีคุณสมบัติตามวรรคหนึ่งยื่นคำขอลงรายการสัญชาติในเอกสารการทะเบียน ราษฎรต่อนายทะเบียนอำเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่นตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียน ราษฎรแห่งท้องที่ที่ผู้นั้นมรภูมิลำเนาในปัจจุบัน พระราช บัญญัติฉบับนี้เป็นเหมือนกุญแจดอกสำคัญที่มาปลดแอกจากความไร้สัญชาติของผู้ ที่ถูกถอนสัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 , ผู้ที่ […]

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ“การจัดการปัญหาสถานะบุคคล”ในประเทศไทย

เมื่อวันที่ 22 – 23  กันยายน  2556  ที่ผ่านมาได้มีการจัดกิจกรรมภายใต้  โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ “ การจัดการปัญหาสถานะบุคคล” ในประเทศไทย  สนับสนุนโดย  องค์กรไออาโกเนีย  ประเทศไทย  จัดโดยศูนย์ประสานงานด้านสถานะและสิทธิบุคคล (ศสบ.)   ณ  โรงแรมฟูราม่า  อำเภอเมือง  จังหวัดเชียงใหม่  และคณะทำงานองค์กรเครือข่าย รวม 20  องค์กร  มีผู้เข้ารับการฝึกอบรมทั้งสิ้น  30  คน เน้นกลุ่มเจ้าหน้าที่  ข้าราชการ  ที่ปฏิบัติหน้าที่ในกรมการปกครอง  จังหวัดเชียงใหม่  จังหวัดเชียงราย  จังหวัดพะเยา  และจังหวัดตาก  รวมไปถึงองค์กรเครือข่ายที่ทำงานด้านสถานะบุคคล รวม 32 องค์กร  ที่ทำงานในพื้นที่รอยต่อตะเข็บชายแดนติดกับประเทศเพื่อนบ้าน  ซึ่งเป็นพื้นที่ปัญหาการเคลื่อนย้ายถิ่นที่อยู่ของประชากรในแถบนั้น  จนบางรายยากที่จะสืบค้นที่มาของถิ่นกำเนิด  ลากยาวปัญหาด้านสถานะบุคคลมาถึงปัจจุบัน จากปัญหาด้านสถานะบุคคล  ด้านทะเบียนราษฎร  ด้านการพิสูจน์ตัวบุคคล ฯ  ผู้ปฏิบัติที่เกี่ยวข้องโดยตรงต้องใช้ความรู้ความรอบคอบที่ค่อนข้างมีรายละเอียดมาก  ทั้งกฎหมาย  ระเบียบ  กฎกระทรวง  มติคณะรัฐมนตรีและหนังสือสั่งการที่เกี่ยวข้อง  รวมถึงสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในแต่ละพื้นที่กลุ่มชาติพันธุ์หรือที่เรียกว่าบริบททางสังคม ที่ผ่านมาทางผู้ปฏิบัติงานได้ทำหน้าที่ลองผิดลองถูก  ไม่กล้าตัดสินใจหรือดำเนินการ  จึงส่งผลกระทบทั้งตนเอง […]

ห้องเรียนสถานะและสิทธิบุคคล

ความรู้ความเข้าใจ ซึ่งนับว่าเป็นชัยในการที่จะทำการใด ๆ ได้ประสบความสำเร็จ และถือเป็นหลักการทั่วไปที่จะต้องปฏิบัติ  จาสถานการณ์ปัญหาด้านสถานะบุคคลและสิทธิของคนไร้รัฐไร้สัญชาติที่ยังแก้ไขปัญหามายาวนาน  สาเหตุหลักเกิดจากการไม่เข้าใจถึงสถานการณ์ หลักเกณฑ์  ระเบียบ  กฎหมาย  และนโยบายของรัฐที่กำหนด  รวมถึงการรวบรวมข้อเท็จจริง  พยาน  หลักฐาน  ของผู้ประสบปัญหาสถานะบุคคลที่รอคอยการแก้ไขปัญหา   การให้ความรู้แก่กลุ่มเจ้าของปัญหาและผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง  มีความสำคัญเป้นอย่างยิ่ง จึงมีความจำเป็นที่จะต้องจัดกระบวนการห้องเรียนสถานะและสิทธิบุคคล  เพื่อการแก้ไขปัญหาเป็นไปอย่างถูกต้องและรวดเร็วขึ้น ห้องเรียนสถานะและสิทธิบุคคลจึงได้เกิดขึ้นโดยการถ่ายทอดองค์ความรู้จากผู้ชำนาญการเฉพาะด้าน โดยเน้น ประเด็นการอบรมด้านกระบวนการทำงานแก้ไขปัญหาเด็กไร้สัญชาติ  โดยคุณสันติพงษ์  มูลฟอง  ผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานด้านสถานะและสิทธิบุคคล (ศสบ.)  ประเด็นอบรมให้ความรู้เรื่องทะเบียนราษฎรสำหรับคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย   การพิจารณาสัญชาติของบุคคล   วิเคราะห์กรณีศึกษาเด็กไร้สัญชาติ  โดยใช้ Family Tree   กระบวนการยื่นคำร้อง  เช่นการแจ้งเกิด,เพิ่มชื่อ,กำหนดสถานะบุคคล ฯลฯ  โดยคุณมานะ  งามเนตร์  นักสิทธิมนุษยชนชำนาญการ  สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เน้นกลุ่ม ครูโรงเรียนเทศบาลนครเชียงใหม่  คณะสงค์โรงเรียนสมเด็จพระพุทธชินวงศ์วัดศรีโสดา  นักสังคมสงเคราะห์ที่ปฏิบัติงานในภาครัฐและเอกชน  รวมไปถึง  นักจิตวิทยา  ตำรวจ  และผู้เกี่ยวข้องกับคนกลุ่มนี้ทั้งในทางปฏิบัติและการเพิ่มพูนทักษะความรู้แก่ผู้ปฏิบัติงาน มุ่งหวังให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมห้องเรียนได้รับความรู้เบื้องต้นด้านการกำหนดสถานะและสิทธิบุคคล รวมถึงกระบวนการยื่นคำร้อง  และที่สำคัญจะก่อเกิดเครือข่ายกลุ่มผู้ประสบปัญหา และเครือข่ายคนทำงานด้านสถานะและสิทธิบุคคล […]

เสียงจากเด็กไร้สัญชาติ วอน ‘ไทย-พม่า’ ร่วมมือแก้ปัญหาเสียที

ปัญหาเด็กไร้สัญชาติยังคงเป็นอีกปัญหาใหญ่สำหรับประเทศ และอาจกลายเป็นปัญหาสำคัญสำหรับประชาคมอาเซียนในอนาคตด้วย หากไม่มีการเตรียมการแก้ปัญหากันเสียตั้งแต่วันนี้ เมื่อเร็วๆ นี้  โครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดเสวนา “คนไร้รัฐ กับประชาคมอาเซียน” ขึ้นเพื่อทำความเข้าใจต่อปัญหาคนไร้รัฐ ไร้สัญชาติ “ดวงตา หม่องภา” นักศึกษาโครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หนึ่งในบุคคลที่ยังตกอยู่ในช่องว่างของกฎหมาย และถือเป็นกรณีตัวอย่างของเด็กไร้สัญชาติในประเทศไทยที่เราควรทำความเข้าใจ ขณะนี้ “ดวงตา” นักศึกษาชั้นปีที่ 1 วัย 22 ปี มีสถานะเป็นบุคคลไม่ไร้รัฐ แต่ยังไร้สัญชาติ เธอถ่ายทอดเรื่องราวในชีวิตของเธอเป็นภาษาไทยที่ชัดเจนทั้งภาษา สำเนียง แถมยังเข้าใจง่ายกว่าคนไทยหลาย ๆ คนเสียอีก…. “ครอบครัวของดิฉันเป็นครอบครัวที่อพยพมาจากพม่า พ่อเป็นคนชาติพันธุ์ยะไข่ที่อยู่ในรัฐยะไข่ ที่ออกจากรัฐตั้งแต่ราว 7 ขวบหลังผู้เป็นพ่อและแม่เสียชีวิต ส่วนแม่เป็นคนชาติพันธุ์ไทยใหญ่อยู่ในรัฐฉาน พ่อและแม่ได้อยู่กินฉันสามีภรรยาที่รัฐฉานมาโดยตลอด พ่อ แม่ ดวงตา และน้องชาย ได้เข้ามาในประเทศไทยเมื่อปี 2543 ด้วยเหตุผลคือเข้ามาหาคุณยายที่เข้ามาก่อนแล้วกว่า 20 ปี และมาหางานทำ ขณะนั้นเธออายุได้ 9 ขวบ จุดแรกที่เข้ามาในประเทศไทยคือที่ อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ “ตอนที่เข้ามา ฟัง พูด ภาษาไทยไม่ได้เลย ไม่มีเอกสารแสดงตัวใด ๆ […]

ข้อค้นพบจากการวิจัยการปรากฏตัวของคนไร้รัฐไร้สัญชาติในประเทศไทยมาแล้ว ๑๐ กว่าปี

รายงานผลการวิจัยการปรากฏตัวของคนไร้รัฐไร้สัญชาติในประเทศไทย : ข้อค้นพบจากการวิจัย โดย รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร เมื่อวันที่ ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๖ ———————————————-ผู้วิจัยมีความเห็นว่า งานวิจัยเกี่ยวกับปัญหาคนไร้รัฐไร้สัญชาติของผู้วิจัยเป็นงานที่สร้างและรักษาความมั่นคงของมนุษย์ แต่ในเรื่องความท้าทายใหม่นั้น ก็อาจต้องขยายความว่า ในบางประเด็นเท่านั้นที่เป็นความท้าทายใหม่ แต่ประเด็นส่วนใหญ่นั้นเป็นความท้าทายเก่าตั้งแต่ปลายสมัยรัชกาลที่ ๕ และเป็นความงดงามของภูมิปัญญาทางปกครองของรัฐไทยต่อประชากรที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ ภาษา และวัฒนธรรม   ความท้าทายใหม่ที่เกิดขึ้นในช่วง ๗ ปีหลังของประเทศไทยในเรื่องความมั่นคงของมนุษย์ ก็คือ การที่รัฐไทยสามารถพิสูจน์ศักยภาพของกฎหมายไทยว่าด้วยสิทธิในสถานะบุคคลตามกฎหมายในการจัดการปัญหาความไร้สถานะตามกฎหมายของมนุษย์ที่มีลมหายใจบนแผ่นดินไทย ไม่ว่ามนุษย์ผู้นั้นจะเกิดในหรือนอกประเทศไทย ความสำเร็จนี้มิได้เกิดขึ้นอย่างง่ายดาย ขอให้ตระหนักว่า รัฐไทยเผชิญปัญหามากมายที่เป็นอุปสรรคในการรับรองสถานะบุคคลตามกฎหมายของมนุษย์ที่ปรากฏตัวในประเทศไทย แต่อย่างไรก็ตาม ในหลายช่วงเวลา เราพบว่า รัฐไทยเกือบจะพ่ายแพ้และตกเป็นผู้ละเมิดหลักกฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยการรับรองสถานะบุคคลตามกฎหมาย อันเป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน อุปสรรคดังกล่าว ก็คือ (๑) การขาดองค์ความรู้ในการจัดการประชากรของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่เจ้าของปัญหา รวมตลอดจนภาคประชาชนและภาคราชการที่สนับสนุนเจ้าของปัญหา (๒) อคติต่อปัญหาของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง และ (๓) การทุจริตที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับการจัดการปัญหาโดยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งที่เกี่ยวข้อง ซึ่งอุปสรรคดังกล่าวเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในทุกเรื่องของการพัฒนาประเทศ และเป็นข้อจำกัดของมนุษย์ในทุกประเทศ แต่อย่างไรก็ดี รัฐไทยก็ก้าวข้ามบางอุปสรรคได้แล้วในบางสถานการณ์ แต่ในอีกหลายสถานการณ์ รัฐไทยก็ยังไม่อาจหลุดพ้นจากอุปสรรคที่รัดตึงมิให้ขยับตัวทำหน้าที่ที่มีอยู่ตามกฎหมายระหว่างประเทศทั้งที่เป็นลายลักษณ์อักษรและไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ข้อค้นพบของการวิจัยที่ ๑ : สิทธิในสถานะบุคคลตามกฎหมายเอกชนเป็นของมนุษย์ทุกคน […]

เล่าจากเชียงแสน ณ ริมน้ำโขง …ชาวม้ง อดีตทหารไทยที่ยังคงไร้สัญชาติ

 30 กันยายน 2556 เราเดินทางไปเรียนรู้เรื่องราวของ ชาวม้งกลุ่มหนึ่งในหมู่บ้านธารทอง อำเภอเชียงแสนจังหวัดเชียงราย โดยการนำไปของพี่แสง มูลนิธิศึกษาพัฒนาประชาชนบนพื้นที่สูง ก่อนเข้าไปถึงเรื่องราวของชาวม้งในหมู่บ้านธารโต เราอยากเกริ่นถึงเรื่องของพี่แสง คนสัญชาติไทยชาติพันธุ์ม้งที่เกิดจังหวัดลำปาง พี่แสงเข้ามาในหมู่บ้านบ้านธารโตแห่งนี้ด้วยแรงบันดาลใจ จากเหตุการณ์ที่อยากเข้าไปช่วยเหลือคนชาติพันธุ์ในประเทศไทยที่ยังไร้สัญชาติ   พี่แสงแนะนำให้เราได้รู้จักกับ ครอบครัวแซ่ซ่ง ชาวม้งในหมู่บ้านธารโต หมู่ 11 ต.แม่เงิน อ.เชียงแสน จ.เชียงราย พี่ล่อ แซ่ซ่ง เริ่มต้นเล่าเรื่องของตนเองให้กับพวกเราฟังว่า เขาคือ “ม้งถ้ำกระบอก” ม้งถ้ำกระบอก แบ่งได้เป็นสองกลุ่มใหญ่ คือ กลุ่มที่อยู่ในประเทศไทยอยู่แล้วไม่ได้เดินทางมาจากไหน (ชาวม้งกลุ่มนี้จะถูกเรียกว่าม้งไทย) กับอีกกลุ่มคือ ม้งที่อพยพเดินทางเข้ามาประเทศไทย (ม้งกลุ่มนี้มักจะถูกเรียกว่า ม้งลาว[1]) โดยครอบครัวของพี่ล่อ แซ่ซ่ง นั้นอยู่ดั้งเดิมในประเทศไทยเกิดในประเทศไทย เมื่อง 22 พฤศจิกายน 2515 ที่อำเภอพบพระ จังหวัดตาก จากปู่ไซมั๊ว และย่าเน๊ง  เขาเล่าเสียงดังฟังชัดว่า ตนเองคือ ชาวม้งกลุ่มแรก (ม้งไทย) ที่ไปช่วยประเทศไทยรบกับทหารลาวที่สมรภูมิบ้านร่มเกล้า ซึ่งเป็นกรณีพิพาทด้านพรมแดนระหว่างไทยกับลาวประมาณปี เป็นเวลา 5 […]

จากคนขับรถ…สู่..เจ้าหน้าที่จำเป็น

ผมไม่ค่อยเข้าใจหรอกว่าพวกเค้าไปทำไม,ไปทำอะไร…ที่ผมรู้ก็คือ..ผมจะต้องขับรถเพื่อนำพาหลายๆๆชีวิตไปตามสถานที่ตามที่ผู้ว่าจ้างบอก..โดยไม่ได้คิดอะไรว่าต้องไปทำอะไรที่มันมากกว่าการขับรถ..วันนี้เช่นกันคุณแหม่มว่าจ้างให้ผมขับรถให้หน่อยเพื่อไปจัดกิจกรรมรณรงค์เร่ละครชุมชนและห้องเรียนเคลื่อนที่หมู่บ้านป่าเมี่ยงป่าตึง ที่อ.แม่จัน จ.เชียงราย..ผมก็ตอบตกลง …. จริงๆผมก็เริ่มคุ้นหูกับกิจกรรมเหล่านี้ล่ะเพราะรับขับรถให้ทีมของเขาตลอด.. พอไปถึงหมู่บ้านก็ได้พบกับชาวบ้านไปที่เต็มเปี่ยมไปด้วยรอยยิ้มผมคิดในใจคิดว่าพวกเขาคงดีใจที่เรามา..เมื่อไปถึงทีมงานก็จัดเตรียมอุปกรณ์ซึ่งผมก็ได้เข้าไปช่วยบ้าง..และเมื่อจัดของเสร็จแล้วผมก็นั่งดูวิวอย่างเพลินๆๆ ก็มีเสียงสะกิดให้ผมต้องสะดุ้งว่า “โก้ๆๆๆ ช่วยกรอกข้อมูลให้หน่อยซิ ชาวบ้านเยอะเจ้าหน้าที่ไม่เพียงพอ” ผมก็มีความรู้สึกว่า..แล้วผมจะทำได้หรอ ผมไม่ได้มีความรู้เลย..แต่ก็ลองทำดู.. จากการที่ผมช่วยทีมงานกรอกข้อมูลนั้น ทำให้ผมรู้สึกว่าผมได้มีส่วนทำให้ความหวังของชาวบ้านที่มีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องสัญชาติว่าปัญหาของเขานั้นจะได้รับการแก้ไขแล้ว..พอผมกรอกข้อมูลเสร็จแล้วก็ได้รับคำขอบคุณจากพวกเขา….มันทำให้ผมมีความรู้สึกสุขใจอย่างบอกไม่ถูก..แต่ก็นั้นแหละสิ่งเหล่านี้ทำให้ผมสะท้อนนึกย้อนไปสมัยที่ผมยังเป็นเด็กไร้สัญชาติสมัยนั้นผมยังไม่รู้เลยว่าการไร้สัญชาติจะมีความยากลำบากถึงเพียงนี้อาจด้วยตอนนั้นผมยังเด็กเกินไปจึงไม่รู้ถึงความยากลำบาก…พอเห็นปัญหาเหล่านี้แล้วจึงเกิดคำถามขึ้นในใจว่า…สังคมหรือคนใช้อะไรเป็นตัวตีกรอบให้กลุ่มคนเหล่านี้ว่าต้องอยู่ในกรอบ..จะขยับไปไหนแต่ล่ะทีนั้นก็ลำบากซะเหลือเกิน..แต่สิ่งหนึ่งที่ผมเห็นก็คือ “ความหวัง” ที่พวกเขาเหล่านี้มี และหวังว่าซักวันชีวิตเขาจะดีขึ้นปัญหาพวกเขาจะได้รับการแก้ไขในซักวันหนึ่ง…ผมจึงอยากฝากถึงผู้ที่มีปัญหาเรื่องสัญชาติว่า…อย่าท้ออย่าถอยนะครับ..บางครั้งท้อได้แต่ก็อย่าได้ถอย..ล้มแล้วลุกขึ้นมาสู้ใหม่..ตราบใดที่เรายังมีลมหายใจความหวังก็ไม่ไกลเกินเอื่อม…..ผมขอเป็นอีกหนึ่งกำลังใจให้กับทุกคนที่มีปัญหาเรื่องสัญชาติทุกคนครับผ้มมมมมม….ToT ความรู้สึกจากใจ คุณโก้ ธีรภัทร เฌอหมื่อ พลขับประจำทีมกระจกเงา………………………. เรียบเรียงโดย นางสาวสุรีย์ อุ่ยแม Sun, 06/02/2013

1 5 6 7 8 9 15
Copyright © 2018. All rights reserved.