article

แรงงานเพื่อนบ้านหัวหิน-อ้อมน้อย ตกงาน กลับบ้านไม่ได้ ความช่วยเหลือไปไม่ถึง

แรงงานหญิงพม่าท้อง 4 เดือนวอนขอกลับประเทศ ตกงานแถมสามีไปต่อพาสปอร์ตช่วงโควิด-ไม่ได้กลับมาแสนเดียวดาย-ยื่นหนังสือกระทรวงแรงงาน เอ็นจีโอหวั่นเชื้อประทุในกลุ่มแรงงานข้ามชาติเหตุอยู่กันแออัด-เด็กๆ ไร้หน้ากากอนามัย เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2563 เจ้าหน้าที่เทศบาลหัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์  ลงพื้นที่เยี่ยมแรงงานข้ามชาติที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 ในเขตเทศบาลเมืองหัวหิน อาทิ ซอยอ่างน้ำ ห้องแถวแพไม้ หัวหินซอย 68 จำนวน 62 ครอบครัว โดยได้นำหน้ากากอนามัยไปมอบให้ในเบื้องต้น และในวันที่ 13 พฤษภาคม จะมีภาคเอกชนนำข้าวสารอาหารมอบให้กับครอบครัวแรงงานข้ามชาติอีกครั้งหนึ่ง ทั้งนี้จากการสอบถามความต้องการ ทราบว่าแรงงานกลุ่มนี้ทำงานสัปดาห์ละ 1 วัน ทำให้ไม่มีเงินในการซื้ออาหารโดย 1 ในนี้เป็นผู้ป่วยติดเตียง ซึ่งทางเทศบาลได้แจ้งให้ศูนย์สาธารณสุขเข้าไปดูแล นายราม (นามสมมุติ) แรงงานข้ามชาติและจิตอาสาชาวพม่า กล่าวว่า เมื่อเดือนที่แล้วแรงานข้ามชาติในหัวหินที่ตกงานเริ่มไม่มีเงินซื้อข้าวกิน ตนและเพื่อนๆจึงพยายามหาทางช่วยโดยเริ่มต้นจากการลงพื้นที่ไปดูที่พักอาศัยของแรงงานที่อยู่แถวสะพานปลากันเป็นกลุ่มๆ ซึ่งพบว่าส่วนใหญ่พักอาศัยอยู่กันห้องละ 4-5 คน และกำลังจะไม่มีข้าวกินจริงๆ และเผอิญพวกตนได้รู้จักกับฝรั่งกลุ่มหนึ่งที่อาศัยอยู่ในหัวหินในนาม “Hua Hin COVID-19 Community” โดยคนกลุ่มนี้ได้ให้การช่วยเหลือด้านต่างๆกับคนต่างชาติด้วยกัน และพวกเขาได้มอบข้าวสารอาหารแห้งให้เอาไปแจกจ่าย หลังจากนั้นแรงงานข้ามชาติก็ได้บอกันปากต่อปากและประสานมาที่ตน ซึ่งใครที่เดือดร้อนมากก็จะรีบเอาข้าวสารอาหารแห้งไปให้ก่อน แรงงานบางส่วนไม่มีรถมาเอา พวกตนก็ขับมอเตอร์ไซและรถซาเล้งเอาไปให้ “ตอนนี้เรามีรายชื่อแรงงานต่างชาติที่กำลังเดือดร้อนอยู่ในหัวหินกว่า 800 คน ส่วนมากตกงาน เมื่อก่อนพวกเขาเคยทำงานอยู่ในร้านอาหาร ตั้งแผงอยู่ในตลาดโต้รุ่ง บางส่วนเป็นแม่บ้าน บางส่วนเป็นคนงานส่งน้ำ-น้ำแข็ง แต่หลังจากที่นักท่องเที่ยวหายไปหมด นายจ้างก็ไม่มีเงินจ้างเลย บางคนก็ไม่ได้ค่าจ้างเดือนสุดท้าย เพราะนายจ้างไม่มีเงินจริงๆ” นายรามกล่าว เมื่อถามว่าหน่วยงานราชการได้เข้ามาช่วยเหลือแรงงานต่างชาติบ้างหรือไม่ […]

แรงงาน แจง 10 มาตรการ สกัดโควิด-19 ในกลุ่มแรงงานต่างด้าว

เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2563 นายสุทธิ สุโกศล ปลัดกระทรวงแรงงาน เปิดเผยถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ยังพบการแพร่ในระบาดในกลุ่มแรงงานต่างด้าวว่า ในส่วนของกระทรวงแรงงาน ได้มีมาตรการเข้มงวดเพื่อมิให้มีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในกลุ่มแรงงานต่างด้าว ซึ่งได้แก่ 1) การชะลอการอนุมัตินำเข้าแรงงานต่างด้าว ตั้งแต่วันที่ 23 มีนาคมเป็นต้นไป จนกว่าสถานการณ์จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ 2) การผ่อนปรนให้แรงงานต่างด้าวสามารถอยู่ในราชอาณาจักรและทำงานได้ต่อไปจนถึง 30 พฤศจิกายน 2563 3) ป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในกลุ่มแรงงานต่างด้าว โดยร่วมมือกับสภากาชาดไทย กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการป้องกันนำร่องในพื้นที่จังหวัดสมุทรสาครและขยายความร่วมมือไปยังจังหวัดต่างๆ เพื่อให้แรงงานต่างด้าวที่ทำงานอยู่ในประเทศไทยป้องกันตนเองให้ปลอดภัยจากโควิด-19 การดำเนินการ ประกอบด้วย จัดทำเอกสารเผยแพร่เป็นภาษาของแรงงานต่างด้าว เพื่อให้สามารถสื่อสารเข้าใจง่าย รวมทั้งการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรการเยียวยาลดผลกระทบ การมอบสิ่งของเพื่อบรรเทาทุกข์ เช่น หน้ากากอนามัย เจลล้างมือ ถุงยังชีพ เป็นต้น รวมทั้งกระบวนการการเข้ารับการตรวจรักษาพยาบาลกรณีมีประวัติการเดินทางไปยังประเทศกลุ่มเสี่ยง ตลอดจนขั้นตอนการคัดกรอง การกักตัวเอง 14 วัน ตามกระบวนการที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด เสริมสร้างสร้างการรับรู้การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน 4) สำรวจตรวจสอบ (Check List) แรงงานต่างด้าวในสถานประกอบการให้สามารถทำงานได้โดยไม่ให้มีการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 […]

สแกนแรงงานต่างด้าวสกัดไวรัส กทม. ไล่เช็ก 392 แคมป์ทั่วกรุง

“หม่อมเต่า” จี้แรงงานจังหวัดปิดจุดเสี่ยงโควิด โฟกัสกลุ่มแรงงานต่างด้าว สุ่มตรวจสถานประกอบการ-โรงงาน ย้ำหากไม่ร่วมมือใช้ไม้แข็ง สั่งปิดโรงงานทันที กทม.หวั่นโควิด-19 ระบาดไซต์ก่อสร้างสั่ง 50 เขตสำรวจคัดกรองโรคเข้ม พบทั่วกรุงมีแคมป์แรงงานไทย-ต่างด้าว 392 โครงการ กว่า 6 หมื่นคน สถานการณ์ไวรัสโควิด-19 ที่คลี่คลายลง ทำให้รัฐบาลเตรียมผ่อนคลายมาตรการคุมเข้ม ขณะเดียวกันเพื่อไม่ให้โควิดย้อนกลับมาแพร่ระบาดรอบใหม่ ได้มีนโยบายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องโฟกัสไปที่การควบคุมป้องกันกลุ่มคนที่มีความเสี่ยง โดยเฉพาะอย่างยิ่งแรงงานที่ทำงานและพักอาศัยในไซต์ก่อสร้าง และโรงงานอุตสาหกรรม ดร.ดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า หม่อมราชวงศ์จัตุมงคล โสณกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้มอบหมายให้โฟกัสกลุ่มแรงงานต่างด้าวในสถานประกอบการเข้มข้นมากขึ้น โดยเฉพาะพื้นที่เสี่ยง เช่น สมุทรสาคร, นครปฐม, สงขลา ฯลฯ ให้ลงพื้นที่ตรวจสอบที่พักอาศัยของแรงงานรับจ้างทั่วไป แรงงานที่อาศัยในบ้านพักหรือที่พักชั่วคราว ต้องมีสถาพไม่แออัด และสุ่มเสี่ยงติดเชื้อโควิด หากพบว่าสถานประกอบการที่มีแรงงานต่างด้าวติดเชื้อโควิดเพิ่มขึ้น จะอาศัยอำนาจภายใต้ พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินสั่งปิด กทม.สแกน 392 ไซต์ก่อสร้าง นายชวินทร์ ศิรินาค ผู้อำนวยการสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยกับ […]

เตือนผู้ลี้ภัยนับล้านเสี่ยงติดเชื้อโควิด-19

สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานเมื่อ 20 มี.ค. อ้างการเปิดเผยของ “เครือข่ายสิทธิผู้ลี้ภัยแห่งเอเชีย-แปซิฟิก” (APRRN) ว่า ผู้ลี้ภัยหลายล้านคนซึ่งอยู่กันอย่างล่อแหลมทั่วเอเชียมีความเปราะบางสูงเป็นพิเศษที่จะติดเชื้อไวรัส “โควิด-19” ซึ่งกำลังระบาดหนักทั่วโลก และการปิดพรมแดนของประเทศต่างๆ ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงที่จะทำให้ผู้ลี้ภัยถูกบังคับเนรเทศให้กลับถิ่นฐาน นายเทมบา ลูวิส เลขาธิการ APRRN เผยว่า ผู้ลี้ภัยและคนไร้สัญชาติที่อยู่ตามค่ายต่างๆ เป็นผู้รับเคราะห์หนักที่สุด เพราะถูกให้อยู่ในพื้นที่จำกัดที่ขาดสุขอนามัยและเข้าไม่ถึงระบบดูแลรักษาสุขภาพ จึงน่าเป็นห่วงอย่างยิ่งถ้ามีการระบาดของโควิด-19 โดยค่ายผู้ลี้ภัยใหญ่ๆ ที่น่าเป็นห่วงรวมทั้งค่ายผู้ลี้ภัยที่เมืองค็อกซ์’ส์ บาซาร์ ในบังกลาเทศ ซึ่งมีผู้ลี้ภัยชาวมุสลิมโรฮีนจาจากเมียนมาอยู่กว่า 700,000 คน ส่วนค่ายผู้ลี้ภัย 9 แห่งตามพรมแดนไทย-เมียนมา ก็มีผู้ลี้ภัยจากเมียนมาอยู่กว่า 31,000 คน ค่ายผู้ลี้ภัยทางภาคใต้อินเดีย มีผู้ลี้ภัยชาวทมิฬจากศรีลังกาอยู่กว่า 60,000 คน ส่วนผู้ลี้ภัยชาวอัฟกันกว่า 2 ล้านคนก็อยู่ตามค่ายในอิหร่านและปากีสถาน ถึงแม้ขณะนี้ ยังไม่มีรายงานยืนยันผู้ติดเชื้อโควิด-19 ตามค่ายผู้ลี้ภัย รอยเตอร์ยังรายงานว่า ขบวนรถขนส่งความช่วยเหลือทางการแพทย์จากนานาชาติชุดแรกมีกำหนดเดินทางถึงเกาหลีเหนือในสัปดาห์นี้ เพื่อช่วยยับยั้งโควิด-19 โดยองค์กรบรรเทาทุกข์หลายแห่งได้รับการยกเว้นจากมาตรการคว่ำบาตรของสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ต่อเกาหลีเหนือ แต่การควบคุมพรมแดนอย่างเข้มงวดอาจเป็นอุปสรรคต่อการส่งความช่วยเหลือเข้าไป ขณะที่เกาหลีเหนือยังไม่มีรายงานพบผู้ติดเชื้อ ด้านอยาตุลเลาะห์ อาลี คาเมเนอี ผู้นำสูงสุดของอิหร่าน แถลงผ่านทางโทรทัศน์ถ่ายทอดสดไปทั่วประเทศเนื่องในวันปีใหม่ของชาวเปอร์เซียเมื่อ 20 มี.ค. ชมเชยชาวอิหร่านที่เสียสละอย่างสูงในการต่อสู้การระบาดของโควิด-19 รวมทั้งกลุ่มแพทย์ พยาบาล ทีมงานโรงพยาบาล ผู้ช่วยและผู้จัดการหน่วยงานต่างๆ คาเมเนอีซึ่งดูสุขภาพแข็งแรงดีแม้มีข่าวว่าติดเชื้อโควิด-19 ยังชี้ว่า […]

“บิ๊กป๊อก” เผยปรับเกณฑ์ให้สัญชาติชนกลุ่มน้อย รับสิทธิเท่าเทียม ขู่ จนท.ห้ามเรียกใต้โต๊ะ

มท.1 เผยปรับปรุงแนวทางในการพิจารณาให้สัญชาติแก่ชนกลุ่มน้อย กลุ่มชาติพันธ์ุ และกลุ่มผู้เฒ่าไร้สัญชาติแล้วเสร็จ หวังให้ได้รับสิทธิ์ที่พึงมีพึงได้ กำชับ จนท. ห้ามเรียกรับผลประโยชน์โดยเด็ดขาด พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่า ตามที่กระทรวงมหาดไทยได้แจ้งว่ากรณีการขอสัญชาติของผู้สูงอายุไร้สัญชาติอยู่ระหว่างดำเนินการปรับปรุงแนวทางประกอบการพิจารณาคุณสมบัติของคนต่างด้าวซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยที่ขอแปลงสัญชาติเป็นไทยกรณีผู้สูงอายุนั้น พลเอก อนุพงษ์ กล่าวว่า บัดนี้ กระทรวงมหาดไทยได้ดำเนินการปรับปรุงแนวทางประกอบการใช้ดุลยพินิจในการพิจารณาคุณสมบัติของคนต่างด้าวในการยื่นคำขอแปลงสัญชาติเป็นไทย ตามมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 แล้วเพื่อเป็นการแก้ไขอุปสรรคในการขอแปลงสัญชาติเป็นไทยของชนกลุ่มน้อยและกลุ่มชาติพันธ์ุ รวมถึงกลุ่มผู้เฒ่าไร้สัญชาติ ซึ่งเป็นกลุ่มบุคคลที่รัฐมีนโยบายแก้ไขปัญหาสถานะและสิทธิ โดยได้รับการจัดทำทะเบียนราษฎร์และมีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลักพร้อมทั้งได้รับใบสำคัญถิ่นที่อยู่หรือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวแล้ว ให้สามารถขอแปลงสัญชาติเป็นไทยได้เช่นเดียวกับคนต่างด้าวอื่นทั่วไป โดยปรับปรุงแนวทางประกอบการใช้ดุลยพินิจในการพิจารณาคุณสมบัติของผู้แปลงสัญชาติ ในประเด็นต่างๆ ได้แก่ คุณสมบัติเรื่องการมีความประพฤติดี ตามมาตรา 10 วรรคสอง คุณสมบัติเรื่องการมีอาชีพเป็นหลักฐาน ตามมาตรา 10 วรรคสาม คุณสมบัติเรื่องการมีภูมิลำเนาในราชอาณาจักรต่อเนื่องจนถึงวันที่ยื่นคำขอแปลงสัญชาติเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปีตามมาตรา 10 วรรคสี่ และคุณสมบัติเรื่องการมีความรู้ภาษาไทย มาตรา 10 วรรคห้า นอกจากนี้ได้กำชับให้พนักงานเจ้าหน้าที่และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องสัญชาติของชนกลุ่มน้อยและกลุ่มชาติพันธ์รวมถึงกลุ่มผู้เฒ่าไร้สัญชาติที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ให้เร่งดำเนินการอย่างจริงจังและเร่งด่วนเพื่อแก้ไขปัญหาด้านสัญชาติให้แก่บุคคลกลุ่มดังกล่าว เพื่อให้ได้รับสิทธิ์ที่พึงมีพึงได้ตามกฎหมายและนโยบายรัฐ และห้ามไม่ให้มีการแสวงหา หรือเรียกรับผลประโยชน์หรือสิ่งตอบแทนใดๆ จากการดำเนินการโดยเด็ดขาด เพราะนอกจากจะเป็นการสร้างความเดือดร้อนให้แก่ราษฎรแล้วยังทำให้เกิดความเสียหายต่อภาพลักษณ์ขององค์กรและจริยธรรมที่ดีของเจ้าหน้าที่อีกด้วย สำหรับข้อมูลการปรับปรุงแนวทางประกอบการใช้ดุลพินิจในการพิจารณาคุณสมบัติของผู้ขอแปลงสัญชาติในประเด็นต่างๆ มีดังนี้ – คุณสมบัติเรื่องการมีความประพฤติดีตามมาตรา 10 […]

พระบรมราชโองการให้ “พระฌอนฯ” แปลงสัญชาติไทยเป็นกรณีพิเศษ

โปรดเกล้าฯเนื่องจากเป็นพระภิกษุที่เคร่งครัดในพระธรรมวินัย แตกฉานในพระธรรมคำสอน เมื่อวันที่ 9 มี.ค. 63   ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ ประกาศ เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้แปลงสัญชาติเป็นไทยเป็นกรณีพิเศษ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ประกาศว่า พระราชพัชรมานิต (พระฌอน ชิเวอร์ตัน ชยสาโร) สัญชาติอังกฤษ สถานพำนักสงฆ์ บ้านไร่ทอสี อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ได้เข้ามาพำนักอยู่ในประเทศไทยเป็นเวลานาน เป็นพระภิกษุที่เคร่งครัดในพระธรรมวินัย แตกฉานในพระธรรมคำสอน มีบทบาทสำคัญในการ เผยแผ่ธรรมะทั้งในประเทศไทยและนานาชาติ กับเคยดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดป่านานาชาติมาก่อน ถือเป็นผู้ทำคุณประโยชน์เป็นพิเศษต่อประเทศไทยและพระพุทธศาสนา และได้ทรงพระกรุณา โปรดพระราชทานสมณศักดิ์ขึ้นเป็นพระราชพัชรมานิต ในโอกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๒ ประกอบกับพระราชพัชรมานิต (พระฌอน ชิเวอร์ตัน ชยสาโร) ได้ขอพระราชทานพระมหากรุณาแปลงสัญชาติเป็นไทย อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. ๒๕๐๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ พระราชพัชรมานิต (พระฌอน ชิเวอร์ตัน ชยสาโร) แปลงสัญชาติเป็นไทยเป็นกรณีพิเศษ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๙ มีนาคม […]

แรงงานเมียนมาขอผู้ประกอบการต่ออายุเอกสารรับรองแสดงตัวบุคคล(CI) 31 มี.ค.นี้

แรงงานเมียนมา ขอผู้ประกอบการต่ออายุเอกสารรับรองแสดงตัวบุคคล(CI) ซึ่งจะหมดอายุในวันที่ 31 มี.ค.63 เปลี่ยนสถานะการจ้างแรงงานตาม ม.64 เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2563 ได้มีกลุ่มแรงงานต่างด้าวสัญชาติเมียนมา ซึ่งเป็นพนักงานของ ห้างหุ้นส่วนจำกัดแม่สอดบอร์เดอร์ (ผลิตหรือจำหน่ายเครื่องประดับ) ได้รวมตัวกันประมาณ 50 คน ณ บริเวณลานหน้า หจก.แม่สอด บอร์เดอร์ เพื่อเรียกร้องให้ผู้ประกอบการต่ออายุเอกสารรับรองแสดงตัวบุคคล(CI) ซึ่งจะหมดอายุในวันที่ 31 มีนาคม 2563 โดยบริษัทจะมีการปรับสถานะการจ้างแรงงานต่างด้าวจากเดิมเป็นเอกสารบัตรผ่านแดน(Border Pass) ตาม ม.64 แห่ง พ.ร.ก.การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2560 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม โดยแรงงานเมียนมา ให้ข้อมูลว่าถ้าเป็นสถานะเดิมจะสามรถเดินทางได้ทั่วราชอาณาจักรและได้ใช้สิทธิประกันสังคม นายชัยพฤกติ์ เชียรธานรักษ์ นายอำเภอแม่สอด จ.ตาก ได้สั่งการให้นายกันต์พงษ์ พิพัฒมนตรีกุล ปลัดอำเภอหัวหน้ากลุ่มงานความมั่นคง พร้อมด้วยสมาชิก อส.ร้อย อส.อ.แม่สอด 3 ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย จัดหางานจังหวัดตาก สาขาแม่สอด ทหาร หน่วยเฉพาะกิจกรมทหารราบที่ 4( […]

คนที่ถูกทิ้งไว้ข้างหลัง​“ลุงพรผีบ้า” ผู้เฒ่าไร้สัญชาติแห่งเชียงของ

ข้าพเจ้าเติบโตมาจนอายุ 30 กว่าปีก็เห็นลุงพรสภาพแบบนี้แล้ว ชายชราตัวเล็กๆ เดินตามถนนถือไม้แส้เพื่อป้องกันหมา เดินทางไปมาในหมู่บ้าน ขอข้าววัดบ้านคนรู้จักหรือข้าวในงานศพ งานแต่ง ขึ้นบ้านใหม่ เนื่องจากแกอยู่ตัวคนเดียวในบ้านไม้เก่าหลังเล็ก บนที่ดินของตนเองที่พ่อแม่ทิ้งตกทอดเป็นมรดก ลุงพรผีบ้าจึงเป็นที่รู้จักของคนชุมชนบ้านห้วยซ้อ ซึ่งปัจจุบันบ้านห้วยซ้อได้แยกออกเป็น 6 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านห้วยซ้อเหนือหมู่ 1 บ้านห้วยซ้อใต้หมู่ 2 บ้านร้องหัวฝายหมู่ 12 บ้านชัยพัฒนาหมู่16 บ้านพัฒนารุ่งเรืองหมู่ 18 และบ้านเกษตรสมบูรณ์หมู่ 19 ตำบลห้วยซ้อ อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ลุงพร หรือนายพร ธรรมกอง เกิด พ.ศ. 2481 อายุ 82 ปี เป็นคนพิการ สติไม่สมประกอบ ไม่มีญาติพี่น้องเนื่องจากเสียชีวิตหมดแล้วเลยต้องอยู่ตัวคนเดียว แกไม่มีเอกสารใดๆ​ ​เลย อาศัยอยู่บ้านของตนเองซึ่งไม่มีเลขที่บ้าน โดยไฟฟ้าและน้ำประปาขอต่อพ่วงจากบ้านใกล้เรือนเคียง บางครั้งก็ถูกตัดน้ำตัดไฟบ้าง แล้วแต่คนข้างบ้านจะให้ใช้ บ้านลุงพรตั้งอยู่ที่บ้านร้องหัวฝาย หมู่ที่ 12 ตำบลห้วยซ้อ อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย บิดาชื่อนายตา […]

ครม.เห็นชอบเก็บตกบุคคลไร้สัญชาติไทย24,079ราย เข้าถึงสิทธิรักษาพยาบาล

ครม.เห็นชอบเก็บตกบุคคลไร้สัญชาติไทยแต่มีชื่อในทะเบียนราษฎร์อีก24,079ราย เข้าถึงสิทธิรักษาพยาบาล ให้สธ.ทำแผนตั้งงบฯ61.8ล้าน อุ้มหัวละ2,567บาท เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2563 ที่ทำเนียบรัฐบาล น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ครม.มีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอการให้สิทธิ์หรือการคืนสิทธิ์ขั้นพื้นฐานด้านสาธารณสุข และให้สิทธิเพิ่มเติม กับบุคลที่มีปัญหาสถานะที่ไม่ได้สัญชาติไทย แต่มีชื่ออยู่ในทะเบียนราษฎร์ โดยสาระสำคัญเป็นการอนุมัติเพิ่มเติมเพื่อให้เข้าถึงระบบบริการสาธารณสุข ตามหลักสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานตามสมควรที่จะได้รับการดูแลการรักษาพยาบาลจากรัฐ ซึ่งครั้งนี้มีการอนุมัติสิทธิ์ให้ทั้งสิ้น 24,079 ราย ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่ตกหล่นจากมติ ครม.เดิมที่เคยอนุมัติเมื่อปี 2553 และ 2558 เป็นกลุ่มคนที่เกิดตั้งแต่ปี 2499 – 2527 ส่วนใหญ่ผู้สูงอายุ มีปัญหาสุขภาพ และมีภาระค่าใช้จ่ายค่อนข้างมาก โดยกลุ่มคนจำนวนดังกล่าวพบว่ามีเลขบัตรประชาชนขึ้นต้นด้วยเลข 3 กับ 4 จึงเห็นสมควรให้ สธ.จัดสรรงบประมาณส่วนหนึ่ง จำนวน 61,822,000 ล้านบาท โดยกำหนดกรอบวงเงินตามจำนวนผู้มีสิทธิ์ในอัตรางบฯ เหมาจ่ายรายหัวเท่ากับหลักสิทธิประกันสุขภาพแห่งชาติตามปีงบฯ 63 คือ จำนวนหัวละ 2,567 บาทต่อปีต่อราย จากนี้ทาง สธ.จะไปดำเนินการทำแผน […]

1 2 3 4 5 6 15
Copyright © 2018. All rights reserved.