article

เร่งสกัดแรงงานต่างด้าวทะลักเข้าประเทศ | เที่ยงทันข่าว

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เตือนอย่าลักลอบนำเข้าแรงงานต่างด้าวมาทำงานในประเทศไทย เสี่ยงถูกจับกุมและถูกดำเนินคดี ขอให้รอการเปิด MOU นำเข้าแรงงานอย่างถูกต้องในอีก 2-3 สัปดาห์นี้

พบแรงงานเมียนมาถูกทิ้งไว้ริมทางพร้อมผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตระหว่างลักลอบขนย้ายเข้าเมือง

แรงงานข้ามชาติจากประเทศเมียนมา 23 ราย พบถูกทิ้งไว้ข้างทางหลังมีการลักลอบขนคนเข้าเมืองอย่างผิดกฎหมายและเกิดอุบัติเหตุ โดยมีผู้ได้รับบาดเจ็บสาหัส 4 ราย และเสียชีวิต 3 ราย โดยทั้งหมดถูกทิ้งเอาไว้ข้างทางใน จ.กำแพงเพชร วันนี้ (6 พ.ย.) เจ้าที่หน้าที่ ตำรวจ สภ.เมืองกำแพงเพชร ตำรวจตรวจคนเข้าเมืองกำแพงเพชร กองกำลังรักษาความสงบภายในจังหวัดกำแพงเพชร ฝ่ายปกครองอำเภอเมืองกำแพงเพชร กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน พร้อมด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และเจ้าหน้าที่กู้ภัยข่าวภาพกำแพงเพชร ลงพื้นที่ตรวจสอบที่บริเวณบ้านหนองนกกระทา หมู่ที่ 12 ต.นาบ่อคำ อ.เมือง จ.กำแพงเพชร หลังได้รับแจ้งจากชาวบ้านว่ามีคนนำแรงงานข้ามชาติชาวเมียนมามาทิ้งไว้พร้อมศพผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุ จากการสืบสวนเบื้องต้น เจ้าหน้าที่ตำรวจพบว่ามีผู้ได้รับบาดเจ็บจำนวน 4 คน เป็น ชาย 2 คน หญิง 2 คน จากแรงงานชาวเมียนมาทั้งสิ้น 23 คน นอกจากนี้ยังพบผู้เสียชีวิต 3 ราย เป็น ชาย 1 คน หญิง 2 […]

100 องค์กรนอกภาครัฐส่งจดหมายเปิดผนึกจี้คุ้มครองสิทธิแรงงานข้ามชาติหลังเกิดเหตุที่ สน.ดินแดง

องค์กรนอกภาครัฐ 100 แห่งร่วมกันลงชื่อส่งจดหมายเปิดผนึกถึงรัฐบาล และผู้แทนองค์การสหประชาชาติ เรียกร้องให้ปกป้องสิทธิแรงงานข้ามชาติ หลังเกิดเหตุตำรวจ สน.ดินแดง ควบคุมตัวแรงงานสัญชาติกัมพูชา 7 คนฐานไม่มีใบอนุญาต ขณะที่พวกเขาเดินทางมายื่นหนังสือทวงถามความคืบหน้าข้อเสนอแก้ไขปัญหาในกลุ่มแรงงานข้ามชาติระหว่างการระบาดโควิด-19 4 พ.ย. 2564 เมื่อวันที่ 1 พ.ย. ที่ผ่านมา องค์กรนอกภาครัฐ 100 องค์ร่วมกันลงนามในจดหมายเปิดผนึกส่งถึงนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีกระทรวงแรงงาน รัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทย คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ผู้รายงานพิเศษแห่งสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิมนุษยชนของผู้ย้ายถิ่นฐาน ผู้รายงานพิเศษแห่งสหประชาชาติด้านสถานการณ์นักปกป้องสิทธิมนุษยชน ประธานรัฐสภาไทย องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) และสำนักงานข้าหลวงใหญ่ด้านสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (OHCHR) เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลไทยปล่อยตัวแรงงานข้ามชาติสัญชาติกัมพูชา 7 คนที่ถูกจับที่ สน.ดินแดง เมื่อวันที่ 29 ต.ค. ที่ผ่านมา พร้อมชกเชยเยียวยา และคุ้มครองสิทธิแรงงานช้ามชาติ รวมถึงยุติการจับกุมแรงงานข้ามชาติด้วยเหตุผลว่าไม่มีเอกสารแสดงตน จนกว่าจะบวนการจัดทำเอกสารจะแล้วเสร็จ โดยเนื้อความในจดหมายระบุดังต่อไปนี้ เรียน นายกรัฐมนตรีประยุทธ์ จันทร์โอชา พวกเราซึ่งเป็นองค์กรที่มีรายชื่อด้านท้าย เขียนจดหมายเพื่อแสดงข้อกังวลและเรียกร้องให้มีการปฏิบัติในกรณีดังต่อไปนี้ เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2564 แรงงานข้ามชาติจากกัมพูชาเจ็ดคน […]

อนุมัติสัญชาติไทย 7 ทวิ อำเภอแม่สาย 32 คน

วันพุธ ที่ 29 กันยายน 2564 เวลา 12.00 น. นายประสงค์ หล้าอ่อน นายอำเภอแม่สาย ได้มอบบัตรประจำตัวประชาชนให้กับผู้ที่ ได้รับอนุมัติสัญชาติไทยตามพ.ร.บ สัญชาติ พ.ศ. 2508 แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 4 พ.ศ.2551 ตามโครงการสำคัญกรมการปกครอง (10​ Flagships​ for​ DOPA​ New normal 2021) ภายใต้แนวคิด​ ทำให้ประชาชน​ทุกข์​น้อยลง​ แต่มีความสุข​มากขึ้น​ โดยวันนี้มีผู้ได้อนุมัติรับสัญชาติไทย ตามมาตรา 7 ทวิ วรรค สอง จำนวน 32 คน โดยมารับบัตรประจำตัวประชาชน 16 คน (ที่เหลือ อายุไม่ถึงเกณฑ์ถ่ายบัตรฯและอยู่ต่างจังหวัด ยังเดินทางมาไม่ได้) โดยนายอำเภอแม่สาย ได้มอบโอวาทให้ผู้ได้รับสัญชาติ เป็นพลเมืองดี ยึดมั่นในชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ รู้สามัคคี มีจิตอาสา เผื่อแผ่ […]

“ครูแดง”วอนเร่งรัดกระบวนให้สัญชาติผู้เฒ่า-เสียชีวิตก่อนได้บัตรปชช.แล้ว2

เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2564 นางเตือนใจ ดีเทศน์ กรรมการผู้ก่อตั้งมูลนิธิพัฒนาชุมชนและเขตภูเขา (พชภ.) และอดีตสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดเชียงราย เปิดเผยว่า การแก้ปัญหาผู้เฒ่าไร้สัญชาติ กรณีแปลงสัญชาติชนกลุ่มน้อย ผู้สูงอายุชาติพันธุ์อาข่า บ้านป่าคาสุขใจ ต.แม่สลองนอก อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย ได้ผ่านการพิจารณาจากคณะอนุกรรมการของกรมการปกครองแล้ว จำนวน 15 ราย และได้ส่งรายชื่อไปยังคณะกรรมการของกระทรวงมหาดไทยเพื่อพิจารณา และเพื่อเสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ซึ่งพระราชบัญญัติสัญชาติ พศ.2508 ระบุว่าเมื่อรัฐมนตรีเห็นสมควรอนุญาตให้นำความกราบบังคมทูลขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต นางเตือนใจกล่าวว่า ผู้เฒ่าไร้สัญชาติจำนวน 15 รายนี้ อยู่ในกลุ่มที่มีการยื่นคำร้องเป็นกรณีศึกษาชุดแรก จำนวน 23 ราย ซึ่งการพิจารณาเป็นไปตามหนังสือสั่งการที่ลงนามโดยปลัดกระทรวงมหาดไทย (นายฉัตรชัย พรมเลิศ) เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2563 เรื่องการปรับปรุงแนวทางประกอบการพิจารณาให้สัญชาติไทยแก่ชนกลุ่มน้อย โดยการแปลงสัญชาติตามมาตรา10 แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติ พศ.2508 “สำหรับความคืบหน้าในครั้งนี้ ถือว่ามาไกล นับตั้งแต่มีการขับเคลื่อนแก้ปัญหาผู้เฒ่าไร้สัญชาติ ซึ่งมีความละเอียดและขั้นตอนที่ซับซ้อน ใช้เวลายาวนาน ผู้เฒ่ากลุ่มนี้ มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทยมากกว่า 40 ปี กลมกลืนกับสังคมไทย […]

อำเภอเวียงแก่นมอบบัตรเด็กนักเรียนตัว G -192 ราย

มูลนิธิกระจกเงา สำนักงานฝาง ร่วมกับเครือข่ายสิทธิสถานะบุคคล ซึ่งได้รับการแต่งตั้งเป็นคณะทำงานฝ่ายการแก้ไขปัญหาสถานะทางทะเบียนราษฎรของเด็กนักเรียนที่มีเลขประจำตัวบุคคลที่ขึ้นต้นด้วยอักษร G อำเภอเวียงแก่น จำนวน 192 ราย ซึ่งนายทะเบียนได้อนุมัติจัดทำทะเบียนประวัติให้เด็กนักเรียนจำนวนดังกล่าวข้างต้น และนักเรียนได้ยื่นคำขอมีบัตรประจำตัวบุคคลไม่มีสถานะทางทะเบียน ณ สำนักทะเบียนอำเภอเวียงแก่น เรียบร้อยแล้ว . 23 กรกฎาคม 2564 ได้มีพิธีมอบบัตรประจำตัวบุคคลไม่มีสถานะทางทะเบียนของเด็กนักเรียน ณ หอประชุมที่ว่าการอำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย ประกอบด้วยนักเรียนจาก โรงเรียนบ้านไทยสมบูรณ์,โรงเรียนขุนขวากพิทยา,โรงเรียนปอวิทยา,โรงเรียนบ้านห้วยคุ,โรงเรียนไตรมิตรวิทยา,โรงเรียนบรรพตวิทยา,โรงเรียนบ้านผาแล,โรงเรียนบ้านหองเตา,โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 24,โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 25,ศูนย์การเรียนรู้ตำรวจตระเวนชายแดนบ้านห้วยกุ๊ก,ศูนย์การเรียนรู้ตำรวจตระเวนชายแดนบ้านฟ้าไทยงาม,โรงเรียนบ้านน้ำลัด รวม 192 ราย

“ชาวประมงสมุทรสาคร”วอน“พ่อเมืองมหาชัย”ช่วยตามเรื่อง“ซีบุ๊คแรงงานต่างด้าว”หวั่นผิดกฎหมาย

“ชาวประมงสมุทรสาคร”วอน“พ่อเมืองมหาชัย”ช่วยตามเรื่อง“ซีบุ๊คแรงงานต่างด้าว”หวั่นผิดกฎหมาย “ชาวประมงสมุทรสาคร” บุกศาลากลางวอน “พ่อเมืองมหาชัย” ช่วยทวงถาม “กรมประมง” เอาไง เรื่องต่อ “ซีบุ๊คแรงงานต่างด้าว” ด้าน “วุฒิพงษ์” เผยรอ ครม.อนุมัติ          เมื่อเวลา 13.00 นวันที่ 14 มิ.ย.64 นายมงคล มงคลตรีลักษณ์ นายกสมาคมการประมงสมุทรสาคร พร้อมด้วยตัวแทนชาวประมงในจังหวัด ได้เดินทางมาที่ศาลากลางจังหวัดสมุทรสาคร เพื่อเข้าพบกับนายวีระศักดิ์ วิจิตร์แสงศรี ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร โดยต้องการฝากเรื่องผ่านผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร ไปทวงถามกรมประมงและผู้มีอำนาจในการอนุมัติการต่อหนังสือคนประจำเรือ Seabook (ซีบุ๊คเล่มเหลือง) ให้กับแรงงานต่างด้าวในเรือประมง ตามมาตรา 83 (กรณีพิเศษ) ที่ได้เคยให้ยื่นขออนุญาตทำงานในเรือประมงตั้งแต่เมื่อเดือนมิถุนายน-กันยายน 2563 และมีอายุการทำงานได้ 1 ปี ซึ่งในขณะนี้มีแรงงานเริ่มทยอยหมดอายุการทำงานแล้วนับตั้งแต่เมื่อวันที่ 7 มิถุนายนเป็นต้นมา แต่กรมประมงก็ยังนิ่งเฉยกับทิศทางการอนุญาตให้ต่อหนังสือคนประจำเรือที่ทั้งประเทศมีอยู่กว่า 3,000 คน ส่วนที่สมุทรสาครมีอยู่ 158 คน ซึ่งหากปล่อยผ่านไปจนถึงวันที่ 28 กันยายน 2564 แรงงานจำนวนนี้จะกลายเป็นแรงงานเถื่อนทั้งหมด และขณะนี้บางคนก็กลายเป็นแรงงานเถื่อนไปแล้ว เนื่องจากหนังสือคนประจำเรือหมดอายุลงตามวันที่ยื่นขออนุญาตเมื่อปีที่แล้วนั่นเอง […]

คนเท่ากัน-ลดอคติ “ต่างด้าว” ผู้สร้าง “จีดีพี” ก่อน-หลังโควิด!

ทีมข่าว “1/4 Special Report” เกาะติดสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 อย่างต่อเนื่อง ในสภาพปัจจุบันที่แคมป์พักคนงานต่างชาติหลายแห่งพบผู้ติดเชื้อเป็นจำนวนมาก สถานการณ์แรงงานข้ามชาติ หรือที่สื่อมวลชนและคนจำนวนมากชอบเรียกกันว่า “แรงงานต่างด้าว” ยังคงมีการลักลอบเข้าประเทศอย่างผิดกฎหมาย ท่ามกลางความเสี่ยงติดโรคระบาดแพร่กระจายกลายเป็นคลัสเตอร์ใหญ่ ๆ ตามที่ปรากฏในแคมป์พักคนงานหลายแห่งทั่วกรุงเทพฯและปริมณฑล ยิ่งตอกย้ำ “อคติ” ความไม่พอใจของคนไทยต่อแรงงานเหล่านี้ปรากฏให้เห็นมากขึ้น เกี่ยวกับปัญหาใหญ่ของแรงงานข้ามชาติ และแนวทางแก้ไขปัญหาช่วงโควิด-19 นั้น รศ.ดร.กิริยา กุลกลการ อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปิดเผยว่า ที่ผ่านมามีความพยายามจะเรียกแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านโดยชื่อใหม่ว่า แรงงานข้ามชาติ แรงงานต่างชาติ แทนคำว่าแรงงานต่างด้าว ซึ่งมีอคติการดูถูกแฝงอยู่ ก่อนโควิดจะระบาด สังคมไทยมีมุมมองต่อแรงงานเหล่านี้ดีขึ้นกว่าสมัยก่อนมาก แต่เมื่อเจอการแพร่ระบาดดูเหมือนอคติและความไม่พอใจแรงงานเพื่อนบ้านในสังคมไทยจะเพิ่มขึ้นมากกว่าเดิม ปัญหาหมักหมม “แรงงานข้ามชาติ” สร้างเศรษฐกิจไทย สำหรับปัญหาแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านนั้น เป็นปัญหาที่มีมาอย่างยาวนาน โดยเฉพาะการนำเข้าแรงงานโดยผิดกฎหมาย ทำให้พวกเขากลัวถูกเจ้าหน้าที่จับกุม จนต้องไปอยู่รวมกันอย่างแออัด เข้าไม่ถึงระบบสาธารณสุข ซึ่งปัญหาแรงงานผิดกฎหมายมันแก้ได้ยาก เพราะมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเยอะ หากต้องการนำแรงงานเข้ามาทำงานโดยถูกต้องตามกฎหมายไทย จะมีขั้นตอนและค่าใช้จ่ายเยอะมาก หลังจากเราเริ่มต้นเอาแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านมาลงทะเบียนใน พ.ศ. 2535 จนถึงปัจจุบันเกือบ 30 ปีแล้ว แต่การแก้ปัญหายังสำเร็จยาก แม้ภาครัฐจะมีมาตรการผ่อนปรนและนิรโทษกรรมความผิดของแรงงานที่เข้ามาทำงานผิดกฎหมาย แต่เรายังแก้ไขปัญหาดังกล่าวไม่สำเร็จ จุดหนึ่งคือไทยมีพรมแดนติดกับประเทศเพื่อนบ้านยาวมาก […]

สองพี่น้อง..วันนี้ที่รอคอย

ผลจากการเข้าร่วมเป็นคณะทำงานแก้ไขปัญหาสถานะทางทะเบียนราษฎร์ของนักเรียนที่มีเลขประจำตัวประชาชนขึ้นต้นด้วยอักษร G ร่วมกับสำนักทะเบียนอำเภอเมืองเชียงราย . เพื่อคัดกรองนักเรียนที่มีเลขประจำตัวประชาชนขึ้นต้นด้วยอักษร G เมื่อปลายปี 2563 ที่ผ่านมา . จากการร่วมคัดกรองฯ พบว่ามีนักเรียนหลายคนที่มีมารดาหรือบิดาเป็นบุคคลสัญชาติไทย แต่ตัวนักเรียนไม่มีหลักฐานทางทะเบียนราษฎร หรือไม่มีสัญชาติไทย . มูลนิธิกระจกเงา ร่วมกับเครือข่ายสิทธิสถานะบุคคลเชียงรายได้ดำเนินการพิสูจน์ความสัมพันธ์แม่ลูก / พ่อลูก โดยการตรวจพิสูจน์สารพันธุกรรม (DNA) เพื่อนำมาเป็นหลักฐานประกอบในการยืนยันความสัมพันธ์ . เคสน้องฮาริฮารัน และน้องซังการี สองพี่น้องที่เกิดจากมารดาสัญชาติไทย วันนี้น้องได้รับการขจัดความไร้รัฐไร้สัญชาติ และได้รับรองเป็นบุคคลสัญชาติไทยตามสายโลหิต . น้องทั้งสองคน ทางโครงการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายและกลไกการแก้ไขปัญหาสถานะ บุคคลในการเสริมสร้างสุขภาวะของบุคคลไร้รัฐไร้สัญชาติจังหวัดเชียงรายได้มีส่วนเข้าไปช่วยดำเนินการตั้งแต่เริ่มกระบวนการ จนได้รับอนุมัติสัญชาติไทย แต่….. . ยังมีอีกหลายต่อหลายคนที่ยังรอการขจัดความไร้รัฐไร้สัญชาติ ซึ่งทางโครงการจะเร่งผสานความร่วมมือร่วมกับสำนักทะเบียนต่างๆ เพื่อเร่งแก้ไขและร่วมกันขจัดปัญหาโดยเร็ว #โครงการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายและกลไกการแก้ไขปัญหาสถานะ บุคคลในการเสริมสร้างสุขภาวะของบุคคลไร้รัฐไร้สัญชาติจังหวัดเชียงราย #สสส #เครือข่ายสิทธิสถานะบุคคลเชียงราย

1 2 3 4 15
Copyright © 2018. All rights reserved.