article

เชิญเข้าร่วมเวทีสาธารระระดับภาค “เด็กกับความหวังการได้เป็นคนถูกกฎหมายและได้สัญชาติไทย”

เวทีสาธารณะ “เด็กกับความหวังการได้เป็นคนถูกกฎหมายและได้สัญชาติไทย” ตามมาตรา ๗ ทวิวรรคสอง และมาตรา ๗ ทวิวรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ.๒๕๕๑ ความเป็นมา การรอคอยของเด็กและบุคคลที่เกิดในประเทศไทยภายใต้มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๗ ธันวาคม ๒๕๕๓ เห็นชอบให้กำหนดสถานะของบุคคลที่อพยพเข้ามาอยู่ในประเทศไทยและอาศัยอยู่มานาน โดยกำหนดหลักเกณฑ์การกำหนดสถานะบุคคลตามยุทธศาสตร์การจัดการปัญหาสถานะและสิทธิของบุคคล โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มเด็กหรือบุคคลที่จะได้รับสัญชาติไทยตามมาตรา ๗ ทวิวรรคสองกำหนดว่า มาตรา ๗ ทวิ ผู้เกิดในราชอาณาจักรไทย โดยบิดาและมารดาเป็นคนต่างด้าว ย่อมไม่ได้รับสัญชาติไทย ถ้าในขณะที่เกิดบิดาตามกฎหมายหรือบิดาซึ่งมิได้มีการสมรสกับมารดาหรือมารดาของผู้นั้นเป็น (๑) ผู้ที่ได้รับการผ่อนผันให้พักอาศัยอยู่ในราชอาณาจักรไทยเป็นกรณีพิเศษเฉพาะราย (๒) ผู้ที่ได้รับอนุญาตให้เข้าอยู่ในราชอาณาจักรไทยเพียงชั่วคราว (๓) ผู้ที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง ในกรณีที่เห็นสมควร รัฐมนตรีจะพิจารณาและสั่งเฉพาะรายหรือเป็นการทั่วไปให้บุคคลตามวรรคหนึ่งได้สัญชาติไทยก็ได้ ตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด ผู้เกิดในราชอาณาจักรไทยซึ่งไม่ได้สัญชาติไทยตามวรรคหนึ่งจะอยู่ในราชอาณาจักรไทยในฐานะ ใด ภายใต้เงื่อนไขใด ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรและสิทธิมนุษยชนประกอบกัน ในระหว่างที่ยังไม่มีกฎกระทรวงดังกล่าว ให้ถือว่าผู้นั้นเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การสั่งให้บุคคลซึ่งไม่มีสัญชาติไทยที่เกิดในราชอาณาจักรไทยโดยบิดาและมารดาเป็นคนต่างด้าว ได้สัญชาติไทยเป็นการทั่วไป และการให้สัญชาติไทยเป็นการเฉพาะราย ลงวันที่ ๒๖ กันยายน ๒๕๕๕ […]

เครือข่ายสถานะบุคคลเชียงรายร่วมกับสำนักทะเบียนอำเภอแม่ฟ้าหลวง ออกรับคำร้องนอกสถานที่ ณ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบำรุงที่ ๑๑๒ บ้านโป่งไฮ

วันที่ 12-13 ธันวาคม 56 ที่ผ่านมา เครือข่ายสถานะบุคคลเชียงราย ประกอบด้วย ๑) มูลนิธิศึกษาพัฒนาประชาชนบนที่สูง ๒) มูลนิธิกระจกเงา ๓) มูลนิธิพัฒนาชุมชนและเขตภูเขา และ ๔) องค์การแพลน ๑ ร่วมกับสำนักทะเบียนอำเภอแม่ฟ้าหลวง ออกรับคำร้องนอกสถานที่ ณ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบำรุงที่ ๑๑๒ บ้านโป่งไฮ ตำบลแม่สลองใน อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนที่กำลังศึกษาในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ในพื้นที่อำเภอแม่ฟ้าหลวง จำนวน ๔ แห่ง ได้แก่ ๑)โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบำรุงที่ ๑๒๒ , ๒)โรงเรียน ตชด.เจ้าพ่ออุปถัมป์ ๔ บ้านหัวแม่คำ,๓)โรงเรียน ตชด.ทอท.เฉลิมพระเกียรติ บ้านนาโต่,๔)โรงเรียนสังวาลย์วิท ๘ ซึ่งนักเรียนใน ๔ โรงเรียนดังกล่าวมีปัญหาด้านสถานะบุคคลเป็นจำนวนมาก โดยพื้นที่ตั้งของโรงเรียนตั้งอยู่ตามแนวตะเข็บชายแดนไทย – พม่า มีการเคลื่อนย้ายของประชากรในพื้นที่เป็นจำนวนมาก เพราะความไม่นิ่งของประชากรทำให้ยากต่อการสำรวจข้อเท็จจริงของประชากรในพื้นที่ และด้วยความไม่รู้รายละเอียดเชิงลึกด้านการสำรวจข้อมูลสถานะบุคคลของครูประจำการในพื้นที่ทำให้ยากต่อการสำรวจข้อเท็จจริงด้านจำนวนนักเรียนที่ยังมีปัญหาด้านสถานะบุคคลของนักเรียนในโรงเรียนดังกล่าวทั้ง ๔ โรงเรียน […]

‘โรงเรียนในไร่ส้ม’ ผ่าการศึกษาเด็กไร้สัญชาติ

โรงเรียนในไร่ส้ม’ ผ่าการศึกษาเด็กไร้สัญชาติท่ามกลางสายลมหนาวยามค่ำคืน หลายคนซุกกายอยู่ใต้ผ้าห่ม เข้าสู่นิทรารมย์อันแสนสุข แต่ยังมีเด็กอีกกลุ่มหนึ่งกำลังตักตวงความรู้กลางไร่ส้ม ท่ามกลางสายลมหนาวยามค่ำคืน หลายคนซุกกายอยู่ใต้ผ้าห่ม เข้าสู่นิทรารมย์อันแสนสุข แต่ยังมีเด็กอีกกลุ่มหนึ่งกำลังตักตวงความรู้กลางไร่ส้ม ซึ่งจะกลายเป็นสมบัติติดตัวของพวกเขาในอนาคต และเป็นอาวุธชิ้นสำคัญในการเลือกประกอบอาชีพ แทนที่จะกระโจนเข้าสู่ตลาดขายแรงงานเพียงอย่างเดียว ด้วยเหตุผลทางสังคมและฐานะความเป็นอยู่ ทำให้เด็กเหล่านี้ไม่สามารถเข้าเรียนตามระบบการศึกษาปกติได้ ห้องเรียนธรรมชาติ “โรงเรียนในไร่ส้ม” จึงเป็นอีกหนี่งทางออกที่จะทำให้พวกเขา เข้าถึงการศึกษาได้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน ซึ่งเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยสิทธิเด็ก โรงเรียนในไร่ส้ม อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ แหล่งเรียนรู้ของเด็กไร้รัฐ ไร้สัญชาติ ลูกหลานแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาประกอบอาชีพในประเทศไทย เกิดขึ้นจากความร่วมมือของหลายภาคส่วนที่เล็งเห็นความสำคัญด้านการศึกษาของเด็กไร้สัญชาติ ประกอบด้วย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เชียงใหม่ ครูจิตอาสาจากกลุ่มเพื่อนเด็ก องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูนิเซฟ และภาคเอกชนอย่าง เจ้าของไร่ส้ม และแสนสิริ ภายใต้โครงการศูนย์การเรียนรู้จากไร่ส้มสู่ป่าคอนกรีต โรงเรียนบ้านหล่ายฝาง ศูนย์การเรียนเด่นเวียงชัย ต.แม่ข่า อ.ฝาง โรงเรียนในไร่ส้มตอนกลางวัน เป็นหนึ่งใน 7 แห่งของโครงการนี้ เด็กเกือบทั้งหมดจะเป็นชนเผ่าไทยใหญ่ และดาราอั้ง อีกหนึ่งกลุ่มชาติพันธุ์ที่เราไม่คุ้นนัก การเรียนการสอนของที่นี่จะมีวิชาเรียนเหมือนกับการศึกษาในระบบทุกอย่าง รวมไปถึงพื้นฐานทักษะการใช้ชีวิต คุณอดุลย์ ดวงดีทวีรัตน์ คุณครูจิตอาสา กล่าวว่า โรงเรียนแห่งนี้เริ่มต้นมาเมื่อ […]

น้องลำพู & น้องลำพอง ตาทิพย์ กับการต่อสู้เพื่อเรียกร้องสิทธิความเป็นคนไทย

ถ้าถามว่าน้องลำพู น้องลำพอง ตาทิพย์ รู้จักมูลนิธิกระจกเงาจังหวัดเชียงรายได้อย่างไร เรื่องมีอยู่ว่าวันหนึ่งน้องลำพูได้เปิดดูรายการโทรทัศน์ ได้เห็นชื่อหน่วยงานมูลนิธิกระจกเงา ที่นำเสนอข่าวในรูปแบบของการขอสัญชาติ ขอสิทธิต่างๆ จึงมีความสนใจเพราะตัวเองนั้นก็เป็นคนหนึ่งที่มีปัญหาเรื่องสัญชาติ จึงตัดสินใจเขียนจดหมายขอความช่วยเหลือมาถึงมูลนิธิกะจกเงา จังหวัดเชียงราย เพื่อบอกเล่าเรื่องราวของตัวเองให้เจ้าหน้าที่ได้รับทราบและขอคำแนะนำในการขอความช่วยเหลือเพื่อดำเนินการขอลงรายการสัญชาติไทย จากการติดต่อประสานงานขอความช่วยเหลือจากทางเจ้าหน้าที่ โครงการ The development of rights status for access to livelihoods ๒๐๑๓-๒๐๑๕ มูลนิธิกระจกเงา หนูได้รับคำแนะนำที่ดีมาก และได้รับความรู้และช่องทางการยื่นขอลงรายการสัญชาติไทย นั้นมีหลายวิธี หลายขั้นตอน ซึ่งตัวหนูเองก็พบว่าตัวเองนั้นก็มีสิทธิที่จะขอขอลงรายการสัญชาติไทยได้เหมือนกัน จากที่เมื่อก่อนหนูนั้นไม่มีความรู้ในเรื่องนี้เลยตอนนี้หนูก็ได้รับคำแนะนำได้รับความรู้มากขึ้น โดยได้รับคำแนะนำจากพี่ยุทธชัยและพี่แหม่ม เจ้าหน้าที่โครงการ The development of rights status for access to livelihoods ๒๐๑๓-๒๐๑๕ มูลนิธิกระจกเงา น้องลำพูได้ย้อนเรื่องราวในอดีตให้เราได้ฟัง ว่า น้องทั้ง ๒ คนเป็นพี่น้องฝาแฝดที่เกิดและโตทในจังหวัดฉะเชิงเทรา พ่อแม่เป็นชาวเขา เผ่าลั่วะ อาศัยอยู่ ที่อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย แต่เป็นบุคคลตกสำรวจในพื้นที่นั้น […]

มาช่วยโรงพยาบาลท่าสองยางดูแล น้องจอหนุแฮ เด็กไร้รัฐไร้สัญชาติจาก หมู่บ้านจอเอทะประเทศพม่า

“กรณีศึกษาน้องจอหนุแฮ : เด็กพิการไร้รัฐไร้สัญชาติที่เกิดในประเทศเมียนม่าร์ แล้วมาป่วยเป็นคนไข้ติดเตียงที่โรงพยาบาลท่าสองยาง”บันทึกภายใต้โครงการศึกษาวิจัยและให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายเกี่ยวกับสิทธิเด็กและผู้ด้อยโอกาสในชุมชนชายแดนไทย-พม่า คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๖ ภายใต้ความร่วมมือระหว่าง คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมูลนิธิกระจกเงา สรุปโดย นางสาวรัชนีวรรณ สุขรัตน์ เจ้าหน้าที่ มูลนิธิกระจกเงา เริ่มบันทึกวันที่ ๘ มีนาคม ๒๕๕๗ เผยแพร่ : ๑. http://www.gotoknow.org/posts/563559 ๒. www.tobethai.org ๓. www.facebook.com/StatelessPersons ๔. https://www.facebook.com/ratchaneewan.sukharat ด้วยความไม่พร้อมด้านการแพทย์ และอุปสรรคด้านการเดินทางที่ยากลำบาก เพื่อเข้าถึงการรักษาพยาบาลอาการเจ็บป่วย ที่เป็นไปด้วยความยากลำบากสำหรับชาวบ้านที่อาศัยในหมู่บ้านพื้นที่ตะเข็บแนวชายแดนอย่างครอบครัวน้องจอหนุแฮ วัย ๙ ขวบ (ณ วันเดินทางเข้ามารับการรักษาพยาบาล) อาศัยอยู่ ชายแดนสองแผ่นดินมีเพียงแม่น้ำเมยกั้นแบ่งความเป็นรัฐ แต่มิได้กั้นความสัมพันธ์ของคนในสองประเทศนี้ ชาวบ้านมีการเดินทางไปมาหาสู่กัน บ้างก็มาซื้อของไปขาย บ้างก็มาโรงพยาบาลยามเจ็บไข้ได้ป่วย ฯ การเดินทางข้ามมาประเทศไทยของพี่น้องปกากญอ ชายแดนเมียนม่าร์– ไทย เป็นเรื่องปกติธรรมดา พวกเขาสัญจรข้ามไปมาแทบตลอดทั้งวัน ทางเรือโดยสารที่คอยให้บริการข้ามฟากระหว่างสองประเทศ น้องจอหนุแฮ เด็กน้อยปกากญอ […]

หรือชาวบ้านเข้าไม่ถึงจึงทำให้พึ่งรัฐได้ช้า ?

วันหยุดยาวช่วงเทศกาลเข้าพรรษาเด็กหอพักในโรงเรียนหลายคนได้เดินทางกลับบ้านวันที่ 9 กรกฎาคม ที่ผ่านมาเด็กชายลีหน่อง อายุ 13 ปี เดินทางกลับมาจากโรงเรียนเวียงผาวิทยา อำเภอแม่สรวย เพื่อเดินทางมายังอำเภอเมืองเชียงรายระยะทางประมาณ 70 กิโลเมตร ระหว่างการเดินทางกลับบ้านเมื่อมาถึงตัวเมืองเชียงราย เด็กไม่ได้กลับบ้าน แต่วนเวียนอยู่แถวร้านเกมบริเวณสถานีขนส่งผู้โดยสารเชียงราย 1 (สถานีขนส่งฯเก่า) กว่านางเลอะ ผู้เป็นแม่จะทราบเรื่องว่าลูกชายเดินทางออกจากหอพักโรงเรียน เพื่อกลับมาบ้าน เวลาก็ล่วงเลยไปสองวันแล้ว มาทราบจากเพื่อน ๆ ในโรงเรียนเดียวกัน เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม ว่าลูกของตนเดินทางกลับมาจากโรงเรียนแล้ว แม่จึงได้ทราบว่าลูกชายของตนหายไป และออกติดตาม สอบถามหาเบาะแสจากเพื่อน รวมถึงคนรู้จักของลูกชาย และเดินทางไปแจ้งความคนหายที่สถานีตำรวจในจังหวัดเชียงราย ในวันที่ 24 กรกฎาคม แต่ทว่าทางเจ้าหน้าที่ไม่ได้รับแจ้งความ หรือลงบันทึกใดๆไว้เลย เจ้าหน้าที่ทำหน้าที่เพียงรับเอกสารจากนางเลอะเท่านั้น เมื่อติดตามทวงถามความคืบหน้าก็ไม่มีความคืบหน้าใดๆ วันที่ 5 สิงหาคม นางเลอะได้เข้ามาติดต่อขอความช่วยเหลือที่มูลนิธิกระจกเงา และเดินทางไปแจ้งความอีกครั้งพร้อมกับเจ้าหน้าที่ของทางมูลนิธิ การเข้าแจ้งความครั้งนี้พบกับเจ้าหน้าที่ตำรวจคนเดิม แต่นางเลอะจำไม่ได้ว่าได้เข้าแจ้งความครั้งแรกเมื่อวันที่เท่าไร จึงต้องกลับไปตรวจสอบเอกสารอีกครั้ง และกลับมาใหม่ในตอนบ่ายของวันเดียวกัน เพื่อแจ้งความอีกครั้งด้วยตัวเอง จากคำบอกเล่าของนางเลอะ นางเลอะเล่าว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจบอกเพียงแค่ว่า เรื่องที่เกิดขึ้นเป็นพื้นที่รับผิดชอบของพื้นที่อำเภอแม่สรวย ก็ให้ไปแจ้งความที่นั่น โดยที่ไม่ยอมฟังรายละเอียดว่าสถานที่ที่เด็กหายไปจริงๆคือ […]

จากวันนั้นกว่าจะถึงวันนี้ เพื่อพี่น้องม้งบ้านธารทอง

ประมาณช่วงกลางปีถึงปลายปี ๕๖ เป็นครั้งแรกที่ได้ไปสัมผัสและรู้จักพี่น้องม้งบ้านธารทอง การไปครั้งนั้นไปเพื่อรู้จักความเป็นมา ประมาณว่ารู้จักฉันรู้จักเธอกับทีมพี่แสง พปส. การเดินทางครานั้นไม่คิดอะไรเยอะคิดแค่ว่าพื้นที่ใหม่ในมุมเราที่ยังมีปัญหาด้านสถานะบุคคล แต่ด้วยเรื่องราวปัญหาที่ขับขานไหลเข้ามาเรื่อย ๆ ให้เราได้รับรู้รับฟัง มันเป็นปัญหาซับซ้อนมากมายที่ชวนค้นหาอย่างจริงจัง จำได้ว่าครั้งแรกก่อนจากลา เราสวัสดีบอกลา แต่ด้วยคำพูดของพี่ ๆ ๔ หนุ่มแห่งธารทอง (พี่ล่อ, พี่เยี่ยปาว , พี่ไซ ,พี่ลี แซ่ซ่ง) ที่ว่า “วันนี้เราไม่ลากันนะ เดี๋ยวเราก็มาเจอกันใหม่” ได้แต่นั่งคิดในใจ เราได้เจอกันอีกเหรอ ด้วยโชคชะตาฟ้าลิขิตเราได้มาเจอกันอีกครั้ง ครั้งนี้เรานัดกันบริเวณอำเภอเชียงแสน ก่อนเดินทางเข้าพื้นที่ เราได้มารับฟังเรื่องราวความเป็นมาความเป็นไปของพวกเขาเป็นช่วงเวลาบางช่วงของจังหวะชีวิตที่พวกเขาได้ใช้ชีวิตแหวกแนวกว่าคนแบบเราๆ ในพื้นที่การสู้รบ และหมู่บ้านม้งในสำนักสงฆ์ถ้ำกระบอก จังหวัดสระบุรี เรื่องราวคนหนึ่งคนมีเรื่องเล่ามากมาย ถ้าเขียนออกมาคงได้หลายหน้ากระดาษ แต่มันมิใช่ประเด็นในเวลานี้ เอาเป็นว่าค่อยเขียนหละกันนะเรื่องราวช่วงชีวิตที่ว่านี้ อีกครั้ง และอีกครั้ง จนมาถึงครั้งนี้ งานใหญ่ที่เฝ้ารอมาถึง เมื่อเครือข่ายสถานะบุคคล จังหวัดเชียงราย เราพร้อมลุย…ผนึกกำลังกันสี่มูลนิธิในจังหวัดเชียงราย มาลงแรงรวมหัวแบ่งปันความคิดเพื่อพิชิตเอาความเป็นไทยมาให้พี่น้องม้งบ้านธารทองให้จงได้ ถ้าพวกเขาเหล่านั้นเข้าเกณฑ์ตามที่กฎหมายกำหนด การแต่งตั้งคณะทำงานก็ได้เกิดขึ้นในบัดนั้น ๒๐ สิงหาคม ๒๕๕๗ ก้าวแรกในการช่วยเหลือด้านสถานะบุคคลที่เราเริ่มก้าวเดินไปพร้อม ๆ กัน […]

นางปัน ไชยวัง กับการต่อสู้อันยาวนานในการขอคืนสิทธิความเป็นไทย

นางปัน ไชยวัง หนึ่งในคนไทยที่ประสบปัญหาสถานะบุคคลในผืนแผ่นดินไทย เธอได้ลุกขึ้นเพื่อต่อสู้ให้ได้มาซึ่งสิทธิอันชอบธรรมในฐานะของพลเมืองไทย ด้วยความยากลำบากที่ต้องประสบอยู่ในชีวิต และความหวังที่ยังคงมีว่าสักวันหนึ่งจะได้รับสิทธิเท่าเทียมกับคนไทยทั่วไป จากคำบอกเล่าของนายคำหงษ์ ไชยวัง หลานชายของนางปัน ทำให้เราได้รู้ว่านางปัน ไชยวัง เกิดเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ.2493 ที่บ้านเลขที่ 103 หมู่ 4 ต.บ้านปิน อ.เมือง จ.เชียงราย (ปัจจุบันได้แยกตัวออกมาเป็นจังหวัดพะเยา) เมื่อได้ย้อนเรื่องราวเพื่อตามหาความเป็นไทยของนางปัน ไชยวัง ก็ได้ทราบว่าสมัยที่นางปัน อายุ ประมาณ 17 ปี ได้เคยถือบัตรประชาชนไทยมาแล้วครั้งหนึ่ง ซึ่งทำที่สำนักทะเบียนอำเภอดอกคำใต้ แต่ด้วยเหตุการณ์พลิกผันในช่วงเวลานั้นพ่อแม่นางปันเสียชีวิต ทำให้ญาติที่ทราบข่าวมารับนางปันไปอยู่อาศัยด้วยในฝั่งประเทศเพื่อนบ้าน ที่จังหวัดท่าขี้เหล็ก ในประเทศพม่า ทำให้นางปันไม่ได้กลับมาประเทศไทยเพื่อต่อบัตรประชาชนที่หมดอายุตามระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด ความเป็นไทยตามบัตรประชาชนของนางปันจึงสิ้นสุดลงตั้งแต่วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2516 ที่บัตรประชาชนหมดอายุ และได้ถูกจำหน่ายชื่อออกจากระบบทะเบียนราษฎรในที่สุด เมื่อวันหนึ่งนางปันกลับมายังผืนดินเกิดในประเทศไทย ความยากลำบากจากการสูญเสียสิทธิของความเป็นคนไทยก็เกิดขึ้นและมีเรื่องราวตามมาอีกมากมายหลายประการ นางปันจึงต้องพิสูจน์ตัวเองอีกครั้งเพื่อให้ได้สิทธิความเป็นพลเมืองไทยกลับคืนมา เรื่องราวของความกตัญญูของหลานชายและการต่อสู้เพื่อขอคืนความเป็นไทย อันยาวนานของนางปันได้เริ่มขึ้น โดยมีนายคำหงษ์ หลานชาย คอยร่วมต่อสู้และช่วยเหลือคุณย่าของตัวเองตลอดมา เรื่องราวเริ่มขึ้นเมื่อประมาณกลางปี พ.ศ.2550 ที่ผ่านมา นางปันกับหลายชายได้เดินทางไปยังสำนักทะเบียนอำเภอดอกคำใต้ […]

ประชากรคนตัวจิ๋ว แห่งภูเขาหิมะ รัฐคะฉิ่น เสี่ยงสูญสิ้นเผ่าพันธุ์

นายตานฉ่วย รัฐมนตรีช่วยกระทรวงวัฒนธรรมของพม่าได้ออกมาเปิดเผยในสัปดาห์นี้ว่า ชนเผ่าทะรอง หรือคนตัวจิ๋วแห่งเมืองปูเตา รัฐคะฉิ่นนั้นเสี่ยงที่จะสูญสิ้นเผ่าพันธุ์ ขณะที่ประชากรของชนเผ่าทะรองในปัจจุบันเหลือเพียง 5 คนเท่านั้น ในปี 2003 จากการศึกษาของภาควิชามานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยย่างกุ้งพบว่า ประชากรชนเผ่าทะรองนั้นเหลือแค่ 5 คน โดยมี 4 พี่น้องและผู้สูงอายุคนหนึ่ง ซึ่งมีอายุมากกว่า 100 ปี ขณะที่ทั้งหมดมีความสูงระหว่าง 102 – 137 เซนติเมตร ขณะที่รัฐมนตรีช่วยกระทรวงวัฒนธรรมของพม่าระบุว่า เป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยาก หากทางกระทรวงวัฒนธรรมของพม่าจะดำเนินโครงการที่จะช่วยไม่ให้ประชากรชาวทะรองสูญสิ้นเผ่าพันธุ์ โดยระบุไม่สามารถทำงานเพียงลำพัง แต่จำเป็นต้องได้รับคำเสนอแนะและความช่วยเหลือจากรัฐบาลท้องถิ่นรัฐคะฉิ่น ในปี 1997 ดร. Alan Rabinowitz นักสัตววิทยาชาวอเมริกัน ซึ่งเป็นผู้ที่มีโอกาสได้มีโอกาสพบและใช้เวลาศึกษาเรียนรู้วิถีชีวิตประชากร 5 คนสุดท้ายของเผ่าทะรอง และผู้นำชนเผ่าทะรอง ซึ่งคือ ดะวี วัย 39 ได้อธิบายกับเขาว่า จำนวนตัวเลขทารกชาวทะรองเกิดมาพร้อมภาวะบกพร่องทางร่างกาย มีลักษณะรูปร่างแคระแกร็นลงเรื่อยๆ จึงทำให้ผู้สูงวัยอาวุโสชาวทะรองตัดสินใจที่จะให้เผ่าพันธุ์สูญสิ้นดีกว่าให้เด็กทารกเกิดมามีความบกพร่องทางร่างกายเกี่ยวกับเรื่องนี้ ทางรัฐมนตรีช่วยกระทรวงวัฒนธรรมพม่ากล่าวว่า ชาวทะรองควรจะได้รับการศึกษาโดยเฉพาะในเรื่องที่หญิงชาวทะรองไม่ควรห้ามตัวเองมีลูก เพราะจะทำให้เผ่าทะรองสูญสิ้น นอกจากนี้อีกสาเหตุที่ทำให้ประชากรชาวทะรองแท้ลดจำนวนลงเรื่อยๆ มาจากชายทะรองมีลักษณะเตี้ยและมีฐานะยากจน จึงทำให้ผู้หญิงทะรองและกลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆ […]

กว่าจะถึงวันที่ฉันเป็นคนไทย 100 %

นายโชค แซ่โฟ้ง หรือนายวิเชียร จาเล บุคคลที่ประสบปัญหาไร้สถานะบุคคลในผืนแผ่นดินไทย เขาได้ลุกขึ้นมาต่อสู้เรียกร้องสิทธิอันชอบธรรมของตนเอง โดยหวังว่าจะได้สิทธิความเป็นพลเมืองไทยโดยสมบูรณ์ในสักวันหนึ่ง นายโชค แซ่โฟ้ง เกิดเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ.2534 (แต่ในความเป็นจริงแล้วเกิดเมื่อ 9 สิงหาคม 2533) ที่โรงพยาบาลบ่อไร่ จังหวัดตราด มีบิดาเป็นคนสัญชาติไทย ชื่อนายวิชัย จาเล ปัจจุบันได้เสียชีวิต ทำให้การยืนยันเพื่อพิสูจน์ความเป็นไทยของนายโชคเป็นเรื่องยาก แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีทางออกสำหรับปัญหาเหล่านี้เลย และนั่นก็เป็นที่มาของเรื่องราวการต่อสู้ที่ยาวนานอีกเรื่องราวหนึ่งในชีวิตของเขา เรื่องมีอยู่ว่าหลังจากที่โชค เกิดได้ไม่นาน นางจันทร์ศรี ศรีโลเพี้ยน หรือ นางศรี แซ่โฟ้ง ผู้เป็นแม่ ก็ได้พาโชคไปให้ นายเลาสูโล ศรีโลโฟ้ง และนางเจียม ศรีโลเพี้ยน ผู้เป็นตากับยายเลี้ยงดู หลังจากบิดากับมารดาก็แยกทางกัน ในขณะที่เกิดทางโรงพยาบาลได้ออกหนังสือรับรองการเกิดให้โชคเป็นที่เรียบร้อยแล้ว แต่แม่ไม่ได้นำไปแจ้งเกิดกับทางสำนักทะเบียนอำเภอบ่อไร่ เพื่อออกสูติบัตร ต่อมาผู้เป็นพ่อ ได้เคยไปแจ้งเพิ่มชื่อที่สำนักทะเบียนอำเภอบ่อไร่ แต่เจ้าหน้าที่ไม่รับแจ้ง เนื่องจากมารดาไม่มีเอกสารใด ๆ ประกอบกับพ่อกับแม่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสและผู้เป็นพ่อไม่ได้จดทะเบียนรับรองบุตร ซึ่งหมายถึงโชคด้วย ทำให้เกิดปัญหาในช่วงเวลานั้น แต่ปัจจุบันตาม มาตรา 7 […]

1 11 12 13 14 15
Copyright © 2018. All rights reserved.