article

บัตรสีชมพู

ฉันอยากให้พ่อแม่ของฉันได้รับการรักษาพยาบาลฟรี อยากให้พ่อแม่มีบัตรประกันสุขภาพหรือบัตรผู้มีรายได้น้อย หรือบัตรสงเคราะห์ใดๆที่ราชการออกให้ ฉันได้แต่มองพ่อและแม่ของฉันตายต่อหน้าต่อตาด้วยความทรมาน ฉันอยากพาพ่อแม่ไปรักษาพยาบาลแต่ฉันไม่มีเงิน พ่อชื่อ นายสาม เสียชีวิตด้วยโรคตับเมื่อปีที่แล้ว แม่ชื่อ นาง เอ้ย เสียชีวิตเมื่อปีที่แล้วเช่นกันด้วยโรค ไตวาย นี่เป็นคำบอกเล่าของหญิงสาวชาวไทยใหญ่ แห่งบ้าน….ต.เวียงพาคำ อ.แม่สาย จ.เชียงราย ฉัน เคยถามพ่อแม่ก่อนตายว่า ทำไม่พ่อแม่ไม่พาครอบครัวเรากลับไปอยู่ที่บ้านเกิดของพ่อแม่ที่ เชียงตุง ประเทศพม่า พ่อแม่บอกว่า ลูกเกิดที่เมืองไทย น้องก็เกิดที่เมืองไทย ลูกไม่เคยอยู่ที่นั่น พูดกันคนละภาษาที่นั่นพูดภาษาพม่า พ่อแม่ตัดสินใจให้ครอบครัวเราอยู่ที่เมืองไทย เพราะภาษาเราคล้ายกัน พ่อแม่อยู่เมืองไทยมานาน รักนายหลวงของไทย พ่อแม่รักเมืองไทย หนึ่งปีกว่าผ่านมาแล้ว ทุกคำพูดของพ่อแม่ยังอยู่ในความรู้สึกของฉันมาตลอด ฉัน เกิดเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2521 บ้านดอยงาม ตำบลเวียงพาคำ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย พ่อและแม่เกิดที่ เชียงตุงประเทศพม่า ด้วยปัญหาเรื่องความเป็นอยู่และเรื่องสิทธิต่างๆของชนกลุ่มน้อยต่างๆในพม่า ทำให้ครอบครัวของฉันต้องอพยพหนีภัยความตายเข้ามาในประเทศไทยทางด้านอำเภอแม่ สาย จังหวัดเชียงราย เมื่อปี พ.ศ 2495 ในฐานะผู้เข้ามาในราชอณาจักรไทยโดยมิชอบด้วยกฏหมายศูนย์ พัฒนาการศึกษาเพื่อลูกหญิงและชุมชน องค์กรพัฒนาเอกชนแห่งหนึ่งตั้งอยู่อำเภอแม่สาย […]

สรุปเวทีสาธารณะจังหวัดตาก “เด็กกับความหวังการได้เป็นคนถูกกฎหมายและได้สัญชาติไทย” ตามมาตรา ๗ ทวิวรรคสอง และมาตรา ๗ ทวิวรรคสาม ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ.๒๕๕๑

เวทีสาธารณะ จังหวัดตาก “เด็กกับความหวังการได้เป็นคนถูกกฎหมายและได้สัญชาติไทย” ตามมาตรา ๗ ทวิวรรคสอง และมาตรา ๗ ทวิวรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ.๒๕๕๑  ๑. ความเป็นมา การรอคอยของเด็กและบุคคลที่เกิดในประเทศไทยภายใต้มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๗ ธันวาคม ๒๕๕๓  เห็นชอบให้กำหนดสถานะของบุคคลที่อพยพเข้ามาอยู่ในประเทศไทยและอาศัยอยู่มานาน โดยกำหนดหลักเกณฑ์การกำหนดสถานะบุคคลตามยุทธศาสตร์การจัดการปัญหาสถานะและสิทธิของบุคคล โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มเด็กหรือบุคคลที่จะได้รับสัญชาติไทยตามมาตรา ๗ ทวิวรรคสองกำหนดว่า มาตรา ๗ ทวิ ผู้เกิดในราชอาณาจักรไทย โดยบิดาและมารดาเป็นคนต่างด้าว ย่อมไม่ได้รับสัญชาติไทย ถ้าในขณะที่เกิดบิดาตามกฎหมายหรือบิดาซึ่งมิได้มีการสมรสกับมารดาหรือมารดาของผู้นั้นเป็น (๑) ผู้ที่ได้รับการผ่อนผันให้พักอาศัยอยู่ในราชอาณาจักรไทยเป็นกรณีพิเศษเฉพาะราย (๒) ผู้ที่ได้รับอนุญาตให้เข้าอยู่ในราชอาณาจักรไทยเพียงชั่วคราว (๓) ผู้ที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง ในกรณีที่เห็นสมควร รัฐมนตรีจะพิจารณาและสั่งเฉพาะรายหรือเป็นการทั่วไปให้บุคคลตามวรรค หนึ่งได้สัญชาติไทยก็ได้ ตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด ผู้เกิดในราชอาณาจักรไทยซึ่งไม่ได้สัญชาติไทยตามวรรคหนึ่งจะอยู่ในราชอาณาจักรไทยในฐานะ ใด ภายใต้เงื่อนไขใด ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรและสิทธิมนุษยชนประกอบกัน ในระหว่างที่ยังไม่มีกฎกระทรวงดังกล่าว ให้ถือว่าผู้นั้นเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การสั่งให้บุคคลซึ่งไม่มีสัญชาติไทยที่เกิดในราชอาณาจักรไทยโดยบิดาและมารดาเป็นคนต่างด้าว ได้สัญชาติไทยเป็นการทั่วไป และการให้สัญชาติไทยเป็นการเฉพาะราย ลงวันที่ ๒๖ กันยายน […]

เตือนใจ ดีเทศน์ จุดยืนชีวิตไม่ผันเปลี่ยน

เตือนใจ ดีเทศน์ จุดยืนชีวิตไม่ผันเปลี่ยน “คนเราเกิดมา เรียนหนังสือ แต่งงาน ทำงาน สร้างเงินทองบ้านช่อง รถราคันใหญ่โต แล้วก็ตายไป เราจะเป็นแค่นี้หรือ? หรือเราจะเป็นผู้ที่ทำประโยชน์ให้สังคม?” ประโยคดังกล่าวเป็นคำถามจาก เตือนใจ ดีเทศน์ หรือ ครูแดง อดีตสมาชิกวุฒิสภา จ.เชียงราย นักพัฒนารุ่นบุกเบิกที่ผ่านการทำงานรับใช้สังคมมาตลอดชีวิต ตั้งคำถามคนหนุ่มสาวยุคปัจจุบัน ถึงการแสวงหาคุณค่าและความหมายของตัวเอง คำถามนี้ดูจะเข้ากับบรรยากาศเดือนตุลา ซึ่งเป็นช่วงเวลาแห่งการรำลึกเหตุการณ์ 14 ต.ค. 2516 และ 6 ต.ค. 2519 เป็นช่วงเวลาที่พลังนักศึกษาเบ่งบานถึงขีดสุด ต่างจากคนหนุ่มสาวยุคปัจจุบัน ซึ่งส่วนใหญ่ให้ค่านิยมกับวัตถุภายนอกและมองแต่ตัวเอง ขณะที่ค่านิยมการรับใช้สังคมค่อยๆ จางหายไป คำถามดังกล่าวจะเป็นเพียงแค่เสียงเพรียกหาวิญญาณในอดีตอันหอมหวาน หรือจะจุดประกายไฟกระตุ้นคนหนุ่มสาวยุคปัจจุบัน ให้หันกลับมาทบทวนคุณค่าและความหมายของตัวเองอย่างลึกซึ้ง…คุณเท่านั้นที่จะเป็นผู้ให้คำตอบ จะโถมกายเป็นทางเพื่อมวลชน เตือนใจ ดีเทศน์ เกิดเมื่อวันที่ 8 เม.ย. 2495 เป็นบุตรีของ พล.ท.ม.ล.ขาบ กุญชร และอุไร เปรมัษเฐียร สมรสกับ ธนู ดีเทศน์ ปัจจุบันทำหน้าที่ที่ปรึกษามูลนิธิพัฒนาชุมชนและเขตภูเขา […]

กะเหรี่ยงไร้สัญชาติ 4หมื่นคนไร้สิทธิดูแลจากรัฐ

ยอดกะเหรี่ยงไร้สัญชาติ 4 หมื่นคน อดได้สิทธิ์รัฐสวัสดิการต่างๆ รักษาพยาบาล การคุ้มครองทางกฏหมาย เร่งรวบรวมปัญหา เสนอ ครม.นางโสมสุดา ลียะวณิช ผอ.ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการอำนวยการบูรณาการฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยง กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการอำนวยการบูรณาการฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยง ว่า ตามที่ คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้มีการแก้ปัญหากะเหรี่ยงเป็นวาระแห่งชาติ เมื่อปี 2553 ทั้งนี้ ที่ประชุม จึงได้ให้หน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย กระทรวงมหาดไทย(มท.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม (ทส.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) สภาความมั่นคงแห่งชาติ และผู้ว่าราชการจังหวัด 15 จังหวัด รายงานความคืบหน้าของการดำเนินงานแก้ไขปัญหา รวมถึง เปิดโอกาสให้ตัวแทนชาวกะเหรี่ยงได้เสนอปัญหาภายในพื้นที่ โดยพบว่า ขณะนี้ การทำงานขาดความต่อเนื่อง ชาวกะเหรี่ยงยังไม่ได้ความเป็นธรรมในการแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง นางโสมสุดา กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตาม จากการติดตามผลการดำเนินงาน ใน 5 เรื่องหลัก ได้แก่ เรื่องอัตลักษณ์ชาติพันธุ์และวัฒนธรรม และการจัดการทรัพยากร โดยขณะนี้ พบว่า ชาวกะเหรี่ยง ต้องการให้หน่วยงานภาครัฐ […]

เคสบุตรของคนต่างด้าวที่น่าสนใจในวันนี้

คำถามเคสบุตรของคนต่างด้าวที่น่าสนใจในวันนี้ คือ ๑. แม่เป็นอดีตคนตามปว.๓๓๗ กล่าวคือ เกิดจังหวัดเชียงรายในประเทศไทย ปี ๒๕๒๖ จึงตกปว.๓๓๗ ซึ่งแม่ได้ยื่นของการรับรองสิทธิในสัญชาติไทย ตามมาตรา ๗ ทวิ วรรคสอง และได้รับการรับรองสิทธิในสัญชาติไทย เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๙ ๒. แม่มีลูกหญิง ๑ คน ชื่อ “น้องเอม” ซึ่งลูกเกิดเมื่อวันที่ ๘ ตุลาคม ๒๕๔๕ ที่โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ แต่แม่ไม่ได้ยื่นคำร้องขอรับการรับรองสิทธิในสัญชาติไทยไปพร้อมกับตน จึงกลายเป็นว่าลูกยังมีสถานะเป็นคนต่างด้าวซึ่งเกิดในประเทศไทย —————————————– คำถาม คือ กรณีนี้ ลูกต้องยืนคำร้องตามมาตรา ๒๓ หรือมาตรา ๗ ทวิ กันแน่??? —————————————– ข้อวิเคราะห์ คือ เมือพิจารณาตามองค์ประกอบของมาตรา ๒๓ จะพบว่า น้องเอม เป็น (๑) บุตรของคนซึ่งตกปว.๓๓๗ (๒) เกิดก่อนวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ […]

โครงการสำนักกฎหมายเพื่อการพิทักษ์สิทธิ์ ลงพื้นที่ เพื่อไปอบรมให้ความรู้แก่ สามเณร ที่กำลังศึกษาในโรงเรียนพระธาตุเวียงฮ่อปริยัติศึกษา

เมื่อวันที่ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๕๖ ที่ผ่านมา โครงการสำนักกฎหมายเพื่อการพิทักษ์สิทธิ์ ลงพื้นที่ เพื่อไปอบรมให้ความรู้แก่ สามเณร ที่กำลังศึกษาในโรงเรียนพระธาตุเวียงฮ่อปริยัติศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงราย เขต ๒ อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย ในโรงเรียนแห่งนี้มีสามเฌรที่กำลังศึกษาในระดับมัธยมศึกษาปีที่ ๑ ถึงมัธยมศึกษาปีที่ ๓ ทั้งสิ้น ๘๕ รูป สามเณรที่มาศึกษาเล่าเรียนในโรงเรียนพระธาตุเวียงฮ่อปริยัติศึกษา ส่วนใหญ่เป็นนักเรียนกลุ่มชาติพันธ์อาข่า ลาหู่ ลีซู และม้ง สามเณรส่วนใหญ่มาจากหลายพื้นที่ใน อำเภอเทิดไทย อำเภอเวียงป่าเป้า อำแภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย และ พื้นที่ อำเภอแม่อาย อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ เนื้อหาการอบรมเน้นทำความเข้าใจกับสามเณรที่ไร้สัญชาติ ในช่องการการจัดการความรู้เรื่อง มาตรา ๗ มาตรา ๗ ทวิ มาตรา ๒๓ เพื่อให้สามเณรที่เข้ารับการอบรมได้รับความรู้และเข้าใจปัญหาและช่องทางกี่ขอสถานะบุคคลของตนเอง รัชนีวรรณ สุขรัตน์ : เรียบเรียง

กว่าหนูจะได้ถือสัญชาติไทย !!!

บันทึกขั้นตอนการปฏิบัติงานของทีมงานมูลนิธิกระจกเงาในการให้ความช่วยเหลือกรณีคำร้องเด็กหญิงเอมอร แสงคำ “น้องการ์ตูน” โดย นางสาวรัชนีวรรณ สุขรัตน์ เจ้าหน้าที่มูลนิธิกระจกเงา ซึ่งทำงานภายใต้โครงการคุ้มครองสิทธิเด็กไร้รัฐไร้สัญชาติ (Stateless Children Project :SCPP) เมื่อวันที่ ๒ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๖ ——————————————————————————— กว่าหนูจะได้ถือสัญชาติไทย !!! น้องเอมอร เด็กน้อยชนเผ่าไทยใหญ่ ที่เพิ่งได้รับสัญชาติไทย ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา เมื่อมองย้อนกลับไปคำถามผุดขึ้นมามากมาย น้องไปอยู่ไหน? พ่อแม่ทำอะไร? ทำไม ทำไม ?? น้องเพิ่งได้สัญชาติไทย การได้มาซึ่งสัญชาติไทยสำหรับคนอย่างเรามันไม่ใช่เรื่องยุ่งยากใดใดเลย เรารู้แค่เพียงว่าสมัยเรา ๆ ท่าน ๆ อายุครบ๑๕ ปีบริบูรณ์ พ่อแม่ก็จูงมือไปอำเภอเพื่อไปทำบัตรประชาชนใบแรก ความรู้สึกกับการได้มาซึ่งบัตรประชาชนในแรกต้องบอกว่าตื่นเต้นน่าดูเลยทีเดียว สมัยนี้บัตรประชาชนเริ่มกันทำเมื่ออายุครบ ๗ ปีบริบูรณ์ คุณครูจะนัดนักเรียนไปทำบัตรประชาชนเพื่อความสะดวกรวดเร็วและความสะดวกในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ประจำอำเภอ ส่วนใครไม่สวะดวกในช่วงเวลาดังกล่าวก็ให้พ่อมาพาไปทำบัตรประชาชนใบแรก แต่ใครรู้ไหมว่ามีเด็กอีกหลายต่อหลายคนในแถบพื้นที่นี้ที่พวกเขาไม่สามารถมีบัตรประชาชนใบแรกได้เหมือนเพื่อน ๆ น้องเอมอรเป็นหนึ่งในเด็ก ๆ กลุ่มนี้ที่ต้องเผชิญปัญหาด้านสถานะบุคคล เพียงเพราะขณะที่เธอลืมตาดูโลก แม่ของเธอยังไร้ซึ่งสัญชาติไทย เธอเกิดมามีแม่พ่อเป็นต่างด้าวเข้าเมื่องถูกกฎหมาย วันที่น้องเอมอรคลอดพ่อได้ไปแจ้งเกิดที่อำเภอเมืองเชียงราย […]

กว่าจะถึงวันที่ฝันเป็นจริง

ชีวิตทุกชีวิตหากต้องพบเจอกับความมืดมิดก็ย่อมต้องดิ้นรนหาแสงสว่างนำทาง ชีวิตฉันเกิดมาเหมือนหลงเข้าไปในอุโมงค์ลึกที่มืดมิด เส้นทางชีวิตไร้แสงสว่างส่องนำทาง พ่อ แม่ พี่ น้อง ทุกคนต่างเหนื่อยล้าและบอกว่าขอยอมแพ้ แต่ฉันยังมีฝันถึงจะมีกำแพงกั้นขวางทางเดิน “ ฉันจะทลายกำแพงนั้นลงมาเอง ” เพื่อจะได้มองเห็นเส้นทางสู่ฝัน ในความมืดมิดหากมองอย่างตั้งใจ เราจะเห็นแสงสว่างส่องเข้ามาจากปลายอุโมงค์ ถึงแม้แสงมันจะริบหรี่แต่ที่นั่นก็ยังมีแสงส่องมาให้เห็น แสงแห่งฝันจากแดนไกลทำให้ฉันมีแรงฮึดสู้ ฉันตัดสินใจที่จะก้าวเดินออกไปหาแสงสว่าง จะไม่นั่งจมกับความหวังลมๆแล้งๆ ฉันจะหาหนทางทุกวิถีทางเพื่อให้ได้ออกไปจากอุโมงค์นี้ แต่แล้วฉันกลับพบว่ามันไม่ง่ายเลย ยิ่งฉันพยายามวิ่งตาม แสงสว่างนั้นเหมือนจะยิ่งไกลออกไปทุกที ด้วยสองเท้าก้าวเดินบนเส้นทางที่มืดมิด หลายต่อหลายครั้งที่ฉันต้องล้มลุกคลุกคลาน หลายต่อหลายครั้งที่ถูกขวากหนามทิ่มแทงทำให้ฉันแสนเจ็บปวด หลายต่อหลายครั้งที่ต้องพบกับผิดหวังเมื่อปลายทางอยู่ไกลเกินกว่าที่ฉันคิด มันไม่ง่ายเลยจริง ๆ กับเส้นทางเดินนี้ที่ฉันเลือกเผชิญ หลายครั้งที่อุปสรรคถาโถมเข้ามาจนแทบรับไม่ไหว หลายครั้งที่ท้อจนคิดอยากจะถอย แต่เมื่อมองย้อนกลับไประยะทางที่ที่ฉันก้าวเดินมามันไกลเกินกว่าที่ฉันจะย้อนกลับไปได้เสียแล้ว ก่อนการก้าวเดินก้าวแรก ฉันได้แบกรับความหวังของใครหลายๆคนมาด้วย วันนี้ถ้าหยุดเดินและหันหลังกลับ ทิ้งความหวังไว้กลางเส้นทางเท่ากับว่าฉันได้เอาความหวังของทุกคนมาทิ้งไว้กลางเส้นทาง ฉันทำเช่นนั้นไม่ได้ ฉันจะยอมแพ้ไม่ได้เด็ดขาด ฉันไม่มีสิทธิ์ทำลายความหวังของใคร ฉันต้องทำให้ทุกคนที่รอคอยสมหวัง เพราะ “ ฉันไม่ได้เกิดมาเพื่อยอมแพ้ ” “ ต่างด้าว ” คำๆนี้ยังดังก้องในหูฉันจนถึงทุกวันนี้ คำเดียวที่ทำให้ฉันหดหู่ใจทุกครั้งเมื่อได้ยินคำนี้ ฉันเชื่อว่าไม่มีใครภูมิใจกับคำนี้แน่นอน คำที่ฉันถูกเรียกขาน ฉันรู้ซึ้งถึงความขมขื่นนั้นดีในฐานะผู้ถูกเรียกขาน มันแสนเจ็บปวด อับอายแค่ไหน […]

วัฒนธรรม คือต้นแบบการเรียนรู้ที่เหมาะสมของเด็ก

ในสภาพสังคมที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม ผู้คนได้เรียนรู้และรับวัฒนธรรมแปลกใหม่อย่างไม่เคยหยุดนิ่ง การจัดการเรียนการสอนตามระบบและหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานที่เข้าไปสู่ชุมชน ส่งผลให้เด็กและเยาวชนละเลยภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมของตนเอง โดยไม่คำนึงถึงการสืบทอดรักษาและฟื้นฟูวัฒนธรรมดั้งเดิม มุ่งแต่จะออกจากชุมชน และนำความทันสมัยทางเทคโนโลยีเข้าไปถ่ายทอดให้กับคนในชุมชนแทน ดังนั้น โครงการการพัฒนาระบบและกลไกการทำงานระดับพื้นที่ในรูปแบบของเครือข่ายเพื่อการพัฒนาเด็กและเยาวชน ภายใต้การสนับสนุนของสำนักสนับสนุนสุขภาวะเด็ก เยาวชนและครอบครัว สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จึงมุ่งพัฒนาคุณภาพของเด็กและเยาวชนผ่านกระบวนการเรียนรู้ และการทำงานแบบมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ให้ขับเคลื่อนชุมชนและโรงเรียนที่มีศักยภาพเป็นต้นแบบ ด้านการจัดการเรียนรู้ในชุมชนท้องถิ่น โดยเปิดเป็นพื้นที่สร้างสรรค์สำหรับเด็กและเยาวชนในการค้นหาวิธีการดำเนินชีวิตและการงานอาชีพที่หลากหลายด้วยกระบวนการระดมความร่วมมือจากทุกภาคส่วนตามบริบทของแต่ละพื้นที่ ด้วยการสร้างความเข้าใจร่วมกัน นางสาวลำยอง เตียสกุล ผู้ประสานงานโครงการการพัฒนาระบบและกลไกฯ กล่าวว่า โครงการดังกล่าว มีเป้าหมายการพัฒนาระบบและกลไกการจัดการเรียนรู้เพื่อเด็กและเยาวชน ด้วยการให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมอย่างแท้จริง โดยดำเนินงานใน 7 ชุมชน 7 จังหวัด ประกอบด้วย ภาคใต้ เครือข่ายโรงเรียนตักวาชุมชนศรัทธา จังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา และ จังหวัดนราธิวาส ภาคกลาง เครือข่ายโรงเรียนขนาดเล็ก อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ภาคอีสานสภาองค์กรชุมชนเทศบาลเมืองเสนานิคมและเครือข่ายเด็กเยาวชน อำเภอเสนานิคม จังหวัดอำนาจเจริญ กลุ่มเด็กเยาวชนลูกอีสานหลานทรายมูล จังหวัดยโสธร ภาคเหนือ เครือข่ายกลุ่มชาติพันธุ์บนที่สูง จังหวัดเชียงใหม่และเครือข่ายเด็กเยาวชนชนเผ่าพื้นเมือง โดยการจัดกิจกรรมของภาคเหนือดังกล่าว โครงการได้ร่วมกับสมาคมศูนย์รวมการศึกษาและวัฒนธรรมของชาวไทยภูเขาในประเทศไทย (ศ.ว.ท.) หรือ IMPECT […]

1 10 11 12 13 14 15
Copyright © 2018. All rights reserved.